ดอกไม้รายทาง(ที่ท่องเที่ยว)








หลาย ๆ ครั้งที่ออกเดินทางท่องเที่ยวไปตามที่ต่าง  พบเจอเรื่องราว สิ่งแปลกใหม่มากมาย  ในการเดินทางแต่ละครั้ง หนึ่งในสิ่งที่พบเจอก็คือดอกไม้ต่างๆ  วันนี้เลยจะหยิบเอาดอกไม้รายทางตามที่ท่องเที่ยว มาให้ดูกันบ้าง 


"ดอกโมก"

โมก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Wrightia religiosa Benth.) เป็นดอกไม้ มีลักษณะดอกเป็นช่อสีขาว มี 3-5 กลีบ  ใบมีขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เนื้อใบบางรูปรี หรือรูปหอกกว้าง 0.8-2.0 ทำการขยายพันธุ์โดยการปักชำ หรือ เพาะเมล็ด

โมกยังมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้ ปิดจงวา (เขมร สุรินทร์) โมกซ้อน (กลาง) โมกบ้าน (กลาง) และ หลักป่า (ระยอง)

***พบเจอได้ทั่วไป  ปลูกประดับไว้ตามริมถนนบ้าง ริมรั้วบ้าง หลายๆ  รีสอร์ทที่ไปพัก ก็ปลูกต้นโมกเป็นไม้ประดับไว้***


"ดอกกระเจียว"
          กระเจียว, กระเจียวแดง, อาวแดง หรือ ว่านมหาเมฆ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Curcuma sessilis) เป็นไม้ล้มลุกในวงศ์ Zingiberaceae ลำต้นเป็นเหง้าใต้ดิน ช่อดอกชูออกจากปลายลำต้นเทียมโดยมีริ้วประดับ ริ้วประดับตอนปลายมีสีแดงอมม่วง กลีบดอกสีครีม ปลายกลีบปากมีแต้มสีเหลือง
***เข้าหน้าฝนช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม  เป็นเทศกาลท่องเที่ยวชมดอกกระเจียวที่อุทยานแห่งชาติป่าหินงามและอุทยานแห่งชาติไทรทอง  เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวหนึ่งที่ได้มีโอกาสเดินทางไปชมทุ่งดอกกระเจียว***  
"บิโกเนีย"
บีโกเนีย(Begonia) พืชล้มลุก ฤดูเดียว มีลักษณะอวบน้ำสูง 15-45 ซม. อยู่ในตระกูล Begoniaceae มีชื่อเรียกพื้นถิ่น ว่าส้มกุ้ง ก้ามกุ้ง สมมติ เป็นไม้ดอกขนาดเล็ก ลักษณะดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียแยกกันอยู่กับดอกตัวเมียบนต้นเดียวกัน โดยดอกตัวเมียจะมีรังไข่ที่โป่งพองออกมาดูคล้ายเป็นปีกสามแฉกที่โคนดอก และจะบานทนกว่าดอกตัวผู้ บีโกเนียนั้นมีสีสดหล่ากหลายสี เช่น ชมพู ส้ม ขาว ชอบแสงแดดรำไร ไม่ชอบอากาศหนาวเย็น นิยมปลูกเป็นไม้กระถางและคลุมดินตกแต่งสถานที่ หากปลูกเลี้ยงเป็นไม้กระถางจะต้องมีการผสมดินปลูกให้เหมาะสม
***ไปเดินเที่ยวงานดอกทิวลิปบานและดอกไม้เมืองหนาว  เค้ามีการเอาบีโกเนียมาจัดโชว์ไว้ด้วย  เลยเป็นดอกไม้อีกหนึ่งชนิดที่เห็นแล้วอดจะกดชัตเตอร์ เป็นไว้เป็นความทรงจำอีกเช่นเคย***
"ทิวลิป"
แม้ว่าทิวลิปจะเป็นดอกไม้ที่ทำให้นึกถึงฮอลแลนด์ แต่ทั้งดอกไม้และชื่อมีที่มาจากจักรวรรดิเปอร์เชีย ทิวลิปหรือ “lale” (จากเปอร์เชีย لاله, “lâleh”) เช่นเดียวกับที่เรียกกันในตุรกี เป็นดอกไม้ท้องถิ่นของตุรกี, อิหร่าน, อัฟกานิสถาน และบางส่วนของเอเชียกลาง แม้ว่าจะไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้นำทิวลิปเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปแต่ที่สำคัญคือตุรกีเป็นผู้ทำให้ทิวลิปมีชื่อเสียงที่นั่น เรื่องที่เป็นที่ยอมรับกันก็คือ Oghier Ghislain de Busbecqไปเป็นราชทูตของสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในราชสำนักของสุลต่านสุลัยมานมหาราชแห่งจักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1554 Busbecq บรรยายในจดหมายถึงดอกไม้ต่างๆ ที่เห็นที่รวมทั้งนาร์ซิสซัส ดอกไฮยาซินธ์ และทิวลิปที่ดูเหมือนจะบานในฤดูหนาวที่ดูเหมือนผิดฤดู (ดู Busbecq, qtd. in Blunt, 7) ในวรรณคดีเปอร์เชียทั้งสมัยโบราณและสมัยใหม่ต่างก็ให้ความสนใจกับดอกไม้ชนิดนี้

***เป็นดอกไม้อีกหนึ่งชนิดที่พบเจอจากการไปเที่ยวเทศกาลดอกไม้เมืองหนาว*** 


"กล้วยไม้ดิน"

กล้วยไม้ดิน (อังกฤษ: Ground orchid,ชื่อวิทยาศาสตร์: Spathoglottis) เป็นสกุลหนึ่งของพืชในวงศ์กล้วยไม้ พืชในสุกลนี้เป็นญาติกับพืชสกุล Acanthephippium, Bletia, Calanthe, และ Phaius

โดยทั่วไปมีถิ่นอาศัยในบอร์เนียว, ประเทศออสเตรเลีย และ หมู่เกาะโซโลมอน

***เป็นดอกไม้อีกหนึ่งชนิดที่พบเจอตามธรรมชาติ เวลาที่ไปเที่ยวพวกป่า ภูเขา  เจ้ากล้วยไม้ดินมีขายตามร้านต้นไม้ ปลูกรวม ๆ กันก็สวยไปอีกแบบ***


"บัวหลวง"

บัวหลวง หรือ บัวหลวงอินเดีย (อังกฤษ: Indian Lotus, Sacred Lotus, Bean of India) เป็นพืชน้ำในสกุลบัวหลวง วงศ์บัว  บัวพันธุ์ดอกสีชมพู (บัวแหลมชมพู) มีชื่อว่า ปทุม ปัทมา โกกระนต หรือโกกนุต ดอกขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ ปลายเรียวสีชมพู กลีบดอกชั้นนอกมี 4-5 กลีบ รูปไข่มีขนาดเล็ดเรียงตัวกัน 2 ชั้น ส่วนกลางของกลีบมีรูปร่างโค้งป่อง ตรงกลางสีชมพูอมเขียว ส่วนกลีบดอกชั้นกลางและชั้นในสีชมพูเข้ม โคนกลีบดอกสีขาวนวล มีประมาณ 13-14 กลีบ เรียงตัวเป็นชั้น ประมาณ 3 ชั้น อยู่โดยรอบฐานดอก กลีบชั้นนอกและชั้นในมีสีและรูปร่างคล้ายชั้นกลางแต่เล็กกว่ากลีบในชั้นกลาง

***มีโอกาสได้ไปท่องเที่ยวอุทยานนกน้ำทะเลน้อย เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่มีทะเลบัวแดงให้ได้ชมกัน  และส่วนหนึ่งก็มีดอกบัวหลวงทั้งสีขาวและสีชมพู ให้ชมเช่นกัน***


"ดอกกระดาษ"

ดอกกระดาษ หรือ ดอกบานไม่รู้โรยฝรั่งเป็นดอกไม้ที่อยู่ได้นานวัน ไม่รู้จักโรย จนได้ชื่อว่า Everlasting เมื่อ ถูกละอองน้ำค้างหรือ น้ำเพียงเล็กน้อย ดอกจะหุบได้ ปกติใช้ทำเป็นดอกไม้แห้ง มีถิ่นกำเนิดในออสเตรเลีย

ต้นดอกกระดาษ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุปีเดียว ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงและค่อนข้างเป็นทรงกระบอก มีสัน สูงได้ประมาณ 0.5-1.2 เมตร ตามลำต้นเมื่ออ่อนจะมีขนนุ่มขึ้นทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ชอบแสงแดดจัด ดินร่วนซุย สามารถขึ้นได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย เป็นพรรณไม้กลางแจ้งและเป็นไม้พื้นเมืองของประเทศออสเตรเลีย

***มีโอกาสได้ไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า  เลยได้เห็นทุ่งดอกกระดาษ  ซึ่งเป็นสถานที่เที่ยวแห่งหนึ่งของภูหินร่องกล้า***

"ดอกรักเร่"

รักเร่ เป็นพันธุ์ไม้ดอกในสกุล Dahlia ที่มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโก โคลัมเบีย และทั่วไปในทวีปอเมริกากลาง ดอกมีรูปทรงและสีสันสวยงามสะดุดตา ก้านดอกแข็งแรง นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก เช่นเดียวกับกุหลาบ แต่ในประเทศไทยไม่นิยมปลูก เนื่องมาจากมีชื่อที่ไม่เป็นมงคล รักเร่เป็นไม้พุ่ม รากมีลักษณะคล้ายหัว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ดอกเป็นแบบเดียวกับเบญจมาศ ก้านดอกยาวแข็งแรง กลีบดอก แบ่งออกเป็น 2 ตอน กลีบดอกชั้นนอกนี้แผ่กว้างออก หรืออาจจะห่อเป็นหลอดก็ได้แล้วแต่ชนิดของดอก มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน กลีบรองดอก ด้านในเป็นแผ่นบาง ๆ เรียงกันเป็นระเบียบติดอยู่กับฐานของดอก ส่วนกลีบรองดอกด้านนอบเล็กกว่าด้านใน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ ดอกมีหลายสี เช่น ชมพู น้ำเงิน ขาว แดง แสด ส้ม ม่วง และเหลือง เป็นต้น

***เมื่อครั้งไปเที่ยวดอยอินทนนท์ มีโอกาสแวะไปเที่ยวที่สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  ซึ่งมีการปลูกดอกรักเร่เป็นไม้ประดับอยู่ ก่อนหน้าเคยได้ยินแต่ชื่อ เพิ่งจะเคยเห็นของจริงเลยเก็บภาพเอาไว้***

"ว่านสี่ทิศ"

ว่านสี่ทิศ เป็นไม้ดอกไม้ประดับประเภทหัว เป็นพืชล้มลุกนานหลายปี และจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูล Amaryllidaceae มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ และทวีปอัฟริกา มีชื่อสกุลแรกเป็น Amaryllis ตั้งโดย Linnacus ในปี ค.ศ.1753 ต่อมามีการผสมว่านสี่ทิศข้ามสายพันธุ์ ระหว่าง African species กับ American species ทำให้มีลักษณะเปลี่ยนไป Herbert จึงเสนอชื่อสกุลเพิ่มอีกเป็น Hippeastrum เมื่อปี ค.ศ. 1821 ดังนั้น ว่านสี่ทิศจึงมีชื่อสกุล 2 ชื่อ ตามถิ่นกำเนิด และลักษณะของก้านช่อดอก คือ สกุล Amaryllis มีถิ่นกำเนิดในแถบอัฟริกาใต้ มีลักษณะก้านช่อดอกตัน ส่วนสกุล Hippeastrum มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ มีลักษณะก้านช่อดอกกลวง แต่ทั่วไปมักใช้ชื่อสกุล Amaryllis มากกว่า ส่วนชื่อสกุล Hippeastrum ยังนิยมใช้บ้างในประเทศเนเธอร์แลนด์ และหลายประเทศในยุโรป

