ปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ตลอดปี 2554
เนื่องจากประเทศไทยกว้างขวาง จึงขอรายงานข้อมูลต่างๆเหล่านี้จาก กรุงเทพฯ โดยถือพิกัดที่เสาหลักเมืองเป็นหลักนะครับ ใครชอบปรากฎการณ์ไหน ก็ตั้งปฏิทินนัดหมายเอาไว้เลยนะครับ และระวังอย่าสับสนเรื่องเวลาหลังเที่ยงคืนทั้งหลายนะครับ เพราะนั่นหมายถึงวันใหม่ วันที่ๆผมระบุจึงหมายถึงวันใหม่นั้นจริงๆ ก็หวังว่าปฏิทินอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะช่วยให้ไม่งงและไม่พลาดนะครับ
ข้อมูลเหล่านี้ เกิดจากการคำนวณด้วยโปรแกรมดูดาว stellariumครับ


3-4 มกราคม 2554 ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวควอดแดรนต์ เวลา 02:00 น. จำนวน 51 ดวงต่อชั่วโมง


4 มกราคม 2554 วันที่ดวงอาทิตย์ใกล้โลกที่สุด เวลา 12:21 น. ด้วยระยะห่าง 147,100,692 กิโลเมตร ขนาดปรากฏ 32 ลิปดา 31.9 ฟิลิปดา เห็นแล้วว่าไม่มีผลต่อฤดูกาลบนโลกเลยนะครับ


23 มกราคม 2554 วันที่กรุงเทพฯ ดวงอาทิตย์ขึ้นช้าที่สุดในรอบปี โดยขึ้นเวลา 6:49:37 น.


20 มีนาคม 2554 ดวงจันทร์วันเพ็ญที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในรอบปี ด้วยขนาดโต 34’ 4.8” เวลา 0:15 น. ระยะห่าง 350,508 กิโลเมตร


21 มีนาคม 2554 ดวงอาทิตย์ตั้งฉากเหนือเส้นศูนย์สูตรครั้งที่หนึ่งในรอบปี (ขาขึ้น) เวลา 6:22 น. ตามเวลาในประเทศไทย ทุกที่ในโลกจะมีกลางวันยาวเท่ากับกลางคืน กรุงเทพฯ ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6:25:28 น. ดวงอาทิตย์ตกเวลา 18:25:29 น.


4 เมษายน 2554 ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี เวลา 01:19 น. ระยะห่าง 1,288,622,361 กิโลเมตร ขนาดปรากฏ 44.9 ฟิลิปดา



ตำแหน่งของดวงจันทร์บริวารดวงสว่าง




27 เมษายน 2554 ดวงอาทิตย์ตั้งฉากเหนือกรุงเทพรอบแรกในรอบปี (ขาขึ้น) เวลา 12:15:46 น.
วันเวลาดังกล่าว นอกจากจะเกิดปรากฎการณ์ไร้เงาแล้ว คาดว่าจะเป็นวันที่ร้อนที่สุดในรอบปีด้วยนะ


7-8 พฤษภาคม 2554 ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ เวลา 02:00 น. จำนวน 20 ดวงต่อชั่วโมง


2 มิถุนายน 2554 วันที่กรุงเทพฯ ดวงอาทิตย์ขึ้นเร็วที่สุดในรอบปี เวลา 5:53:05 น.


16 มิถุนายน 2554 จันทรุปราคาเต็มดวงนาน 1 ชั่วโมง 37 นาที เห็นได้ทั่วประเทศ เงามืดสัมผัสขอบดวงจันทร์เวลา 1:27 น. เข้าหมดดวงเวลา 2:26 น. กินลึกสุดเวลา 3:15 น. ออกหมดดวงเวลา 4:03 น. เงามืดพ้นขอบดวงจันทร์เวลา 5:02 น.
ขณะนั้นดวงจันทร์ห่าง 371,061 กิโลเมตร ขนาดปรากฏ 32’ 11.6”

ใจร้อน นั่งไทม์แม็กชีนไปถ่ายรูปก่อนใครดีกว่า ^ ^

คลิ๊กที่รูปเพื่อชมรูปขนาดจริง



21 มิถุนายน 2554 วันที่ดวงอาทิตย์ค่อนไปทางเหนือมากที่สุดเวลา 19:01 น. ทำให้ทุกพื้นที่ในโลกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร มีกลางวันยาวนานกว่ากลางคืนมากที่สุด
กรุงเทพฯ ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 05:55:16 น. (ไม่ใช่วันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นเร็วที่สุด) และดวงอาทิตย์ตกเวลา 18:44:05 น. (ไม่ใช่วันที่ดวงอาทิตย์ตกช้าที่สุด) ทำให้วันนั้นกลางวันยาว 12 ชั่วโมง 48 นาที 49 วินาที
ส่วนเหนือสุดแดนสยาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นที่ๆกลางวันยาวนานที่สุดในประเทศ โดยดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 5:44:55 น. และดวงอาทิตย์ตกเวลา 18:59:21 น. ทำให้กลางวันยาวนานถึง 13 ชั่วโมง 14 นาที 26 วินาที


30 มิถุนายน 2554 ดวงจันทร์บังดาวศุกร์ตอนกลางวัน โดยเข้าบังทางด้านสว่างของดวงจันทร์เวลา 15:45 น. ความสูง 28 องศา และออกเวลา 16:52 น. มุมเงย 13 องศา ทางทิศตะวันตก หรือมีตำแหน่งอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับพื้นดินนั่นเอง
คาดว่ามองไม่เห็น ไม่ต้องดูหรอก - -!


4 กรกฎาคม 2554 ดวงอาทิตย์ไกลโลกที่สุด ซึ่งเวลาที่แท้จริงดวงอาทิตย์จะไปอยู่อีกฟากโลกที่ตรงข้ามกับกรุงเทพฯ แล้ว ถ้านับเอาเวลาที่ยังเห็นดวงอาทิตย์อยู่ คือเวลา 18:44:23 น. ระยะห่างดวงอาทิตย์คือ 152,102,147 กิโลเมตร ขนาดปรากฏ 31 ลิปดา 27.7 ฟิลิปดา
ภาพเปรียบเทียบดวงอาทิตย์วันที่ใกล้โลกที่สุด กับวันที่ไกลโลกที่สุด ขนาดแทบไม่ได้แตกต่างกัน จึงไม่มีผลกระทบต่อฤดูกาลบนโลก

คลิ๊กที่รูปเพื่อชมรูปขนาดจริง



10 กรกฎาคม 2554 ดวงอาทิตย์ที่กรุงเทพฯ ตกช้าที่สุดในรอบปี เวลา 18:46:20 น.


28-29 กรกฎาคม 2554 ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำใต้ เวลา 21:00 น. จำนวน 15 ดวงต่อชั่วโมง


12-13 สิงหาคม 2554 ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวเพอร์ซิอัส เวลาที่เริ่มเห็น 22:30 น. จำนวน 44 ดวงต่อชั่วโมง


16 สิงหาคม 2554 ดวงอาทิตย์ตั้งฉากเหนือกรุงเทพครั้งที่สองในรอบปี (ขาลง) เวลา 12:22:25 น. ได้ปรากฎการณ์ไร้เงาเหมือนกัน แต่อาจไม่ร้อนที่สุด


23 กันยายน 2554 ดวงอาทิตย์ตั้งฉากเหนือเส้นศูนย์สูตรครั้งที่สองในรอบปี (ขาลง) เวลา 16:04 น. ทุกหนแห่งในโลกจะมีกลางวันยาวเท่ากลางคืนหมดเช่นกัน กรุงเทพฯ ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6:10:32 น. ดวงอาทิตย์ตกเวลา 18:10:28 น. อ่าว ทำไมไม่ถึง 12 ชั่วโมงหละ คงเพราะความแปรปรวนที่โลกใกล้ไกลดวงอาทิตย์ได้ ความเร็วโคจรจึงไม่สม่ำเสมอ แต่ยังหมุนรอบตัวเองเร็วเท่าเดิมครับ แต่ความว่ากลางวันยาวเท่ากลางคืน ก็ไม่ได้หมายถึง 12 ชั่วโมงเท่ากันครับ


