เราหันมาใช้ช้อนส้อม+ตะเกียบที่ได้มาตรฐานจะปลอดภัยกว่านะ




เมื่อวานนี้เพื่อนส่งข้อความมาให้เป็นข้อความที่รณรงค์เชิญชวนให้เพื่อนๆหันมาใช้ ช้อนส้อมหรือตะเกียบที่ได้มาตรฐานจะปลอดภัยกว่า เป็นความรู้อีกอ้านนึงที่ต่อไปทำให้เราระมัดระวังมากขึนก่อนใช้อุปกรณ์ตักอาหารเข้าปาก ข้อความมีดังนี้ค่ะ


เพื่อนๆที่นิยมใช้ตะเกียบโปรดพิจารณาด้วยครับประกาศ!! สำนักข่าวของไต้หวันรายงานว่า ตะเกียบไม้ที่นำเข้าจากเมืองจีนมีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์สูงมาก ทำให้เกิดปัญหาเรื่องหอบหืด เป็นพิษต่อปอด และระคายเคืองผิวหนัง

ตะเกียบพวกนี้พบได้ง่ายตามงานเลี้ยงโต๊ะจีน ร้านเนื้อย่าง ชาบูชาบู แค่แช่น้ำแป๊บเดียว น้ำก็เปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้ว น้ำยิ่งร้อนเท่าไหร่ สารพิษก็ยิ่งละลายออกมามาก










พูดถึงตะเกียบแล้วเลยหาข้อมูลความเป็นมาเรื่องของ "ตะเกียบ" มาให้อ่านกันนะคะ

ตะเกียบมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน เป็นอุปกรณ์คู่ชีวิตของชาวจีนที่ติดตัวมาแต่เริ่มรับประทานอาหารเองได้  คนจีนที่ใช้ตะเกียบเป็น เราจะมองดูว่าเขาช่างคีบอาหารใส่ปากได้อย่างง่ายดาย  คล่องแคล่วว่องไว 





 ตะเกียบ มีความสามารถในการหนีบ พลิก คลุกเคล้า และอื่นๆ ได้อย่างมากมายหลายหลาก แสดงออกถึงคุณลักษณะพิเศษที่ว่า ง่ายแต่ซับซ้อน น้อยแต่มาก ซึ่งประวัติศาสตร์จีนเท่าที่มีการจดบันทึกถึงการใช้ตะเกียบที่เก่าแก่ที่สุดที่สามารถอ้างอึงจากตำราได้นั้น ระบุว่ามีใช้กันตั้งแต่เมื่อสามพันกว่าปีก่อน ในสมัยพระเจ้าโจ้ว กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ซาง โดยว่าพระองค์ได้ทรงใช้ตะเกียบที่ทำจากงาช้าง





โดยคำเรียกตะเกียบนั้น ในยุคก่อนราชวงศ์ฉินเรียกว่า เจีย 挟 ยุคสมัยฉินฮั่น เรียกว่า จู้ 箸 ยุคราชวงศ์สุยและถังเรียกว่า จิน 筋 หลี่ไป๋ กวีเอกชื่อดังสมัยราชวงศ์ถังของจีนมีกลอนบทหนึ่งกล่าวถึงว่า "พักแก้ววางตะเกียบไม่สามารถรับประทานได้ 停杯投筋不能食" พอมาถึงราชวงศ์ซ่งจึงได้เรียกว่า ไขว้ 筷 ซึ่งการที่ชื่อเรียกของตะเกียบถูกปรับเปลี่ยนนั้น ว่ากันว่าเนื่องเพราะขัดต่อความเชื่อและค่านิยมบางอย่างเป็นสำคัญ

เช่น ตำราเล่มหนึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงกล่าวไว้ว่า พื้นที่แถบบริเวณมณฑลเจียงซูและมณฑลเจ้อเจียงเทียบกับสมัยปัจจุบันนั้น ชาวบ้านแถวนั้นจะไม่เรียกตะเกียบว่า จู้ 箸 แต่เรียกว่า ไขว้จื่อ 筷子 เพราะชาวบ้านต่างนิยมใช้เรือเป็นพาหนะสำคัญ ซึ่งก็มีถือธรรมเนียมปฏิบัติและข้อห้ามต่างๆ เกี่ยวกับเรืออยู่มากมาย 




ด้วยความที่คำว่า จู้ นี้พ้องเสียงกับคำว่า จู้ 住 ที่แปลว่า หยุด จึงเปลี่ยนคำเรียกเสียใหม่เป็น ไขว้ 快 ที่แปลว่า เร็ว เพราะต่างต้องการให้เรือล่องอย่างราบรื่นและรวดเร็วไม่ใช่หยุดนิ่ง เมื่อเสียงเปลี่ยน คำเปลี่ยน ตัวหนังสือก็เลยเปลี่ยนเสียด้วย โดยใช้คำว่า ไขว้ 筷 ที่มีไม้ไผ่เป็นองค์ประกอบแสดงถึงลักษณะทางกายภาพของตะเกียบที่ส่วนใหญ่ทำมาจากไม้ไผ่นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูล 

 thai.cri.cn
board.postjung.com
myfreezer.wordpress.com



Create Date : 21 สิงหาคม 2557
Last Update : 21 สิงหาคม 2557 7:46:56 น.
Counter : 6205 Pageviews.

1 comments
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
No. 1259 สาระเกือบมี (ตอนทำงานที่ใหม่ ถูกลองดี) ไวน์กับสายน้ำ
(1 ม.ค. 2567 05:58:05 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
  
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: สมาชิกหมายเลข 3757448 วันที่: 20 มีนาคม 2560 เวลา:16:51:37 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Raveetawan.BlogGang.com

Lovelytrip
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 63 คน [?]

บทความทั้งหมด