ข้อควรทราบในการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังและยึดตรึงด้วยโลหะ
โดยทั่วไปการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังจะกระทำเมื่อผู้ป่วยมีอาการหรือความผิดปกติดังต่อไปนี้
1. มีอาการปวด , ชา หรืออ่อนแรงบริเวณขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง มีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ รักษาด้วยวิธีการรักษาโดยไม่ผ่าตัดแล้วไม่ดีขึ้น ส่วนใหญ่จะแนะนำผ่าตัดเมื่อรักษามาแล้วอย่างน้อย 3-6 เดือน
2. ผู้ป่วยมีอาการปวด, ชาหรืออ่อนแรงบริเวณขาและมีอาการมากจนกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะไม่ได้ ซึ่งแสดงถึงมีการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรงจนรบกวนการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติแล้ว
3. มีอาการปวด, ชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณขาเป็นๆ หายๆ จนรบกวนการดำรงชีวิตประจำวัน

วิธีการผ่าตัด
1. การผ่าตัดใช้วิธีดมยาสลบ ( General anesthesia )
2. ท่าผู้ป่วยนอนคว่ำบนเตียงผ่าตัด
3. แพทย์จะทำการตรวจเช็คระดับของกระดูกสันหลังส่วนที่จะผ่าตัดโดยการใช้ เอ็กซเรย์ก่อนและหลังทำการผ่าตัด
4. แผลผ่าตัดเป็นแผลแนวยาวกึ่งกลางลำตัว 5-12 เชนติเมตร
5. แพทย์จะทำการผ่าตัดเอากระดูก,เนื้อเยื่อรอบๆกระดูกและหมอนรองกระดูกส่วนที่แตกออกมากดทับเส้นประสาทออกและตรวจดูว่า เส้นประสาทที่เกี่ยวข้องไม่มีอะไรกดทับแล้วจึงเย็บแผลปิด
6. แพทย์จะทำการยึดตรึงกระดูกสันหลังข้อที่เกี่ยวข้องโดยใช้โลหะที่เรียกว่า Pedicular screw จากนั้นจะตรวจเช็คแนวกระดูดโดยใช้เอ็กซเรย์ว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ
7. แพทย์อาจจะใช้กระดูกเทียม หรือกระดูกของผู้ป่วยเองในการเชื่อมต่อกระดูกสันหลัง ถ้าใช้กระดูกผู้ป่วยเอง นิยมใช้กระดูกจากกระดูกเชิงกราน ทางด้านหลังโดยเปิดแผลผ่าตัดอีก 1 แผล ขนาด 2-3 เซนติเมตรใกล้กับแผลผ่าตัดเดิมและใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อเก็บกระดูกที่อยู่ภายในออกมา และเย็บปิดแผลเมื่อทำผ่าตัดเสร็จสิ้น ทั้งสองแผลในคราวเดียวกัน

ทางเลือกในการรักษาโดยวิธีอื่นๆ ถ้าไม่ผ่าตัด
1. การรักษาโดยวิธีอนุรักษ์นิยม ( Conservative treatment ) เช่นการกินยา, ฉีดยาและกายภาพบำบัด
2. การรักษาโดยวิธีการแพทย์ทางเลือก เช่นการฝังเข็ม เป็นต้น
3. การรักษาโดยวิธีฉีดยา Epidural steroid injection โดยฉีดยา Methyl prednisolone เข้าที่ช่อง Epidural space เพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท
ภาวะแทรกซ้อนทั่วไปที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดหรือการดมยาสลบ
1. อาจจะเกิดภาวะเสมหะอุดกั้นหลอดลม,ภาวะปอดติดเชื้อได้ หลังการผ่าตัดอาจจะต้องมีการรักษาภาวะเหล่านี้โดย การให้ยาปฏิชีวนะและการทำกายภาพบำบัดเพื่อระบายเสมหะ
2. อาจจะเกิด ภาวะ Deep vein thrombosis หรือ การเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำ ซึ่งมักจะเกิดที่บริเวณขาทำให้เกิดอาการปวด บวมที่ขาได้ บางรายอาจจะมีการกระจายของลิ่มเลือดเหล่านี้ไปที่ปอดได้ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
3. อาจเกิดภาวะหัวใจทำงานผิดปกติหรือหัวใจล้มเหลวหรือโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกได้ เนื่องจากหัวใจทำงานหนักระหว่างการผ่าตัด ภาวะเสี่ยงเหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเช่นโรคหัวใจ,โรคความดันโลหิตสูง,โรคเบาหวาน,ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงเป็นต้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อาจจะส่งผลทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ภาวะแทรกซ้อนเฉพาะ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัด Laminectomy

1. อาจจะมีการบาดเจ็บของเส้นประสาทในระดับที่ทำการผ่าตัด ทำให้เกิดอาการปวด,ชาหรือ
กล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณขา, ข้อเท้าหรือเท้า อาการอาจจะเกิดข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้ อาการ
เหล่านี้อาจจะเป็นชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ แต่ก็สามารถดูแล รักษาได้โดยการทำกายภาพบำบัดหรือ
ผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาได้
2. อาจจะมีการบาดเจ็บของไขสันหลังรวมทั้งอาจจะมีการฉีกขาดของเยื่อหุ้มไขสันหลัง ทำให้เกิดมีการรั่วซึมของน้ำไขสันหลัง ซึ่งจำเป็นต้องมีการรักษาจำเพาะต่อไปเช่นการให้ยา หรือผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเยื่อหุ้มไขสันหลังดังกล่าว
3. หลังผ่าตัดอาจจะยังคงมีอาการปวด,ชา หรืออ่อนแรงได้อีก เนื่องจากมีการยุบตัวของหมอนรองกระดูกในระดับที่ผ่าตัดหรือระดับใกล้เคียงกัน ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นใหม่ได้ทุกคน
4. แผลผ่าตัดอาจจะมีการอักเสบติดเชื้อได้โดยมีอาการปวด,บวม,แดงร้อน รอบบริเวณแผลผ่าตัดและอาจจะมีน้ำเหลืองหรือหนองไหลออกมาจากแผลได้ โดยอาจจะมีการรักษาต่อเนื่องต่อไป เช่น การให้ยาปฏิชีวนะหรือการผ่าตัดซ้ำเป็นต้น
5. แผลผ่าตัดอาจจะเกิดคีลอยด์หรือแผลเป็นที่มีลักษณะนูน,บวมแดงและเจ็บได้
6. ในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมาก (อ้วน)และผู้ป่วยสูบบุหรี่ อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อน เรื่องแผลผ่าตัด
ติดเชื้อ,ปอดติดเชื้อ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้มากกว่าผู้ป่วยทั่วๆไป


ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลสมิติเวช
//www.samitivejhospitals.com/allhealth_article_detail.aspx?id=152&lid=th




Create Date : 30 ธันวาคม 2553
Last Update : 30 ธันวาคม 2553 12:43:22 น.
Counter : 1148 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Samitivejhospitals.BlogGang.com

samitivej
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด