กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ - บรรพ 1 ลักษณะ 3 ทรัพย์
บรรพ 1 หลักทั่วไป - ลักษณะ 3 ทรัพย์

ความหมายของคำว่าทรัพย์และทรัพย์สิน

มาตรา 137: ทรัพย์หมายถึงวัตถุมีรูปร่าง

มาตรา 138: ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้ง ทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้

Note:
- วัตถุมีรูปร่างคือมีขนาด กว้าง ยาว สูง; วัตถุไม่มีรูปร่าง คือมองไม่เห็นด้วยตา จับต้องสัมผัสไม่ได้ ไม่มีตัวตน ไม่มีส่วนสัด ไม่มีขนาด รวมถึงสิทธิต่างๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์
- อาจมีราคาได้ โดยราคาคือคุณค่าในตัวของสิ่งนั้น; อาจถือเอาได้ หมายถึงเข้าหวงแหนไว้เพื่อตนเอง


ประเภทของทรัพย์สิน

[1] อสังหาริมทรัพย์
[2] สังหาริมทรัพย์
[3] ทรัพย์แบ่งได้
[4] ทรัพย์แบ่งไม่ได้
[5] ทรัพย์นอกพาณิชย์

รวมถึงส่วนต่างๆ ของทรัพย์เหล่านี้ คือ ส่วนควบ อุปกรณ์ และ ดอกผล

มาตรา 139: อสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน มีลักษณะเป็นการถาวร หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นและหมายความรวมถึงทรัพย์สินอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย

Note:
- ที่ดิน พึงจัดได้เป็นส่วนกว้างส่วนยาว อันประจำอยู่แน่นอนบนพื้นผิวโลก ไม่หมายถึงที่ดินที่ขุดมาแล้ว
- ทรัพย์อันติดกับที่ดิน ต้องติดกับที่ดินโดยมีลักษณะถาวร ไม่สามารถจะแยกหรือยกเอาไปได้โดยง่าย แต่มิได้หมายความไกลถึงกับต้องติดตรึงตราอยู่ตลอดไป มีอยู่สามลักษณะคือ
+1+ ทรัพย์ที่เกิดหรือติดกับที่ดินโดยธรรมชาติ เช่นไม้ยืนต้น (มีอายุยืนกว่า 3 ปี)
+2+ ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินโดยมีผู้นำมาติด อย่างตรึงตราหนาแน่น
+3+ ทรัพย์ที่ติดตรึงตราโดยลักษณะถาวรกับทรัพย์ที่ติดกับที่ดินอีกทอดหนึ่ง
- ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เมื่ออยู่กับที่ดินก็เป็นอสังหาริมทรัพย์
- สิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
=1= สิทธิเกี่ยวกับกรรมสิทธ์ในที่ดินโดยตรง (กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิใช้สอย สิทธิจะได้รับผล สิทธิจะจำหน่ายจ่ายโอน สิทธิที่จะติดตามเอาคืนจากผู้ที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน โดยมิชอบด้วยกฏหมาย รวมถึงสิทธิที่จำกัดตัดรอนสิทธิในที่ดิน เช่นสิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภารจำยอม ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ และ สิทธิจำนอง
=2= สิทธิเกี่ยวกับกรรมสิทธิในที่ดินโดยทางอ้อม - เช่าบ้านติดอยู่กันที่ดิน บ้านก็เป็นอสังหาริมทรัพย์เพราะถือว่าบ้านนั้นสืบเนื่องจากที่ดิน กรรมสิทธิ์ในบ้าน สิทธิจำนอง หรือสิทธิที่จะได้มาซึ่งดอกผลในบ้านถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์


มาตรา 140: สังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์และหมายความรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย

มาตรา 141: ทรัพย์แบ่งได้ หมายความว่า ทรัพย์อันอาจจะแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ได้จริงถนัดชัดแจ้ง แต่ละส่วนได้รูปบริบูรณ์ลำพังตัว

มาตรา 142: ทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายความว่า ทรัพย์อันอาจจะแยกออกจากกันไม่ได้ นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์และหมายความรวมถึงทรัพย์ที่มีกฏหมายบัญญัติว่าแบ่งไม่ได้ด้วย

Note:
- ทรัพย์แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้จะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ก็ได้
- ทรัพย์แบ่งไม่ได้โดยสภาพ, โดยอำนาจของกฏหมาย(ต้องประมูลราคาหรือขายทอดตลาด แล้วนำเงินสุทธิที่ขายได้มาแบ่งกัน)


มาตรา 143: ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายความว่า ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฏหมาย

ส่วนควบ เครื่องอุปกรณ์และดอกผล

มาตรา 144: ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งว่าโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจจะแยกจากกันได้นอกจากทำลายทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป
เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น


Note:
- สาระสำคัญโดยสภาพแห่งตัวทรัพย์, โดยจารีตประเพณีท้องถิ่น


มาตรา 145: ไม้ยืนต้น เป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่
ไม้ล้มลุก หรือธัญชาติ อันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปีไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน


มาตรา 146: ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราว ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่ง ผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย

มาตรา 147: อุปกรณ์ หมายความว่าสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่น หรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์เป็นประธานนั้นเป็นอาจิณ เพื่อประโยชน์แก่การที่จะจัดดูแลหรือใช้สอย หรือรักษาทรัพย์เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์เป็ฯประธานโดยการนำมาติดต่อ หรือปรับเข้าไว้ หรือกระทำโดยประการหนึ่งประการใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบทรัพย์เป็นประธานนั้น
อุปกรณ์ที่แยกออกจากทรัพย์ที่เป็นประธานชั่วคราวก็ยังไม่ขาดจากการเป็นอุปกรณ์ของทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น
อุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ที่เป็นประธาน
เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 148: ดอกผลของทรัพย์ ได้แก่ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย
ดอกผลธรมดา
หมายความว่าสิงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวรัพย์โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยมและสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น
ดอกผลนิตินัย หมายความว่าทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้นและสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวัน หรือตามระยะเวลาที่กำหนด

บุคคลสิทธิและทรัพยสิทธิ

บุคคลสิทธิ คือสิทธิหนือบุคคล เช่นสิทธิของเจ้าหนี้ สิทธิตามสัญญาเช่า สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนในทางละเมิด

ทรัพยสิทธิ คือสิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สิน



Create Date : 25 กันยายน 2548
Last Update : 27 กันยายน 2548 7:55:27 น.
Counter : 1832 Pageviews.

15 comments
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
The Last Thing on My Mind - Tom Paxton ... ความหมาย tuk-tuk@korat
(1 ม.ค. 2567 14:50:49 น.)
อุ้มสีมาทำบุญ ๙ วัด ในวันขึ้นปีใหม่ที่จ.อุบลราชธานี อุ้มสี
(3 ม.ค. 2567 19:10:02 น.)
  
^ข้างบนจะเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้ามาแล้วเห็นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมานะคะ
โดย: ไร้นาม วันที่: 25 กันยายน 2548 เวลา:3:36:41 น.
  
มาทบทวนบทเรียนด้วยคนครับ
โดย: noom_no1 วันที่: 25 กันยายน 2548 เวลา:15:43:04 น.
  

๏ กฏหมายแพ่งแบ่งได้..........สามทรัพย์
ความบอกตามตำรับ..............อ่านแล้ว
แนวนี้ยากสำหรับ.................สมองเก็บ ได้นา
เรียนเก่งคงไม่แคล้ว.............ชื่อ ไร้นาม เอย...


โดย: ...ณ มิตร... (namit ) วันที่: 25 กันยายน 2548 เวลา:17:10:26 น.
  


ไม่ได้เข้ามาตั้งนาน ยังหนีไม่พ้นกฎหมายอีกเหรอเนี่ย

คิดถึงนะจ๊ะ ...ไปงานสัปดาห์หนังสือกันเหอะ
โดย: ชาบุ วันที่: 25 กันยายน 2548 เวลา:21:25:04 น.
  
--- คุณ noom_no1 ---

ดีใจมีเพื่อนมานั่งเรียนด้วยค่ะ

--- คุณ ณ มิตร ---

กฏหมายเรื่องทรัพย์นี้........แสนยาก
มีเรื่องย่อยหลายหลาก......อ่านรู้
คงต้องท่องลำบาก............มากอยู่
แต่จะเพียรขอสู้...............เพื่อให้ผ่านพ้น (เพี้ยง เพี้ยง)

--- ชาบุ ---

เอิ๊กๆ หลอก หลอน จ้า หลอก หลอน ลงไป 9 วิชา... เพิ่งคัดย่อมาไม่ถึงสามดีเลย อีกนานจ้ากว่าจะจบ...

ไปๆ (งานสัปดาห์หนังสือ) เมื่อไหร่ล่ะ?
โดย: ไร้นาม วันที่: 25 กันยายน 2548 เวลา:23:14:07 น.
  
อยากจะปรึกษาว่าวิธีคิดส่วนควบที่เป็นวัตถุคิดอย่างไรคะ
โดย: น้ำ IP: 203.113.17.171 วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:8:10:38 น.
  
อยากทราบกฎหมายแพ่ง+พาณิชย์มาตรา149 แบบสมบรูณ์คะ
โดย: ไก่นะคะ IP: 222.123.120.219 วันที่: 6 มิถุนายน 2550 เวลา:15:34:42 น.
  
+++ คุณน้ำ +++

เช่นอะไรบ้างคะ?


+++ คุณไก่นะคะ +++

ขอแนะนำ //www.kodmhai.com เลยค่ะ :)
โดย: ไร้นาม วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:12:05:41 น.
  
ขอบคุณคนเขียนมากๆ ครับ
พอดีมาหามตรา 146 อ่านไม่รู้เรื่องเลย T_T
โดย: กลิ่นควัน IP: 61.19.65.162 วันที่: 20 ตุลาคม 2550 เวลา:16:12:56 น.
  
อยากรู้จังเลยช่วยวินิจฉัยหน่อยว่า ต้นไม้ยางพาราอายุ 11 ปี ปลูกอยู่บนที่ดิน ส.ป.ก 4-01 ถือเป็นส่วนควบมั๊ย
โดย: เด็กกฎหมายเหมือนกัน IP: 118.173.0.67 วันที่: 19 มีนาคม 2551 เวลา:9:45:55 น.
  
ขอบคุณทุกท่านที่มาเยือนนะคะ

เรื่องกฏหมาย แนะนำให้ค้นเพิ่มที่ //www.kodmhai.com
โดย: ไร้นาม วันที่: 5 พฤษภาคม 2551 เวลา:2:05:53 น.
  
เธเธŽเธซเธกเธฒเธข เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เธ—เธฃเธฑเธžเธขเนŒ เธกเธฒเธ•เธฃเธฒเธ‚เธญเนเธ›เธ›เธชเธฃเธธเธ›เธกเธฒเธเธเธงเนˆเธฒเธ™เธตเน‰เธซเธ™เนˆเธญเธขเน„เธ”เน‰เน„เธซเธก
โดย: sia IP: 125.24.127.49 วันที่: 26 กรกฎาคม 2551 เวลา:17:06:32 น.
  
อยากรู้วิธีทำข้อสอบ
ข้อสอบกฎหมายแพ่งหลักทั่วไปจัง
โดย: Red davil ยโสธร 608 IP: 58.147.93.113 วันที่: 17 กันยายน 2551 เวลา:16:24:12 น.
  
ขอความรู้หน่อยนะคะ

อยากทราบว่า ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ ได้เทคอนกรีต
เสริมเหล็กบนที่ดินภาระจำยอมโดยความยินยิมของเจ้าของภารยทรัพย์

ถนนตกเป็นส่วนควบของที่ดินหรือไม่ และ

และได้ทำการการเรียกเก็บค่าผ่านทาง โดตกลงด้วยวาจา
กับเจ้าของภารยทรัพย์ว่า เงินที่เก็บได้จะเก็บร่วมกันเก็บรักษาไว้
เพื่อดูแลซ่อมแซมถนนภาระจำยอมเส้นดังกล่าว

ภายหลังเจ้าของภารยทรัพย์จะอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
และร้องให้เงินค่าผ่านทางที่เก็บได้เป็นของตนหรือไม่

ขอบคุณค่ะ
โดย: purple IP: 112.143.48.114 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:19:25:56 น.
  
อยากทราบ เกี่ยวกับเรื่องทรัพย์แบ่งไม่ได้ แบบละเอียดค่ะ

โดย: อ้อย IP: 111.84.100.151 วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:43:51 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Rainam.BlogGang.com

ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]

บทความทั้งหมด