จอห์น โคลเทรน และความหมายแห่งชีวิต (ตอนจบ)



นวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่แผ้วถางด้วยน้ำมือของไมล์สเดวิส ได้สร้างกฎเหล็กสำหรับนักดนตรีที่อยากมีส่วนร่วม ไมล์สเรียกร้องความสมบูรณ์แบบในการเล่นจากสมาชิกร่วมวงแต่ก็ยังให้โอกาสและอิสรภาพที่จะทดลองเล่นตามความคิดจอห์นผจญภัยอย่างไร้ซึ่งความกลัว หากแต่ก็ไม่หละหลวม เขาได้ย่างเข้าสู่อาณาเขตแห่งดนตรีโมดัลแจ๊สในระหว่างการออกทัวร์ครั้งสุดท้ายของเขากับไมล์สในยุโรปเมื่อปี 1960จอห์นเล่นแตกต่างออกไปจากเดิมทะมัดทะแมงแกร่งกล้ามากกว่าที่เคยเล่นใน Kind of Blue เราจะได้ยินซาวด์ที่เข้มขรึมและทำการทดลองบางครั้งก็ทำให้คนฟังงุนงง หลังจากเล่นท่อนโซโลในเพลง All Blues จากการแสดงในซูริก สวิตเซอร์แลนด์เมื่อวันที่ 8 เมษายน1969 จอห์น โคลเทรนก็โดนแฟนเพลงโห่หากแต่เขาก็ได้หวั่นไหวไม่ ยังคงค้นหา สำรวจดนตรีอย่างไม่ทะลุปรุโปร่งทุกซอกทุกมุมในระหว่างการออกตระเวนแสดงสด จอห์นให้สัมภาษณ์ในรายการวิทยุฝรั่งเศส ซึ่งเขาพูดว่ามีความคิดใหม่ๆเยอะแยะมากมายวนอยู่ในสมองจึงเป็นเรื่องยากที่จะดึงความคิดเหล่านั้นออกมาใช้ทั้งหมด เขารู้ตัวว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนการจัดระเบียบแต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะไปจบลงตรงไหนอย่างไร จอห์นไม่ใช่นักดนตรีที่จะร่อนลงจอดในที่ที่เขาไม่เคยแม้จะเหยียบย่างลงไปเขาได้พบกับอิสรภาพและความเป็นไปได้ที่เหนือกว่านั้นมากสำหรับโมดัลแจ๊สในรูปแบบของวง“เดอะ คลาสสิก ควอร์เต็ต” (1960-65)

จอห์นมีประสบการณ์การบันทึกเสียงในฐานะหัวหน้าวงมาก่อนแต่การเล่นเป็นวงที่เข้าขากันขนาดไปถึงขั้นติดต่อทางโทรจิตอย่างที่เกิดขึ้นกับเดอะคลาสสิก ควอร์เต็ตนั้นช่างเป็นเรื่องแปลก พลังแห่งการสื่อสาร,สมัครสมานสามัคคีและความเข้าใจกันที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในบรรดาสมาชิกวงอย่าง เอลวินโจนส์ (กลอง), จิมมี แกร์ริสัน (เบส) และแม็กคอย ไทเนอร์ (เปียโน) สิ่งที่ไม่สามารถหาใดอื่นเทียบเท่าได้ในชีวิตการทำงานของจอห์นไม่เท่านั้น อาจจะหมายถึงประวัติศาสตร์แจ๊สของมนุษยชาติทั้งมวลเลยก็ได้โทนเสียงและเทคนิกของจอห์นพัฒนาขึ้นอย่างมีนัยยะแห่งเสียงเช่นเดียวกันกับทักษะในการฟังและโต้ตอบกับสมาชิกในวงคนอื่นๆ เขาได้ค้นพบหลายสิ่งหลายอย่างที่แสวงหาในช่วงที่เล่นกับเดอะคลาสสิกควอร์เต็ตวงนี้ แต่ก็ยังไม่ทั้งหมด มันเป็นประสบการณ์ครั้งแรกของจอห์นในฐานะหัวหน้าวงในการออกตระเวณทัวร์เริ่มต้นจากเรจจี เวิร์กแมน (เบส) แต่จิมมีแกร์ริสันก็เข้ามาแทนที่เรจจีในเวลาหลังจากนั้นไม่นาน แล้วก็อยู่กับจอห์นเป็นระยะเวลานานกว่าสมาชิกคนอื่นๆจนกระทั่งสลายวง เอลวิน โจนส์ มือกลองเองก็เป็นเช่นเดียวกับจอห์น เขาผลักดันขีดจำกัดของดนตรีแจ๊สแบบเดิมๆออกไปโดยการรักษาจังหวะของตัวเองไว้พละกำลังของเอลวินมันช่างเหมาะเหม็งเข้าคู่กับหัวหน้าเสียเหลือเกิน ในขณะที่เอลวินรักษาจังหวะไว้ไม่เคยพลาดและยังสามารถสวิงได้อย่างดุเดือดเขาก็ไม่เคยเอากรูฟเดิมๆ กลับมาใช้ แต่กลับสร้างความหลากหลายให้เกิดขึ้นผ่านสุ้มเสียง,ไดนามิก เรนจ์และความคิดสร้างสรรค์ที่เปี่ยมแรงขับดันเอลวินและจอห์นมีความสุขไปกับการเสี่ยงทดลองทำสิ่งต่างๆซึ่งจุดประกายให้พวกเขาก้าวย่างสู่จุดที่สูงยิ่งขึ้นไปอีกในความเป็นมืออาชีพ ความลุ่มลึกและรุ่มรวยของชิ้นงานคงอัตลักษณ์ไว้อย่างเหนียวแน่นในดนตรีแจ๊ส

แม็กคอยไทเนอร์ มือเปียโนคอยเล่นทั้งฉากหลังและโซโลอันทรงพลัง เขาเป็นอีกคนหนึ่งที่กระตือรือล้นในการประสานเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับเพื่อนร่วมวงจิมมี แกร์ริสัน มือเบสก็สามารถเล่นสวิงและพร้อมผจญภัยด้วยชั้นเชิงไหวพริบทรงประสิทธิภาพอีกทั้งเขายังเป็นหนึ่งในนักโซโลเบสที่ดีที่สุดในยุคนั้นอีกด้วยสมาชิกในวงแต่ละคนล้วนมี “หูทิพย์” ในแง่ของแจ๊สก็คือการฟังและการรับส่งกับเพื่อนร่วมวงอย่างทันท่วงทีไม่ว่าจะอยู่บนเวทีการแสดงหรือในห้องบันทึกเสียงสตูดิโอสมาชิกของเดอะคลาสสิก ควอร์เต็ตร้อยเรียงกันได้เป็นอย่างดีจนเรียกได้ว่าฝึกซ้อมน้อยมากหลังจากที่พวกเขาได้ก่อร่างขึ้นมา จอห์นอาจจะสรุปให้สั้นๆก่อนจะเล่นเพลงนั้น แต่ในส่วนที่เหลือจะถูกต่อยอดผ่านการอิมโพรไวส์ของสมาชิกท้องฟ้ายังเปิดอยู่ พวกเขาเงยหน้าขึ้นมองอย่างมิยำเกรงใดๆเอลวินให้สัมภาษณ์กับเทอร์รี กรอสใน Fresh Air รายการวิทยุของเอ็นพีอาร์ว่าการสื่อสารของสมาชิกวงนั้น “เกือบจะยกระดับสู่โทรจิตแล้ว” ในหนังสือ Flow :The Psychology of Optimum Experience นักจิตวิทยามิเฮลีซิกเซ็นมิเฮลี ได้อธิบายไว้ว่า บางครั้งเราก็มีประสบการณ์ที่ควบรวมจุดประสงค์,ความปีติและความสามารถผนวกเข้าด้วยกัน แล้วแปรสภาพออกมาเป็นผลผลิตที่เปี่ยมล้นด้วยความตระหนักรู้ในขั้นกว่าเขาเรียกว่า “การไหล่บ่า” ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกส่งผ่านไปยังวินาทีหรือชั่วโมงแห่งมนตราคนที่จะประสบกับ “สภาวะแห่งการไหลบ่า”ได้นั้นอาจจะเป็นนักกีฬาที่กำลังเข้าสู่ชัยชนะหรืออาจจะเป็นศัลยแพทย์ที่กำลังทำการผ่าตัดก็เป็นได้การประสบภาวะนี้ด้วยดนตรีก็คือสภาวะไหลบ่าของนักดนตรีนั่นเอง ประสบการณ์แบบนี้เป็นประสบการณ์ส่วนบุคคลหรืออาจจะเกิดกับเพื่อนนักดนตรีคนอื่นที่เล่นอยู่ด้วยกันปกติจะส่งผ่านไปสู่ผู้ฟังพร้อมๆ กัน


วงเทพสถิตย์วงนี้ได้บรรลุสู่จุดสูงสุดเมื่อบันทึกเสียงผลงานA Love Supreme ซึ่งออกวางจำหน่ายเมื่อปี1965 จอห์นได้มองหานวัตกรรมทางดนตรีแบบใหม่ๆและการจุดประกายทางจิตวิญญาณอย่างกระตือรือล้นหลังจากที่หลุดพ้นจากวงจรเฮโรอีนได้ในปี1957 ผลงาน A Love Supreme ถูกใช้เป็นบรรณาการแด่พระเป็นเจ้าผู้ซึ่งมอบพลังและมุมมองใหม่แก่เขาอย่างมีเหตุผล เขาเขียนเอาไว้ในไลเนอร์โน้ตว่า“ในระหว่างปี 1957 ผมได้รับพรศักดิ์สิทธิ์จากพระเจ้าปลุกให้ผมตื่นขึ้นนำผมสู่หนทางที่ดีกว่า, เติมเต็มมากกว่า และมีชีวิตที่สร้างสรรค์กว่าเก่าในตอนนั้นด้วยความกตัญญูต่อพระเจ้า ผมก็ได้ถามพระองค์ไปอย่างนอบน้อมเพื่อขอหาทางและเอกสิทธิ์ในการสร้างความสุขให้คนอื่นด้วยเสียงเพลง ผมรู้สึกได้ว่าพระองค์ท่านมอบสิ่งนั้นให้ผมด้วยความเคารพแด่พระเจ้า” จอห์นได้สร้างความสุขให้กับคนฟังจริงๆผ่านผลงานที่พิสูจน์ได้ สำหรับหลายๆ คนแล้วผลงาน A Love Supreme บ่งบอกชัดเจนที่สุด ไม่เหมือนผลงานชุดก่อนๆ ของจอห์นผลงานจากความบากบั่นพากเพียรความยาว 39 นาทีที่บรรจุ 4มูฟเมนต์ : Acknowledgement, Pursuance, Resolution และ Psalm ไมเคิล คัสคูนา นักวิจารณ์เพลงแจ๊สระบุไว้ว่า“ผลงานสี่องก์ชิ้นนี้เป็นงานที่ใช้โครงสร้างเรียบง่าย แต่รุ่มรวยด้วยเนื้อหา”มันยังได้กลายเป็นผลงานบันทึกเสียงที่เป็นที่รู้จักและทรงอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ดนตรีแจ๊สA Love Supreme เป็นงานโมดัลแจ๊ส หากแต่มันได้ก้าวพ้นความอุตสาหะในตอนแรกของจอห์นกับแนวเพลงชนิดนี้เพราะว่าจุดศูนย์รวม, ความเข้มข้น และความกระตือรือล้นของสมาชิกวง โครงสร้างทางดนตรีคือจิตวิญญาณในการค้นหาThe Supreme ซึ่งสำหรับจอห์นแล้วมันหมายถึงพระเป็นเจ้านั่นเอง ในบทกวีที่เคล้าคลอในไลเนอร์โน้ตเขาเขียนถึงโมงยามที่ห่างหายจากพระเจ้า อย่างไรก็ตาม เขาก็กลับมา “ผมได้รับรู้และได้รับการย้ำตามเวลาที่คาดหมายเอาไว้ถึงอำนาจที่เป็นนิรันดร์ของพระเปนเจ้าแต่รู้สึกถึงความต้องการและอิสรภาพในพระองค์ ในตอนนี้ผมอยากจะบอกคุณว่าไม่ว่าจะอย่างไรก็คือพระเจ้า พระองค์สง่างามและเปี่ยมด้วยเมตตา หนทางของพระองค์คือความรักผ่านสิ่งที่เราทุกคนเป็นนี่คือความรักที่สูงส่ง”

ดนตรีที่แสดงให้เห็นในเซสชันนี้คือความล้ำเลิศและทำให้รำลึกถึงคนดูที่อ้าปากตะลึงงันอย่างอัศจรรย์ใจสามารถฟังได้ซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่หยุดหย่อน มีนักศึกษาอยู่คนหนึ่งใช้เวลาฟังซ้ำๆอยู่หลายครั้งกว่าจะ “เข้าถึงดนตรี” ประหนึ่งวันฉลองเทศกาลเอพิฟานีเกิดขึ้นเมื่อเขากำลังฟังA Love Supreme ในรถยนต์ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นแรงกล้าจนเขาต้องจอดรถเข้าข้างทางเพื่อซึมซับกับมันให้มากที่สุด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจอะไรมากกับเหตุการณ์นี้แทนที่จะประเมินผลงานนี้องก์ต่อองก์ การดำดิ่งเจาะลึกเข้าสู่พาร์ตแรกของ ALove Supreme เบิกทางให้เข้าสู่การทำความเข้าใจความหมายอันเป็นสากลในงานของจอห์นลิวอิส พอร์เตอร์ ศาสตราจารย์และผู้เชี่ยวชาญชีวิตและผลงานของจอห์นโคลเทรนให้ข้อสังเกตไว้ว่า ในเพลง Acknowledgement จอห์นเล่นโน้ตสี่ตัวในทุกๆ คีย์ที่จะเล่นได้ ด้วยการเล่น 12 คีย์แบบนี้จอห์นกำลังตอกย้ำด้วยภาษาดนตรีว่า “รักอันยิ่งใหญ่” (พระเจ้า) นั้นมีอยู่จริงทุกๆหนทาง ลิวอิสบันทึกเอาไว้ว่า “เขาบอกว่ามันอยู่ทุกแห่งทุกหน อยู่ในคีย์ทั้ง 12คีย์ อยู่ในทุกที่ที่คุณมองหา คุณจะเจอรักอันยิ่งใหญ่เขากำลังแสดงให้คุณเห็นเท่าที่จะรับรู้ได้ผ่านทางแซ็กโซโฟนของเขาเอง”

หลังจากที่บันทึกเสียงผลงานเพลงA Love Supreme จอห์นก็ได้หานักดนตรีเพิ่มเติมเข้าวงไม่ว่าจะเป็นฟาโรห์ แซนเดอร์ส นักแซ็กโซโฟนในตำนาน และอลิซ โคลเทรน นักเปียโนภรรยาคนที่สองของเขา และลดทอนความมุ่งหมายในการค้นหาความคิดที่ยังไร้ทิศทาง ไม่นานหลังจากนั้นนักเอลวินและแม็กคอยก็ลาออกจากวง แต่จิมมียังคงอยู่ต่อ ตัวดนตรีเริ่มออกไปไกลห่างและทิ้งผู้ฟังไว้ข้างหลังแต่จอห์นก็ยังคงมองไปข้างหน้าแม้ว่าจะไม่เห็นปลายทาง ผลงานบันทึกเสียงโชว์สุดท้ายที่ไม่ค่อยจะดีนักThe Olatunji Concert ออกวางจำหน่ายโดยต้นสังกัดอิมพัลส์ในปี2001 หลังจากนั้นมีอีกเพียงแค่โชว์เดียวจอห์นก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 1967วงการดนตรีแจ๊สตกอยู่ในภาวะโศกสลด จอห์น แม็กลอฟลิน มือกีตาร์ถึงกับบอกว่ายืนขาสั่นในขณะที่ได้ฟังข่าวสลดโลกข่าวนี้ชีวิตของคนคนหนึ่งจะบอกอะไรเราได้ถึงความหมายของมัน? ก็พูดได้เยอะแต่ขอย้อนกลับไปที่ใจความหลักของบทความนี้ซึ่งก็คือการตามหาความหมายของชีวิตของจอห์น โคลเทรน จอห์นไม่ได้โดดเดี่ยวอยู่ลำพังเราต่างค้นหาความหมายจุดประสงค์บางอย่างและและความหมายของมันอยู่เหนือไปกว่าเราจะเข้าใจซึ่งไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ถ้าอ้างอิงตามสภาพของเราเอง ซี.เอส.ลิวอิสเชื่อว่าความปรารถนาอย่างแรงกล้าและการค้นหาสิ่งที่อยู่นอกเหนือจะแสดงให้เห็นถึงแก่นที่ลุ่มลึกของมนุษย์

เราปรารถนาในหลายสิ่งที่เราไม่สามารถทำให้บรรลุ(ความสำเร็จ, ความมั่งมี และสุขภาพอันแข็งแรง) ความปรารถนาในบางสิ่งที่โลกทั้งใบไม่สามารถตอบสนองเราสามารถที่จะพบได้ในงานสำรวจที่ไม่รู้จบของจอห์น เป็นไปได้ไหมที่ความปรารถนาเหล่านั้นจะถูกแสดงออกมาในรูปบทกวี,ปรัชญา และดนตรีแห่งยุคสมัย ทั้งหมดทั้งมวลจะมาสู่ความว่างเปล่ากระนั่นหรือ?แม็กเบ็ธจะมีคำพูดสุดท้ายเพื่อสั่งลาหรือเปล่า? ชีวิตไม่ใช่เงา นักดนตรีผู้น่าสงสารจะเดินวางท่าและกัดกร่อนวันเวลาทิ้งไปบนเวทีแล้วก็จะไม่มีใครสนใจอีก มันเป็นเรื่องเล่าจากคนเขลาที่เต็มไปด้วยซาวด์และความเดือดแค้นอันไร้แก่นสารชีวิตและผลงานของจอห์น โคลเทรนไร้แก่นสารงั้นหรือ?การไล่ตามค้นหาของเขามันไร้จุดหมายเช่นนั้นหรือ? ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้นส่วนหนึ่งในความหมายของชีวิตก็คือ การที่มนุษย์ค้นหาความหมายและความหมายเหล่านั้นควรค่าแก่การไล่ไขว่คว้าเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่เสาะแสวงเป้าหมาย และไม่สามารถจะเป็นอย่างอื่นไปได้ แม้แต่คนที่ทำโดยปราศจากจุดหมายใดๆเยี่ยงแบร์ทรองด์ รัสเซล ผู้ซึ่งขานเรียกโลกใบนี้ว่า “โอกาสแห่งการจัดระเบียบอนุภาค”ก็ยังคงค้นหาเป้าหมายในการที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้คนอื่นเห็นว่าสิ่งใดในโลกล้วนไร้ความหมายก็มีน้อยคนที่จะเห็นความหมาย, ความงดงามและความจริงได้อย่างมีชีวิตชีวามากไปกว่าจอห์น โคลเทรนแต่ถึงแม้กระนั้นเขาก็ยังไม่เคยพอใจ แล้วเราล่ะพอใจหรือยัง? เราพบความหมายเราก็ค้นหาต่อไปอีกเพื่อนัยยะที่มากกว่าเดิม สิ่งเหล่านี้บอกอะไรแก่เราและโลกบ้าง?ซี.เอส.ลิวอิสนำเสนอความคิดสะท้านใจเอาไว้ในบทความ“The Weight of Glory”

“สิ่งมีชีวิตไม่ได้กำเนิดขึ้นด้วยความปรารถนาถ้าไม่ใช่ความพึงพอใจแห่งความปรารถนานั้นดำรงอยู่ เด็กๆ รู้สึกหิวโหยก็มีสิ่งที่เรียกว่าอาหาร เป็ดน้อยอยากว่ายน้ำ ก็มีสิ่งที่เรียกว่าน้ำ มนุษย์มีความต้องการทางเพศก็มีสิ่งที่เรียกว่าการร่วมรัก ถ้าผมหาความปรารถนาในตัวเองโดยที่ไม่มีประสบการณ์ที่โลกนี้พึงใจสิ่งที่น่าจะใช้อธิบายได้มากที่สุดก็คือ ผมถือกำเนิดมาจากโลกใบอื่น ถ้าความพึงพอใจในเบื้องแรกของผมไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้มันก็ไม่ได้พิสูจน์ว่าจักรวาลนี้คือความลวงบางทีความต้องการเชิงโลกอาจจะไม่ได้มีขึ้นเพื่อทำให้ใครพอใจแต่เพียงแค่กระตุ้นเตือน เสนอแนะสิ่งที่เป็นจริง” จอห์น โคลเทรนค้นหา“สิ่งที่เป็นจริง” ซึ่งเขานิยามไว้ว่า “พระเจ้า” ในผลงาน ALove Supreme หลายคนฟังเพลงของจอห์น ก็จะพบว่ามันเป็นเหมือนประตูใหญ่ที่จะเปิดสู่ความเข้าใจและเหตุผลที่ต้องขอบคุณกลับไป นักแฟซ็กโซโฟนสายฟรีแจ๊สปีเตอร์ บร็อตซ์แมนผู้ซึ่งไม่เคยแสงดออกถึงความเลื่อมใสในศาสนา กล่าวว่า“ดนตรีมีที่มาจากที่อื่น” ดนตรีบางประเภทในความสูงส่งของมันได้ทำให้ย้อนรำลึกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนก่อนความเป็นจริงที่ว่ามนุษย์ไม่ได้เชื่อถือได้ทั้งหมด และไม่ได้มีความเข้าใจรู้ซึ้งทุกอย่างบางทีคำสอนของครูคนเก่าๆ อาจจะบอกได้ดีที่สุด

“เขาได้ทำทุกอย่างไว้อย่างสวยสดงดงามในช่วงเวลาของมันเขาสร้างความนิรันดรเอาไว้ในหัวใจมนุษย์ ซึ่งยังไม่มีแม้ใครสักคนที่จะสามารถเข้าใจสิ่งที่พระเป็นเจ้าได้สรรค์สร้างไว้ตั้งแต่ต้นจนวาระสุดท้าย(หนังสือปัญญาจารย์ บทที่ 3 วรรคที่ 11) ยังมีอีกมากมายหลายสิ่งในความรักอันยิ่งใหญ่นอกเหนือไปกว่าที่จอห์นรู้ซึ้งอันที่จริงแล้ว ผมก็เห็นด้วยอย่างนั้น แต่ความสว่างกระจ่างใจใน Persuance ของเขาน่าจะกระตุ้นเราให้ค้นหาสิ่งที่มากยิ่งขึ้นไปอีกในขณะที่เรายังมีแรงทำได้”





Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2559 8:17:05 น.
Counter : 1278 Pageviews.

0 comments
เวลาที่หายไป - บทที่ 27 ดอยสะเก็ด
(16 เม.ย. 2567 20:17:49 น.)
Jeff Satur - ซ่อน (ไม่) หา l Ghost peaceplay
(13 เม.ย. 2567 10:05:38 น.)
สุขสันต์วันปีใหม่ไทย ๒๕๖๗ haiku
(13 เม.ย. 2567 10:13:33 น.)
2467_The kissing Booth หอมกร
(10 เม.ย. 2567 09:53:30 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Nunaggie.BlogGang.com

nunaggie
Location :
City of Angels,  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]

บทความทั้งหมด