บอกลามะเร็งปากมดลูก


มะเร็งปากมดลูก
ทุกๆ 2 นาที  จะมีสตรี 1 คนเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก
สำหรับประเทศไทยจากรายงานของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ  พบว่า  มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของสตรีไทยโดยคิดเป็น  20.14 %  จากจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมด  มีอัตราการเสียชีวิตของสตรีที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกประมาณ  10  คน/วัน  หรือประมาณ  4,000  คนต่อปี
จากผลการศึกษาและวิจัยพบว่า  ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจำนวน  99.7%  มีสาเหตุมาจากไวรัส  HPV  (Human  Papilloma  Virus)

HPV  (Human  Papilloma  Virus)  คืออะไร
HPV  เป็นไวรัสที่ส่วนใหญ่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ส่วนน้อยติดต่อทางการสัมผัส  มักพบบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของสตรีบริเวณปากมดลูก  ช่องคลอดและอวัยวะเพศ  ไวรัส  HPV  ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์นั้นมีมากกว่า  50  สายพันธุ์  โดยสามารถแบ่งสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคได้เป็น  2  กลุ่มใหญ่ๆ  คือ
- กลุ่มที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น สายพันธุ์ 6 และ 11 ซุ่งเป็นสาเหตุของโรคหูดหงอนไก่
- กลุ่มที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น สายพันธุ์ 16,18,31,33 และ 45 ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์มะเร็งปากมดลูกจนอาจกลายเป็นมะเร็งได้
อย่างไรก็ดี  การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูก  ตั้งแต้เริ่มต้น  ได้รับไวรัส  HPV  จนเกิดมะเร็งปากมดลูกจะใช้เวลานานโดยเฉลี่ยมากกว่า  10  ปี

HPV  DNA
ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูก

ทำไมจึงต้องตรวจหาไวรัส  HPV
 มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าไวรัส  HPV  เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกในเกือบทุกราย  จากรายงานการศึกษาวิจัยทั่วโลกพบว่า  HPV  DNA  TESTING  ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจทางด้านชีวโมเลกุลมีความไวในการตรวจมากกว่า  90% ทำให้สามารถตรวจพบไวรัสที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก  ซึ่งจะช่วยค้นหาความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก และแพทย์จะรักษาให้หายขาดได้โดยง่ายก่อนที่มะเร็งปากมดลูกจะเกิดขึ้น

การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกในระยะเริ่มแรกทำได้อย่างไร
การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกในระยะเริ่มแรกนั้น ทำได้โดยการตรวจหา  HPV  DNA  ร่วมกับการตรวจ  Pap  smear  ด้วยวิธี  Thin  Prep  ทุกๆ  1-3  ปี

รู้ทันป้องกันตนเพื่อให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งปากมดลูก
การเรียนรู้ที่จะดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากมะเร็งปากมดลูก หรือลดโอกาสเสี่ยงจากการติดเชื้อเอชพีวี เป็นเรื่องสำคัญของผู้หญิงโดยมีแนะนำที่ทำได้ง่ายๆ คือ
1. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย,การมีคู่นอนหลายคนและการสูบบุหรี่
2. ดูแลรักษาร่างกายให้สุขภาพแข็งแรงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3. ผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไปและเคยมีเพศสัมพันธ์แล้วควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) เป็นประจำทุกปี เพื่อให้ทราบว่าเซลล์บริเวณปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติหรือไม่
4. การฉีดวัคซีนเอชพีวี เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีชนิดก่อมะเร็งซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลสมิติเวช
//www.samitivejhospitals.com/allhealth_article_detail.aspx?id=243&lid=th





Create Date : 13 ธันวาคม 2553
Last Update : 13 ธันวาคม 2553 18:01:33 น.
Counter : 833 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Samitivejhospitals.BlogGang.com

samitivej
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด