Miles Davis - The Prince of Darkness ตอนที่ 4
Modal Miles และ Cannonball

หลังจากการดับสลายของวง 5 ชิ้นในยุคแรกแล้ว การเข้ามาเสริมทัพของ Julian Cannonball Adderley กับวงที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร ขณะที่ โคลเทรน โชว์ฝีปากโซโลแบบยาวเหยียด แอดเดอร์ลีย์กลับเป่าไปเรื่อยๆ เคล้าสำเนียงบลูส์ ครวญคราง ไปจนถึงเร็วปรู๊ดปร๊าด แน่นอน เขาย่อมเป็นหนึ่งในนักแซ็กโซโฟนที่ผู้ฟังชื่นชอบในยุคสมัยนั้น งานออกคอนเสิร์ตเขามักจะได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีเสมอ อย่างที่เขาเคยได้รับการต้อนรับอย่างอุ่นหนาฝาคั่งที่คอนเสิร์ต 1958 Newport Jazz Festival

การเข้ามาเติมเต็มของแอดเดอร์ลีย์นั้นยังเป็นการส่งเสริมความโดดเด่นให้กับโคลเทรนอีกทางหนึ่ง ด้วยในการโชว์เดี่ยวของแต่ละคน แน่นอนว่าโคลเทรนสามารถเล่นได้ด้วยพลังแห่งความแม่นยำของความเป็นมืออาชีพ อันยากเหลือเกินที่จะเกิดข้อผิดพลาด

นอกจากจะเป็นช่วงที่รุ่งโรจน์โชติช่วงทางดนตรีของ ไมล์ส แล้ว มันก็ยังเป็นเวลาที่เขาปรับปรุงและพัฒนาทักษะทางการประพันธ์เพลงให้ก้าวสู่แนวหน้าอีกด้วย ซึ่งอัลบัมสำคัญที่เขาได้ร่วมทำกับแอดเดอร์ลีย์ในช่วงปี 1959 ก็คือ Kind Of Blue ซึ่งชี้นำแนวทางใหม่ๆ ให้กับวงการเพลงแจ๊ซ (ในปี 1958 ก็ยังมีผลงาน Milestones, Somethin’ Else (อัลบัมส่วนตัวของแอดเดอร์ลีย์) และ Live At Newport 1958 อีกด้วย) วงดนตรี 6 ชิ้นของเขาได้บันทึกผลงานเพลง 5 ชิ้น ซึ่ง ไมล์ส ได้นำเสนอต่อลูกวงของเขาไม่กี่ชั่วข้ามคืนก่อนหน้าที่จะบันทึกเสียง และแน่นอน…อย่างคร่าวๆ ด้วยเจตนาอันแรงกล้าของเขาที่ต้องการความเป็นธรรมชาติในรูปแบบของ Modal Music ถึงแม้ว่าอะไรๆ จะใหม่ไปหมดก็ตาม บรรดานักดนตรีก็ได้สร้างสรรค์อารมณ์ในการใช้คีตปฏิภาณอันเกินกว่าที่เราจะคาดว่าจะได้ฟัง ยิ่งไปกว่านั้น Kind Of Blue ยังได้มาถึงจุดสูงสุดของความเป็นดนตรี นั่นคือการที่มันกลายเป็นอัลบัมอมตะนิรันดร์กาลไปแล้ว ไม่เชื่อลองไปดูการจัดอันดับ 100 อัลบัมประจำปีของแม็กกาซีนต่างประเทศ ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม ต้องมี Kind Of Blue เป็น 1 ในร้อยนั้นด้วย และใครก็ตามที่ริจะฟังแจ๊ซ…นี่ก็ต้องเป็นหนึ่งอัลบัมที่เขาคนนั้นจะต้องหามาฟัง ในฉบับรีมาสเตอร์ใหม่ของ Kind Of Blue ที่เพิ่งออกวางจำหน่ายหลังสุดนี้ ยังเป็นเวอร์ชันที่รวมเอาเทคหลุดๆ อันเกิดจากความผิดพลาดของสปีดในการบันทึกเสียงเอาไว้ด้วย

อัลบัมน่าฟังที่รวมอยู่ในยุคนี้ด้วยก็เห็นจะเป็น Someday My Prince Will Come (1961) เล่นโดย โคลเทรน (เทเนอร์ แซ็ก), Hank Mobley (แซ็กโซโฟน), เคลลี (เปียโน), แชมเบอร์ส (เบส) และ ค็อบบ์ (กลอง) แนะนำให้ฟังเพลงไตเติลแทร็ก ซึ่งถือว่าเป็นท่อนโซโลที่ดีที่สุดของโคลเทรนท่อนหนึ่งทีเดียว




Create Date : 24 สิงหาคม 2548
Last Update : 25 กันยายน 2548 17:49:22 น.
Counter : 1018 Pageviews.

3 comments
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
อุ้มสีมาทำบุญ ๙ วัด ในวันขึ้นปีใหม่ที่จ.อุบลราชธานี อุ้มสี
(3 ม.ค. 2567 19:10:02 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
ประสบการณ์ ทำพาสปอร์ตที่สายใต้ใหม่ newyorknurse
(2 ม.ค. 2567 17:45:17 น.)
  
ตอนที่สี่สั้นดีแฮะ
โดย: nunaggie (nunaggie ) วันที่: 24 สิงหาคม 2548 เวลา:10:05:58 น.
  
Kind Of Blue ฟังเท่าไหร่ก็ไม่เบื่อ และไม่เคยจำไลน์โซโลแต่ละคนได้ครบซักที
โดย: winston วันที่: 22 กันยายน 2548 เวลา:0:33:46 น.
  
Kind Of Blue คือส่วนสำคัญในวงการ และผลงานแจ๊ซที่ทรงคุณค่า
โดย: wicked man IP: 161.200.255.162 วันที่: 17 มิถุนายน 2551 เวลา:13:53:02 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Nunaggie.BlogGang.com

nunaggie
Location :
City of Angels,  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]

บทความทั้งหมด