ลาวใต้ - อุบลราชธานี ~~~ มื้อเช้าที่สามชัยกาแฟ วัดหลวง วัดแจ้ง
ทริปลาวใต้ - อุบลราชธานี 27 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2562

ตอนที่ 14  เที่ยววัดเมืองอุบล

เช้าวันที่ 3 ธันวาคม 2562 หลังจากเสิร์ชดูร้านอาหารเช้าหลายร้าน ตกลงใจเลือกร้านสามชัยกาแฟค่ะ



เพิ่งนึกออกว่า ทริปอุบล ยังอัปบล็อกไม่จบค่ะ 121



เช้านี้เรากินอะไรบ้าง 



กาแฟโบราณ ไข่กระทะ ข้าวจี่เวียดนาม ปาท่องโก๋จิ้มนมข้น เยอะอยู่ค่ะ



รวม ๆ 



เดินผ่านโรงเรียนอนุบาล บรรยากาศช่วงเช้าหน้าโรงเรียน เหมือน ๆ กันหมดเนาะ





07.45 น.





เวลาเดินเล่น ค่อย ๆ เดิน ก็จะได้ละเลียดรื่นรมย์อะไรแบบนี้ล่ะค่ะ







07.55 น. วัดแรกของเช้านี้ค่ะ


 
วัดหลวง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดอุบลราชธานี ผู้สร้างคือ พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ที่ตั้งติดกับที่พักอาศัยของพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ ซึ่งชาวเมืองอุบลจะเรียกว่า คุ้มญาหลวง หรือคุ้มโฮงกลาง เหตุที่ชื่อวัดหลวงนั้นเรียกตามชื่อพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ ที่เรียกกันว่า “ญาหลวงเฒ่า” ในอดีตนั้นวัดหลวงเป็นสถานที่ประชุมทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาก่อนที่จะมีวัดสุปัฏนารามวรวิหาร วัดถูกสร้างขึ้นปี พ.ศ. 2334 ภายในวัดเสนาสนะที่สร้างล้วนวิจิตรงดงามด้วยศิลปะการแกะสลักปิดทองลงรักประดับกระจกศิลปกรรมแบบหลวงพระบาง ทั้งพระประธาน หอไตร เจดีย์ธาตุ ศาลาการเปรียญ สิมอุโบสถ หอกลอง หอระฆัง กุฎิสงฆ์ หอปราสาทธรรมาสน์  แต่ปัจจุบันถูกรื้อถอนออกหมดแล้วด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พระพุทธรูปสำคัญของวัดหลวง คือ พระสำริดปางห้ามญาติ พระไม้จันทร์ปางห้ามญาติ พระทรงเครื่องกษัตริย์ พระพุทธรูปแบบล้านช้าง พระแก้ว แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปบ้างแล้วเช่นกัน
 


รูปหล่อของพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง)







วิหารพระเจ้าใหญ่องค์หลวง





พระเจ้าใหญ่องค์หลวง







พระเจ้าใหญ่องค์หลวง เป็นพระประธานที่ประดิษฐานอยู่บนศาลาการเปรียญหรือวิหารพระเจ้าใหญ่องค์หลวงของวัดหลวง พุทธลักษณะปางเรือนแก้ว พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบในซุ้มเรือนแก้ว พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้พระธรณี

พระพุทธรูปปางเรือนแก้วนี้ในพุทธตำนานอธิบายความไว้ว่า ในสัปดาห์ที่ 4 หลังตรัสรู้ พระพุทธองค์เสด็จจากรัตนจงกรมเจดีย์ไปประทับในเรือนแก้ว (รัตนคฤห) ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเทพยดาเนรมิตถวาย เพื่อทรงพิจารณาพุทธธรรม ในกำหนด 7 วัน จนบังเกิดเป็นประภาวลี (รัศมีที่แผ่ออกจากกายสำหรับบุคคลมีบุญญาธิการ หรือพระพุทธรูป) สถานที่ดังกล่าวจึงมีชื่อ “รัตนฆรเจดีย์” พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระพุทธรูปประจำเดือน 7











พระอุโบสถวัดหลวง







ภายในพระอุโบสถ เรียบ ๆ ค่ะ











พระอุโบสถ พระวิหาร















บันไดทางเดินลงไปถนนหน้าริมมูล



มองกลับขึ้นไปวัด







คุ้น ๆ ว่าตรงนี้เป็นด้านหลังตลาดค่ะ



ผ่านโรงเรียนอนุบาล



ทุ่งศรีเมือง





09.56 น. วัดแจ้งค่ะ




 

เจ้าราชบุตร (หนูคำ) หนึ่งในคณะอาญาสี่ ผู้ปกครองเมืองอุบลราชธานีได้สร้างวัดทองนพคุณสนองพระคุณมารดาแล้วมีใจชื่นชมยินดีมาก จึงให้สร้างวัดอีกวัดหนึ่งขึ้นที่สวนอีกแปลงของท่านและอยู่ทางเหนือของเมือง วัดแจ้งถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2431 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อเดินทางจากตัวเมืองไปทางเหนือพอมาถึงบริเวณวัดนี้ก็จะสว่างพอดี หรือเรียกว่า แจ้งพอดี จึงขนานนามวัดนี้ว่า “วัดแจ้ง”  นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างพระประธานประดิษฐานไว้ในศาลาการเปรียญและสร้างอูปมุงสำหรับใส่อัฐิธาตุบรรพชนของท่านไว้ด้วย
 







สิมวัดแจ้ง


 

สิมวัดแจ้งนั้นได้รับการยกย่องว่ามีรูปทรงสวยงามและมีงานจำหลักไม้ที่มีฝีมือแบบพื้นบ้านโดยแท้ซึ่งนับวันจะหาดูเป็นตัวอย่างศึกษาได้ยาก สร้างแล้วเสร็จ พ.ศ. 2455 หรือหลังจากการตั้งวัดแล้ว 24 ปี โดยญาท่านเพ็ง เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง มีขนาดความกว้าง 6 เมตร ยาว 15 เมตร สูง 10 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
 



ได้รับพระราชทานกิตติบัตร ในการอนุรักษ์อุโบสถ





ลักษณะสถาปัตยกรรมสิมวัดแจ้ง เป็นทรงพื้นถิ่นอีสาน ก่ออิฐถือปูนตั้งบนฐานเอวขัน ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ขนาด 3 ห้อง ด้านหน้าเป็นมุขโถง โครงสร้างอาคารใช้เสาและผนังรับน้ำหนักโครงสร้างหลังคาจั่ว






พนักบันได ยังคงสืบคติรูปสัตว์ทวารบาลรูปจระเข้ เทพเจ้าแห่งน้ำ เฉกเช่นพญานาค ซึ่งเป็นคติพื้นเมืองเดิม




ส่วนตัวเรือนมีช่องหน้าต่าง มีหย่องหน้าต่างลวดลายพื้นเมืองอีสาน คันทวยแบบนาคขดคดโค้งประดับกระจกหลากสีที่ได้รับการยกย่องจาก น.ณ.ปากน้ำ ผู้เชี่ยวชาญศิลปะไทยโบราณ “…คันทวยจำหลักไม้ (สิมวัดแจ้ง เมืองอุบล) ศิลปะลักษณะพื้นเมืองของอีสาน แม้จะจำหลักเป็นรูปนาคปิดทองประดับกระจกเช่นเดียวกับภาคกลาง แต่นายช่างจำหลักได้สอดแทรกความคิดลงไป เห็นรูปร่างแปลกตากว่าที่เห็นในภาคกลาง การออกแบบตัวลายก็งามเป็นลักษณะพื้นเมืองโดยแท้” 




 

“ และบริเวณแผงหน้าจั่วสามเหลี่ยมมีรูปลวดลายประดับที่บอกเราตัวตน ประกอบด้วยรูปแกะสลักเป็นรูปดอกบัว อันน่าจะหมายถึงที่มาของชื่อเมืองอุบล ลวดลายช่อดอกกาละกับ ซึ่งเป็นแม่ลายสำคัญของสกุลช่างหลวงเวียงจันทน์ ที่นิยมใช้มากตามวัดต่าง ๆ ในเขตเมืองอุบล แบบแผนลวดลายกระจังรวนแบบสยาม ซึ่งพบมากในแถบเมืองอุบล หรือสาหร่ายรวงผึ้งแบบสยาม ที่ผสมผสานกับฮวงผึ้งแบบล้านช้างได้อย่างมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัว

และส่วนที่สำคัญคือ ที่หน้าบัน หรือสีหน้าที่มีความแตกต่างจากวัดอื่น ๆ กล่าวคือมีการใช้รูปสัตว์ในวรรณคดีอย่างรูปคชสีห์ ซึ่งถือเป็นรูปสัญญะของกลุ่มเจ้านายพื้นเมืองที่มีฐานานุศักดิ์รองมาจากเจ้าเมือง  ซึ่งน่าจะสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับ คตินิยมรูปสัตว์ที่ทำนกหัสดีลิงค์ประเภทดั่งที่คุณพ่อบำเพ็ญ ณ อุบล ได้อธิบายว่า เมรุรูปคชสีห์ ใช้กับผู้ที่ถึงอสัญกรรม ที่มีตำแหน่งรองลงมาจากเจ้าอาญาสี่ แต่เป็นผู้มีเชื้อสายสืบมาจากอาญาสี่ ไม่มีสิทธิ์นำศพขึ้นนกหัสดีลิงค์ เจ้านายและประชาชนจึงทำเมรุขึ้นอีกแบบหนึ่งเป็นรูปคชสีห์ ประกอบหอแก้ว แล้วเชิญศพขึ้นประดิษฐานบนหอแก้ว แล้วก็ชักลากไปพิธีฌาปนกิจ

เมรุคชสีห์ ครั้งสุดท้ายคือเมรุเผาศพพระอุบลกิจประชากร (ท้าวบุญเพ็ง บุตรโฮบล) ดังนั้นการปรากฏรูปคชสีห์ในส่วนสีหน้าที่สำคัญนี้ ย่อมสื่อความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับผู้สร้างวัดแจ้ง แห่งนี้ ประกอบข้างซ้ายขวาช้างเอราวัณ (อีกนัยยะหนึ่งหมายถึงเทพแห่งทิศตะวันออก) และมีรูปพระอินทร์ประทับอยู่ด้านบน (ซึ่งถูกโจรกรรมหายไปนานแล้วน่าจะก่อนปีพ.ศ. 2510) คตินี้ช่างพื้นเมืองอุบลน่าจะได้รับอิทธิพลร่วมมาจากสยามเช่นเดียวกับสิมวัดทุ่งศรีเมือง สำนักช่างที่มีความสัมพันธ์เชิงช่างกับสยามอย่างแนบแน่น ซึ่งก็ปรากฏการใช้รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณที่สีหน้าสิมด้วยเช่นกัน หากแต่ในวัดพื้นเมืองทั่ว ๆ ไป คตินี้ไม่เป็นที่นิยมในหมู่ช่างพื้นบ้าน

ส่วนยอดที่เป็นเครื่องลำยองต่าง ๆ ล้วนเป็นลักษณะสกุลช่างพื้นบ้านเมืองอุบล โดยเฉพาะรูปนาคสะบัดหงอน ส่วนวัสดุมุงหลังคา เดิมมุงด้วยแป้นไม้หรือกระเบื้องไม้ ราวปี พ.ศ. 2495 จึงมีการซ่อมแปลงเป็นกระเบื้องดินเผาตามบันทึกของ วิโรฒ ศรีสุโร ในหนังสือสิมอีสาน

ล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2561 หน่วยงานที่ดูแลได้ทำการบูรณะซ่อมแซมใหม่อีกครั้ง ด้วยการติดกระจกสีตามหลักฐานเดิมยืนยันว่า มีการประดับกระจกสี ซึ่งแตกต่างจากการซ่อมครั้งก่อนหน้า ซึ่งไม่ได้มีการติดกระจกสีตามแบบแรกสร้าง ทำให้เกิดวิวาทะในสังคม ทั้งกลุ่มนักอนุรักษ์ซึ่งเข้าใจว่า เดิมไม่มีกระจกสีทั้งหมด ได้ทำให้สิมหลังนี้เป็นที่สนใจเป็นอย่างมาก ทั้งกลุ่มคนรุ่นใหม่และรุ่นเก่าที่เข้าไปถามหาความจริง

ทั้งหมดจะเห็นถึงการผสมผสานกันไปมาของ 2 สกุลช่าง ทั้งราชสำนักเวียงจันทน์และราชสำนักสยาม เฉกเช่นเดียวกันกับพัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรม ที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไม่เคยหยุดนิ่งตายตัว ก่อให้เกิดเป็นนวัตศิลป์ใหม่ไทย-อุบล ที่มีอัตลักษณ์ของตัวเองผ่านเป็นบทบันทึกทางประวัติศาสตร์สมัยที่ส่งผ่านงานช่างสร้างสรรค์ ณ สิมวัดแจ้ง แห่งเมืองอุบลและอีสานในเวลาต่อมา
 















รถแห่เทียนเข้าพรรษา 



10.24 น. เดินผ่านวัดมณีวนาราม (อัปบล็อกไปแล้วค่ะ)



จวนผู้ว่าฯ



 ความเดิม 

ปราสาทวัดพู
น้ำตกตาดฟาน น้ำตกตาดเยือง
ปากซองไฮแลนด์ สวนดอกไม้มนตรา
น้ำตกคอนพะเพ็ง
ตะวันขึ้นที่ผาแต้ม
ภาพเขียนสีผาแต้ม
ทุ่งดอกไม้ป่าสร้อยสวรรค์
หาดสลึง สามพันโบก
ทุ่งดอกไม้ป่าวนอุทยานน้ำตกผาหลวง
วัดทุ่งศรีเมือง วัดมณีวนาราม วัดมหาวนาราม
อาสนวิหารแม่พระนิรมล วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
วัดพระธาตุหนองบัว
วัดศรีอุบลรัตนาราม ทุ่งศรีเมือง




Create Date : 28 กันยายน 2563
Last Update : 28 กันยายน 2563 19:21:25 น.
Counter : 1647 Pageviews.

0 comments
春和歌山市 : My First Hanami @ Wakayama Castle mariabamboo
(16 เม.ย. 2567 12:49:02 น.)
พาเที่ยววัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ขอพรวัดเก่าใจกลางเมืองรับปีใหม่ไทย นายแว่นขยันเที่ยว
(15 เม.ย. 2567 13:57:04 น.)
แชร์ประสบการณ์... ตามรอยสแลมดังก์ ที่คามาคุระ-โตเกียว imuya
(10 เม.ย. 2567 00:13:46 น.)
"วันใดที่เธอรู้สึกเหมือนไม่มีใคร โปรดมองมาทางนี้ เธอจะเห็นใครคนหนึ่งที่รอเธอ" คนผ่านทางมาเจอ
(10 เม.ย. 2567 23:49:39 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณกะว่าก๋า, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณหอมกร, คุณtoor36, คุณสองแผ่นดิน, คุณSleepless Sea, คุณอุ้มสี, คุณร่มไม้เย็น, คุณKavanich96, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณเนินน้ำ, คุณkatoy, คุณออโอ, คุณInsignia_Museum, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณnonnoiGiwGiw, คุณทนายอ้วน, คุณhaiku, คุณสันตะวาใบข้าว, คุณชีริว, คุณkae+aoe, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณEmmy Journey พากิน พาเที่ยว, คุณผู้ชายในสายลมหนาว, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณRain_sk, คุณTurtle Came to See Me, คุณ**mp5**, คุณMDG, คุณที่เห็นและเป็นมา, คุณเริงฤดีนะ, คุณtuk-tuk@korat, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณทุเรียนกวน ป่วนรัก


Morkmek.BlogGang.com

สายหมอกและก้อนเมฆ
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]

บทความทั้งหมด