ดูแลใจหลังภัยน้ำท่วม


                น้ำท่วมใหญ่คราวนี้คนไทยต่างต้องพบเจอกับความทุกข์ทั้งทางกายและใจกันโดยถ้วนทั่ว ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าความเครียดของคนไทยยามนี้ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากความกลัวซึ่งไม่ได้กลัวน้ำ เพราะน้ำนั้นไม่น่ากลัว แต่กลัวว่าข้าวของทรัพย์สินบ้านเรือนจะเสียหายจากน้ำท่วม ยิ่งได้รับข่าวสารกรอกหูอยู่ทุกวัน ก็ยิ่งเพิ่มดีกรีความกลัวเป็นอาการตื่นตระหนก กลายเป็นโรคเครียด และนำพาตัวเองสู่ภาวะจิตตกเป็นโรคซึมเศร้าไปตามๆกัน รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ มีข้อคิดในการดูแลจิตใจและร่างกายด้วยวิธีง่ายๆ มาฝากค่ะ
             
                ปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาวะความเครียด อาจจะมาจากหลายๆ ปัจจัย ก่อนอื่นก็ต้องสังเกตตัวเองว่าเป็นคนอย่างไร เป็นคนวิตกกังวลง่ายอยู่แล้วหรือเปล่า ก็อาจจะทำให้เกิดความเครียดได้ง่ายกว่าคนอื่น เมื่อรู้ว่าตัวเองเป็นอย่างไร ก็ควรปรับตัวต่อสถานการณ์

                ในที่สุดแล้วในภาวะวิกฤต ที่คาดคิดว่ามันเลวร้ายที่สุด ถ้าเตรียมรับมือกับมันอย่างมีสติ มีการปรับความคิด ทำจิตใจให้สงบไม่ว่าน้ำจะท่วมบ้าน หรือยังไม่ท่วม ก็สามารถอยู่กับมันได้
       
                เมื่อผ่านพ้นช่วงเหตุการณ์นํ้าท่วมมาแล้ว เราควรตั้งสติและก้าวต่อไปข้างหน้า และวางแผนชีวิตว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี

วิธีการวางแผนชีวิตอย่างง่าย ๆ คือ

เริ่มจากทำจิตใจให้สงบและคิดว่าเรายังโชคดีที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังมีความสามารถ มีสมอง และสองมือ ที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้ ยังมีคนอื่นที่ลำบากมากกว่าเราสำหรับสิ่งของที่สูญเสียไปแล้วสามารถซ่อมแซมและสร้างขึ้นใหม่ได้ตราบเท่าที่เรายังมีชีวิตอยู่

สิ่งสำคัญอย่าลงโทษหรือตำหนิตนเอง เพราะเหตุการณ์นํ้าท่วมไม่มีใครอยากให้เกิดและไม่สามารถควบคุมได้

หลังจากนั้นทบทวนว่าสิ่งที่จะต้องลงมือทำมีอะไรบ้าง หรือร่วมกันคิดกับคนภายในครอบครัวว่าจะทำอย่างไรต่อไป จดบันทึกลงในกระดาษแล้วจัดกลุ่มรายการที่ต้องทำเป็นหมวดหมู่ เช่น เรื่องการกินอยู่ เรื่องสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว เรื่องการซ่อมแซมหรือสร้างที่อยู่อาศัย โดยจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของสิ่งที่ต้องทำ



                สุดท้าย เลือกทำในสิ่งที่สามารถทำได้ง่ายก่อน และสามารถทำได้ด้วยตัวเองหรือคนในครอบครัว เช่น ซ่อมแซมที่พักอาศัย ทำความสะอาดบ้าน จัดเก็บทำความสะอาดเสื้อผ้าที่ยังพอใช้ได้ แล้วค่อยหาความช่วยเหลือจากคนอื่น หรือหน่วยงานอื่น

การฟื้นฟูจิตใจหลังภัยนํ้าท่วม

      ขั้นตอนการดูแลสุขภาพจิตตนเองที่สำคัญคือ

            1. สำรวจอารมณ์ตนเอง สร้างความพร้อมทางจิตใจ
            2. ยอมรับและเผชิญความจริงเพื่อแก้ปัญหา
            3. มีเครือข่ายร่วมแก้ปัญหา
            4. ผ่อนคลายความตึงเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น
                    •  ดูแลสุขภาพและพักผ่อนให้เพียงพอ
                    •  หยุดพักการรับรู้ข่าวสารที่ไม่จำเป็นหรือสิ่งที่เป็นต้นเหตุความเครียด
                    •  พบปะพูดคุยกับเพื่อนที่ไว้วางใจ
                    •  ทำกิจกรรมผ่อนคลายที่ถนัดและชื่นชอบ
                    •  เล่นกีฬาหรือบริหารร่างกาย
                    •  การร่วมกันปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในที่อยู่อาศัยหรือศูนย์อพยพ
                    •  สิ่งสำคัญที่ควรระลึกถึง คือ การหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การดื่มสุรา สูบบุหรี่ เล่นการพนัน การทะเละเบาะแว้ง ใช้ความรุนแรง กินของจุกจิก หรือใช้ยาเสพติด เพราะนอกจากจะทำลายสุขภาพแล้ว ยังอาจทำให้มีปัญหาอื่น ๆ ตามมามากมาย เช่น เสียทรัพย์สินเงินทอง เกิดความขัดแย้ง ไม่เข้าใจกับคนในครอบครัว


นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล

จิตแพทย์ประจำโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์



Create Date : 29 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2554 14:43:34 น.
Counter : 927 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samitivejhospitals.BlogGang.com

samitivej
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด