Leadership in Energy and Environmental Design
LEED (Leadership in Energy in Environmental Design )
- ความหมายความเป็นมา
- LEED สำหรับอาคารประเภทต่างๆ
- กระบวนการการรับรอง LEED
- บทสรุป


1.ความหมายความเป็นมา

ในปัจจุบันมีความตื่นตัวในด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นทั่วโลก LEED:(Leadership in Energy in Environmental Design ) หรือแปลเป็นไทยว่า ความเป็นผู้นำในการออกแบบทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง

จากอาคารเขียวสู่การประเมิน LEED
สถาปนิกไทยคุ้นเคยกับการออกแบบเพื่อการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อมมาเป็นเวลานนานในลักษณะของอาคารเขียว ซึ่งเกิดขึ้นจากองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ทรัพยากร มลภาวะ และสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ทั้งสามองค์ประกอบนี้เกิดขึ้นจากธรรมชาติของการใช้งานอาคาร การที่อาคารบริโภคทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อาคาร ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ ขยะน้ำเสีย และมลภาวะ หากพิจารณาวงตรของการใช้อาคารนี้ธรรมชาติของอาคารเขียว โดยสามัญสำนึกนั้นควรประหยัดทรัพยากรลดมลภาวะ ในขณะที่ส่งเสริมคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ซึ่งคุณลักษณะของอาคารเขียวดังกล่าวควรดำรงอยู่ในตลอดช่วงชีวิตของอาคารตั้งแต่การออกแบ การก่อสร้าง และการใช้งานอาคาร

Photobucket



หลังจากที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา USGBC ได้ดึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการก่อสร้างมากกกว่า 2000 แห่งเพื่อพัฒนา LEED ขึ้น ซึ่งวัตถุประสงค์ ของการจัดทำ LEED เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ที่สามารถชี้วัดสถานะความเป็นอาคารเขียวของอาคารต่างๆได้LEED รุ่นแรก ถูกพัฒนาขึ้นใในปี ค.ศ.2000 โดยมีองค์ประกอบที่ถูกพัฒนามาจากกรอบนิยามอาคารเขียวโดยได้แบ่งหมวดหมู่คะแนนเป็น 6 ด้าน อันได้แก่
ความยั่งยืนของที่ตั้ง (SUSTAINABLE SITE)
ประสิทธิภาพการใช้น้ำ (WATER EFFICENCY)
พลังงานและบรรยากาศ (ENERGY AND ATMOSPHERE)
ทรัพยากรและวัสดุ (MATERIAL AND RESOURCES)
สภาพแวดล้อมภายในอาคาร (INDOOR ENVIRONMENTAL OUALITY)
และนวัตกรรมและกระบวนการออกแบบ (INNOVATION AND DESIGN PROCESS)

Photobucket


Photobucket



ในแต่ละองค์ประกอบ จะมีหัวข้อคะแนนต่างๆที่มีความเป็นรูปธรรมในการกำหนดคุณลักษณะของอาคารเขียว หัวข้อคะแนนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่หัวข้อคะแนนภาคบังคับ และหัวข้อคะแนนปกติในการผ่านเกณฑ์การประเมินต้องผ่านเกณฑ์การประเมินต้องผ่านเกณฑ์คะแนนภาคบังคับทั้งหมด และผ่านเกณฑ์คะแนนปกติจนมีคะแนนผ่านระดับการรับรอง ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด(CERTIFILED) หากอาคารสามารถทำคะแนนเพิ่มขึ้นได้ถึงระดับที่กำหนดก็จะได้รับการรับรองในระดับเงิน(SILVER) ทอง(GOLD)และเพลตตินั่ม(PLATINUM) ตามลำดับ


Photobucket


2.LEED สำหรับอาคารประเภทต่างๆ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้LEEDประสบความสำเร็จอย่างมาก คือการมีเกณฑ์สำหรับอาคารหลากหลายประเภท ทั้งยังเปิดโอกาสให้อาคารที่มีการใช้งานแล้วเข้าร่วมการประเมิน LEED ได้การที่จะได้เข้าร่วมการประเมิน LEED นั้นผู้ที่เกี่ยวข้องควรรู้จักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อพิจารณาถึงเกณฑ์ที่เหมาะสมกับโครงการมากที่สุด
ในภาพรวมแล้ว LEED สามารถแบ่งได้เป็นสองทางเลือกหลักๆคือ LEEDสำหรับอาคารใหม่ (ซึ่งมีการแบ่งประเภทอาคาร) และ LEED เกณฑ์ทางเลือก LEED ที่มีอยุ่ในปัจจุบันได้ถูกแสดงไว้โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


