CHANTHABURI :: ภารกิจเที่ยวหัวใจใหม่ ณ อ่าวคุ้งกระเบน ตอนโลกใต้น้ำ เมื่อเดือนที่แล้ว จขบ.ได้มีโอกาสไปร่วมทริปอิ่มใจที่เมืองจันทร์ กินนอน ตะลอนเลน ในเมืองอัญมณีตะวันตก ร่วมกับนายร้อยแปดพันเก้าภารกิจเที่ยวหัวใจใหม่เมืองไทยยั่งยืน งานนี้มีผู้โชคดีที่ร่วมสนุกกับภารกิจนี้เดินทางไปด้วยอีกสองท่าน .. เช้าวันที่ 23 มิถุนายน 2555 บล็อกเกอร์พร้อม ผู้โชคดีพี่หมีพาทัวร์ก็พร้อม ทีมงานพร้อม ไกด์สาวสวยพร้อมออกเดินทางกันเลยค่ะ จุดหมายปลายทางของทริปนี้อยู่ที่จังหวัดจันทบุรี ![]() มาทริปนี้ได้ของที่ระลึกเป็นแทคเที่ยวหัวใจใหม่เมืองไทยยั่งยืนด้วย พอคู่กะน้องรองเท้าแตะบลูแพลนเน็ตแล้วดูเข้ากันดีเนอะ .. ระหว่างนี้พวกเราจะอยู่บนรถตู้เป็นเวลาสามชั่วโมงเลยเหอะ กว่าจะไปถึงโปรแกรมแรกที่อ่าวคุ้งกระเบน ทำอะไรดีล่ะ เรามาศึกษาข้อมูลสถานที่กันก่อนดีกว่า โชคดีที่วันนี้ติดเจ้า NEC มาด้วยเลยได้ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต 3G ในการหาข้อมูลและเล่นเกมส์บนรถ อิอิ ก่อนอื่นเรามารู้จักกับโครงการเที่ยวหัวใจใหม่ก่อน เพื่อนๆ หลายคนคงสงสัยว่าเที่ยวยังไงนะถึงเรียกว่าเที่ยวแบบหัวใจใหม่ คำตอบง่ายๆ ค่ะ เที่ยวแบบมีจิตสำนึก ในเชิงสร้างสรรค์ ด้วยกันแบบเข้าใจและด้วยหัวใจ อาจจะยาวไปหน่อย แต่ถ้าเราเที่ยวแบบหัวใจใหม่รับรองได้เลยค่ะว่าต่อไปเมืองไทยจะยั่งยืนค๊า.. ![]() ![]() จากนั้นจขบ.และชาวคณะก็หลับยาวตลอดเส้นทางจนมาถึงอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ใช้เวลาเดินทางประมาณสามชั่วโมง พอมาถึงพวกเราชาวคณะก็เข้าฟังบรรยายความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของอ่าวคุ้งกระเบน หนึ่งในโครงการพระราชดำริอำเภอท่าใหม่ ต้องบอกเป็นความรู้ใหม่จริงๆ จขบ.ไม่รู้เลยว่ามีโครงการพระราชดำริถึง 4,000 โครงการเลยทีเดียวที่เกี่ยวก้บศูนย์อนุรักษ์ ![]() วิทยากรเล่าให้พวกเราฟังว่า ภารกิจของศูนย์อนุรักษ์คืออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวภูเขา ศึกษาเส้นทางธรรมชาติป่าบก เมื่อก่อนไม่มีต้นไม้ก็ทำฝายชะลอน้ำป่าถึงได้เขียวอย่างปัจจุบัน ทำการจัดสรรพื้นที่ป่าชายเลนเสื่อมโทรมรอบอ่าวคุ้งกระเบนเพื่อพัฒนาการเลี้ยงกุ้งทะเลด้วยระบบชลประทานน้ำเค็ม อนุรักษ์ป่าชายเลนรอบอ่าวคุ้งกระเบนโดยการปลูกป่าเพิ่มเติม จนกลายเป็นพื้นที่ป่าชายเลนที่สมบูรณ์ที่สุด อนุรักษ์และจัดการหญ้าทะเล จนทำให้ฝูงปลาพะยูนได้กลับมาเยือนอ่าวคุ้งกระเบนอีกครั้ง สร้างที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลและอนุรักษ์ประการังธรรมชาติและหอยมือเสือ เป็นต้น อันนี้คือภารกิจของศูนย์ ซึ่งแน่นอนการปฏิบัติจริงไม่ง่ายอย่างที่คิด การให้ความรู้ความเข้าใจกับชาวบ้าน ทำอย่างไรให้ชาวบ้านหันมาเป็นคนอนุรักษ์ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว กว่าหลายสิบปีที่ศูนย์พยายามพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนทำให้อ่าวคุ้งกระเบนในวันนี้สมบูรณ์อุดมไปด้วยผืนป่าที่เขียวขจี จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพัฒนาอย่างในปัจจุบัน ต้องขอบคุณคนเบื้องหลังทุกท่านที่สานฝันโครงการต่างๆ ของพระองค์ท่านให้เป็นจริงขึ้นมา เอาล่ะนั่งฟังบรรยายกันมาพอสมควรแล้ว ตามวิทยากรไปบรรยายในสถานที่จริงกันเลยค่ะ ![]() ![]() เริ่มจากแปลงสาธิตการเกษตรที่ปลูกพันธุ์พืชหลายชนิดโดยแบ่งเป็นโซนๆ กว้างเลยทีเดียว นอกจากนี้ที่นี่หากใครสนใจเพาะเห็ด เค้าก็มีสอนเพาะด้วยล่ะตั้งแต่เริ่มต้นจนเก็บกันเลยทีเดียว มาเที่ยวแล้วยังได้ความรู้เพื่อกลับไปสร้างอาชีพได้อีกด้วย จากนั้นพวกเราก็ไปต่อยังหน่วยสาธิตการเลี้ยงสัตว์น้ำในอ่าวคุ้งกระเบน ![]() ![]() ![]() ![]() บริเวณนี้เป็นปากอ่าวคุ้งกระเบน ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาจะเสด็จมาเปิดอย่างเป็นทางการ วิทยากรเล่าให้พวกเราฟังว่า หน่วยนี้ใช้สำหรับเพาะพันธุ์พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของสัตว์น้ำ ทำการเลี้ยงหอยนางรมเพื่อลดปริมาณแพงก์ตอนที่อยู่ในอ่าวคุ้งกระเบน เพื่อป้องกันการขาดออกซิเจนอย่างฉับพลัน ถัดไปจากพื้นที่ของหน่วยก็เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านขายให้กับเอกชน มีการสร้างรีสอร์ท เลี้ยงหอยนางรมพันธุ์ไต้หวันซึ่งโตเร็วกว่าพันธุ์ปกติ เช่น พันธุ์เราเลี้ยงหนึ่งปี เอกชนเลี้ยงแค่หกเดือนก็จำหน่ายได้แล้ว ก็ส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาวบ้านที่เลี้ยงหอยนางรมเป็นอาชีพ และมีผลกับการเปลี่ยนแปลงพันธุ์กรรมอีกด้วย ![]() ![]() มันก็เป็นเรื่องที่ห้ามกันยากเพราะมันเป็นเรื่องของสำนึกของผู้ประกอบการว่าจะเรียนรู้แล้วอยู่กับชุมชนอย่างไรถึงจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตชุมชนเดิม ที่ใดมีนักท่องเที่ยวก็มีความเจริญ เมื่อความเจริญเข้ามาปัญหาก็ตามมา ดังนั้นเราในฐานะนักท่องเที่ยวจึงต้องเข้าใจและมีจิตสำนักรักษาสิ่งแวดล้อมและเที่ยวในเชิงสร้างสรรค์เป็นมิตรกับชุมชนค๊า จะว่าก็ไปก็ต้องขอบคุณคนของพระราชาทุกท่านในศูนย์แห่งนี้ ที่เป็นกาวใจพลิกฟื้นคืนป่า จนมาเป็นศูนย์อนุรักษ์เช่นวันนี้ ฟังพี่เค้าบรรยายแล้วรู้สะท้อนใจไม่หาย การต่อสู้กับอำนาจและอิทธพลมันเหนื่อยนะ ถ้าใจไม่รักจริงๆ ทำไม่ได้เหอะ ระหว่างที่พวกเรากำลังจะเดินกลับนั้นก็หันไปเห็นชาวบ้านกำลังเลือกปลาที่จับมาออกจากอวน ตามไปดูกันค่ะ ![]() ![]() ![]() ![]() พวกเราเดินไปคุยกับพี่เค้าค่ะ ดูสนุกสนานกับการเลือกปลากันเลยทีเดียว แกเล่าให้ฟังว่าไม่ใช่คนที่นี่หรอก มาจากทางใต้แล้วไม่ย้ายกลับไปแล้วล่ะ ติดใจที่นี่ (สงสัยติดใจคนที่นี่เสียมากกว่ามั้ง อิอิ) แกบอกว่าก็หาปลากันอย่างนี้แหละ บ้างก็เอาไปขายบ้างก็เอาไปกินเอง แกเล่าไปหัวเราะไปดูมีความสุขจัง นี่ละมั้งที่เค้าเรียกว่าวิธีแห่งความพอเพียง พอมี พออยู่แล้วก็พอกิน ไม่ต้องดิ้นรนมากมายในสังคมเมือง ที่ท้ายที่สุดก็โหยหาความเป็นธรรมชาติที่ขาดไป เอาล่ะมาดูธรรมชาตินอกสถานที่กันแล้ว เราไปดูอะไรเย็นๆ กันบ้างดีกว่า พี่วิทยากรพาพวกเราไปดูปลาที่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกันค่ะ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Under Water World จันทบุรีนั่นเอง ที่นี่มีจัดแสดงพันธุ์ปลาหลากหลายสายพันธุ์ พี่วิทยากรเล่าว่าปลาดูว่าวิ่งเร็วหรือไม่ก็ให้ดูตรงหาง ยิ่งแฉกยิ่งว่ายน้ำเร็วล่ะ แต่ถ้าปลายหางตรงๆ ล่ะก็เป็นปลาวิ่งช้าค๊า เพิ่งรู้เหมือนกันนะเนี่ย นึกว่าปลาส่วนใหญ่ก็ว่ายน้ำเร็วกันอยู่แล้วเสียอีก เค้ามี Level ด้วยเหอะ ภายในบริเวณศูนย์แสดงพันธุ์ปลาก็ไม่ใหญ่มากนัก เดินแป๊บเดียวก็หมดแล้วล่ะ ![]() ![]() ![]() แต่เพื่อนๆ รู้ไหมว่ะการเข้ามาสถานที่แบบนี้นั้น ไม่ควรเปิดแฟลชถ่ายรูปนะคะ ซึ่งส่วนใหญ่เค้าจะมีรายละเอียดบอกไว้ตรงทางเข้าอยู่แล้ว กติกาเค้ามีไว้ให้เคารพก็อย่าฝ่าฝืนเลยค่ะ อย่าเช่นปลาตัวนี้เป็นผลพ่วงจากการที่นักท่องเที่ยวเปิดแฟลชถ่ายรูป เค้าเลยวิ่งชนกระจก ที่เห็นเป็นสีแดงๆ ตรงปากเค้านั้นไม่ใช่ว่าเป็นลักษณะเดิมของเค้านะคะ มันเป็นเนื้องอกที่ยืนออกมาหลังจากชนตู้กระจกหลายๆ ครั้งอ่ะ น่าสงสารจัง แล้วก็มาถึงไฮไลท์แทงค์ใหญ่ เหมือนสยามพารากอนเลย อุโมงค์ปลาค่ะ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ปลาที่นี่ทางศูนย์ก็ให้การดูแลเป็นอย่างดี เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ปลาหายากไว้ให้พวกเราได้มาชมกันค่ะ ที่นี่ไม่เสียค่าเข้าชมนะคะ ตามแต่จิตศรัทธาโดยสามารถบริจาคผ่านตู้ด้านหน้าศูนย์แสดงปลาแห่งนี้ได้ค่ะ จากนั้นพี่วิทยากรก็พาเราไปต่อยังสถานที่เดินเท้าชมไม้โกงกางบริเวณอ่าวคุ้งกระเบนค่ะ .. ไว้มาเล่าให้ฟังใหม่ตอนต่อไปนะคะ Photo and Story By Patthanid C. www.patthanid.bloggang.com Facebook : Patthanid FC ![]() โดย: Kavanich96
![]() |
บทความทั้งหมด
|