เผยกลไกธุรกิจของ ร้าน 60 บาท ขายของถูกอย่างไร ไม่ให้ขาดทุน



ปัจจุบัน ร้าน 60 บาท มีอยู่มากไม่ใช่น้อย ทุกคนต้องเคยไปช้อปของถูกๆ ที่ร้านนี้อยู่บ่อยๆ ใช่ไหมหล่ะ เพราะมีของขายครบทุกอย่างจริงๆ ตั้งแต่เครื่องสำอาง น้ำยาล้างจาน เครื่องเขียน ไปจนถึงชุดคอสเพลย์ แต่รู้หรือไหมว่า ทำไมร้าน 60 บาททุกอย่างนั้น ถึงประสบความสำเร็จจากการขายของที่ถูกเพียงแค่ 60 บาทได้กันนะ การที่ของถูกและยังได้กำไร แท้จริงแล้วมันก็มีเหตุผลนะ พี่ 
โปรโมชั่น จะไขข้อสงสัยเรื่องนี้ให้กับทุกคนเอง :-)





ร้าน 60 บาทมีอัตรากำไรขั้นต้นที่สูง



เพราะร้าน 60 บาทคือของชิ้นละ 60 บาท หลายคนคงคิดว่าอัตรากำไรขั้นต้นคงจะต่ำ แต่ความจริงแล้วสินค้าจะมีอัตรากำไรขั้นต้นสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่าง แก้วกาแฟ เพราะราคาถูกและขายได้เยอะ จึงทำให้อัตรากำไรขั้นต้นสูง แต่กลับกันหม้อดินเผาราคาสูง อัตรากำไรขั้นต้นก็จะต่ำ เพราะขายได้น้อย และเพราะของภายในร้านที่ถูกจนเกินห้ามใจ ทำให้มีผู้ซื้อก็ซื้อของในร้าน 60 บาท ไปโดยไม่รู้ตัว ที่แน่ๆ แทบไม่มีใครเข้าไปซื้อชิ้นเดียว ส่งผลให้ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ขายได้มากหรือน้อย อัตรากำไรขั้นต้นก็สูงอยู่ดี







การสั่งซื้อสินค้าจำนวนมาก



ในร้าน 60 บาทนั้น เพื่อลดต้นทุนแล้วจึงจำเป็นควบคุมต้นทุนต่อชิ้นด้วยการสั่งซื้อสินค้าจำนวนมาก สั่งซื้อกับผู้ผลิตรายใหญ่โดยตรง พี่ 
โปร ว่ามันก็เหมือนที่เราไปซื้อของจากสำเพ็งนั่นล่ะ เพราะเมื่อสั่งสินค้าจำนวนมากในทีเดียวทำให้ราคาต้นทุนต่อชิ้นยิ่งถูกลง ดังนั้นจึงสามารถเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นได้โดยการซื้อและขายสินค้าทีเดียวในปริมาณมากได้




ผู้ผลิตบางรายก็ผลิตแบรนด์ของตัวเองด้วย เช่น ร้านไดโซะ ผลิตสินค้าขายในแบรนด์ของตัวเองถึง 80% ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ด้วยตัวเอง ร้านค้า 60 บาท ส่วนใหญ่ก็มักจะทำแบรนด์เป็นของตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีโรงงาน อาศัยผลิตด้วยการควบคุมราคาโดยการนำการผลิตแบบ OEM มาประยุกต์ใช้


* OEM ย่อมาจาก Origianl Equipment Manufacturer หมายถึง การรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนดโดยใช้การผลิตของเรารวมถึงเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตด้วย







การลดแรงงานคนของร้าน 100 เยน



เวลาเข้าร้านไปเรารู้อยู่แล้วว่าสินค้าส่วนใหญ่จะราคาเท่าๆกัน แต่จะมีบางชิ้นที่อาจจะแพงกว่าก็ใช้วิธีติดราคาไว้ที่สินค้า พี่ 
promotion ว่านี่ถือเป็นหัวใจสำคัญเลยนะ เพราะถ้ามีสินค้าจำนวนมากที่ราคาต่างกันก็ต้องติดป้ายราคาที่สินค้าเยอะ ก็ยิ่งทำให้ต้องใช้แรงงานคนเยอะขึ้นเช่นกัน

อีกด้านหนึ่งในร้าน 60 บาท ทุกอย่าง เพราะว่าสินค้าในร้านทุกชิ้นมีราคาเท่ากันหมดทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องติดป้ายราคาไว้ก็ได้ และถึงในร้านจะมีสินค้าที่มากกว่า 60 บาท อยู่แต่ลูกค้าจะเข้าใจว่า 60 บาท ได้โดยที่ไม่จำเป็นต้นติดป้ายบอกไว้ เป็นการลดกำลังต้นทุนแรงงานด้วย

