ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง ปัญหากวนใจจากการเล่นกีฬา - Frozen Shoulder



“ปัญหาโรคข้อไหล่” สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย ทั้งเกิดจากอุบัติเหตุ และไม่สัมพันธ์กับอุบัติเหตุ หนึ่งในนั้นคือ ภาวะการเคลื่อนไหวข้อไหล่ลำบาก หรือข้อไหล่ติด ซึ่งทำให้ ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ข้อไหล่ได้เต็มความสามารถและมีการใช้ งานข้อไหล่ลดลง โดยอาจไม่สามารถยกไหล่หรือกางแขน ออกได้สุด ทำให้นักกีฬาแสดงความสามารถทางกีฬา (Sports – Performance) ได้ไม่เต็มที่

โรคดังกล่าวสามารถเกิดได้จากการบาดเจ็บอักเสบทั่วๆไป อาจเกี่ยวพันกับผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ หรือโรคภูมิคุ้มกันบางอย่าง เช่น โรคข้อรูห์มาตอย (Rheumatoid arthritis) โรคข้อเอสแอลอี หรือโรคข้อพุ่มพวง (SLE arthritis) เป็นต้น หรือการบาดเจ็บต่างๆโดยเฉพาะจากการเล่นกีฬา มักพบบ่อยในการใช้กล้ามเนื้อช่วงไหล่ และแขน เช่น เทนนิส กอล์ฟ ฯลฯ

อาการแสดง
ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยการยกไหล่ไม่ขึ้น เคลื่อนไหวข้อลำบาก เช่น มีปัญหาในการใส่เสื้อ, เอื้อมหยิบของในที่สูงหรือด้านข้าง ด้านหลังไม่ได้ เล่นกีฬาลำบาก เช่น วอล์เลย์บอล, บาสเกตบอล, ว่ายน้ำ, ยิมนาสติก และโยคะ ฯลฯ อาจร่วมกับการมีอาการปวดขณะทำกิจกรรมดังกล่าวร่วมด้วย หรือปวดตอนกลางคืนขณะพลิกตัว เป็นต้น


ระยะของโรค แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
1. ระยะปวด ปวดไหล่ทั้งกลางวัน กลางคืน เกิดได้เองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น หรือแม้ไม่ได้ขยับข้อไหล่ ไม่สามารถนอนทับไหล่ข้างดังกล่าวได้ ทำให้การนอนหลับไม่สมบูรณ์ต้องตื่นกลางดึก ในระยะนี้ผู้ป่วยมักจะหนีบแขนและใช้ไหล่ข้างดังกล่าวน้อยที่สุด เพื่อลดอาการปวดตึงในเยื่อหุ้มข้อไหล่ ระยะนี้จะใช้เวลา 2 – 9 เดือน

2. ระยะติดแข็ง (ภาวะยกไหล่ไม่ขึ้น) อาการปวดเริ่มลดลง มักปวดเฉพาะเวลากลางคืน แต่ไหล่จะติดและเคลื่อนไหวลำบาก องศาในการเคลื่อนไหวไหล่ลดลงมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนติดแข็งในทุกท่า การทำกิจกรรมข้อไหล่ เช่นการเกาศรีษะ สระผม เกาหลัง ใส่เสื้อ จะทำไม่ได้ ระยะนี้จะใช้เวลา 3-12 เดือน การทำกิจกรรมข้อไหล่ เช่น การเกาศีรษะ สระผม เกาหลัง ใส่เสื้อ จะทำไม่ได้ ระยะนี้จะใช้เวลา 3 - 12 เดือน

3. ระยะบรรเทา ระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีอาการ แต่ภาวะไหล่ติดแข็งจะทรงตัว โดยถ้าติดมากเท่าไรในระยะที่ 2 ระยะที่ 3 จะเท่าเดิม กับระยะเวลาประมาณ 12-24 เดือน

การรักษา
ขึ้นกับชนิดของข้อไหล่ติด เช่นผู้ป่วยเบาหวาน หรือไทรอยด์ ก็ต้องคุมอาหารในโรคนั้นๆด้วยยาให้ดีจนปกติ หรือถ้ากระดูกหัก ก็ต้องผ่าตัด ดามกระดูกในเข้าที่เสียก่อนเป็นต้น, การให้ยาต้านการอักเสบ, การบริหารหรือกายภาพบำบัดหัวไหล่ หากการรักษาดังกล่าวไม่ดีขึ้น ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (Arthoscopic Shoulder Surgery) มีบทบาทอย่างมาก และแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ โดยมีข้อดี ช่วยให้แผลเล็กเจ็บน้อย เสียเลือดน้อย เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยหลังการผ่าตัด ฟื้นตัวเร็วขึ้นโดยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติดังเดิม โดยวิธีดังกล่าวสามารถรักษาได้ทุกสาเหตุแห่งภาวะข้อไหล่ติด สามารถที่จะช่วยเหลือให้ผู้ป่วยลดความทุกข์ทรมานจากอาการข้อไหล่ติด และกลับมาใช้งานข้อไหล่ได้ดี ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติ และดีขึ้น

ท้ายนี้เมื่อทราบดังนี้แล้ว อย่ารีรอถ้าเริ่มมีอาการปวดไหล่ ถึงแม้จะเล็กน้อย เพราะอาจเป็นจุดเริ่มต้นแห่งปัญหา (Begining of The End) ที่คุณก็คาดไม่ถึง


“ผมอยากเห็นทุกคนได้สนุกกับทุกจังหวะของการเล่นกีฬา”

นายแพทย์วีรยุทธ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Sports Medicine และ Arthroscopic Surgery ซึ่งมีความถนัดและสนใจในวิทยาการทางการแพทย์ด้าน Sports Medicine เป็นอย่างมาก จึงมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการดูแลรักษาทุกการบาดเจ็บของนักกีฬา

แพทยศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้ามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2533
วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ พ.ศ. 2540
Certificate of Arthroscope training (Knee), Malmo University Hospital, Sweden, 2002
Certificate of Arthroscope training (Shoulder), KyungHee Hospital, South Korea, 2008

นายแพทย์วีรยุทธ ชยาภินันท์
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Sports Medicine & Arthroscopic
Sports Orthopedic Center by Samitivej
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท




ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลสมิติเวช
//www.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail/ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง_ปัญหากวนใจจากการเล่นกีฬา_-_fro_601/th



Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2554 20:27:58 น.
Counter : 1810 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Samitivejhospitals.BlogGang.com

samitivej
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด