### สิ่งที่ควรรู้เมื่อเป็นโรคไซนัสอักเสบ ###


โรคไซนัสอักเสบ










สิ่งที่ควรรู้เมื่อเป็น โรคไซนัสอักเสบ?

โรคไซนัสอักเสบเป็นหนึ่งในโรคของ

ระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่พบบ่อย หลายคนเมื่อเป็นไข้หวัดธรรมดา

ก็มักจะกังวลว่าตนเองจะป่วยเป็นโรคไซนัสอักเสบ

หรือบางคนเมื่อเคยเป็นแล้วก็คิดว่าจะเป็นโรคประจำตัว

 เป็นแล้วต้องเป็นใหม่ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด

โรคไซนัสอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อในโพรงจมูก

และลุกลามเข้าไปในโพรงไซนัส ส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดทั่วไป

ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง

แต่ในบางครั้งอาจมีเชื้อแบคทีเรียติดมา ทำให้โรคไม่หายเอง

หรือเป็นนานและอาการจะรุนแรงมากขึ้น

ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

 และโรคมักหายขาดได้เองหลังทำการรักษา

โดยที่อาจไม่กลับมาเป็นอีก หรือเป็นใหม่ได้อีก

 เหมือนเช่นการเป็นหวัด เจ็บคอทั่วๆ ไป

ลักษณะอาการและความรุนแรงของไซนัสอักเสบ

 โรคไซนัสอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียมักมีอาการ

คัดแน่นจมูก มีน้ำมูกหรือเสมหะลงคอสีเหลืองหรือเขียว

ปวดบริเวณใบหน้าตามโหนกแก้ม หัวตา หรือระหว่างคิ้ว

การได้กลิ่นลดลง โดยมีอาการเกิน 10 วัน

หรือมีอาการแย่ลงใน 5 วันหลังเริ่มเจ็บป่วย ควรจะมาพบแพทย์

 อาจแบ่งโรคออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มเฉียบพลันและเรื้อรัง

โดยทั้งสองกลุ่มมีอาการเหมือนดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

แต่กลุ่มเฉียบพลันจะมีอาการมาน้อยกว่า 12 สัปดาห์

และกลุ่มเรื้อรังมีอาการมาเกินกว่า 12 สัปดาห์

ซึ่งการรักษาจะมีความแตกต่างกัน

กลุ่มเสี่ยงที่สำคัญที่พบมาก ได้แก่ กลุ่มที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

อยู่ระหว่างการทำเคมีบำบัด ภาวะขาดภูมิคุ้มกันตั้งแต่กำเนิด เป็นต้น

โรคไซนัสอักเสบส่วนใหญ่ไม่ได้มีสาเหตุจากพันธุกรรม

มีเพียงบางโรคซึ่งพบได้ยากมากในประเทศไทย

โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้อาจทำให้ผู้ป่วยบางคนเข้าใจผิด

หรือสับสนว่าตนเองเป็นโรคไซนัสอักเสบได้

ควรจะพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยแยกโรคให้ถูกต้อง

ปัจจุบันยังพิสูจน์ไม่ได้แน่ชัดว่าผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้

เกิดจากโรคไซนัสอักเสบได้บ่อยกว่าคนที่ไม่ได้เป็นภูมิแพ้หรือไม่

แต่การสูบบุหรี่นั้นทำให้การทำงานของเยื่อบุในโพรงไซนัส

ทำงานบกพร่องได้

วิธีการรักษาในปัจจุบัน และยาที่ใช้ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า

 โรคไซนัสอักเสบในกลุ่มเฉียบพลัน ถ้ามีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส

โรคมักหายได้เอง แต่กลุ่มที่ติดเชื้อแบคทีเรีย ควรจะพบแพทย์

 โดยแพทย์หู คอ จมูก จะทำการตรวจในช่องจมูก

ช่องด้านหลังโพรงจมูก หรือทำการส่องกล้องเข้าไปตรวจ

ช่องโพรงจมูกและไซนัส ซึ่งไม่เจ็บปวด

เพื่อทำการวินิจฉัยที่ถูกต้อง นอกจากนี้พบว่าแพทย์ทั่วไป

ที่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางโรคไซนัส มักให้ผู้ป่วยทำการเอกซเรย์

เพื่อวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบ ซึ่งการตรวจวิธีนี้ไม่มีความแม่นยำ

และทำให้เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

สำหรับการรักษาคือให้ยาปฏิชีวนะ

หรืออาจให้ยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นจมูกร่วมด้วย

โดยไม่จำเป็นต้องทำการล้างจมูก

ส่วนกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังนั้นจำเป็นที่จะต้องตรวจโดยละเอียด

โดยเฉพาะการส่องกล้องในโพรงจมูกและไซนัส

เพื่อตรวจหาสาเหตุโดยเฉพาะเนื้องอก

และการรักษาจะแตกต่างจากกลุ่มโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน

ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่พบ

ปัจจุบันผู้ป่วยเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดทั่วไป

หรือเป็นโรคไซนัสอักเสบจากเชื้อไวรัส มักไปซื้อยารับประทานเอง

 โดยเฉพาะยาแก้อักเสบที่ชาวบ้านชอบใช้

เรียกกันในทางการแพทย์คือยาปฏิชีวนะ

ทำให้เกิดการใช้ยาโดยไม่จำเป็นและทำให้เกิดภาวะเชื้อดื้อยา

ทำให้การรักษายากมากขึ้น และค่าใช้จ่ายสูงมากขึ้น

 จึงไม่แนะนำให้ซื้อยาปฏิชีวนะรับประทานเอง

โอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนใดๆ นั้น

โรคไซนัสอักเสบอาจมีผลแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง

ที่ได้กล่าวถึงในข้างต้น โรคอาจมีการลุกลามเข้าตา

ทำให้เกิดหนองที่ตา และทำให้ตาบอดได้

หรืออาจมีการลุกลามเข้าสมองทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

หรือฝีในสมองทำให้พิการและเสียชีวิตได้

ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อทราบว่าเป็นไซนัสอักเสบ

 เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการข้างต้นในช่วงแรกๆ

อาจรอสังเกตอาการไปก่อนได้ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ

 ดื่มน้ำมากๆ หาก 5 วัน แล้วอาการแย่ลง หรือไม่หายภายใน 10 วัน

ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง


ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

โดย นพ.บุญสาม รุ่งภูวภัทร ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

#RamaChannel






Create Date : 09 เมษายน 2557
Last Update : 10 เมษายน 2557 10:19:05 น.
Counter : 7799 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Poungchompoo.BlogGang.com

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]

บทความทั้งหมด