ขจัดความยุ่งยากในการติดป้ายราคาโดยการลดจำนวนพนักงาน และอีกหนึ่งเรื่องคือ การที่ราคาสินค้ามีเพียง 100 เยนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับการเท่ากันนอกจากจะลดต้นทุนแรงงานในส่วนของการติดราคาแล้ว การคิดเงินรวมไปถึงการคำนวณยอดขายก็ง่ายขึ้นด้วย






อยากมีเสน่ห์ดึงดูดใคร
ก็ต้องรู้จักดูแลบุคลิกภาพกันด้วยน้าาาาา








Phathavie Herbal shampoo


ช่วย >>> ลดผมร่วงหลังคลอด

และ >>> ลดผมร่วงช่วยเสริมผมขึ้นใหม่ 
เห็นผลลัพธ์ได้ภายใน 2 สัปดาห์ ,

  เร่งผมยาวไว , สามารถใช้แทน
>>> 
ยาปลูกผม <<<






เรื่องของผมอย่าปล่อยให้ผมร่วงจนบางล่ะ






ไม่เสียเงินให้กับการโฆษณา



ในการโฆษณาร้านโดยทั่วไปจำเป็นต้องลงเงินกับการโฆษณาที่สูงมาก ซึ่งค่าโฆษณานี้ก็จะถูกบวกเข้ากับในสินค้าแต่ละชิ้นอีก การขายสินค้าในราคาเพียง  60 บาท ก็จะเป็นเรื่องยากมากยิ่งขึ้น แต่ด้วยคอนเซ็ปต์ของร้านที่มีราคาของเท่ากันก็เป็นการโฆษณาในตัวอยู่แล้ว แถมไม่ต้องทำโปรโมชั่นลดราคา เพราะสินค้าทุกชิ้นมีราคาที่ทุกคนจ่ายไหวอยู่แล้ว และราคาคงที่ตลอดทั้งปี เป็นการสื่อสารกับลูกค้าที่ไม่ต้องบอกซ้ำๆ อีกเลย




ในประเทศไทย ร้านทุกอย่าง 60 บาทก็เป็นที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน มีท้ังร้านค้าที่มาจากญี่ปุ่น เช่น Daiso (ไดโซะ) เป็นร้าน 60 บาทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะมีสาขาในไทยแล้ว ยังมีเปิดอีกหลากหลายสาขาทั่วโลกอีกด้วย และก็ยังมี Komonoya ที่เป็นของญี่ปุ่นแต่นำเข้ามาในไทยและบริหารต่อโดยกลุ่ม CRC ของเซ็นทรัล บริษัทในไทยเองก็มีเปิดร้านค้าทุกอย่าง 60 บาทด้วยตัวเองเหมือนกัน เช่น Minimono ที่ขายอยู่ใน Central และ Just buy! ในโรบินสัน






เติมเต็มคุณภาพชีวิตราคาเดียว

" คุณภาพที่ดีที่สุด ด้วย ราคาที่ดีที่สุด "

คติประจำจากเจ้าของร้านค้า 60 บาททุกอย่าง Daiso - Seiji Yano






ปันโปรสรุปให้

- ร้าน 60 บาททุกอย่าง พยายามควบคุมราคาการผลิตด้วยการซื้อสินค้าทีเดียวจำนวนมาก
- การลดแรงงานการจ้างคนเพื่อติดป้ายราคาสินค้า ทำให้ต้นทุนราคาสินค้าน้อยลงได้เช่นกัน
- การสร้างแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเอง ควบคุมราคาการผลิตได้ง่ายกว่า
- ค่าโฆษณาเป็นส่วนที่เสียมากที่สุด ถ้ายิ่งลดส่วนนี้ลงได้ ราคาสินค้าก็สามารถทำให้ถูกลงได้



Create Date : 21 ตุลาคม 2563
Last Update : 21 ตุลาคม 2563 14:49:35 น.
Counter : 1042 Pageviews.

0 comments
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
The Last Thing on My Mind - Tom Paxton ... ความหมาย tuk-tuk@korat
(1 ม.ค. 2567 14:50:49 น.)
ไม่ลอดช่องโหว่ ปัญญา Dh
(2 ม.ค. 2567 13:44:30 น.)
ประสบการณ์ ทำพาสปอร์ตที่สายใต้ใหม่ newyorknurse
(2 ม.ค. 2567 17:45:17 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Punpro.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 5399748
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด