ปรัชญาแห่งเต๋า สิ่งต่างอุบัติขึ้นด้วยการเปรียบเทียบ เมื่อคนในโลกรู้จักความสวยว่าสวย ความน่าเกลียดก็อุบัติขึ้น เมื่อคนในโลกรู้จักความดีว่าดี ความชั่วก็อุบัติขึ้น มีกับไม่มีเกิดขึ้นด้วยการรับรู้ ยากกับง่ายเกิดขึ้นด้วยความรู้สึก ยาวกับสั้นเกิดขึ้นด้วยการเปรียบเทียบ สูงต่ำเกิดขึ้นด้วยการเทียบเคียง เสียงดนตรีกับเสียงสามัญเกิดขึ้นด้วยการรับฟัง หน้ากับหลังเกิดขึ้นด้วยการนึกคิด ดังนั้นปราชญ์ย่อมกระทำด้วยการไม่กระทำ เทศนาด้วยการไม่เอ่ยวาจา การงานทั้งหลายก็สำเร็จลุล่วงลง ท่านให้ชีวิตแก่สรรพสิ่ง แต่มิได้ถือตัวเป็นเจ้าของ ประกอบกิจยิ่งใหญ่ แต่มิได้ประกาศให้โลกรู้ เหตุที่ท่านไม่ปรารถนาในเกียรติคุณ เกียรติคุณของท่านจึงดำรงอยู่ไม่สูญสลาย บทที่ 22 เต๋าเต็กเก็งบทที่ 36 ชนะแข็งด้วยอ่อน ผู้ที่ถูกลดทอน จะต้องมีมากมาก่อน ผู้ที่อ่อนแอ จะต้องเข็มแข็งมาก่อน ผู้ที่ได้รับ จะต้องให้มาก่อน เหล่านี้คือนัยที่แสดงออกให้ปรากฏ ความอ่อนละมุนมีชัยเหนือความแข็งกร้าว ควรปล่อยให้มัจฉาอยู่ในสระลึกจะดีกว่า เหมือนดังเก็บงำศัตราวุธทั้งมวล ของบ้านเมืองไว้มิให้ใครเห็น อ้างอิง หนังสือ วิถีแห่งเต๋า พจนา จัทรสันติแปลเรียบเรียง ปกติปุ๊กไม่เคยศึกษาลึกซึ้งเลยไม่รู้ว่าอันไหนเป็นของปรัชญาอะไรบ้างค่ะ
แต่อ่านที่คุณโนกิระเอามาแบ่งปันนี่ชอบค่ะ ^^ ถูกจริตปุ๊กหลายอย่างเลยล่ะ แนวตะวันออกนี่ดูเรียบง่ายแต่ลึกซึ้งดีนะคะ คุณแม่ก็ชอบปรัชญาดีๆแบบนี้นี่เอง คุณโนกิระถึงได้มีความคิดที่ดีงามแบบนี้ น่าชื่นใจจังเลยค่ะ ![]() โดย: Hobbit
![]() |
บทความทั้งหมด
|
ชอบบล็อกคุณจังเลยอ่ะค่ะ อ่านแล้วสบายใจดี
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมเยียนที่บล็อกนะคะ