ทรงเป็นศูนย์รวมใจไทยทั้งชาติ ณ.ทุ่งมะขามหย่อม อยุธยา


นับเป็นวันแห่งความสุข ของเราชาวไทยอีกครั้ง
ที่เราได้เห็นพระองค์ท่าน ออกจาก โรงพยาบาล ศิริราช
ก็ไม่ใช่ว่าไปดูการแสดงของชาวอยุธยา
แต่พระองค์ทรงเป็นห่วงเรื่องน้ำในปีนี้ต่อประสพนิกรของพระองค์ท่านท่าน
พอชาวไทยที่แม้จะไม่ใช่ชาวอยุธยา ทราบข่าว ก็ต่างรอคอยชมพระบารมี
ชาวอยุธยาซึ่งเป็นผู้ได้รับพระมากรุณาธิคุณจากโครงการนี้โดยตรง
กว่าสิบปี ทั้งในด้านอุทกภัย หรือการเพราะปลูก
จึงได้แสดงความจงรักภัคดี รำลึกในพระมหาธิคุณ



ทุ่งมะขามหย่อง สมรภูมิรบสำคัญในสมัยอยุธยา ที่ถูกจารึกลงในประวัติศาสตร์ ถึงการเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ของวีรสตรีไทย"สมเด็จพระศรีสุริโยทัย" ที่ ทรงสละชีพเพื่อปกป้องแผ่นดินไทยในการรบกับพม่าเมื่อปี พ.ศ.2091 ตั้งอยู่ในตำบลภูเขาทอง อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กินพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ มีพระราชานุสาวรีย์ช้างทรงของสมเด็จพระสุริโยทัย และนักรบจาตุรงคบาท ตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำ ซึ่งอนุสรณ์สถานแห่งนี้ถูกจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2534 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติให้กับสมเด็จพระศรีสุริโยทัย และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวาระมหามงคลพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในปี พ.ศ.2535 ด้วย สถานที่แห่งนี้จึงมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย"

นอกจากนี้ ยังเป็นที่ดินส่วนพระองค์ ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวตามแนวพระราชดำริ เป็นพื้นที่แก้มลิง เพื่อรองรับและป้องกันน้ำท่วม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ผันน้ำเหนือจากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ที่ดินส่วนพระองค์บริเวณทุ่งมะขามหย่องและทุ่งภูเขาทองที่อยู่ติดกัน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวบ้านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก

"ภาพประวัติศาสตร์ "ในหลวง พระราชินี เสด็จพระราชดำเนิน ทุ่งมะขามหย่อง 14 พฤษภาคม 2539


ขอบคุณภาพ
เผยแพร่เมื่อ 23 พ.ค. 2012 โดย cosovo999
ภาพประวัติศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ทุ่งมะขามหย่อง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2539 เป็นเวลา 16 ปีมาแล้ว ยังความปราบปลื้มปิติมิรู้ลืมมาสู่ชาวอยุธยาเมื่อ พระองค์ทรงเคียวเกี่ยว­ข้าวที่ทุ่งมะขามหย่อง เป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้­ ที่ชาวอยุธยาไม่มีวันลืม ครบรอบ 16 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเกี่ยวข้าวที่ทุ่งมะขามหย่อง จ.พระนครศรีอยุธยา โอกาสนี้ทางจังหวัดได้จัดสร้างพระบรมรูปนูนสูง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถือเคียวเกี่ยวข้าว เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น

เป็นพระบรมรูปนูนสูง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถือเคียวเกี่ยวข้าว ซึ่ง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้จัดสร้างขึ้นภายในบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดี ในโอกาสครบรอบ 16 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเกี่ยวข้าวที่ทุ่งมะขามหย่อง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2539 สำหรับเคียวดังกล่าวเป็นเคียวสแตนเลส ประดับมุก ทำขึ้นใหม่ด้วยฝีมือของนายพยงค์ ทรัพย์มีชัย นายช่างที่ตีเคียวอันเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เกี่ยวข้าวที่ทุ่งมะขามหย่อง เมื่อ 16 ปีก่อน

นายพยงค์ เปิดเผยถึงความภาคภูมิใจในฐานะช่างตีเคียว พร้อมยืนยันว่า จะตั้งใจทำงาน สืบสานอาชีพช่างตีมีดและเคียวเอาไว้ต่อไป

"อนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดี" ทุ่งหันตรา พระนครศรีอยุธยา : https://www.youtube.com/watch?v=lPtbDYVfceI

ขณะเดียวกัน ที่บริเวณทุ่งมะขามหย่อง คนงานจำนวนมากกำลังเร่งสร้างเวทีการแสดงขนาดใหญ่ เพื่อเตรียมการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างต้องใช้เวลาประมาณ 20 วัน จึงจะแล้วเสร็จ

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

รวมพลังกด Like (ถูกใจ) //goo.gl/b8SE6 แฟนเพจ เพื่อเป็นการแสดงถึงความตั้งใจใ­นการทำความดีเพื่อถวายแด่ "พระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู­่หัว" ของพวกเราชาวไทย

คนไทยต้องรักกัน และร่วมกันปลูกจิตสำนักให้ทุกคน รักชาติ รักแผ่นดิน รักในหลวง
Like (ถูกใจ) //goo.gl/b3haH
















“ทุ่งมะขามหย่อง” ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านใหม่ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นบริเวณที่น้ำท่วมขังในฤดูน้ำหลาก เมื่อ พ.ศ.2091 หลังจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ได้ 7 เดือน พระเจ้าหงสาวดีตะเบงชะเวตี้ยกกองทัพเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เมืองกาญจนบุรี ถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 4 แล้วตั้งค่ายล้อมพระนคร 4 ค่าย คือค่ายพระเจ้าหงสาวดี ตั้งอยู่ที่บ้านกุ่มดวง ค่ายบุเรงนองตั้งอยู่ที่ ต.เพนียด ค่ายพระเจ้าแปรตั้งอยู่ที่บ้านใหม่มะขามหย่อง ค่ายพระยาพะสิมตั้งอยู่ที่ทุ่งประเชด หรือทุ่งวรเชษฐ์

ครั้นวันอาทิตย์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พร้อมด้วยพระมเหสี คือ สมเด็จพระมหาสุริโยทัย ซึ่งแต่งพระองค์เยี่ยงพระมหาอุปราช และพระราชโอรส พระราชธิดา คือ พระราเมศวร พระมหินทร์ พระบรมดิลก ทรงช้าง ยกกองทัพไปยังทุ่งภูเขาทอง หมายจะลองกำลังศึก กองทัพกรุงศรีอยุธยาปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นกองหน้าที่ทุ่งมะขามหย่อง

พระมหาจักรพรรดิทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร แต่พลายแก้วจักรพรรดิ พระคชาธารของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิถลำไปข้างหน้ารั้งไว้ไม่อยู่ พระเจ้าแปรได้ทีจึงเบนช้างไล่ตาม สมเด็จพระศรีสุริโยทัยเกรงพระสวามีจะเป็นอันตราย จึงไสช้างทรงพลายสุริยกษัตริย์เข้าขวางไว้ ช้างพระเจ้าแปรได้ล่าง ใช้งาเสยข้างสมเด็จพระศรีสุริโยทัยแหงนหงาย พระเจ้าแปรจึงจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าวต้องพระอังสากระทั่งราวพระถัน สิ้นพระชนม์บนคอช้าง พระราเมศวรกับพระมหินทร์ขับช้างเข้ากันพระศพพระราชมารดานำกลับพระนครได้

ในแผ่นดินพระมหาธรรมราชา หลังจากสมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศเอกราชได้ 2 ปี พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงให้มังมอดราชบุตร ซึ่งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ยกกองทัพมาตั้งค่ายที่ขนอนปากคู่ ใกล้ทุ่งมะขามหย่อง สมเด็จพระนเรศวรยกพลออกมาปล้นค่ายพม่าหลายครั้ง ทรงใช้พระโอษฐ์คาบพระแสงดาบปีนเสาระเนียดเข้าไปในค่ายข้าศึก ทำให้พระแสงดาบเล่มนั้นปรากฏนามว่า “พระแสงดาบคาบค่าย”

ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริให้สร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ที่บริเวณ “ทุ่งมะขามหย่อง” เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมในครั้งกระนั้น

ซึ่งรัฐบาลได้สนองพระราชดำริโดยร่วมกับพสกนิกรชาวไทยดำเนินโครงการสร้างพระราชานุสาวรีย์เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวาย ในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ใน พ.ศ.2535 โดย “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และ “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์” เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2534

และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระศรีสุริโยทัย เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2538

ใน พ.ศ.2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเกี่ยวข้าวที่ “ทุ่งมะขามหย่อง” นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงให้ใช้พื้นที่ทุ่งมะขามหย่องอันเป็นที่ดินส่วนพระองค์ ในโครงการพระราชดำริ เพื่อป้องกันน้ำท่วม ทั้งในการเป็นแหล่งเก็บน้ำและรองรับน้ำ เมื่อเกิดอุทกภัยในภาคกลาง ทุ่งมะขามหย่องจึงเป็นที่รองรับน้ำที่สำคัญ


ใน พ.ศ.2549เมื่อเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักน้ำท่วมขังในหลายจังหวัด ก็ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ผันน้ำเหนือจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาในทุ่งมะขามหย่อง ซึ่งเป็นที่ดินส่วนพระองค์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร

ทั้งนี้ อนุสรณ์สถานแห่งนี้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่รวมจิตใจคนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพระราชกรณียกิจ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาหลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะครั้งที่สร้างความประทับใจให้ชาวอยุธยามิรู้ลืม คือครั้งที่พระองค์ทรงเกี่ยวข้าวที่ทุ่งมะขามหย่อง ในปี 2539

นอกจากนี้ ในทางความสำคัญแห่งวิถีชีวิตของประชาชน ทุ่งมะขามหย่องแห่งนี้ ยังเป็นหนึ่งในพื้นที่โครงการพระราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้นำพื้นที่ทุ่งนาในตำบลบ้านใหม่ อ.พระนครศรีอยุธยา กว่า 250 ไร่ มาเป็นพื้นที่แก้มลิงมาตั้งแต่กลางปี 2538 ด้วยทรงห่วงใยพสกนิกรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ต้องเผชิญทั้งปัญหาน้ำหลากและภัยแล้ง ทุ่งมะขามหย่อง ต. บ้านใหม่ จึงเป็นที่รองรับน้ำที่สำคัญ และในปี 2549 เมื่อเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักน้ำท่วมขังในหลายจังหวัด ก็ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ผันน้ำเหนือจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาในทุ่งมะขามหย่อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร

ไม่นานมานี้ปลายปีที่ผ่านมา จากเหตุมหาอุทกภัยใหญ่ แต่บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ ยังเป็นแหล่งพักพิงของประชาชนที่บ้านถูกน้ำท่วมนับพันชีวิต รวมไปถึงสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นช้าง ม้า วัว ควาย ได้อาศัยอยู่หนีน้ำยาวนานนับเดือน


ท่านรองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการอิสระ เล่าให้ฟังถึงที่มาของ “ทุ่งมะขามหย่อง” อีกมิติหนึ่งไว้ในมติชนออนไลน์วันก่อนว่า ในอดีตแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ใช่ลำน้ำสายเดียว แต่มีแม่น้ำหลายสายไหลมาบรรจบลงพื้นที่บริเวณนี้ ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยม

“สมัยก่อนลำน้ำที่ไหลผ่านทางนี้เข้ากรุงศรีอยุธยา เรียกว่า “ลำน้ำมะขามหย่อง” ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำน้อย ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาคือ “ลำน้ำบางแก้ว” ไหลผ่านมาถึงบางปะหัน ถึงทุ่งวัดนนทรี แล้วมารวมกันที่ลุ่มน้ำมะขามหย่อง ทำให้พื้นที่ระหว่างลำน้ำมะขามหย่องกับลำน้ำลพบุรี กลายเป็นทุ่งกว้าง จึงเรียกว่า “ทุ่งมะขามหย่อง”

ในแง่ของภูมิศาสตร์ เป็นท้องทุ่งพื้นที่รับน้ำมาตั้งแต่สมัยโบราณ ลำน้ำหลายสายไหลเข้ามาหากรุงศรีอยุธยาก็จะมาบรรจบกันบริเวณทุ่งแห่งนี้ ในแง่ของการทำสงครามยุทธหัตถี ก็ยังถือเป็นสมรภูมิรบระหว่างกองทัพทหารพม่ากับกองทัพไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนในแง่ประวัติศาสตร์ ที่นี่เป็นตำนานความกล้าหาญและวีรกรรมที่ควรยกย่องของสมเด็จพระสุริโยทัย
รศ.ศรีศักรเล่าอีกว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ทรงเข้าใจในลักษณะของประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ของประเทศไทยเป็นอย่างดี เมื่อเกิดน้ำท่วมอยุธยาในระยะแรก พระองค์ก็ทรงมีพระประสงค์จะทำอ่างกักเก็บน้ำในบริเวณทุ่งมะขามหย่อง จากนั้นเป็นต้นมาทุ่งแห่งนี้จึงกลายเป็นอ่างเก็บน้ำถาวร”

“ความคิดของผม พระองค์ท่านเสด็จฯ มาทุ่งมะขามหย่องเป็นการส่วนพระองค์ในครั้งนี้ น่าจะเสด็จฯ ไปเพื่อทรงขยายอ่างเก็บน้ำที่เป็น “แก้มลิง” สำหรับรับมือกับน้ำท่วมพระนครศรีอยุธยา”
รศ.ศรีศักรกล่าว
รศ.ศรีศักรยังกล่าวต่ออีกว่า

“นอกจากนี้ ผู้รับผิดชอบควรพิจารณาปัญหานายทุนจะสร้างบ้านจัดสรรที่อยุธยา เพราะปัจจุบันพื้นที่บริเวณทุ่งมะขามหย่องมีบ้านจัดสรรผุดขึ้นเป็นจำนวนมาก บ้านจัดสรรและนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวได้สร้างทับพื้นที่ฟลัดเวย์ ทำให้น้ำท่วมมากขึ้นกว่าในอดีต”

//www.chaoprayanews.com/2012/05/25/พระผู้ “ทรงกลดกลางใจ” มว/

//www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20120525/453536/เปิดตำนาน'ทุ่งมะขามหย่อง.html






‘ทรงพระเจริญ’ พสกนิกรแซ่ซ้องกึกก้อง‘ในหลวง’เสด็จฯทุ่งมะขามหย่อง

ในหลวง ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารบก เสด็จฯไปยังทุ่งมะขามหย่อง@250555


เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย realmkii

"ในหลวง พระราชินี" เสด็จฯ ทุ่งมะขามหย่อง "ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ"


เผยแพร่เมื่อ 14 พ.ค. 2012 โดย Khon LukChat

ในหลวง พระราชินี เสด็จฯไปยังทุ่งมะขามหย่อง@250555


เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย realmkii























จ พระนครศรีอยุธยา ได้จัดทำสูจิบัตรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แจกราษฎรที่ไปรับเสด็จฯ


เผยแพร่เมื่อ 24 พ.ค. 2012 โดย cosovo999

-------------

ในหลวง เสด็จทุ่งมะขามหย่อง ๒๕ พ.ค. ๕๕



เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย CityLoveUChannel


--------------


ริ้วขบวนอัญเชิญเครื่องราชสักการะ ในการถวายการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย cosovo999

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯยังศาลาพลับพลากลางน้ำ ทอดพระเนตรการแสดงแสงสีเสียง เริ่มด้วยขบวนแห่ช้างและขบวนทหารกองเกียรติยศ สวนสนามเลียบอ่างเก็บน้ำมายังพลับพลาพิธีเพื่อถวายพระเกียรติ โดยช้างทั้ง 9 เชือกที่เข้าร่วมพิธีรับเสด็จ ได้ผ่านพิธีปักษะปะพรมน้ำมนตร์ทั้งช้างและควาญช้างเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยช้างเชือกแรกนำพานพุ่มให้ผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมด้วยข้าราชการผู้ใหญ่ 36 ท่าน ถวายบังคม

-------------------

เพลงเห่เรือ การแสดงแสงสีเสียง ทุ่งมะขามหย่อง ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ



เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย cosovo999
การแสดงชุด "เพลงเห่เรือ" เรือ 6 ลำ ซึ่งจะขับเพลงเห่เรือประจำถิ่นที่สื่อความหมายถึงการสรรเสริญเทิดพระเกียรติที่พระอง­ค์ท่านทรงทำให้ถิ่นแผ่นดินอุดมสมบูรณ์ มีน้ำใช้ในหน้าแล้งและที่เก็บน้ำในหน้าฝน ซึ่งในปัจจุบันเป็นพื้นที่รองรับน้ำท่วมให้ประชาชนคนกรุงเทพฯ ซึ่งล้วนมาจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งเมื่อครั้งน้ำท่วมใ­หญ่ในปี พ.ศ. 2538 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ปล่อยน้ำเข้าพื้นที่โดยรอบพระราชานุสาวรีย์และให้กักเก็บ­น้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งตามโครงการพระราชดำริ ในวันที่ 23 ม.ค. 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดคันบังคับน้ำปล่อยน้ำเข้าสู่ท่อส­่งน้ำให้แก่เกษตรกร และในวันที่ 14 พ.ค. 2539 ทรงเกี่ยวข้าวในนาข้าวด้วยพระองค์เอง

เพลงเรือเฉลิมพระเกียรติ ณ ทุ่งมะขามหย่อง : วิทยาลัยนาฏศิลป์ อ่างทอง
พ่อเพลงชาย : นายวีระศักดิ์ แม้นพฆัยค์
แม่เพลงหญิง : นางสาวประภาพรรณ ลิ้นทอง
ฝึกซ้อมโดย : แม่ครูจำรัส อยู่สุข
ขอบคุณข้อมูล : จากคุณ icecoolzaza69

--------------

น้ำพระทัยขับไล่น้ำตา ทุ่งมะขามหย่อง ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ


เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย cosovo999
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ทุ่งมะขามหย่อง ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ
การแสดงชุด "น้ำพระทัยขับไล่น้ำตา" เป็นวีดีโอประมวลภาพ ผวจ.พระนครศรีอยุธยา และชาวบ้านที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

-------------

การแสดงชุดสายน้ำหลั่งไหล น้ำตาหลั่งริน ชีวีสูญสิ้น ณ ทุ่งมะขามหย่อง



เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย cosovo999
การแสดงชุด "สายน้ำหลั่งไหล น้ำตาหลั่งริน ชีวีสูญสิ้น" โดยมี อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี บรรเลงเสียงขลุ่ย ประกอบขับบทกลอนจาก อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ที่สื่อความหมายถึงความทุกข์ยากของประชาชนที่เกิดจากการประสบอุทกภัยในหลายครั้งหลาย­ครา


---------
การแสดงชุดหลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน ณ ทุ่งมะขามหย่อง



เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย cosovo999
การแสดงชุด "หลั่งเลือดทาบทา ปกปักษ์รักษาแผ่นดิน" พร้อมด้วยการฉายวีดีโอเรื่องราวประวัติศาสตร์ของทุ่งมะขามหย่องที่พระมหาจักพรรดิต่อ­สู่กับกองทัพพม่า เพื่อไม่ให้เข้าสู่กรุงศรีอยุธยาได้ รวมทั้งวีดีโอเรื่องราวของสมเด็จพระสุริโยทัย ถ่ายทอดความเสียสละของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่างฉายวีดีโอเทิดพระเกียรติสมเด็จพระสุริโยทัย รอบข้างเวทีได้นำเสนอภาพช้างบำรุงงา โดยควาญช้างผู้มากด้วยประสบการณ์ (การฝึกช้างยุทธหัตถี ซึ่งเป็นสุดยอดแห่งการฝึกช้างให้รู้จักประสานงา เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงพระราชสงคราม สมเด็จพระสุริโยทัย ในทุ่งมะขามหย่อง สมัยกรุงศรีอยุธยา) ที่นำแสดงโดยช้าง 6 เชือก จากวังช้างอยุธยาแลเพนียด ต.สวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ที่แต่งกายสวยงามตามโบราณประเพณี ด้วยผ้าหลากสีสันสดใสทั้งสีทอง แดง และเหลือง ซึ่งเป็นสีที่แสดงถึงความเป็นนักสู้ สีทอง คือ สีแห่งความรุ่งเรือง มองแล้วสว่างไสวขับกับสีผิวของช้าง


---------------------
บทกวีเทิดพระเกียรติ ขับบทกวีโดย นางจิระนันท์ พิตรปรีชา ณ ทุ่งมะขามหย่อง



เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย cosovo999
การแสดงชุด บทกวีเทิดพระเกียรติ โดย อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี บรรเลงเสียงขลุ่ยประกอบการอ่านบทกวีจากนางจิระนันท์ พิตรปรีชา มีเนื้อหาสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงช่วยเหลือประชาชน

----------------
ผู้ปิดทองหลังพระ แอ๊ด คาราบาว ทุ่งมะขามหย่อง "ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ"


เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย cosovo999
การแสดงขับร้องบทเพลงเทิดพระเกียรติ จาก แอ๊ด คาราบาว ทำการขับร้องในบทเพลง
"ปิดทองหลังพระ"
แอ๊ด คาราบาว ได้แต่งเพลงพิเศษขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสปีมหามงคล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา
วัตถุประสงค์ของการแต่งเพลงนี้ขึ้น ก็เพื่อให้คนไทยทราบ และจดจำพระนามเต็ม
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช
มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร)
ภายใต้ชื่อเพลง "ผู้ปิดทองหลังพระ"

แอ๊ด คาราบาว 30 ปี - ผู้ปิดทองหลังพระ.mp3
//www.4shared.com/audio/kgifmGa6/__30__-_.html


-------------
สดุดีมหาราชา ณ ทุ่งมะขามหย่อง



เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย tigerneversleeps

--------------

เพลงสรรเสริญพระบารมี ณ ทุ่งมะขามหย่อง "ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ"



เผยแพร่เมื่อ 25 พ.ค. 2012 โดย cosovo999
พสกนิกรต่างเปล่งเสียงทรงพระเจริญอย่างกึกก้องและยาวนานไปทั่วทุ่งมะขามหย่อง พร้องส่งเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประทับรถยนต์พระที่นั่งไปยังพระตำหนักสิริยาลัย ในฝั่งเกาะเมืองพระนครศรี อยุธยาติดแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามวัดไชยวัฒนาราม เพื่อเสวยพระกระยาหารค่ำ ตามพระราชอัธยาศัย

โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จัดทำกระทงสาย จำนวน 2,500 กระทง เพื่อลอยตามแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งจะไหลผ่านหน้าพระตำหนักสิริยาลัย เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ได้ทอดพระเนตร จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับ รพ.ศิริราช

รวมพลังกด Like (ถูกใจ) //goo.gl/b8SE6 แฟนเพจ เพื่อเป็นการแสดงถึงความตั้งใจในการทำความดีเพื่อถวายแด่ "พระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ของพวกเราชาวไทย

คนไทยต้องรักกัน และร่วมกันปลูกจิตสำนักให้ทุกคน รักชาติ รักแผ่นดิน รักในหลวง
Like (ถูกใจ) //goo.gl/b3haH

วิธีการแจ้งคลิปไม่เหมาะสม (จาบจ้วง/หมิ่นฯ) : //on.fb.me/rY2cdJ

ปล. สำหรับตัวเองเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี ที่เพราะมากเลย

-------------











==============


วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
//www.thaipost.net/news/260512/57366

‘ทรงพระเจริญ’ พสกนิกรแซ่ซ้องกึกก้อง‘ในหลวง’เสด็จฯทุ่งมะขามหย่อง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารบก เสด็จฯ ทุ่งมะขามหย่องพร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พสกนิกรถวายความจงรักภักดีตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินผ่าน "ยิ่งลัษณ์" ทูลเกล้าฯ ถวายที่ดิน 7 ไร่ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติจดบันทึกจดหมายเหตุ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ภาพเหตุการณ์พสกนิกรชาวไทยที่มาเฝ้าฯ รอรับเสด็จด้วย
การเสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ ทุ่งมะขามหย่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 พสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อ เพราะมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยในช่วงเย็น
ขณะที่ประชาชนเรือนแสนจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดใกล้เคียงพากันจับจองพื้นที่จนแน่นทุกตารางนิ้วบริเวณทุ่งมะขามหย่องตั้งแต่เช้า บางรายเดินทางมาล่วงหน้าตั้งแต่วันก่อน ขณะเดียวกันบริเวณสองข้างทางเสด็จพระราชดำเนิน ตั้งแต่เชียงรากน้อย ตลอดเส้นทางหลวงหมายเลข 347 มีพระสงฆ์จำนวน 850 รูป รวมถึงประชาชนในพื้นที่และต่างจังหวัดรอรับเสด็จรวม 85 จุด
เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารบก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จาก รพ.ศิริราช ไปทุ่งมะขามหย่อง มีพสกนิกรถวายพระพรจำนวนมาก
ตลอดเส้นทางพระราชดำเนินผ่านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บ้านเรือนประชาชน โรงงาน ร้านค้าต่างๆ ต่างก็อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์มาประดิษฐานไว้ที่หน้าบ้านหรือหน้าโรงงานของตนเอง
ต่อมาเวลาประมาณ 17.45 น. เสด็จถึงทุ่งมะขามหย่อง ตลอดเส้นทาง พสกนิกรที่รอเฝ้าฯ รับเสด็จได้เปล่งเสียง "ทรงพระเจริญ" อย่างกึกก้องไปตลอดเส้นทาง พร้อมธงสัญลักษณ์และตราสัญลักษณ์ รวมทั้งพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถไว้เหนือหัว
เมื่อรถยนต์พระที่นั่งถึงพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย เจ้าพนักงานพระราชพิธีเชิญพวงมาลัยเข้าถวาย แล้วพระราชทานไปถวายสักการะที่โต๊ะหมู่หน้าพระราชานุสาวรีย์ ประทับรถยนต์พระที่นั่งทอดพระเนตรบริเวณรอบพระราชานุสาวรีย์ จากนั้นเสด็จฯ ไปยังศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน และผลิตผลการเกษตร น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายโฉนดที่ดินแปลงนาที่ทรงเกี่ยวข้าว เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2539 เนื้อที่ 7 ไร่
ต่อมานายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้อมถวายเงินจำนวน 9,999,999 บาท แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อสมทบทุนมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์
จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปยังศาลากลางน้ำ ทอดพระเนตรการแสดงสื่อผสม ทุ่งมะขามหย่อง แผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ ช้างเผือก 9 เชือก และการแสดงแสง สี เสียง และการแสดงเพลงเรือ
เวลา 19.30 น. เสด็จเข้าพระตำหนักสิริยาลัย เสวยพระกระยาหารค่ำตามพระราชอัธยาศัย แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นความปลื้มปีติของคนไทยทั้งประเทศที่ได้เห็นพระองค์ทรงแข็งแรง และเสด็จฯ ออกไปเยี่ยมเยียนประชาชนได้อีกครั้งหนึ่ง เป็นที่น่าดีใจ ส่วนประชาชนชาวอยุธยาถือเป็นประชาชนที่โชคดีที่ได้เข้าเฝ้าฯ และรับเสด็จอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่พระองค์ท่านเสด็จฯ ไปเมื่อครั้งก่อนที่ท่านทรงเกี่ยวข้าวในพื้นที่ จ.อยุธยา พระองค์ท่านทรงเป็นผู้ริเริ่มก่อนที่หน่วยราชการจะเข้าไปดำเนินการต่อ ถือว่า ประเทศไทยมีทุกวันนี้ได้ เป็นเพราะพระองค์ท่านทรงทำมา และทำให้คนไทยมีอาชีพ โดยเฉพาะด้านการเกษตรจนถึงทุกวันนี้
"งบประมาณปี 2556 ที่กองทัพเสนอไปไม่ได้เพียงทำกิจกรรมเทิดทูนพระองค์ท่านเพียงอย่างเดียว แต่เป็นงบที่ต้องใช้กับประชาชนทั้งการทำโครงการ แนวเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อลงไปสู่ประชาชน หน้าที่กองทัพบกคือการสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง กองทัพให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ดังนั้นงบประมาณเหล่านี้จะใช้เพื่อนำไปสู่ประชาชน และนำความรู้ต่างๆ ของพระองค์ท่านลงไปถ่ายทอดให้กับประชาชน เพื่อไปพัฒนาอาชีพของตนเองให้มีผลผลิตสูงขึ้น"
ผบ.ทบ.ยังกล่าวว่า ทั้ง 2 พระองค์ทรงคาดหวังว่า อยากให้ประชาชนคนไทยที่ทำอาชีพการเกษตรใช้เนื้อที่ให้น้อยที่สุดในการทำประโยชน์ให้เกิดสูงสุด เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่อัตคัดเรื่องน้ำ และระบบชลประทานต่างๆ ไม่ได้มีหิมะเหมือนประเทศอื่น เราต้องมีการจัดการทรัพยากรน้ำให้เหมาะสม เป็นความห่วงใยที่ทั้ง 2 พระองค์ทรงห่วงใยเรื่องน้ำมาโดยตลอด
นางสุรีรัตน์ วงศ์เสงี่ยม รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร จะมีการจดบันทึกจดหมายเหตุ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ โดยจะจดบันทึกเหตุการณ์ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินออกจากโรงพยาบาลศิริราช จนกระทั่งถึงที่ประทับ ณ ทุ่งมะขามหย่อง และเสด็จฯ กลับ
ในขณะเดียวกันจะมีการบันทึกภาพเหตุการณ์พสกนิกรชาวไทยที่มาเฝ้าฯ รอรับเสด็จอีกด้วย โดยจะมีการประสานกับทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงาน และสื่อมวลชนทุกแขนง เพื่อรวบรวมข้อมูลเอกสาร และภาพถ่ายตลอดการประทับ ณ ทุ่งมะขามหย่องด้วย.


000000000000000000

พบที่ดินประวัติศาสตร์ “ทุ่งมะขามหย่อง” เปลี่ยนหลายมือ ก่อน “อำพน” ซื้อให้นายกฯ ทูลเกล้าถวาย


//www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000063687

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 พฤษภาคม 2555 10:13 น.

