เศรษฐกิจแบบพอเพียง ใช้ได้แม้ในเรื่องเล่าเรียน???
วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10543

เศรษฐกิจแบบพอเพียง ใช้ได้แม้ในเรื่องเล่าเรียน

โดย อรุณชัย ตั้งเจริญบำรุงสุข ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์



"การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง"
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาในวันที่ 4 ธันวาคม 2540 แม้ว่าในหลวงจะทรงมีพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจแบบพอเพียงมานานแล้ว แต่ก็กลับเป็นประเด็นสำคัญที่ได้รับการหยิบยกมากล่าวในช่วง 1-2 ปีนี้เอง หลังจากคนไทยตื่นเต้นกับเศรษฐกิจแบบหนี้สินและบัตรเครดิตมาหลายปี


ในเรื่องการเล่าเรียนของนักเรียนในโรงเรียนหรือของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาก็สามารถใช้ปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงได้

เมื่อก่อนนี้เราเรียนกันแบบแข่งขันเอาชนะกัน ต้องสอบเข้าโรงเรียนดังๆ หรือโรงเรียนประจำจังหวัดให้ได้ เพื่อช่วงชิงความเป็นเลิศ

แม้การสอบเข้าให้ได้อันดับต้นๆ หรือได้อันดับที่ 1 จะเป็นสิ่งดี เป็นสิ่งที่ควรคาดหวัง แต่ก็ต้องมีสติด้วยเช่นกันว่า "การสอบไม่ใช่ทุกอย่างในชีวิต แค่สอบผ่านได้ก็ถือว่ามีความสามารถมากแล้ว และหากสอบไม่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่าชีวิตจะจบสิ้นลง มันคงต้องมีที่ทางที่เหมาะสมกับตัวเราเองอย่างแน่นอน"

การหลงในภาพลักษณ์ภายนอกของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่หรูหราและเต็มไปด้วยเทคโนโลยีนั้นจนลืมตัวตนของตัวเอง และหลงลืมว่า เรามาเล่าเรียนเพื่อเอาวิชาความรู้ไปประกอบอาชีพ

มิใช่ความฟุ้งเฟ้อในรั้วโรงเรียนหรือในรั้วมหาวิทยาลัย

ในปัจจุบันมีนักเรียนหรือผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่มีค่านิยมหรือความเชื่อเรื่อง "โรงเรียนที่ดีคือโรงเรียนที่ต้องจ่ายค่าเทอมแพงๆ" ซึ่งพบว่าการส่งลูกให้ได้เข้าไปเรียนชั้นประถม 1 ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาของรัฐและเอกชนบางแห่งต้องจ่ายค่าเล่าเรียนถึงเทอมละกว่าแสนบาทแล้ว (มากกว่าค่าเล่าเรียนระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยของรัฐอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ทั้งนี้ ไม่รวมค่าแป๊ะเจี๊ยะอีกหลายหมื่นหรือหลายแสนบาท

ในสถาบันอุดมศึกษาหรือในรั้วมหาวิทยาลัยก็เช่นกัน ในบางหลักสูตรนั้นก็เน้นให้มีการแต่งตัวให้ภูมิฐานและสร้างคนให้มีรสนิยม

สำหรับครอบครัวที่ร่ำรวยอยู่แล้วย่อมไม่ใช่ปัญหา แต่ครอบครัวที่มิได้ร่ำรวยก็ย่อมสร้างปัญหาอันใหญ่หลวงในการส่งเสียบุตรหลานให้เรียนจนจบให้ได้เพื่อไม่ให้น้อยหน้าคนอื่น

และปฏิเสธไม่ได้ว่า "ในหมู่เด็กนักเรียนหรือนักศึกษาย่อมต้องมีความอยากมีอยากได้เหมือนเพื่อนๆ" เช่น อยากมีโทรศัพท์มือถือสวยเก๋ราคาแพง อยากใช้เสื้อผ้าและกระเป๋าซึ่งเป็นของนอกนำเข้า อยากเดินช็อปปิ้งในห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า อยากเที่ยวสถานบันเทิงต่างๆ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ต้องเป็นแบบโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ แม้แต่เรื่องเล็กน้อยอย่างการจดบันทึกคำบรรยายของครูอาจารย์ระหว่างเรียนก็ต้องพึ่งร้านถ่ายเอกสาร

การทำ "รายงาน" ก็เน้นที่รูปเล่มและปกที่มีราคาแพงมากกว่าเนื้อหาสาระภายใน การไม่รู้จักใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ขาดความพอประมาณ ขาดภูมิคุ้มกันต่อสิ่งยั่วยุ จึงทำให้เกิดปัญหาสร้างหนี้สินทั้งตัวผู้ปกครองและตัวนักเรียนนักศึกษาเอง

แม้เงินกู้เพื่อการศึกษาสักเท่าใดก็ไม่เพียงพอ

การเล่าเรียนอย่างพอเพียงก็คือการเรียนอย่างพอเหมาะพอดี มีเหตุผลและสมแก่ฐานะของครอบครัว ซึ่งไม่มีสูตรสำเร็จแต่ละครอบครัวต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและสอดคล้องกับเงื่อนไขและสภาวะที่ตนเองเผชิญอยู่ พร้อมๆ กับต้องมีความใฝ่ฝันและความหวังในชีวิตด้วยเช่นกัน

ผู้ปกครองและนักเรียนนักศึกษาต้องฉุกคิดว่า

"การได้เรียนในอาคารที่สวยหรูด้วยสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ นั้นไม่สำคัญ สำคัญที่สติปัญญาภายในหัวต่างหาก"





Create Date : 21 มกราคม 2550
Last Update : 21 มกราคม 2550 17:29:37 น.
Counter : 1081 Pageviews.

0 comments
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
ประสบการณ์ ทำพาสปอร์ตที่สายใต้ใหม่ newyorknurse
(2 ม.ค. 2567 17:45:17 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samrotri.BlogGang.com

samrotri
Location :
ฉะเชิงเทรา  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]

บทความทั้งหมด