***นึกถึงจังหวัดเลยหลาย ๆ คนคงจะนึกถึงภูกระดึง  แต่ยังมีที่ท่องเที่ยวอีกสถานที่หนึ่งของจังหวัดเลยที่หลายคนยังไม่รู้จักและไม่เคยไป นั่นคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง  รูปนี้ถูกถ่ายจากที่นี่  ไม่เคยเห็นแปลงว่านสี่ทิศเยอะขนาดนี้ จึงเป็นเหตุผลให้ถ่ายภาพนี้มา***


"กุหลาบพันปี"

กุหลาบพันปี (อังกฤษAzalea) เป็นชื่อสกุลของไม้ดอกในสกุล Rhododendron ในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) มีมากกว่า 1,000 ชนิด คำว่า Rhododendron มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า ῥόδον rhódon หมายถึง "กุหลาบ" และ δένδρον déndron หมายถึง "ต้นไม้" ส่วนในภาษาไทย "กุหลาบพันปี" มาจากการที่มีลักษณะดอกคล้ายกุหลาบ (แต่มิได้เป็นไม้จำพวกกุหลาบแต่อย่างใด) และลำต้นที่มักมีมอสส์เกาะ คล้ายกับมีอายุเป็นพันปี จึงเป็นที่มาของชื่อ

***ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จะมีทุ่งดอกกุหลาบพันปีให้ชมพื้นที่หลายไร่เลยทีเดียว  มองในมุมสูงจะเห็นเป็นทุ่งสีขาว สีแดงเต็มภูเขา***


"ดอกหงอนนาค"

ดอกหงอนนาคหรือน้ำค้างกลางเที่ยง มีชื่อวิทยาศาสตร์ : Murdannia giganteum ( Vahl. ) Br. สูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นอวบน้ำ  ใบรูปดาบ กว้าง 4.12 มม. ยาว 15-40 ซม. ออกสลับรอบข้อที่ผิวดิน ดอก :  ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด ดอกสีม่วงอ่อนหรือม่วงน้ำเงิน สีขาว และสีชมพู ซึ่งค่อนข้างหายาก กลีบดอก 3 กลีบ กลีบตรงกลางด้านบนจะตั้งฉากกับกลีบด้านข้างทั้ง 2 กลีบ ยามเช้าจะหุบดอก แล้วจะบานเมื่อมีแสงแดด ส่วนกลางของดอกมักมีหยดน้ำติดอยู่

***ภูสอยดาว เป็นแหล่งที่พบเจอดอกหงอนนาคได้เยอะที่สุดแห่งหนึ่ง  ระยะทางการเดินไปภูสอยดาวต้องเดินระยะทาง 6 กิโลเมตรกว่า ๆ เพื่อขึ้นไปยอดดอย


"ดอกนางพญาเสือโคร่ง"

นางพญาเสือโคร่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์Prunus cerasoides[3]อังกฤษWild Himalayan Cherry) เป็นพืชดอกในสกุล Prunus ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พบทั่วไปบนภูเขาตั้งแต่ความสูง 1,200-2,400เมตรจากระดับน้ำทะเล เช่น ภูลมโล จังหวัดเลยดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงรายดอยเวียงแหง ดอยอ่างขาง ขุนช่างเคี่ยน ขุนแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่ขุนสถาน ดอยวาว ดอยภูคา มณีพฤกษ์ จังหวัดน่านภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์ภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ โดยเป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียงแหง นางพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศไทย


"พวงแสด"

