โรคข้อสะโพกเสื่อมรักษาได้ ไม่ต้องกลัวอีกต่อไป


(ข้อมูลจากนิตยสาร AIGLE เดือนกันยายน)

เมืองไทย อัตราของผู้ป่วยโรคข้อกระดูกสะโพกเสื่อมอาจจะดูน้อยนิดเมื่อเทียบกับโรคข้อเสื่อมอื่นๆ เพราะ โรคกระดูกสันหลังและเข่าเสื่อมก็ปาไปตั้ง 90% เข้าไปแล้วส่วนโรคข้อสะโพกเสื่อมนี่เพิ่งจะ 0.8% ของโรคข้อเสื่อมทั้งหมด แต่ที่น่ากลัวคือ ข้อสะโพกเสื่อมเจ็บปวดแสนสาหัสที่สุดเลยในจำนวนเสื่อมๆ ทั้งหมดนี้
โรคนี้ถ้าเป็นแล้วหมดสง่า เพราะจะทำให้ขาที่อยู่ด้านที่ข้อสะโพกมีปัญหานั้นสั้นลงหรือเหยียดงอไม่ได้ตามปกติ คือจะเดินเหินอะไรก็ไม่ปกติ ขาดความมั่นใจในชีวิต มีผลต่อจิตใจสูง ไม่ต้องคิดอะไรมากเลยกางเกงขาสั้นโชว์ขาสวยนี่ไม่สามารถเลย

รศ.นพ.ประกิต เทียนบุญ ศัลยแพทย์ด้านกระดูกสันหลัง และข้อที่โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ให้ความรู้ เรื่องข้อสะโพกแบบ เรียกว่าไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว แต่ก็ไม่ต้องตกอกตกใจมากเกินไปการแก้ไขไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
ที่มาของโรคข้อสะโพกเสื่อม
• ความเสื่อมที่มากับอายุ จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ คือ ค่อยๆ สึก และเสื่อมไปเอง ไม่มีใครไปทำอะไร ซึ่งมักพบกับผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป คนไทยโชคดีกว่าฝรั่งเยอะในเรื่องนี้ เพราะการที่เราถูกอุ้มเข้าสะเอวตั้งแต่เด็กนี่ ใครจะไปเชื่อว่าเป็นการพัฒนาความสมดุลของเบ้าและข้อสะโพกให้ฟิตกันได้อย่างดี
• ความเสื่อมที่ติดตัวมาแต่เกิด อันนี้ก็เป็นโชคร้ายหน่อย คือ เป็นการที่กระดูกไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่เลย เช่น คุณแม่ไม่ได้ทานอาหารดีๆ ชอบสูบบุหรี่ และดื่มเหล้า ตลอดจนทานยาแก้ปวดเหล่านี้จะไปเบียดเบียนพัฒนาการของลูกทำให้เกิด hip dysplasia หรือ เบ้ากระดูกตื้นหรือ คอกระดูกข้อสะโพกตั้งขึ้นมากเกินไปจากปกติซึ่งจะประมาณ 45 องศา ทำให้พอโตขึ้นก็เสื่อมเร็วเพราะมันขบกันจนเกินไป ก็เหมือน ฟันเราสบกันไม่ดีก็เคี้ยวอาหารไม่สะดวกdH ต้องแก้ไข
• ความเสื่อมที่มีโรคหรือมีตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหา พวกนี้จะเกิดขึ้นเร็วไม่เกี่ยวกับอายุ เช่น โรคข้อติดเชื้อ (septic hip) ทำให้มีหนองในข้อสะโพก เกาท์ (gout) และไขข้ออักเสบ (rheumatism) เป็นต้น มะเร็งและเนื้องอกก็เป็นตัวกระตุ้นแรงอีกตัว ที่ทำให้ข้อสะโพกเสื่อมเร็ว เพราะอาหารของผิวกระดูกอ่อนที่อยู่ตามข้อเรานี้คือ นํ้าในข้อของเราเอง ถ้านํ้านี่กลายเป็นกรดเพราะป่วย กระดูกอ่อนดูดซึม osmosis เข้าไปปุ๊บก็จะป่วยตามไปด้วย บางทีตัวเร่งคือพวกยา steroid ต่างๆ ที่เรารับประทานเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เช่น ยาลูกกลอน และยาแก้ปวด ที่หมอไม่ได้สั่งให้ทานพวกนี้จะทำให้เส้นเลือดอุดตันและข้อสะโพกก็จะเริ่มตาย กระดูกก็จะยุ่ยๆ และทรุดตัวลงไปในที่สุด ดังนั้น การทานยาอะไรที่แรงๆ หรือแปลกๆ การปรึกษาหมอก่อน

• ความเสื่อมที่มากับอุบัติเหตุ คือ หักหรือหลุด พวกนี้ก็ทำให้เลือดมาเลี้ยงกระดูกอ่อนได้ไม่เต็มที่ ทำให้ผิวกระดูกบางลง ก็เหมือนเด็กที่ทานไม่อิ่ม จะโตดีแข็งแรงได้ยากกว่าเด็กที่ทานอาหารดีๆ เต็มจาน
แต่เรื่องข้อสะโพกรักษาได้ ไม่น่ากลัวอีกต่อไป เมื่อก่อนนี้การรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อมนี้ค่อนข้างน่ากลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่าตัด ที่เป็นการผ่าตัดใหญ่ สมัยก่อนนี้ผ่าทีมีแผลยาว 10-15 เซ็นติเมตรเลยทีเดียว ก็ครึ่งไม้บรรทัดละครับ พักฟื้นก็นานเอาการอยู่ แต่วันนี้ความน่ากลัวเหล่านั้น ถูกเปลี่ยนให้มาเป็นความสุข ด้วยเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ๆ ที่ทำให้รู้สึก as good as new การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกในปัจจุบัน ไม่ขึ้นอยู่กับอายุอีกต่อไปแล้ว แต่จะขึ้นอยู่กับการมีโรคประจำตัวบางชนิด และความสามารถของร่างกายที่จะทนต่อการผ่าตัดได้ แล้วแผลที่ผ่าตัดนี่ก็แค่ 4.5-5.5 เซ็นติเมตร เท่านั้นเอง

การผ่าตัดแผลเล็กลงกว่าเดิม 3 เท่า เป็นการผ่าตัดแบบ minimally invasive ล่ คือ แผลเล็ก เส้นเลือดและเนื้อเยื่อไม่ถูกทำลายมาก ก็ไม่ต้องเจ็บปวดอะไรมากมาย และเสียเลือดไปจริงๆ ก็ไม่เกิน 50 ซีซี แล้วก็ไม่ต้องไปถึงแล้ว รศ.นพ.ประกิต เป็นผู้พัฒนาเทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกที่ได้แผลเล็กที่สุดในโลก ท่านเคยผ่าตัดข้อสะโพกเทียมที่ใส่ cement ยึดทั้งบนและล่าง โดยใช้เวลาเพียง 22 นาที มาแล้ว การผ่าตัดแผลเล็กของท่านน่ะมัน beyond minimally invasive พวกข้อกระดูกเทียมที่นำมาใส่ให้ใหม่มีหลายแบบตั้งแต่ พลาสติกแข็ง เซรามิก ไปจนถึงโลหะ ซึ่งเดี๋ยวนี้เป็น Titanium และ Cobalt-chromium alloy แล้ว ซึ่งเคลือบด้วย hydroxyapatite ที่จะช่วยให้กระดูกยึดติดเองได้ดี จริงๆ แล้วมีโลหะตัวใหม่ด้วยคือ Tantalum ซึ่งถักทอให้เหมือนกระดูก และกรอปรับแต่งให้รูปร่างให้เหมือนกระดูกเราได้พอดี เพื่อที่กระดูกจะยึดได้เหมือนเนื้อเดียวกันไปเลย แต่ขณะนี้ยังต้องพัฒนาต่อไปอีกสักหน่อย เวลาผ่าตัดเปลี่ยนข้อพวกนี้ต้องอาศัยความแม่นยำแบบ NANOS Technic (Natural Anatomy Navigate Orthopedic Surgery) คือ เอาจุดต่างๆ ของร่างกายมาเป็นตัวชี้นำ พูดง่ายๆ เครื่องมือก็ช่วยได้ระดับหนึ่งแต่คุณหมอต้องแม่น เพราะจะใส่ข้อใหม่ทั้งที ใส่ลึกไป ตื้นไป องศาไม่พอดี ก็มีปัญหาอีก ถึงแม้ว่าการผ่าตัดจะไม่น่ากลัวแล้ว และคนไข้ก็สามารถเดินได้ใน 1-3 วันหลังผ่าตัด แต่ยังไงก็ต้องระวังตัวในช่วง 3 เดือนแรกก่อน ก็เหมือนการ ใส่ของใหม่เข้าไปก็ต้องมีการปรับตัวกันนิดนึง ไม่มีอะไรมาก แต่ควรระวังดังนี้
• อย่าเผลอหมุนขาเข้าใน หรือ งอเยอะๆ เพราะอาจทำให้ข้อที่ใส่ใหม่นี้หลุดได้
• เวลานอนก็บิดปลายเท้าออก
• เวลานอนตะแคงก็เอาหมอนหนาๆ 2-3 ใบมาแทรกเป็นหมอนข้างไปก่อน
• เดินนั่งก็ทำได้ปกติ เวลาเดินก็เดินตามปกติ ไม่มีอะไรน่ากลัว
• 2 อาทิตย์แรกก็อย่าหักโหม อยู่ติดบ้านหน่อยก็จะดี หลังจากนั้นก็เริ่มทานข้าวนอกบ้านได้ ผ่านไป 1 เดือน
อาจเริ่มไปทำกิจกรรมนอกบ้านได้ เช่น ช๊อปปิ้ง

ยังไงหลังผ่าตัดแล้วก็ต้องมาเช็คกันดูอีกสักนิดว่า เดินดีหรือยัง ต้องฝึกกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นหรือไม่เพราะบางคนกว่าจะมาผ่าตัด กล้ามเนื้อก็ลีบเหี่ยวไปเยอะแล้ว ต้องมาฝึกกล้ามเนื้อกันใหม่ จะได้ทดสอบว่ากล้ามเนื้อแข็งแรงไหม จะได้เดินสวยๆ X-ray ซักนิด ตอนพบแพทย์หลัง 1 เดือน จะได้รู้ว่ากระดูกกับข้อต่อสะโพกติดกันดีหรือยัง และถ้าใน 3 เดือน หลังผ่าตัดกระดูกกับข้อสะโพกติดกันดีแล้วก็เรียกว่าหมดห่วงแล้ว ที่เคยต้องเดินแปลกๆ หนุนหมอนข้างเวลานอนก็เลิกไปได้เลย เพราะการผ่าตัดจะเป็นการผ่าจากด้านหลัง ดังนั้นพอแผลที่เนื้อหายสนิทก็จะไม่เกิดขึ้นอีก

สนใจสามารถรายละเอียดที่ศูนย์กระดูกสันหลังและข้อ สมิติเวช ศรีนครินทร์ โทร. 02-378-9242 , 9244
อ่านความรู้เพื่อเป็นแนวทางป้องกันดูแลชีวิตและสุขภาพได้ในนิตยสารรายเดือน ไอเกิล (AIGLE) หรือ //www.aiglemag.com และพบบทความสุขภาพออนไลน์อีกมากมายที่ //www.facebook.com/DrCareBear
ไอเกิล เป็นนิตยสารรายเดือนเพื่อไลฟ์สไตล์และสุขภาพดีที่สามารถ interact กับผู้อ่านได้อย่างสนุกสนาน ท้าทาย เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายคนทำงานรุ่นใหม่ที่ใส่ใจในสุขภาพ ต้องการสร้างความสมดุลของร่างกาย ความคิด อารมณ์ สังคม และจิตใจ เพื่อความอยู่ดีมีสุข หาอ่านได้ที่ สมิติเวช, Au Bon Pain, Greyhound, Absolute Yoga, True Fitness, California WOW, หมู่บ้านเครือแสนสิริ, ธ.ธนชาต, ธ.ทหารไทย และโรงแรมในเครือ Amari
***************************************




Create Date : 13 กันยายน 2554
Last Update : 13 กันยายน 2554 9:30:09 น.
Counter : 847 Pageviews.

1 comments
  
อยากทราบค่าใช้จ่ายทั้งหมดค่ะว่าประมาณเท่าไหร่
โดย: อ้อม IP: 125.26.167.249 วันที่: 8 กรกฎาคม 2556 เวลา:22:58:11 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Samitivejhospitals.BlogGang.com

samitivej
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด