ฉักกะ
ทิศ ๖
- ๑. ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้า มารดาบิดา.
- ๒. ทักขิณทิส คือทิศเบื้องขวา อาจารย์.
- ๓. ปัจฉิมทิศ คือทิศเบื้องหลัง บุตรภรรยา.
- ๔. อุตตรทิส คือทิศเบื้องซ้าย มิตร.
- ๕. เหฏฐิมทิส คือทิศเบื้องต่ำ บ่าว.
- ๖. อุปริมทิส คือทิศเบื้องต้น สมณพราหมณ์.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๓.
๑. ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้า มารดาบิดา บุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
- (๑) ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ.
- (๒) ทำกิจของท่าน.
- (๓) ดำรงวงศ์สกุล.
- (๔) ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก.
- (๕) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๐/๒๐๓.
มารดาบิดาได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕
- (๑) ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว.
- (๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี.
- (๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา.
- (๔) หาภรรยาที่สมควรให้.
- (๕) มอบทรัพย์ให้ในสมัย.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๓.
๒. ทักขิณทิส คือทิศเบื้องขวา อาจารย์ ศิษย์พึงบำรุงด้วยสถาน ๕
- (๑) ด้วยลุกขึ้นยืนรับ.
- (๒) ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้.
- (๓) ด้วยเชื่อฟัง.
- (๔) ด้วยอุปัฏฐาก.
- (๕) ด้วยเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๓.
อาจารย์ได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕
- (๑) แนะนำดี.
- (๒) ให้เรียนดี.
- (๓) บอกศิลปให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง.
- (๔) ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง.
- (๕) ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย (คือจะไปทางทิศไหนก็ไม่อดอยาก).
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
๓. ปัจฉิมทิส คือทิศเบื้องหลัง ภรรยา สามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
- (๑) ด้วยยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา.
- (๒) ด้วยไม่ดูหมิ่น.
- (๓) ด้วยไม่ประพฤติล่วงใจ.
- (๔) ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้.
- (๕) ด้วยให้เครื่องแต่งตัว.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
ภรรยาได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕
- (๑) จัดการงานดี.
- (๒) สงเคราะห์คนข้างเคียงของผัวดี.
- (๓) ไม่ประพฤติล่วงใจผัว.
- (๔) รักษาทรัพย์ที่ผัวหามาได้ไว้.
- (๕) ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
๔. อุตตรทิส คือทิศเบื้องซ้าย มิตร กุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
- (๑) ด้วยให้ปัน.
- (๒) ด้วยเจรจาถ้อยคำไพเราะ.
- (๓) ด้วยประพฤติประโยชน์.
- (๔) ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ.
- (๕) ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริง.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
มิตรได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕
- (๑) รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว.
- (๒) รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว.
- (๓) เมื่อมีภัย เอาเป็นที่พึ่งพำนักได้.
- (๔) ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ.
- (๕) นับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
๕. เหฏฐิมทิส คือทิศเบื้องต่ำ บ่าว นายพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
- (๑) ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง.
- (๒) ด้วยให้อาหารและรางวัล.
- (๓) ด้วยรักษาพยาบาลในเวลาเจ็บไข้.
- (๔) ด้วยแจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน.
- (๕) ด้วยปล่อยในสมัย.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
บ่าวได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕
- (๑) ลุกขึ้นทำการงานก่อนนาย.
- (๒) เลิกการงานทีหลังนาย.
- (๓) ถือเอาแต่ของที่นายให้.
- (๔) ทำการงานให้ดีขึ้น.
- (๕) นำคุณของนายไปสรรเสริญในที่นั้น ๆ.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
๖. อุปริมทิส คือทิศเบื้องบน สมณพราหมณ์ กุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
- (๑) ด้วยกายกรรม คือทำอะไร ๆ ประกอบด้วยเมตตา.
- (๒) ด้วยวจีกรรม คือพูดอะไร ๆ ประกอบด้วยเมตตา.
- (๓) ด้วยมโนกรรม คือคิดอะไร ๆ ประกอบด้วยเมตตา.
- (๔) ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู คือมิได้ห้ามเข้าบ้านเรือน.
- (๕) ด้วยให้อามิสทาน.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
สมณพราหมณ์ได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖
- (๑) ห้ามไม่ให้กระทำความชั่ว.
- (๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี.
- (๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม.
- (๔) ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง.
- (๕) ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่ม.
- (๖) บอกทางสวรรค์ให้.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๖.
อบายมุข คือเหตุเครื่องฉิบหาย ๖
- (๑) ดื่มน้ำเมา.
- (๒) เที่ยวกลางคืน.
- (๓) เที่ยวดูการเล่น.
- (๔) เล่นการพนัน.
- (๕) คบคนชั่วเป็นมิตร.
- (๖) เกียจคร้านทำการงาน.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๖.
๑. ดื่มน้ำเมา มีโทษ ๖
- (๑) เสียทรัพย์.
- (๒) ก่อการทะเลาะวิวาท.
- (๓) เกิดโรค.
- (๔) ต้องติเตียน.
- (๕) ไม่รู้จักอาย.
- (๖) ทอนกำลังปัญญา.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๖.
๒. เที่ยวกลางคืน มีโทษ ๖
- (๑) ชื่อว่าไม่รักษาตัว.
- (๒) ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย.
- (๓) ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ.
- (๔) เป็นที่ระแวงของคนทั้งหลาย.
- (๕) มักถูกใส่ความ.
- (๖) ได้ความลำบากมาก.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
๓. เที่ยวดูการเล่น มีโทษตามวัตถุที่ไปดู ๖
- (๑) รำที่ไหนไปที่นั้น.
- (๒) ขับร้องที่ไหนไปที่นั้น.
- (๓) ดีดสีตีเป่าที่ไหนไปที่นั้น.
- (๔) เสภาที่ไหนไปที่นั้น.
- (๕) เพลงที่ไหนไปที่นั้น.
- (๖) เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั้น.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
๔. เล่นการพนัน มีโทษ ๖
- (๑) เมื่อชนะย่อมก่อเวร.
- (๒) เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป.
- (๓) ทรัพย์ย่อมฉิบหาย.
- (๔) ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ.
- (๕) เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน.
- (๖) ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
๕. คบคนชั่วเป็นมิตร มีโทษตามบุคคลที่คบ ๖
- (๑) นำให้เป็นนักเลงการพนัน.
- (๒) นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้.
- (๓) นำให้เป็นนักเลงเหล้า.
- (๔) นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม.
- (๕) นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้า
- (๖) นำให้เป็นคนหัวไม้.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
๖. เกียจคร้านทำการงาน มีโทษ ๖
- (๑) มักให้อ้างว่า หนาวนัก แล้วไม่ทำการงาน.
- (๒) มักให้อ้างว่า ร้อนนัก แล้วไม่ทำการงาน.
- (๓) มักให้อ้างว่า เวลาเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน.
- (๔) มักให้อ้างว่า ยังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน.
- (๕) มักให้อ้างว่า หิวนัก แล้วไม่ทำการงาน.
- (๖) มักให้อ้างว่า ระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน.
ผู้หวังความเจริญด้วยโภคทรัพย์ พึงเว้นเหตุเครื่องฉิบหาย ๖ ประการนี้เสีย.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.