O ขยะรกศาสนา .. O
ในทางการเมือง กับ ในทางศาสนา มีจุดร่วมอยู่อย่างหนึ่งคือ เหตุผล
หากขาดสิ่งนี้ไป ย่อมเละเทะทั้งคู่

แต่ "ความงมงาย" คำนี้มักใช้กับความเชื่อที่ขาดเหตุผลทางศาสนา มากกว่าการเมือง

ขาดเหตุผล คืออย่างไร ?
คือแนวคิดที่ไม่สอดรับกับสามัญสำนึกของคนปกติทั่วไป

อะไรที่ไม่สอดรับกับสามัญสำนึกบ้าง ?
ในศาสนาพุทธ เช่น การเวียนว่ายตายเกิด
ทำไมถึงไม่ make sense ?
เพราะหลักใหญ่ใจความของพุทธคือ หลักอนัตตา
และแนวคิดของการ เวียนว่ายตายเกิดคือ หลักอัตตา หรือ อาตมันของพราหมณ์

คนพุทธ แทบ 100% ท่อง 3 คำนี้ได้
อนิจจัง
ทุกขัง
อนัตตา

แต่อาจไม่ค่อยเข้าใจความหมายอย่างแท้จริง
คนพุทธแทบ 100% จึงยังเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด วิญญาณล่องลอยหลังตาย

หากนาย ก ตายแล้วไปเกิดใหม่เป็นนาย ข
ถามว่า เป็นคนเดิม คนเดียว กันหรือไม่ ?

คำถามนี้จะมาย้อนแย้งเรื่องเดียวกันของ พระเจ้าสิบชาติ
เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
จาก พระเตมีย์ใบ้ ไปจน พระเวสสันดร นับเนื่องเป็นคนเดิม และมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะในที่สุด

หากเชื่ออย่างนี้ แปลว่าเชื่อหลักอัตตาเที่ยง หรือ หลักอาตมัน
เปรียบเทียบได้ว่า ตั้งแต่ พระเตมีย์ใบ้ ตายไป เกิดอีก 9 ชาติจนเป็นพระเวสสันดร วิญญาณเวียนเกิดนี้เรียกว่า อาตมัน

เมื่อมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ในชาติสุดท้าย เป็นพระสมณะโคดมผู้ตรัสรู้ คือการที่อาตมันของบุคคลนี้เข้าสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ "บรมอาตมัน" หรือ "ปรมาตมัน" นั่นเอง

นี่คือสิ่งที่พรามหณ์สอนกันมาตั้งแต่ยุค อริยะ จนถึงยุค อุปนิษัท ที่ปฏิรูปคำสอนเพื่อสู้กับศาสนาเกิดใหม่อย่างพุทธ ไชนะ ชฎิล

หากความเชื่อนี้ถูกต้อง เจ้าชายก็ไม่จำเป็นต้องออกแสวงหาหนทางอื่น เพราะเมื่อมาถึงยุคพุทธกาลนั้น ศาสนาพรามหณ์ได้ตั้งมั่นในดินแดนชมพูทวีปตอนเหนือมา ไม่น้อยกว่า 1500 ปีแล้ว นานพอๆกับอายุของอิสลามในยุคปัจจุบัน

ดังนั้น แนวคิดนี้จึงไม่สอดรับกับหลักสามัญสำนึกของคนที่เรียกตัวเองว่าชาวพุทธผู้ยึดหลักปัญญา ที่กอปรด้วยเหตุผล

ไม่สอดรับกับหลัก อนัตตา หลักใหญ่ใจความของพุทธ ที่ตรงกันข้ามกับ อาตมันของพราหมณ์แบบ ไม่อาจประนีประนอม

หรือ พูดได้ว่าไม่อาจยอมรับแม้แต่คำ "แล้วแต่จะตีความ" เอาตามใจชอบ !

ความมั่นคงของหลักเหตุผล มันไม่สามารถโยกคลอนด้วยเพียง การคาดเดาอันแตกต่างใดๆ แม้แต่น้อย


โดยหลักเหตุผลแล้ว
เรื่องพระเจ้า 10 ชาติ เป็นเพียงเรื่องแต่งเชิงอุปมาอุปไมย เป็นเรื่องนามธรรมเพื่อแสดงให้เห็นพัฒนาการของจิตดวงหนึ่งไปถึงจุดของความหลุดพ้นจาก"สัญชาติญาณ" อันเป็นธรรมชาติติดตัวมาของมนุษย์ทุกคน

ตั้งแต่ พระเตมีย์ใบ้ คือหลักการ อดทน อดกลั้น โดยเอาการไม่พูดมาเป็นประเด็นเปรียบเทียบ

จนถึง พระเวสสันดร คือหลักการ ละวางความเป็น "ของกู" โดยเอาการสละแม้จน ลูก เมีย เป็นประเด็นเปรียบเทียบหลัก

เมื่อเอา "ของกู" มาวางอย่างโดดเด่นในชาติพระเวสสันดร
และเอา "ตัวกู" มาวางในชาติพระสมณะโคดม

แปลว่า ลำดับขั้นแห่งพัฒนาการของจิตนี้ "ตัวตน" เป็นจุดสุดท้าย เป็นจุดยากสุด ก่อนจะถอน "สัญชาติญาณ" ออกจากจิตจนสิ้นได้ (ถอนอาสวะ)

.
.


ธรรมชาติภายนอกมีอยู่ เป็นอยู่ ของมันเอง
ธรรมชาติภายในมีอยู่ ทำงานได้ปกติ
โลก เกิดขึ้นมา ตั้งแต่มีตัวรับรู้ทั้ง 6 ทาง สัมผัส และมีปฏิกิริยาโต้ตอบ
วงรอบการเกิดดับ ก็เริ่มต้นหมุน (วัฏฏะสงสาร)

รู้น้อย ไม่รู้จักคิด วงรอบเกิดดับก็จะหมุนทุกวินาทีไปเรื่อยๆ ไม่จบไม่สิ้น
รู้ทัน รู้จักคิด วงรอบเกิดดับ จะหมุนๆ หยุดๆ
รู้แจ้ง ตลอดเวลา วงรอบเกิดดับ จะหยุดหมุนตลอดกาล โลกก็จะดับลง







Create Date : 05 มิถุนายน 2557
Last Update : 5 มิถุนายน 2557 21:31:30 น.
Counter : 1233 Pageviews.

1 comments
เวลาที่หายไป - บทที่ 27 ดอยสะเก็ด
(16 เม.ย. 2567 20:17:49 น.)
Oh!! my sassy boss ตอนที่ 22 หน้า 2 unitan
(16 เม.ย. 2567 10:34:46 น.)
: รูปแบบของการตระหนักในการรับรู้ : กะว่าก๋า
(15 เม.ย. 2567 05:37:45 น.)
Oh!! my sassy boss ตอนที่ 22 หน้า 1 unitan
(11 เม.ย. 2567 07:22:50 น.)
  
ใน “ภาคผนวก 1” หัวข้อ “ความคิดเห็นบางแง่มุมของนิทเช่ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและคริสต์ศาสนา (“โต้คริสต์” 20-23)” ของหนังสือเล่มที่โพสต์นี่แหละครับ (น.462-468) เช่น น.462-463 นิทเช่ เขียนว่า

พุทธศาสนามีความเป็นจริงมากกว่าศาสนาคริสต์ร้อยเท่า และได้รับมรดก-คือการเสนอปัญหาอย่างเยือกเย็นและปราศจากอารมณ์-จากการเคลื่อนไหวทางปรัชญาที่มีมาก่อนหน้านั้นหลายร้อยปี แง่คิดเกี่ยวกับ “พระเจ้าผู้เป็นหนึ่ง” ถูกทำลายลงเรียบร้อย เมื่อพุทธศาสนาอุบัติขึ้น ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เราเห็นว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาเดียวเท่านั้นที่มีรากฐานตั้งอยู่บนปรากฏการณ์ที่สัมผัสได้ แม้ในทฤษฎีแห่งการหาความรู้ ก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานของปรากฏการณ์อย่างเคร่งครัด ทั้งไม่ค่อยเอ่ยถึงการต่อสู้กับ “บาป” แต่กลับพูดถึงการต่อสู้กับ “ทุกข์” ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นจริง
โดย: สดายุ... วันที่: 8 มิถุนายน 2557 เวลา:8:43:23 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Sdayoo.BlogGang.com

สดายุ...
Location :
  France

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]

บทความทั้งหมด