เผยปูมหลังที่ดินประวัติศาสตร์ “ในหลวง” เคยเสด็จฯ เกี่ยวข้าวเมื่อปี 2539 พบเคยเปลี่ยนมือหลายทอด คุณยายวัย 79 ปีโอดถูกทิ้งร้างไร้การดูแล ก่อนตกเป็นของนายทุนตระกูล “เตชะศิริวรรณ” แต่ปล่อยให้ทำนาโดยไม่คิดค่าเช่าที่ พบ “อำพน” เลขาธิการ ครม.ดอดขอซื้อที่ดิน 20 ล้าน แฉนายกฯ ใช้ทีมงานโทร.แจ้งสื่อขอแก้ข่าวเป็นถวายในนามส่วนตัวไม่เกี่ยวกับตระกูลชินวัตร

• คุณยายงงถูกนายทุนฮุบที่ดิน-เผยสำนักพระราชวังเคยติดต่อขอซื้อที่ก่อนน้ำท่วม

คุณยายสวัสดิ์เปิดเผยว่า เดิมที่แปลงนาแห่งนี้เป็นของนางมณี เสถียรพจน์ ชาวบ้าน ต.บ้านใหม่ และต่อมามีการซื้อขายเปลี่ยนมือหลายทอด โดยช่วงปี 2539 มีนายทวี พันธุ์เสือ ชาวบ้าน ต.บ้านใหม่ เป็นคนเช่าที่นาแปลงนี้ทำกิน ต่อจากนั้นทราบว่าล่าสุดที่นาแปลงนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของนายทุนคนหนึ่งใน จ.ระยอง ตนเองในฐานะชาวบ้านก็งงกับทางราชการ เพราะสถานที่นี้เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ของชาติไทย แต่ทำไมไม่มีใครคิดจะทำให้สถานที่แห่งนี้สมเกียรติ ทรงคุณค่าแก่ลูกหลาน และประวัติศาสตร์การทำนาของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ก็ถูกทิ้งร้างไร้การดูแล ซึ่งก็มีการทำนาปลูกข้าว เข้าใจว่าเป็นที่นากรรมสิทธิ์ของเจ้าของ ไม่ใช่ที่ดินของหลวง แต่ราชการก็ควรติดต่อซื้อคืนมาเพื่อทำ อีกทั้งตรงจุดนี้ติดทุ่งมะขามหย่อง และติดถนนสายสำคัญ เป็นถนนสายหลักของการเดินทางไปภาคเหนือที่ผ่าน จ.พระนครศรีอยุธยา หากพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ก็จะดีมาก

นอกจากนี้ คุณยายสวัสดิ์เปิดเผยอีกว่า เมื่อก่อนน้ำท่วมปี 2554 สำนักพระราชวังติดต่อผ่าน อบต.ภูเขาทอง และ อบต.บ้านใหม่ มาว่าที่นาที่ในหลวงเกี่ยวข้าวอยู่ตรงไหน ตนเองก็มาดูและทุกฝ่ายในชุมชนก็พยายามที่จะตามหาเจ้าของที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงโดยสำนักพระราชวังแจ้งว่า อยากจะขอติดต่อซื้อที่ดินจำนวน 10 ไร่ตรงที่ในหลวงทรงเกี่ยวข้าวเพื่อมาทำสถานที่รำลึกถึงพระองค์ท่านที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกร โดยเฉพาะชาวนา แต่ทุกอย่างก็อยู่ระหว่าประสานงานและเงียบกันไปถึงวันนี้




๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙










ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน











Create Date : 26 พฤษภาคม 2555
Last Update : 27 พฤษภาคม 2555 0:43:14 น.
Counter : 5333 Pageviews.

0 comments
สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 47  หนึ่งเสียงในกทม.
(2 เม.ย. 2567 11:39:17 น.)
Soft Power คืออะไร มีลักษณะอยางไร อ่านความหมายและตัวอย่างที่นี่ newyorknurse
(21 มี.ค. 2567 03:05:02 น.)
ยินดีกับทีมแกะสลักหิมะไทยแลนด์🇹🇭 ในการประกวดแข่งขันแกะสลักหิมะคว้ารองแชมป์ newyorknurse
(22 มี.ค. 2567 03:02:03 น.)
ลากิจ กะว่าก๋า
(8 มี.ค. 2567 22:58:28 น.)

Sang.BlogGang.com

หนึ่งคิด
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด