คาถาที่ ๒


- ต่อ 

ข) คาถาที่ ๒ คือตอนกลาง

     เมื่อทรงแสดงหลัก และลักษณะสําคัญที่เป็นจุดปรากฏของศาสนาแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงหลักขั้นปฏิบัติการของพระพุทธศาสนา โดยตรัสต่อไปว่า

        สพฺพปาปสฺส อกรณํ   กุสลสฺสูปสมฺปทา

        สจิตฺตปริโยทปนํ       เอตํ  พุทฺธาน สาสนํ ฯ

     การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การทำความดีหรือกุศลให้ถึงพร้อม ๑ การทําใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส ๑ นี้เป็นคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

     พระองค์ไม่ได้ตรัสว่า  เป็นคําสอนของพระพุทธเจ้าองค์นี้  แต่พระองค์ตรัสว่า พุทฺธานํ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ไม่ว่าพระพุทธเจ้าองค์ไหนก็สอนอย่างนี้หมด

     คาถานี้ เป็นคาถาที่ชาวพุทธรู้จักมากที่สุด และพระก็นิยมเอามาย้ำ  เพราะเป็นหลักที่จะนําไปปฏิบัติ  คาถาที่หนึ่งข้างต้นนั้น  แสดงลักษณะสําคัญของพระพุทธศาสนา ส่วนคาถาที่สองนี้ เป็นคําสอนภาคปฏิบัติเลยว่า คนเราจะต้องทําอะไรบ้าง

        ๑. ไม่ทําชั่ว

        ๒. ทําความดี

        ๓. ทําใจให้ผ่องใส

     สามอย่างนี้จํากันได้ดี  เพราะฉะนั้น  ก็ไม่ต้องอธิบายมาก  แต่อาจจะย้อนกลับมาพูดอีกทีหนึ่ง

 



Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2568
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2568 8:44:33 น.
Counter : 26 Pageviews.

0 comments
(โหวต blog นี้) 
รวมธรรม1 นาฬิกาสีชมพู
(9 มี.ค. 2568 18:00:40 น.)
จิตตฌายีสูตร อุโภอัตถสูตร บุญญสูตร เวปุลลปัพพตสูตร สัมปชานมุสาวาทสูตร ทานสูตร เมตตาภาวสูตร ต้นกล้า อาราดิน
(8 มี.ค. 2568 11:57:27 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - การศึกษาและสาระสำคัญของชีวิต : กะว่าก๋า
(6 มี.ค. 2568 05:05:51 น.)
ให้ ช่วยเหลือ สนับสนุน น้อมนำ นำพา ปัญญา Dh
(5 มี.ค. 2568 14:12:35 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด