📝ตำนานพระภูมิเจ้าที่📝 วิถีชีวิตไทยในความเป็นพุทธ-พราหมณ์ ตามตำนานเก่าเล่าต่อกันมาว่า ในอดีตกาลยังมีกษัตริย์มีนามว่า ท้าวทศราช (บางฉบับว่าท้าวโสกราช หรือท้าวกายทัศน์) มีมเหสีคือ พระนางสันทาทุกข์ (บางฉบับว่าพระนางมันทาทุกขธิบดี) ครอบครองกรุงฉิมพลี มีโอรส ๙ องค์ ล้วนแต่ปรีชาสามารถทุกองค์ ท้าวทศราชจึงส่งโอรสไปรักษาถิ่นฐานต่างๆ ดังนี้ ![]() ๑. พระชัยมงคล ไปรักษาเคหสถาน ร้านโรง หอค้าต่างๆ ![]() ๒. พระนครราช ไปรักษาทวารเมือง ป้อมค่าย และบันได ![]() ๓. พระเทเพน ไปรักษาคอกสัตว์ โรงงช้างม้า โค และกระบือ ![]() ๔. พระชัยศพณ์ (บางฉบับว่าพระชัยสพ) ไปรักษายุ้ง ฉางข้าง เสบียงคลังต่างๆ ![]() ๕. พระคนธรรพ์ ไปรักษาโรงพิธีอาวาห์ และวิวาห์ เรือนหอบ่าวสาว ![]() ๖. พระธรรมโหรา (บางฉบับว่าพระเยาวแผ้ว) ไปรักษาไร่ นา ทุ่งลาน และป่าเขา ![]() ๗. พระเทวเถร (บางฉบับว่าพระวัยทัต) ไปรักษาอาราม วิหาร ปูชนียวัตถุและสถานต่างๆ ![]() ๘. พระธรรมิกราช ไปรักษาอุทยาน สวนผลไม้ และพืชพันธุ์ต่างๆ ![]() ๙. พระทาษธารา ไปรักษาห้วงหนอง คลองคูบึง และแม่น้ำ โอรสทั้ง ๙ นี้ เป็นพระภูมิเจ้าที่ทั้งนั้น ตามความเชื่อแต่โบราณ แต่ในปัจจุบันมีพระภูมิเพียง ๒ องค์เท่านั้น ที่มีศาลอยู่อย่างถาวรและได้รับการสักการบูชา คือ พระชัยมงคล ซึ่งเป็นพระภูมิเจ้าที่ประจำบ้าน กับ พระธรรมิกราช พระภูมิประจำสวนผลไม้และพืชพันธุ์ต่างๆ ส่วนพระชัยศพณ์ผู้รักษายุ้งฉางข้าวนั้น ได้มีพระแม่โพสพมาแทนที่ พระภูมิองค์อื่นๆ คงเหลือแต่ชื่อในตำนานเท่านั้น ไม่มีผู้ใดได้เห็นศาลพระภูมิเหล่านั้นเลย พระภูมิ ยังมีคนรับใช้ไว้ใช้สอยอีก ๓ คน คือ นายจันทิศ นายจันถี และจ่าสพพระเชิงเรือน คอยรับใช้อยู่หน้าศาล ชาดกเรื่องหนึ่งในพุทธศาสนา ก็ได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้ากับพระเจ้ากรุงพลี ไว้ว่า ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ทรงเป็น พระโพธิสัตว์ ได้ทรงบำเพ็ญญาณอยู่ใต้ต้นไทรใหญ่ในเวลากลางคืน ก็ปรากฏว่าพระภูมิซึ่งมีนามว่า พระเจ้ากรุงพลี ไม่พอใจ ได้แสดงอภินิหารขับไล่ พระโพธิสัตว์ พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยญาณถึงเรื่องในภายหน้า จึงทรงขอพื้นที่ดินจากพระเจ้ากรุงพลีเพียง ๓ ก้าว เพื่อบำเพ็ญญาณต่อไป พระเจ้ากรุงพลีเห็นว่าเป็นที่ดินเล็กน้อยเท่านั้นจึงอนุญาต แต่ พระโพธิสัตว์ ทรงมีบุญญาภินิหาร ดังนั้นเมื่อทรงย่างเพียง ๒ ก้าว ก็พ้นเขตพื้นแผ่นดินของพระเจ้ากรุงพลี พระเจ้ากรุงพลีจึงไม่มีผืนแผ่นดินอยู่ ต้องออกไปอยู่นอกฟ้าป่าหิมพานต์ ไม่มีความสุขสบายเหมือนมีที่อยู่อาศัยของตนเอง จึงให้คนใช้ ๓ คน คือ นายจันถี นายจันทิศ และจ่าสพพระเชิงเรือน ไปทูลขอพื้นที่ดินจาก พระโพธิสัตว์ พระพุทธองค์ทรงรู้แจ้งด้วยพระญาณว่า พระเจ้ากรุงพลีจะทำหน้าที่เป็นพระภูมิเจ้าที่ คอยให้ความคุ้มครองแก่มนุษย์และสัตว์โลกโดยทั่วไปในภายหน้า จึงทรงคืนที่ดินให้แก่พระเจ้ากรุงพลี และทรงขอให้ตั้งมั่นอยู่ในความสุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่นอีกต่อไป ใน ลิลิตนารายณ์สิบปาง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ในปางที่ ๕ ตอนวามนาวตาร ก็มีเนื้อความคล้ายคลึงกัน เรื่องราวมีอยู่ว่า พระเจ้ากรุงพลีเป็นกษัตริย์ที่ไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม เที่ยวเบียดเบียนเทวดาให้เดือดร้อนไปทั่วทุกแห่งหน พระนารายณ์เทพเจ้าจึงทรงถือกำเนิดเป็นพราหมณ์น้อย ผู้มีความรู้สูงผู้มีนามว่า “วามน” เข้าไปขอพื้นที่ดินเพียง ๓ ก้าว เพื่อบำเพ็ญพรต พระเจ้ากรุงพลีมิได้ตรึกตรองให้รอบคอบก็ได้อนุญาตทันที แต่พระศุกร์ผู้เป็นอาจารย์ของพระเจ้ากรุงพลีนั้นตะหนักดีว่า พราหมณ์น้อย คือพระนารายณ์อวตารมาเพื่อปราบปราม ดังนั้น เมื่อพระเจ้ากรุงพลีหยิบพระเต้าน้ำ เพื่อจะหลั่งน้ำมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้พราหมณ์ พระศุกร์จึงจำแลงกายเพื่ออุดรูพระเต้า กันมิให้น้ำไหลลงสู่พื้นดิน แต่พระนารายณ์ในร่างของพราหมณ์รู้ทันความคิดของพระศุกร์ จึงเอาหญ้าคาแยงเจ้าไปในรู้พระเต้า ถูกตรงนัยน์ตาพระศุกร์พอดี พระศุกร์ได้รับความเจ็บปวดมาก จึงจำต้องออกมาจากพระเต้า น้ำจึงหลังลงมาจากพื้นดิน เป็นการสำเร็จทาน ในทันใดนั้นพราหมณ์น้อยก็แสดงอภินิหารเป็นนารายณ์ ๔ กร ย่างพระบาทเพียง ๒ ก้าวก้นขอบจักรวาล พระเจ้ากรุงพลีหมดปัญญาแก้ไข ต้องลงไปอยู่ในบาดาล ต่อมาได้สำนึกผิด พระนารายณ์จึงทรงคืนที่ดินให้ โดยได้ขอให้พระเจ้ากรุงพลีครองตนอยู่ในศีลสัตย์ และประพฤติธรรม ดังนั้นถ้าผู้ใดจะทำพิธีมงคลใดใดก็ตาม เช่นปลูกบ้านใหม่ งานแต่งงาน ต้องทำพิธีบูชาเจ้าของที่ พระเจ้ากรุงพลีจึงจะมีความสุข เรื่องราวของพระภูมินั้น ก็เป็นเพียงตำนานหรือนิทานเล่าสืบทอดกันมา จึงอาจมีผู้สงสัยว่า พระภูมิมีจริงหรือไม่ และสามารถคุ้มครองป้องกันภัยพิบัติ ช่วยบันดาลให้เกิดโชคลาภให้เกิดมากน้อยเพียงใด คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าพระภูมิมีจริง และพระภูมิคือวิญญาณของผู้ที่ตายแล้วมาสถิตอยู่ที่ศาล นับเป็นเทพผู้คุ้มครองรักษา การจัดตั้งศาลพระภูมิจึงนับเป็นพิธีการของศาสนาพุทธและพราหมณ์ปะปนกัน เพราะมีการบูชาสังเวยขอพร และขอให้บันดาลในอภินิหารในสิ่งที่มุ่งหวัง แต่พระภูมิจะศักดิ์สิทธิ์สามารถดลบันดาลโชคลาภ และปกป้องคุ้มครองภัยหรือไม่นั้น หากจะพิจารณาตามหลักพุทธศาสนา ก็ควรพิจารณาถึงกรรมคือการกระทำเป็นสำคัญ คือ ประกอบด้วยถ้าทำดีย่อมได้รับผลดี แต่ถ้าเคยทำชั่วมามาก ก็ย่อมได้รับความทุกข์และไม่มีโชคลาภ ถึงแม้จะมีการบูชาหรือสังเวยขอพร ก็มักจะไม่ใคร่เป็นผลสำเร็จ เครดิตข้อมูล: เพชร พรพิภัทร ![]() ขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่านค่ะ ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน
ขนาดพระภูมิ เจ้าที่ แต่ก่อนมีหลายองค์หลายหน้าที่ แต่ตอนนี้เหลือ ปฏิบัติงาน 2 ตำแหน่ง แค่นั้นเองนะครับ ดูเอาเหอะ ![]() ![]() ![]() โดย: multiple
![]() กราบสวัสดรเหล่าเทวดาอารักษ์...
ผู้ปกป้องพื้นแผ่นดินไทย... โหวตให้เลยคะ โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ
![]() ![]() ผมชอบเรื่องตำนานแบบนี้ครับ ยิ่งตำานภาคเหนือยิ่งชอบเลยครับผม ^^
โดย: จันทราน็อคเทิร์น
![]() เป็นเรื่องที่อ่านแล้วน่าสนใจมาก และที่สำคัญ ไม่รู้มาก่อนเลยค่ะ
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ โดย: Sai Eeuu
![]() ![]() จากบล๊อกครับผม
แม่ก็บอกแบบนั่นครับว่าน่าจะแม่ย่านาง แม่บอกว่าเวลาทำบุญทำให้เค้าด้วยนะ ^^ โดย: จันทราน็อคเทิร์น
![]() ![]() ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ ![]() ![]() วันนี้มาเร็วเครมเร็ว บอลไทยเตะไม่ล่ายดางจาง ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() โดย: เริงฤดีนะ
![]() ![]() |
บทความทั้งหมด
|
สวัสดียามเช้าครับคุณโอเล่
เป็นความรู้ใหม่
ที่ผมยังไม่เคยรู้มาก่อนเลยครับ