### มารู้จักโรคเอ็มเอสกันดีกว่า ###


โรคเอ็มเอสคือโรคอะไรเพิ่งเคยได้ยิน










"โรคเอ็มเอส" การมองเห็นผิดปกติ ร่างกายชา แขนขาอ่อนแรง

แม้ในบ้านเราจะพบ “โรคเอ็มเอส” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513

แต่เชื่อเถอะว่าคุณผู้อ่านหลายท่านคงจะยังไม่รู้จักกับโรคนี้

ว่าคนที่เป็นมีอาการอย่างไร ใครบ้างที่เป็น

และเมื่อเป็นแล้วจะมีวิธีการรักษาอย่างไร

ผศ.นพ. สุพจน์ ตุลยาเดชานนท์ หัวหน้าหน่วยประสาทวิทยา

ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

อธิบายว่า โรคเอ็มเอส หรือ Multiple Sclerosis

เป็นโรคของระบบประสาทส่วนกลาง

ซึ่งระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วย สมอง ไขสันหลัง

และเส้นประสาทตา โรคนี้พบมากในคนอายุน้อย วัยหนุ่มสาว

 หรือวัยทำงาน โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร

 แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นผลเกี่ยวข้องกับการทำลายส่วนของระบบประสาท

จากภูมิต้านทานของตัวเอง โดยที่ในผู้ป่วยบางรายพบว่า

 มีอาการของโรครุนแรงขึ้นหลังจากติดเชื้อไวรัส

จึงมีสมมุติฐานที่ว่า ในผู้ป่วยกลุ่มนี้แทนที่ภูมิต้านทาน

จะไปเล่นงานเชื้อโรคอย่างเดียว กลับไปทำลาย

ปลอกหุ้มเส้นประสาทของตัวเองด้วย


ลักษณะของการเกิดโรคเอ็มเอส

เริ่มจากมีการอักเสบและมีการทำลายปลอกหุ้มเส้นประสาท

ถ้าเป็นรุนแรง เส้นประสาทอาจถูกทำลายไปด้วย

 ในระยะเริ่มต้นส่วนมากคนไข้จะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ

โดยกลับมาเป็นซ้ำอีกในตำแหน่งที่ต่างกัน

เช่น บางคนเป็นครั้งแรกที่ตา ต่อมาเป็นที่ไขสันหลัง

ต่อมาเป็นที่เนื้อสมอง ในผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง

หลังจากเกิดโรคเอ็มเอส แต่ละครั้ง

ประสิทธิภาพการนำสัญญาณของเส้นประสาทจะลดลง

โดยจะสะสมความพิการและความบกพร่องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

อาการของโรคเอ็มเอสจะหลากหลายมาก

ขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดรอยโรค เช่น เกิดที่เส้นประสาทตา

การมองเห็นของคนไข้อาจผิดปกติ แย่ลง

ถ้าเป็นที่ไขสันหลังหรือสมอง อาจมองเห็นเป็นภาพซ้อน

มีอาการชาครึ่งตัว แขนขาอ่อนแรง หรือปัสสาวะไม่ออก

 ขึ้นอยู่กับว่าเกิดที่สมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมส่วนไหนของร่างกาย

 ถ้าเป็นที่สมองส่วนกลางที่ควบคุมการทรงตัว

คนไข้อาจมีอาการหัวหมุน หรือวิงเวียนศีรษะได้

แต่มักมีอาการอื่นร่วมด้วย

ในการวินิจฉัยโรคนี้ กรณีที่คนไข้มีอาการอย่างหนึ่งอย่างใด

และมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล แพทย์จะทำการซักประวัติ

และตรวจร่างกายอย่างละเอียด หากสงสัยว่าเป็นโรคเอ็มเอส

อาจตรวจหาความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง

ด้วยเครื่องสร้างภาพสมองด้วยสนามแม่เหล็กแรงสูง

 หรือเอ็มอาร์ไอ หรือการตรวจวิเคราะห์น้ำไขสันหลัง

เมื่อวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นโรคเอ็มเอส วิธีการรักษาส่วนใหญ่ คือ

การให้ยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบ

และคอยระวังไม่ให้มีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้น ภายหลังการรักษา

 ถ้าคนไข้หายดีก็แล้วไป แต่ถ้ายังหายไม่เป็นปกติ

อาจต้องทำกายภาพบำบัดเพิ่มเติม

เนื่องจากโรคนี้รักษาไม่หายขาด คนที่เคยเป็นแล้ว

อาจกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันการเป็นซ้ำ

และลดความรุนแรงของโรค คนไข้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น

ที่ทำให้เกิดอาการซ้ำ เช่น ถ้ารู้ว่าไวรัสอาจเป็นต้นเหตุทำให้อาการกำเริบ

ก็ต้องป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นหวัด

โดยควรหลีกเลี่ยงเข้าไปในสถานที่ที่อาจทำให้ติดหวัด

 ขณะเดียวกันคนไข้อาจได้รับการฉีดยาปรับภูมิคุ้มกัน

แต่เนื่องจากปัจจุบันยาดังกล่าวยังมีราคาแพง

และมีผลลดหรือชะลอการเกิดซ้ำ ดังนั้น

การฉีดยาเพื่อหวังผลที่จะลดความรุนแรงของโรคในระยะยาว

 แพทย์คงจะต้องอธิบายกับผู้ป่วย และพิจารณาในคนไข้เป็นราย ๆ ไป.

ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.นพ. สุพจน์ ตุลยาเดชานนท์

หัวหน้าหน่วยประสาท วิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

# Rama Channel








Create Date : 09 เมษายน 2557
Last Update : 11 เมษายน 2557 10:27:22 น.
Counter : 2199 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Poungchompoo.BlogGang.com

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]

บทความทั้งหมด