25 กันยายน 2554 ดาวยูเรนัสใกล้โลกที่สุดเวลา 2:10 น. ด้วยระยะห่าง 2,853,952,116 กิโลเมตร (ไกลโพด) ขนาดปรากฏ 3.7 ฟิลิปดา ว่ากันว่าเป็นดาวที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ถ้าท้องฟ้ากระจ่างใสพอ แล้วมาลุ้นกันว่าจะสามารถมองเห็นดาวยูเรนัสด้วยตาเปล่าได้หรือไม่
โดยวันเวลานั้น ดาวยูเรนัสมีมุมสูงประมาณ 59 องศา ทางทิศตะวันตก

คลิ๊กที่รูปเพื่อชมรูปขนาดจริง


ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน มองเห็นด้วยตาเปล่าได้หรือไม่?
โดยปรกติ สายตาคนทั่วไปภายใต้สภาพท้องฟ้าที่ดีสามารถมองเห็นดาวที่จางที่สุดถึงอันดับ 6 ดาวยูเรนัสช่วงที่เข้าใกล้โลกที่สุด จะมีอันดับความสว่างราว 5.7 ซึ่งอยู่ในพิสัยที่พอจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เนื่องจากดาวที่มีความสว่างใกล้เคียงกับระดับนี้มีเป็นจำนวนมาก จุดแสงของดาวยูเรนัสจะกลมกลืนไปกับดาวฉากหลังจนไม่อาจจำแนกว่าจุดไหนเป็นดาวยูเรนัสได้เลย ดังนั้นต้องถือว่าดาวยูเรนัสเป็นดาวที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จำแนกไม่ได้ หรือเกือบไม่ได้
ดาวเนปจูนช่วงที่สว่างที่สุดมีอันดับความสว่าง 7.9 จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ข้อมูลจาก : สมาคมดาราศาสตร์ไทย

หรือรำคาญใจนัก ก็เอากล้องส่องดูซะเลย ^ ^
คลิ๊กที่รูปเพื่อชมรูปขนาดจริง



12 ตุลาคม 2554 จันทร์เพ็ญที่อยู่ไกลโลกที่สุด เวลา 5:57:50 ระยะห่าง 406,249 กิโลเมตร ขนาดปรากฏ 29’ 24.2”
เปรียบเทียบจันทร์เพ็ญวันที่ใกล้โลกที่สุดกับวันที่ไกลโลกที่สุด พบว่าขนาดต่างมากกว่าดวงอาทิตย์ แต่นี่ยังไม่ใช่ขนาดที่ต่างกันที่สุด เพราะต้องคัดเอาเฉพาะวันเพ็ญเท่านั้น เพื่อให้เป็นวงกลมเหมือนกัน ซึ่งวันเพ็ญวันนั้นอาจไม่ใช่วันที่ใกล้หรือไกลที่สุดก็ได้

คลิ๊กที่รูปเพื่อชมรูปขนาดจริง



22-23 ตุลาคม 2554 ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวนายพราน เวลาเริ่มเห็นประมาณ 22:30 น. จำนวน 19 ดวงต่อชั่วโมง


28 ตุลาคม 2554 ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี เวลา 0:25 น. ด้วยระยะห่าง 593,860,813 กิโลเมตร ขนาดปรากฏ 49.7 ฟิลิปดา

คลิ๊กที่รูปเพื่อชมรูปขนาดจริง



21 พฤศจิกายน 2554 กรุงเทพฯ ดวงอาทิตย์ตกเร็วที่สุดในรอบปี เวลา 17:43:28 น.


10 ธันวาคม 2554 จันทรุปราคาเต็มดวงฉลองวันรัฐธรรมนูญ โดยเต็มดวงนาน 45 นาที เห็นได้ทั่วประเทศ เงามืดเริ่มสัมผัสขอบดวงจันทร์ เวลา 19:50 น. เข้าหมดดวงเวลา 21:11 น. กินลึกสุดเวลา 21:33 น. ออกหมดดวงเวลา 21:56 น. เงามืดเริ่มพ้นขอบดวงจันทร์ เวลา 23:17 น.
ดวงจันทร์ห่าง 392,286 กิโลเมตร ขนาดปรากฏ 30’ 27”

คลิ๊กที่รูปเพื่อชมรูปขนาดจริง


ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ปีนี้มีจันทรุปราคาเต็มดวงให้เห็นถึง 2 ครั้ง


14-15 ธันวาคม 2554 ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวคนคู่ เวลาเริ่มเห็นประมาณ 20:00 น. จำนวน 30 ดวงต่อชั่วโมง


22 ธันวาคม 2554 ดวงอาทิตย์ค่อนไปทางใต้มากที่สุดในรอบปี เวลา 18:58 น. ตามเวลาในประเทศไทย ทำให้ทุกพื้นที่ในโลกที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร มีกลางวันยาวนานกว่ากลางคืนมากที่สุด
กรุงเทพฯ ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6:40:33 น. (ไม่ใช่วันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นช้าที่สุด) ดวงอาทิตย์ตกเวลา 17:52:02 น. (ไม่ใช่วันที่ดวงอาทิตย์ตกเร็วที่สุด) ทำให้กลางวันยาวเพียง 11 ชั่วโมง 11 นาที 29 วินาที
แม่สาย เชียงราย ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6:55:49 น. ดวงอาทิตย์ตกเวลา 17:41:40 น. กลางวันจึงยาวเพียง 10 ชั่วโมง 45 นาที 51 วินาที


ปีนี้ไม่มีที่ดาวอังคารใกล้โลกเลยครับ เอาให้ใกล้ที่สุดในรอบปี เห็นจะเป็นคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2554 มากกว่า เพราะกว่ามันจะใกล้ที่สุดจริงๆก็ปีหน้าครับ



Create Date : 03 มกราคม 2554
Last Update : 18 มีนาคม 2554 22:37:18 น.
Counter : 2680 Pageviews.

13 comments
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
สรุปวิชาโลกดาราศาสตร์และอวกาศชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5) เรื่องทรัพยากรธรณี นายแว่นขยันเที่ยว
(28 ก.พ. 2567 00:03:41 น.)
มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 347 Rain_sk
(28 ก.พ. 2567 08:43:19 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
  
ขอบคุณมากค่ะ ได้รับความรู้เยอะมาก
โดย: กระติ๊ดแดง วันที่: 3 มกราคม 2554 เวลา:20:07:35 น.
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีค่ะ
โดย: คนแรมทาง IP: 58.9.143.239 วันที่: 4 มกราคม 2554 เวลา:15:40:41 น.
  
ปีนี้จะมีจันทรุปราคาเต็มดวงถึง 2 ครั้ง ยังไงก็เตือนๆกันเรื่องการยิงปืนใส่ราหูนะครับ ราหูไม่ตาย แต่มนุษย์บริสุทธิ์นี่หละจะตาย เหมือนถมน้ำลายขึ้นฟ้า (เปรียบเทียบได้ดีจริง)
เพราะปีใหม่ที่ผ่านมามีข่าวกระสุนตกใส่บ้านและตกใส่คนกันหลายราย ไม่น่าเชื่อว่าชีวิตคนบางคนต้องดับลงในวันขึ้นปีใหม่
โดย: สมภพ เจ้าเก่า วันที่: 4 มกราคม 2554 เวลา:17:08:09 น.
  
ขอบคุณครับผม
นำมาฝากบ่อยๆนะครับ
โดย: อาร์ อาทิตย์ IP: 172.16.0.241, 202.29.138.101 วันที่: 5 มกราคม 2554 เวลา:11:34:16 น.
  
เทพมากๆ ชอบอ่านได้ความรู้ดี เนื่องจากแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น เวลาข้างบนจะเปลี่ยนไปไหม
โดย: mam IP: 61.19.67.141 วันที่: 17 มีนาคม 2554 เวลา:1:34:42 น.
  
ไม่เปลี่ยนหรอกครับ
แตกต่างก็เพียงการคำนวณด้วยโปรแกรมนี้ มีความคลาดเคลื่อนในตัวเองเล็กน้อย โดยเฉพาะอะไรที่เกี่ยวกับดวงจันทร์หนะครับ อาจคราดเคลื่อนไปเป็นนาทีๆเลย

เร็วๆนี้ ผมจะเอาปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ตลอดปี 2012 มาให้ดูเพื่อตื่นเต้นเล่นๆกัน คอยมาติดตามชมกันนะครับ
โดย: สมภพ เจ้าเก่า วันที่: 18 มีนาคม 2554 เวลา:23:18:17 น.
  
ยอดเยี่ยมดีครับพี่ท่าน...ผมมีคำถามหลายคำถามอยู่เหมือนกันช่วยให้คำตอบผมได้ไหมครับ...อย่างเช่น เราจะแปลงค่ามุมองศาที่เป็นจุดทศนิยมให้มันเป็น ลิปดาหรือฟิลิปดาได้ยังไงครับ ช่วยที
โดย: โทยะคุง IP: 125.26.248.163 วันที่: 7 เมษายน 2554 เวลา:14:30:46 น.
  
การเปลี่ยนให้เจ้า stellarium ให้เป็นภาษาไทย ต้องใช้Ubuntu แก้ไขอย่างเดียวเลยเหรอครับ...ไม่มีหนทางอื่นเลยรึ...ผมอ่อนเรื่องการใช้โปรแกรมน่ะครับ(แต่ก็พอเป็น) ขอบพระคุณขอรับ
โดย: โทยะคุง IP: 125.26.248.163 วันที่: 7 เมษายน 2554 เวลา:14:41:04 น.
  
ความคิดเห็นที่ 7
60 ฟิลิปดา เท่ากับ 1 ลิปดา
60 ลิปดา เท่ากับ 1 องศาครับ

จึงนำค่ามุมที่เป็นทศนิยมนั้น คูณด้วย 60 จะได้ลิปดา แล้วนำทศนิยมของลิปดาคูณด้วย 60 จะได้ฟิลิปดาครับ
โดย: สมภพ เจ้าเก่า วันที่: 8 เมษายน 2554 เวลา:9:52:35 น.
  
โอ้!...ขอบพระคุณมากครับ ผมสับสนอยู่นานแต่ตอนนี้โป๊ะเช๊ะ! หายงงแล้วครับ...ขอบคุณจริงๆ
โดย: โทยะคุง IP: 113.53.110.129 วันที่: 9 เมษายน 2554 เวลา:9:40:40 น.
  
โอ้!...ขอบพระคุณมากครับ ผมสับสนอยู่นานแต่ตอนนี้โป๊ะเช๊ะ! หายงงแล้วครับ...ขอบคุณจริงๆ
โดย: โทยะคุง IP: 113.53.110.129 วันที่: 9 เมษายน 2554 เวลา:9:41:53 น.
  
17 พฤศจิกายน 2554 จะเกิดพายุฝนดาวตกหรือปล่าว
ครับ เห็นข้าวแว่ๆ ช่วยตอบที่
โดย: นัด IP: 192.168.101.27, 203.172.182.130 วันที่: 19 กรกฎาคม 2554 เวลา:10:37:27 น.
  
https://www.youtube.com/watch?v=6UGYN3zMgCg

จันทรคราส เงามัว 23 มีนาคม 2559
และที่มาของ อธิกมาส อธิกวาร อธิกสุรทิน
โดย: Ajarn Kitti Astro IP: 192.99.14.34 วันที่: 1 เมษายน 2559 เวลา:5:39:59 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Sompop.BlogGang.com

สมภพ เจ้าเก่า
Location :
นครราชสีมา  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 26 คน [?]

บทความทั้งหมด