ภัยร้ายเมื่อสมองขาดเลือด


รู้จักโรคของหลอดเลือดแดงในสมอง ตีบ ตัน แตก
โรคหลอดเลือดแดงในสมอง จัดอยู่ในกลุ่มโรคหลอดเลือด สมอง ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ เส้นเลือดแดงสมองตีบ ตัน และแตก โดยโรคเส้นเลือดแดงสมองตีบเป็นโรคที่พบมากที่สุด ถึง 80-85% ส่วนโรคของหลอดเลือดดำในสมองอุดตันพบได้ประมาณน้อยกว่า 1% มักพบร่วมกับความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด การใช้ยา เคมีบำบัดบางชนิด และการใช้ยาคุมกำเนิด

สาเหตุของโรคเส้นเลือดในสมอง ตีบ ตัน แตก
คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า เมื่อก่อนโรคนี้ไม่ใช่สาเหตุหลักของ การเสียชีวิต แต่ทุกวันนี้กลับกลายเป็นโรคร้ายที่หลายคนหวาดกลัว แล้วโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
- อายุ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นจะมีความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดใน สมอง ตีบ ตัน แตก เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเนื้อเยื่อของหลอดเลือดมี ความยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้มีโอกาสเปราะและแตกง่าย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอายุน้อยก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ในกรณี ที่เนื้อเยื่อของหลอดเลือดสมองมีความผิดปกติ
- ภาวะหลอดเลือดแดงผิดปกติ พบร่วมกับผู้ที่มีไขมันใน เส้นเลือดสูงและมีการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือดแดง ที่เรียกว่า atherosclerosis ซึ่งมีการหนาตัวขึ้นของหลอดเลือด ทำให้รูของหลอดเลือดแดงตีบหรืออุดตันง่าย
- ส่วนประกอบของเลือดผิดปกติ เช่นมีภาวะเลือดข้น เบาหวาน ไขมันในเส้นเลือด ล้วนทำให้มีการไหลเวียนของเลือด ลดลง และในหลอดเลือดขนาดเล็กอาจมีการจับตัวของเกล็ด เลือดง่ายขึ้น
- ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุให้เส้นเลือดแตก หรือทำให้ผนังหลอดเลือดหลุดลอกออกได้
- ภาวะหัวใจผิดปกติ มี 2 ลักษณะคือ หัวใจเต้นผิดปกติ และลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบเลือด ไหลเวียนผิดปกติ เกิดเป็นลิ่มเลือดในหัวใจได้ง่ายขึ้น และภาวะหัว ใจเต้นผิดปกติอาจดีดหรือดึงลิ่มที่เกาะอยู่กับผนังหัวใจหลุดแล้วไป อุดทำให้เส้นเลือดสมองตันได้

สัญญาณเตือนเมื่อเกิดอาการ
การแสดงออกของอาการขึ้นกับบริเวณของสมองที่ควบคุม ร่างกายส่วนนั้นๆ ถูกกระทบกระเทือน ซึ่งเกิดอาการอย่างรวด เร็ว เฉียบพลัน และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หากปล่อยทิ้งไว้ อาการจะเป็นมากขึ้น โดยเบื้องต้นมีวิธีสังเกตอาการคร่าวๆ ดังนี้
ส - สับสน พูดไม่ได้ ฟังไม่เข้าใจ
ม - มองเห็นภาพซ้อน มองเห็นแคบลง หรือมองไม่เห็นเลย
อ - แขนขาหรือหน้าซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง พูดไม่ชัด หน้าเบี้ยว มีน้ำลายไหลที่มุมปาก
ง - งง เดินเซ ทรงตัวไม่ได้

ดูแลรักษาอย่างไรเมื่อเป็นโรคเส้นเลือดในสมอง ตีบ ตัน แตก
แพทย์เฉพาะทางสมองหรือประสาทวิทยาจะพิจารณาอาการ เบื้องต้นที่เกิดขึ้นว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองจริงและประเมิน ความรุนแรง โดยวินิจฉัยด้วยการเอ็กซเรย์สมอง หากพบว่าไม่มีเลือดออกในสมองและเวลาที่เริ่มเป็นน้อยกว่า 3 ชั่วโมง ควรได้รับ ยาละลายลิ่มเลือดทันทีแม้จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรก ซ้อนโดยมีเลือดออกในสมองได้ประมาณ 6-7% แต่จากการศึกษา ในต่างประเทศและได้นำมาใช้เป็นแนวทางการรักษาโรคหลอด เลือดสมองในประเทศไทย ในกรณีที่เส้นเลือดเกิดการอุดตันไปแล้ว ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนมาให้ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยากันเลือดแข็งตัว แทน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมร่างกายให้อยู่ในสภาวะที่พร้อมรับการฟื้นฟูมากที่สุด เนื่องจากอาจเกิดภาวะขาดเลือดในสมองได้

ดูแลตัวเองอย่างไรให้ไกลความเสี่ยง
สิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงคือ ต้องหมั่นตรวจร่างกายสม่ำเสมอ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค อาการบางอย่าง เช่น ปวดศีรษะเป็นประจำ หรือการได้ยินเสี่ยงฟู่ๆอยู่ในหูอาจจะเกิดจากเส้นเลือดที่ผิดปกติ เป็นต้น การตรวจดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าจะช่วยยืนยันว่าไม่ได้เป็นโรค แต่จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคเส้นเลือดในสมอง ตีบ ตัน แตกให้น้อยที่สุด รวมทั้งการดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลสมิติเวช
//www.samitivejhospitals.com/allhealth_article_detail.aspx?id=361&lid=th



Create Date : 18 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2553 17:06:55 น.
Counter : 973 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Samitivejhospitals.BlogGang.com

samitivej
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด