ผังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ



เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากเส้นประสาท (Median Nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณแขน และมือ และรับความรู้สึก บริเวณฝ่ามือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง เส้นประสาทนี้จะเดินทางตั้งแต่บริเวณต้นคอจนถึงปลายนิ้วมือ

ซึ่งบริเวณข้อมือนั้น จะต้องลอดช่องอุโมงค์ที่เรียกว่า Carpal Tunnel เมื่ออุโมงค์นี้เกิดการแคบลงจากสาเหตุต่างๆ เช่นการอักเสบ การบวมน้ำ หรือมีสิ่งอื่นมากดทับ ก็จะเป็นผลให้เส้นประสาท median nerve ถูกกดทับ ผู้ป่วยจะมีอาการปวด ชา ตั้งแต่บริเวณข้อมือจนถึงปลายนิ้ว

ซึ่งมักมีอาการมากบริเวณนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง หรือในบางรายอาจมีอาการได้ทั้งฝ่ามือ ถ้าเส้นประสาทถูกกดทับมากขึ้น จะทำให้อาการอ่อนแรงของมือ หยิบจับของลำบาก หรือถือของหล่นบ่อยๆ และทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือลีบลง

ผู้ป่วยที่มีโอกาสจะเป็น CTS

1. ชาหรือปวดบริเวณมือ โดยมีอาการข้างเคียงหรือทั้ง 2 ข้าง มักจะมีอาการเด่นชัดในมือข้างที่ถนัด อาการส่วนมากมักเป็นเวลากลางคืนหลังจากนอนหลับสักพักบางครั้งผู้ป่วยอาจตื่นขึ้นมาเนื่องจากอาการปวด แต่เมื่อสะบัดมือแล้วอาการจะดีขึ้นขั่วคราว

2. เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย

3. อายุที่พบบ่อยคือประมาณ 35-40 ปี

4. ผู้ที่มีข้อมือค่อนข้างกลม

5. สตรีอาจมีอาการขณะตั้งครรภ์

6. ผู้ที่ใช้ข้อมือกระดกขึ้นลงบ่อยๆ หรือทำงานที่มีการสั่นสะเทือน ของมือและแขนอยู่เป็นเวลานาน

ดังนั้นจะพบโรคนี้ได้บ่อยในกลุ่มแม่บ้านที่ทำกับข้าว ซักผ้า พนักงานโรงงาน พนักงานขุด เจาะถนน

การรักษา

1. หลีกเลี่ยงการกระดกข้อมือขึ้นลงในกิจวัตรประจำวัน โดยการเปลี่ยนมาใช้ข้อศอกหรือข้อไหล่ใน การทำกิจกรรมต่างๆ แทนเช่น การกวาดบ้าน การแปรงฟัน ฯลฯ เพื่อลดอาการอักเสบบริเวณข้อมือ

2. การทำกายภาพบำบัด เช่น การทำ Ultrasound การบริหารมือ ซึ่งจะได้ผลดีในผู้ที่เริ่มต้นมีอาการไม่มาก

3. การใส่เครื่องช่วยพยุงมือในเวลากลางคืน ซึ่งจะช่วยจัดท่าของข้อมือให้อยู่ในท่าที่ดีที่สุดเวลานอน เพื่อช่วยลดอาการปวดและเป็นการเตือนผู้ป่วยไม่ให้กระดกข้อมือมากเกินไป เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นก็สามารถหยุดการใส่ได้

4. ยาในกลุ่มยาลดการอักเสบ (NSAID) สามารถลดอาการอย่างได้ผล แต่ในผู้ที่รับประทานยาติดต่อกันนานๆ อาจมีผลข้างเคียงคือ ปวดท้อง และความสามารถในการแข็งตัวของเลือดลดลง จึงแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาหลังอาหารทันที และดื่มน้ำตามมากๆ หรือบางครั้งอาจให้ร่วมกับยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งในปัจจุบันยากลุ่มนี้ได้มีการพัฒนาเพื่อทำให้ผลข้างเคียงดังกล่าวลดลง และจำนวนครั้งในการรับประทานต่อวันยังลดลงอีกด้วย

5. การผ่าตัด มักจะพิจารณาในผู้ที่มีอาการค่อนข้างมาก ซึ่งได้ผลดีในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว หลังผ่าตัดแล้วผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย และหลังจากที่แผลหายดีแล้ว ควรจะมีการฝึกการบริหารมือและ ข้อมือ เพื่อให้เส้นเอ็นและเส้นประสาทของมือเคลื่อนไหวได้สะดวก ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเจ็บบริเวณแผลผ่าตัด ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการทำกายภาพบำบัด เช่น การนวดหรือลูบเบาๆ บริเวณแผล การใช้ความร้อนความเย็น และยาเพื่อช่วยลดอาการเจ็บปวด

อ่านรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ
//www.samitivejhospitals.com/healthblog/Srinakarin/blogdetail.php?id=39



Create Date : 20 กรกฎาคม 2554
Last Update : 20 กรกฎาคม 2554 14:30:23 น.
Counter : 951 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samitivejhospitals.BlogGang.com

samitivej
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด