ถ่ายวัตถุสีขาว ชดเชยแสงทางบวก ถ่ายวัตถุสีดำ ไม่ต้องชดเชยแสงทางลบ?
เนื้อหาในบทความตอนนี้ยาวมากหน่อย แต่สามารถสรุปได้สั้นๆ ว่า

หากจะถ่ายวัตถุสีเข้มกว่าเทากลาง ไม่ต้องชดเชยแสงทางลบในกล้อง
ให้ไปลดค่าแสงในซอฟท์แวร์จัดการภาพเอาแทน จะได้คุณภาพไฟล์สูงที่สุด

ใครเอาเฉพาะการปฏิบัติ แค่นี้พอ ส่วนใครอยากรู้เหตุผล เชิญอ่านต่อไปครับ

-------------------------------------------------

หากเราจะสอนถ่ายรูปกันในยุคดิจิตัล เราจะต้องสอนกันด้วยหลักการใหม่ ไม่ใช่หลักการที่ใช้กันมาในระบบฟิล์ม
เรื่องจริงที่ขัดกับความรู้สึกของนักถ่ายภาพอย่างหนึ่งคือเรื่องของการวัดแสง และชดเชยแสง

นัก ถ่ายภาพ 99% (เอ่อ.. ที่จริง 100% เลยมากกว่า) ถูกสอนมาว่า เวลาจะถ่ายภาพวัตถุที่มีสีอ่อน หรือมีการสะท้อนแสงมากกว่าปกติ ให้ชดเชยแสงทางบวก หากถ่ายวัตถุที่มีสีเข้ม หรือสะท้อนแสงน้อย ให้ชดเชยแสงทางลบ
สรุปได้เป็นวลีสั้นๆ ว่า "ขาวเว่อร์-ดำเดอร์"

เวลาเปลี่ยนหลักการบางเรื่องไม่เคยเปลี่ยน แต่อีกหลายเรื่องเปลี่ยนไป จนเราตามไม่ทัน
เรื่อง ที่เปลี่ยนไปที่ผมจะพูดในตอนนี้คือ การชดเชยแสงในระบบฟิล์ม กับการชดเชยแสงในระบบดิจิตัล ที่แม้ว่าในหลักการพื้นฐานจะวางอยู่บนหลักการเดียวกัน แต่ในทางปฏิบัติมันกลับไม่เหมือนกันเลย เพราะมันต่างกันในการทำงานของอุปกรณ์ ระหว่างตัวรับภาพอนาล็อก กับดิจิตัล

ในหลักการแล้วการชดเชยแสงยังคงเหมือนเดิม

คือ เมื่อเราถ่ายภาพที่มีสีอ่อน ซึ่งจะวัดแสงได้มากกว่าค่าแสงของเทากลาง เครื่องวัดแสงในกล้องจะถูกหลอกให้เข้าใจว่า วัตถุนั้นได้รับแสงมาก กล้องจะปรับลดการเปิดรับแสงลงมากกว่าที่ควรจะเป็น ผลที่ได้คือภาพที่จะมืดกว่าปกติ
เราจึงแก้ไขโดยการเปิดรับแสงให้มากกว่า ค่าที่เครื่องวัดแสงในกล้องเลือกให้ เรียกว่าการชดเชยแสงทางบวก เพื่อให้ได้ค่าเปิดรับแสงที่ถูกต้อง

และในทางตรงกันข้าม
หากถ่าย วัตถุสีดำ กล้องก็จะเปิดรับแสงมากกว่าความเป็นจริง เราจึงต้องแก้ไขโดยการลดค่าการเปิดรับแสงลงเพื่อให้ได้ค่าการเปิดรับแสงที่ ถูกต้อง

หลักการนี้ไม่เคยเปลี่ยน ไม่ว่าในยุคฟิล์ม หรือในยุคดิจิตัล

O10894596-2


ในเมื่อหลักการพื้นฐานยังคงเดิม แต่ในยุคดิจิตัลก็มีบางอย่างที่เปลี่ยนไป
นั่นคือการทำงานของดิจิตัลเซ็นเซอร์ กับการทำงานของฟิล์มไม่เหมือนกัน

การทำงานของดิจิตัลจะเป็นระบบทวีคูณ
เพื่อเข้าใจง่ายผมจะลองสมมุติตัวเลขที่ไม่ใช่ความเป็นจริง แต่เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายแบบนี้ครับ
ถ้านับอิเลคตรอนได้ 0-10 จะตีความว่าเป็นค่า 0 หรือส่วนดำไม่มีรายละเอียด
ถ้านับอิเลคตรอนได้ 10-100 จะตีความว่าเป็นค่า 1 หรือส่วนสีดำมีรายละเอียด
ถ้านับอิเลคตรอนได้ 100-1000 จะตีความว่าเป็นค่า 2 หรือส่วนเทากลางมีรายละเอียด
ถ้านับอิเลคตรอนได้ 1000-10000 จะตีความว่าเป็นค่า 3 หรือส่วนขาวมีรายละเอียด
ถ้านับอิเลคตรอนได้ 10000-100000 จะตีความว่าเป็นค่า 4 หรือส่วนขาวสว่างไม่มีรายละเอียด

-----------------------------------------

ปัญหาแรกอยู่ตรงที่ว่า

ในตัวรับภาพ มันจะมีค่า Noise ไม่ว่าจะอย่างไรมันจะมีสัญญาณรบกวนเป็นขยะอิเลคตรอนอยู่ค่าหนึ่งเสมอ สมมุติ 1 ตัว
ดู จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าในส่วนมืด 0 จะมีขยะอยู่ 1 จากสิบ แต่ในส่วนสว่าง 3 จะมีแค่ 1 ในหมื่น เวลาดูภาพ ปริมาณขยะ 1 ในสิบ ย่อมจะเห็นได้ชัดกว่า 1 ในหมื่น

ในทางปฏิบัติจะเห็นได้ว่าน้อยส์ของภาพ จะเห็นได้ชัดเจนในส่วนเงา มากกว่าในส่วนสว่าง
หรือ น้อยส์ที่เพิ่มขึ้นเวลาเราเพิ่ม ISO เนื่องจากการเพิ่มความไวแสง เป็นเทคนิคทางคอมพิวเตอร์ที่จับเอาค่าต่ำๆ มาขยายให้เป็นค่าสูง เช่นจับเอาค่า 1 มาเร่งสัญญาณให้เป็นค่า 3
ซึ่งในการเร่งนี้ มันจะเร่งพร้อมๆ กันทั้งอิเลคตรอนจริง และอิเลคตรอนขยะ

จาก ISO ต่ำๆ ที่มีขยะ 1 ในหมื่น ในส่วนขาว (หรือส่วนของค่า 3 ปกติ)
หากเอาค่า 1 มาเร่งให้เป็น 3 จะกลายเป็นขยะ 1 ในร้อย ที่ความไวแสงสูงๆ ขึ้นมาแทน
นั่นแหละคือน้อยส์ที่เราเห็นเวลาเร่ง ISO

ปัญหาที่ 2

เวลาเราเอาภาพไปปรับแต่งการไล่รายละเอียด ไล่โทนแสงสี
การไล่โทน 10 ระดับในส่วน 0 ก็ย่อมจะไล่ได้ไม่ละเอียด และเป็นขั้นๆ กว่าการไล่โทน หมื่นระดับในโซน 3

ซึ่งในทางปฏิบัติจริงๆ เราจะเห็นได้ชัดเรื่องการไล่โทนในส่วนเงาของภาพ ซึ่งจะหยาบเป็นขั้น ไม่เนียนละเอียดเหมือนการไล่โทนในส่วนสว่าง

ดังนั้นเวลาถ่ายภาพวัตถุสีเข้ม การชดเชยแสงในกล้อง ให้อันเดอร์ลง ก็ไม่ควรทำ
เราควรไปชดเชยแสงทางลบเอาจากซอฟท์แวร์ตกแต่งภาพแทน

เวลาถ่ายภาพ หากต้องการให้ได้คุณภาพไฟล์สูงสุด ควรให้จำนวนพิกเซลสว่าง มีจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
หรือถ้าดูในฮิสโตแกรม ก็คือ พยายามให้ฮิสโตแกรมชิดขวาให้มากที่สุด แค่พอให้ไม่ตกขอบขวาก็พอ

หากเราถ่ายวัตถุสีเข้ม เราควรจะใช้วิธีแก้ค่าแสงโดยการไปปรับลดค่าแสงในซอฟท์แวร์จัดการภาพแทนการปรับลดจากกล้อง
เนื่องจาก หากถ่ายมาโดยส่วนสว่างเยอะกว่าปกติ แปลว่าเรามีข้อมูลเยอะกว่า สามารถจับมาบีบให้เล็กลงโดยรักษาคุณภาพได้สูง มีข้อมูลที่จะกดให้ต่ำลง ให้ตัดทิ้งได้เยอะกว่าปกติ
และเรามีอัตราส่วนปริมาณขยะ(น้อยส์) ต่อปริมาณข้อมูลจริงต่ำกว่าปกติ ทำให้เวลาปรับให้มืดลง ขยะมันจะถูกกำจัดให้หมดได้มาก จะได้ภาพที่ Clean กว่า การไล่โทนดีกว่า เทคนิคการชดเชยแสงจากกล้อง

โลกเปลีี่ยนไป หลักการไม่เปลี่ยน แต่ในทางปฎิบัติมันเปลี่ยนไปแล้วครับ
หาก ไม่สนใจคุณภาพไฟล์ จะใช้เทคนิคโบราณชดเชยแสงให้อันเดอร์จากกล้อง ตามที่บรรพบุรุษทำมาร้อยกว่าปี ก็ตามใจท่านเถิด หากยอมรับได้ว่าคุณภาพไฟล์จากกล้องมืออาชีพ จะลดเหลือแค่กล้องมือสมัครเล่นที่ชดเชยแสงจากซอฟท์แวร์

แต่สำหรับผู้ที่อยากได้คุณภาพสูงสุด เท่าที่อุปกรณ์และเทคโนโลยีจะทำได้
"เลิกชดเชยแสงทางลบจากกล้อง และมาชดเชยด้วยซอฟท์แวร์แทนได้แล้วครับ"

O10894596-9



Create Date : 07 สิงหาคม 2554
Last Update : 7 สิงหาคม 2554 6:33:29 น.
Counter : 4037 Pageviews.

2 comments
  
มีประโยชน์มากเลยครับ

เอาะ ผมเองก็ไม่ได้ใช้ทฤษฏีทางฝั่งฟิล์มนานแล้ว เรื่องขาวเว่อร์ดำเด้อ

แม้แต่วัดแสงก็แทบไม่ได้วัดแล้วเช่นกัน อาศัยแต่Histogramเลยครับ แล้วก็ใช้ปุ่มชดเชยแสงให้กราๆเบียดขวาสุดตลอดเช่นกัน แต่เท่าที่สังเกตุการจะให้เบียดขวาสุดนั้นภาพส่วนใหญ่ต้องชดเชยแสงทางบวกตลอด หากถ่ายตามค่าแสงพอดีตามเครื่องวัดแสงกราฟจะไม่ค่อยเบียดขวานัก
โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา วันที่: 7 สิงหาคม 2554 เวลา:23:39:14 น.
  
แวะมาอีกครั้ง ต่อเนื่องจากคห.บน ก่อนหน้านี้หลายเดือนเพิ่งค้นพบว่ากล้องพบมักวัดแสง(แบบmulti)ติดอันเดอร์เสมอต้องชดเชยทางบวกอยู่เรื่อย เพิ่งมาเจอว่าในกล้องมีเมนูแคริเบทการวัดแสงอยู่ หลังจากนั้นผมก็เรื่องตั้งค่าให้ over 1 stopในตอนแคริเบท ไม่รู้พูดไปจะงงคำพูดผมหรือเปล่า เมื่อแคริเบทแล้ว คราวนี้ผลการวัดแสงเข้าขั้นหน้าพอใจเลย คือแทบไม่ต้องมาชดเชยอะไรอีกแล้ว อ่านค่าได้เท่าไหร่ดูที่ histogram ประกอบแล้วมักจะได้กราฟพอดีทุกทีครับ
โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา วันที่: 10 มกราคม 2556 เวลา:9:07:54 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Mister-gray.BlogGang.com

อะธีลาส
Location :
Sydney  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 44 คน [?]

บทความทั้งหมด