Photobucket


LEED-NC (NEW CONSTRUCTION )
เป็นเกณฑ์แรกที่ถูกพัฒนาขึ้น โดย USGBC นับเป็นเกณฑ์สำหรับอาคารทั่วไปโดยมุ่งเน้นไปทีอาคารขนาดกลาง-ใหญ่ โดยเฉพาะอาคารธุรกิจและอาคารสาธารณะต่างๆ ซึ่งครอบคลุมอาคารสำนักงาน อาคารชุดพักอาศัย อาคารราชการ โรงงาน อาคารปฎิบัติการ เป็นต้น แต่เนื่องจากมีอาคารบางประเภทที่ต้องมีเกณฑ์เฉพาะ อาทิเช่น LEED สำหรับโรงเรียน หรือ LEED FOR SCHOOL ที่ใช้ LEED - NC เป็นเกณฑ์ แต่จะมีการเพิ่มหัวข้อคะแนนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนโดยตรงเช่น คุณภาพของสียงในอาคาร การป้องกันเชื้อรา การจัดทำผังแม่บท

LEED FOR NEIGHBORHOOD DEVELOPMENT
เป็นเกณฑ์สำหรับโครงการจัดสรรหรือพัฒนาชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนที่ยั้งยืน โดยเกณฑ์จะมุ่งเน้นไปยังการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัย ส่งเสริมให้เกิดการผสมผสานประเภทอาคารเพื่อให้สามารถ เข้าถึงได้ด้วยการเดิน ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ลดการพัฒนาที่ไร้การควบคุมทั้งโดยการเลือกที่ตั้งโครงการที่เหมาะสม เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อเป็นแหล่งสันทนาการและระบบนิเวศที่สมบูรณ์

LEED FOR HOMES
เป็นเกณฑ์การออกแบบและก่อสร้างบ้านพักอาศัยให้เป็นอาคารเขียว เกณฑ์หัวข้อคะแนนจะมีลักษณะเฉพาะเหมาะกับอาคารบ้านพักอาศัย โดยจะทำการประเมินเป็นรายหลังผ่าน LEED HOME PROVIDER ซึ่งเป็นที่ปรึกษาตัวแทนของ USGBC ในรัฐต่างๆด้วยข้อจำกัดที่ LEED HOME PROVIDER ไม่ได้ประจำการอยู่นอกประเทศเกณฑ์ดังกล่าวจึงยังไม่สามารถใช้ได้นอกจากสหรัฐอเมริกาและแคนนาดา

LEED-CI (COMMERCIAL INTERIOR )
เป็นเกณฑ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการตกแต่งภายในโดยเฉพาะ เกณฑ์จะเน้นหนักไปที่คุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงานของผู้ใช้อาคารโดยเกณฑ์จะลดความสำคัญ ด้านความยั่งยืนด้านที่ตั้ง และการใช้พลังงาน LEED -CI เป็นทางเลือก สำหรับผู้ใช้อาคาร และผู้ออกแบบที่ไม่สามรถออกแบบและก่อสร้างทั้งอาคารให้เป็นอาคารเขียวทั้งหลังได้

LEED-CS (CORE & SHELL)
เป็นเกณฑ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นในการรับรองเปลือกอาคารและโครงสร้างอาคาร หัวข้อคะแนนจะคล้ายคลึงกับ LEED -NC ค่อนข้างมาก หากแต่เกณฑ์ LEED -CS นี้เน้นไปที่โครงการเชิงพานิชย์โดยต้องการให้มีการรับรองLEED ก่อนการขาย โดยมีการรับรอง โครงการเบื้องต้น (PERCERTIFICATION)เพื่อประโยชน์ในกาเพิ่มมยอดขายแต่อยแ่างไรก็ตามทุกโครงการต้องผ่านขั้นตอนการประเมินจริงจึงจะถือว่าได้รับการรับรองที่สมบูรณ์

LEED-EB:OM (EXISTING BUILDING : OPERATION&MAINTENANCEL)
เป็นเกณฑ์เดียวที่ USBGC รับรองอาคารที่ได้ใช้งานแล้วการให้คะแนนจะเน้นไปทางการปฏิบัติการงาน การตรวจวัดและการใช้ค่าต่างๆจากการเก็บข้อมูลมาใช้ในการประเมิน เช่นการใช้ค่าใช้จ่ายทางพลังงานมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานเพื่อเทียบวัดคะแนน การตรวจวัดปริมาณขยะต่างๆที่ออกจากอาคาร รวมถึงการบริหารจัดการขยะเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ เป็นต้น การเก็บข้อมูลจะอยู่ช่วงวัดประสิทธิภาพ (PERFORMANCE PERIOD )ซึ่งโดยทั่วไปจะมีระยะเวลาสามเดือนแต่ในบางหัวข้ออาจจะมีช่วงการวัดประสิทธิภาพถึง 12 เดือน เช่นการใช้พลังงานเป็นต้น


3.กระบวนการรับรองLEED

Photobucket

Photobucket

4.บทสรุป

LEED นับเป็นการประเมินที่ประกอบขึ้นจากหัวข้อคะแนนในหลากหลายมิติที่สามารถชี้วัดความเป็นอาคารเขียวได้อย่างเป็นรูปธรรมและด้วยความง่ายชัดเจนและการตัดสินที่ป็นธรรม LEED จึงเป็นเกณฑ์ประเมินที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง อย่างไรก็ดี LEED นับเป็นระบบใหม่มากสำหรับประเทศไทย แต่หากเข้าใจและนำไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม ย่อมทำให้เกิดผลสำเร็จและรักษาสิ่งแวดล้อมต่อไป

-----------------------------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
1. วารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์ บทความ ดร.จตุวัฒน์ วโรดมพันธุ์
2.USGBC .LEED .2008
3.คู่มือแบบประเมินอาคารประหยัดพลังงาน







Create Date : 15 กันยายน 2553
Last Update : 15 กันยายน 2553 22:57:57 น.
Counter : 2012 Pageviews.

5 comments
หนังสือและอุปกรณ์การเรียนสำหรับเด็ก ป.1 ของโรงเรียนประถมที่ญี่ปุ่น SN_monchan
(7 เม.ย. 2567 05:39:08 น.)
เมนูที่เต็มไปด้วยคุณค่าอาหาร ข้าวยำ สมาชิกหมายเลข 4313444
(4 เม.ย. 2567 00:28:04 น.)
กาแฟคั่วเข้ม เหมาะกับเมนูไหนดี สมาชิกหมายเลข 7983004
(29 มี.ค. 2567 02:14:10 น.)
Soft Power คืออะไร มีลักษณะอยางไร อ่านความหมายและตัวอย่างที่นี่ newyorknurse
(21 มี.ค. 2567 03:05:02 น.)
  
ขอบคุณครับ
โดย: nordcapp (nordcapp ) วันที่: 15 กันยายน 2553 เวลา:18:48:44 น.
  
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
โดย: TREE AND LOVE วันที่: 15 กันยายน 2553 เวลา:19:10:33 น.
  
อรุณสวัสดิ์เช่นกันครับ
ขอให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสทุกๆวันนะครับ
สวัสดีครับ
โดย: nordcapp (nordcapp ) วันที่: 22 กันยายน 2553 เวลา:8:38:13 น.
  
มาแวะชวนไปดูเด็ก ถา'ปัด เรียนนอกห้องครับ



โดย: Sleeping_prince วันที่: 25 กันยายน 2553 เวลา:2:24:42 น.
  
สวัสดียามเช้ายายน้องสาวตัวแสบ ตื่นมาให้สดใส พร้อมสู้กับอีกวันของวันทำงาน

รู้จักอัพบล๊อกบ้างเด้ๆ

โดย: Sleeping_prince วันที่: 30 กันยายน 2553 เวลา:6:41:25 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Sleeping-princess.BlogGang.com

Akitnak
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]