พวงแสด (ชื่อวิทยาศาสตร์Pyrostegia venusta) เป็นพืชในวงศ์ Bignoniaceae มีชื่อสามัญอื่น ๆ คือ Orange trumpet, Flame flower, Fire-cracker vine พวงแสด พวงแสดเครือ ไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง อายุหลายปี ใช้มือพันเลื้อยพัน กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม ใบเป็นใบประกอบ เรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ในใบย่อยบางชุดใบกลางจะเปลี่ยนเป็นมือพัน ใบย่อย รูปไข่ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 4-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ดอกสีส้มอมเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อละ 10-30 รูปเข็ม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 3-6 เซนติเมตร ปลายแยก 5 กลีบ รูปแถบยาว และม้วนงอไปด้านหลัง มีขนละเอียด ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ผลแห้งแตก เป็นฝักยาว 15-20 เซนติเมตร เมล็ดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร


"ดอกศรีตรัง"

ศรีตรัง เป็นชื่อไม้ต้นในสกุลศรีตรัง (Jacaranda) วงศ์แคหางค่าง (Bignoniaceae) ต้นอาจสูงได้ถึง 10 เมตร ใบเป็นฝอยเล็ก มี 2 ชนิดได้แก่

  • ชนิดที่มีช่อดอกเกิดที่ปลายยอด ดอกสีม่วง มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Jacaranda mimosifolia D.Don
  • ชนิดที่มีช่อดอกเกิดที่ซอกใบตามกิ่งและปลายยอด ดอกสีม่วงปนน้ำเงิน มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Jacaranda obtusifolia Bonpl. (หรือ Jacaranda filicifolia D.Don) เป็นชนิดที่นิยมปลูกกันทั่วไปในประเทศไทย


"ดอกไม้ทะเล"

ดอกไม้ทะเลหรือซีแอนนีโมนี่ (sea anemone)
ไม่ใช่พืชแต่เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มหนึ่ง มีหลายครอบครัว ทั่วโลกพบมากกว่า 1,000 ชนิด ในแต่ละชนิดจะมีลักษณะของหนวดแตกต่างกัน อาศัยเกาะตามพื้นหินหรือทรายที่มั่นคงและพบเพียง 10 ชนิดเท่านั้นที่ปลาการ์ตูนใช้อาศัยได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ครอบครัวได้แก่
1. ครอบครัวแอคตินีอีดี้ (Family Actiniidae) มีลักษณะของปลายหนวดโป่งออกคล้ายลูกโป่ง
2. ครอบครัวธาลัสซิแอนธิดี้ (Family Thalassianthidae) ลักษณะของหนวดสั้นคล้ายพรม
3. ครอบครัวสตีโคแดคทิวลิดี้ (Family Stichodactylidae) มีหนวดยาว




Create Date : 14 กรกฎาคม 2559
Last Update : 15 กรกฎาคม 2559 16:04:04 น.
Counter : 5000 Pageviews.

3 comments
กงสุลใหญ่สมใจ ตะเภาพงษ์“ร่วมฉลองสงกรานต์ปีใหม่ไทยในไทม์สแควร์” newyorknurse
(17 เม.ย. 2567 02:18:24 น.)
春和歌山市 : ทำไมต้องวากะยามะ mariabamboo
(15 เม.ย. 2567 11:06:33 น.)
หาอะไรดับร้อนกับน้องถั่วแดงที่ร้านเย็น เย็น หวานเย็น สาขาMRTท่าพระ นายแว่นขยันเที่ยว
(12 เม.ย. 2567 00:32:31 น.)
ต้นไม้ใบหญ้าเริ่มฟื้นคืนชีพ สวยสุดซอย
(12 เม.ย. 2567 14:13:40 น.)
  
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ความคุ้นเคยที่หายไป Home & Garden Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
โดย: ชมพร วันที่: 15 กรกฎาคม 2559 เวลา:0:00:50 น.
  
thx u crab
โดย: Kavanich96 วันที่: 15 กรกฎาคม 2559 เวลา:3:23:08 น.
  
รูปสวยมากเลยค่ะ
โดย: blog pu วันที่: 21 กรกฎาคม 2559 เวลา:12:43:13 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Slydevil.BlogGang.com

ความคุ้นเคยที่หายไป
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]

บทความทั้งหมด