ความจริงเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ที่คุณอาจไม่เคยรู้....


ความจริงเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ที่คุณอาจไม่เคยรู้....

* มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดใน ผู้หญิงถึงร้อยละ 40 (จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ปี 2550)
* ในผู้หญิงไทย พบมะเร็งเต้านมมากเป็นอันดับ 2 แต่สำหรับในกรุงเทพฯ กลับพบมากเป็นอันดับ 1
* พบว่าผู้หญิง 1 ใน 9 คนเป็นมะเร็งเต้านม
* ไม่มีวัคซีน ป้องกัน เหมือนมะเร็งปากมดลูก
* 3 ใน 4 ของผู้ ป่วยไม่มีปัจจัยเสี่ยง กล่าวคือผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งเต้านมได้
* วิธีที่ดีที่สุดคือตรวจหามะเร็งให้เจอตั้งแต่ระยะแรกเพื่อการ รักษาที่ทันท่วงที

คุณสามารถป้องกันตัวเองจากมะเร็งเต้านมได้

· ตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
สามารถขอคำแนะนำการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ที่ศูนย์ สุขภาพสตรีและผู้มีบุตรยาก หรือ //www.samitivejhospitals.com

· ตรวจเต้านมด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

· การเอกซเรย์เต้านม (Mammography)
ผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจแมมโมแกรมทุกปี


ดังนั้น...หากตรวจพบสิ่ง ผิดปกติหรือก้อนมะเร็งบริเวณเต้านม ตั้งแต่แรก ขณะที่ยังไม่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายก็มีโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้


วิธีการที่ใช้ในการตรวจหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกมีหลายวิธี คือ
1. การเอกซเรย์เต้านม [Memmography]
เป็นวิธีถ่ายภาพมะเร็งเต้านม เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถแสดงรายละเอียดของสิ่งผิดปกติต่างๆ รวมถึงเนื้องอกที่มีขนาดเล้กมากๆ เกินกว่าที่จะพบได้จากการคลำโดยเฉพาะเต้านมผู้สูงอายุ
จากการศึกษาพบว่าการตรวจโดยวิธีเอกซเรย์เต้านมมีประสิทธิภาพในการตรวจหา มะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก ดังนั้น ในอายุ 40-50 ปี ซึ่งมีอัตราเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมจึงควรได้รับการตรวจโดยวิธีนี้ทุกๆ 1-2 ปี ส่วนในหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไปจะมีอัตราเสี่ยงสูงกว่า ควรได้รับการตรวจเป็นประจำทุกปี


2. การตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เป็นการตรวจมะเร็งระยะเริ่มแรก โดยแพทย์จะคลำบริเวณเต้านมและบริเวณใต้วงแขน เพื่อตรวจหาว่ามีก้อนผิดปกติหรือไม่ นอกจากนั้นยังตรวจจากลักษณะต่างๆด้วย เช่น รอบบุ๋ม ตุ่ม หรือไตที่แข็งผิดปกติ การดึงรั้งที่ผิดปกติของหัวนม หรือการมีของเหลว เช่น น้ำเหลือ หรือ น้ำเลือดออกมาจากหัวนม


3. การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
เต้านมใน้พศหญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงอายุ เช่น จากภาวะการมีประจำเดือน การหมดประจำเดือน ภาวะการมีบุตร การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา อายุน้ำหนัก และการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนบางอย่าง ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างของเต้านมได้
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรตรวจเป็นประจำเดือนละครั้งเพื่อที่จะได้คุ้นเคยกับภาวะปกติของเต้านมจะ ช่วยให้สังเกตความเปลี่ยนแปลงในแต่ละเดือนได้ง่ายขึ้น
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการตรวจเต้านมด้วยตนเองคือ 7 วัน หลังจากเริ่มมีประจำเดือน เพราะเต้านมจะมีความตึง หรือบวมจากภาวะปกติน้อยสุด ในหญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว ควรจะเลือกวันใดวันหนึ่ง เช่น วันแรกของเดือน เพื่อความสะดวกและเตือนตนเองในการตรวจเป็นประจำทุกเดือน หากตรวจพบสิ่งผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อตรวจให้แน่ชัดว่าเป็น มะเร็งหรือไม่ เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที

สนใจสอบถามรายละเอียด
แผนกรังสีวินิจฉัย หรือ ศูนย์สุขภาพสตรีและผู้มีบุตรยาก โทร. +66 (0) 2378-9000
ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ชั้น 1 อาคาร 2 โทร. 66 (0) 2711-8555-6

//www.samitivejhospitals.com/allhealth_article_detail.aspx?id=390&lid=th




Create Date : 26 มิถุนายน 2553
Last Update : 26 มิถุนายน 2553 12:57:42 น.
Counter : 1679 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Samitivejhospitals.BlogGang.com

samitivej
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด