บัญญัติ 10 ประการ เพื่อการเตรียมตัวสู่อาชีพนักเขียน เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีโอกาสไปอบรมการเขียนกับนักเขียนชื่อดังหลายท่าน และสิ่งที่ได้กลับมามากมายเกินว่าความรู้ มีอะไรหลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่างที่มีคุณค่ามากเสียจนจะรู้สึกผิดมากถ้าจะเก็บงำมันไว้ไม่เอามาเผยแพร่ให้คนอื่นได้รู้บ้าง (ทั้งที่มันไม่ใช่ความลับอะไร) อยากให้ผู้ที่สนใจการเขียน อยากเป็นนักเขียน หรือใครก็ตามที่สนใจได้รับรู้ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อไปในภายภาคหน้า หนึ่งในวิทยากรวันนั้นคือคุณ บินหลา สันกาลาคีรี เจ้าของผลงานเรื่องสั้นเรื่อง "ฉันดื่มพระอาทิตย์" เคยเข้ารอบรางวัลซีไรต์ เมื่อปี 2536 และ รวมเรื่องสั้นชุด "เจ้าหงิญ" ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2548 การได้พบคุณบินหลา ตัวจริง คงไม่มีคำอธิบายใดๆ นอกจากคำว่าเขาเจ๋งสุดๆ ทุกมุมมองของเขาดูจะหลากหลายและแตกต่าง ไม่ใช่ว่าต้องมองไม่เหมือนใครถึงจะเด่นดัง แต่ลักษณะการพูดจา และความรู้ที่ถ่ายทอดออกมาทำให้ดิฉันไม่แปลกเลยแม้สักน้อยนิดใจว่าคุณบินหลาคู่ควรกับรางวัลต่างๆ มากเพียงไหน ไม่พูดพร่ำทำเพลงเริ่มกันเลยดีกว่า บัญญัติ 10 ประการ สู่การเตรียมตัวเพื่อการเป็นนักเขียน 1. ออกกำลังกาย - ตอนแรกฟังคำว่าออกกำลังกายก็งงไปเลย เกี่ยวอะไรกับอาชีพนักเขียนกันนะ แต่พอมานึกถึงวันที่เราไม่สบาย แม้จะเป็นแค่ไข้หวัดเล็กน้อย มีไข้ ไอจาม แต่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นอุปสรรคต่อการเขียนหนังสือไม่น้อย เพราะฉะนั้น ร่างกายแข็งแรงไว้ก่อนดีที่สุด 2. ซื้อพจนานุกรม - นักเขียนทุกคนล้วนเคยเขียนผิดกันมาแล้วทั้งนั้น แต่อาชีพการเขียนทำให้ความผิดนี้ร้ายแรงกว่าอาชีพอื่นๆ หลายเท่าตัว เพราะฉะนั้น พจนานุกรมจะช่วยท่านได้ มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ เพิ่มเติมว่า ไม่ใช่ว่าให้เขียนไปเปิดพจนานุกรมไปด้วย ทำแบบนั้นมันทำลายสมาธิของเราเองชัดๆ เขียนไปก่อน แต่ในขั้นตอนของการแก้ไขต้องใช้พจนานุกรมให้เต็มที่ 3. อ่านหนังสือ - ไม่มีนักเขียนคนไหนประสบความสำเร็จหรอก ถ้าเขาไม่ใช่คนที่ชอบอ่านหนังสือ เมื่อปีก่อนเคยอ่านสัมภาษณ์นักเขียนคนหนึ่งซึ่งตอนนี้ผลงานกำลังโด่งดังและขายดีมากในเมืองไทย ปรากฏว่าความชื่นชมในตัวเขามาสะดุดอยู่ตรงที่คำพูดสั้นๆ ว่า "เป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือ" มันก็เหมือนกับว่าคุณไม่เคยทำข้าวมันไก่ แต่คุณจะเปิดร้านขายข้าวมันไก่โดยไม่คิดจะเรียนรู้ว่าจริงๆ แล้วข้าวมันไก่มันทำยังไง นั่นล่ะ การอ่านหนังสือไม่ใช่ศักแต่อ่าน ต้องอ่านให้ทะลุ อ่านขั้นแรกให้รู้ว่าเล่มนี้ชอบไหม่ชอบ ขั้นต่อไปต้องรู้อีกว่าทำไมถึงชอบ ทำไมถึงไม่ชอบ แล้วจะทำให้สืบเสาะไปถึงร่องรอยของการเขียน ว่าทำไมมันถึงเป็นอย่างนี้นะ บางครั้งข้อเขียนแค่ประโยคเดียวกลับจับใจคนอ่านได้นานหลายสิบปี ทำไมเรื่องบางเรื่องถึงกลายเป็นอมตะ ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัยก็ยังคงอยู่แต่บางเรื่องกลับตายจากไปภายในเวลาเพียงไม่นาน?? ตรงนี้เองที่เราจะต้องอ่านและคิดตรึกตรองดู การอ่านจะช่วยเพิ่มคำในสมองของเขาให้มีมากขึ้น การเขียนที่ดีย่อมมาจากพื้นฐานการอ่านที่ดีเช่นกัน 4. เสพงานศิลป - ไม่ว่าจะเป็นดูหนัง ฟังเพลง ดูละคร การแสดง ศิลปทุชนิดเป็นครู่ของเราได้ มันมีบางอย่างจะส่งถึงเราได้ถ้าเราจะมองเห็นมัน งานศิลปเดียงชิ้นเดียวอาจจะทำให้คุณได้คิดอะไรมากมายและเดินหน้าสู่อาชีพนักเขียนต่อไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ 5. เดินทาง - ทั้ง 4 ข้อแรกเป็นการหาประสบการณ์จากผู้อื่น จากสิ่งรอบกายฯลฯ แต่การเดินทาง เป็นการสร้างประสบการณ์ให้ตัวเราเองโดยตรง อย่าลืมว่าการเดินทางกับการไปทัวร์นั้นไม่เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าต่อต้านการซื้อทัวร์ไปเที่ยว แต่ในทีนี้หมายถึง การเดินทางที่แท้จริง ย่อมให้ความหมายกับเราในบางสิ่งบางอย่างที่คาดไม่ถึงได้ทั้งนั้น การพาตัวเองออกเดินทาง จะทำให้ค่าประสบการณ์ก้าวกระโดด เมื่อคุณออกเดินทางลองสังเกตุอะไรแปลกใหม่ วิถีชีวิต ผู้คน ความคิด ฯลฯ มีอะไรมากมายที่รอคุณอยู่ อย่าคิดว่าโลกใบนี้มีแค่นี้ ยังมีประชากรอีกนับพันล้าน ประเทศอีกนับร้อย วัฒนธรรมอีกมากมายรอให้คุณไปสัมผัส เหมือนสุภาษิตจีน(จำคำที่แน่นอนไม่ได้)กล่าวประมาณว่าอ่านหนังสือ 100 เล่มไม่เท่าเดินทางเพียง 1 ลี้ 6. ลงมือเขียน - ในที่นี้ยังเป็นการเตรียมตัวก่อนที่การเขียนจะเริ่มต้นขึ้น คำว่าลงมือเขียนจึงหมายถึงการที่ให้คุณฝึกเขียนทุกวัน เขียนอะไรก็ได้ที่อยกาเขียน เขียนให้สม่ำเสมอ ไม่ต้องรีบ แต่ต้องมีวินัย จะเขียนไดอารี่ เขียนกลอน เขียนอะไรก็ได้ทั้งนั้น ยิ่งเขียนบ่อยก็ยิ่งได้ฝึกฝีมือ เขียนให้ตัวเองอ่านไม่มีความกดดันให้ต้องเกร็ง 7. เขียนคำให้เป็นภาพ - ทำได้ไหม ให้ผู้อ่านเห็นภาพที่คุณพยายามถ่ายทอดจากการอ่าน และผู้อ่านจะไม่มีทางเห็นภาพอะไรเลยถ้าคุณยังไม่ได้เขียน 8. เขียนภาพให้เป็นคำ - ลองหาภาพ หรือฉากเหตุการณ์ หรือละคร อะไรสักยอ่างที่เป็นภาพแล้วคุณลงมือเขียนออกมาเป็นตัวหนังสือ แต่ให้ได้อรรถรสเดียวกัน มองภาพให้ออกมาเป็นคำ เป็นตัวอักษร ดูภาพแล้วคิดว่าจะเขียนเป็นคำออกมาได้ยังไง 9. เสาะหาบรรณาธิการ - เพราะการเป็นนักเขียนคือเขียนให้คนอื่นอ่าน ไม่ได้เก็บไว้คนเดียว เราจึงต้องหาบรรณาธิการที่จะสามารถช่วยเราในเรื่องนี้ได้ การทำงานเขียนคือมีแต่เราอยู่กับตัวเราเท่านั้น เลยไม่แปลกที่เราจะคิดว่างานเขียนของเรานั้นดีที่สุด แต่คนอื่นคิดอย่างนั้นไหม?? การหาบรรณาธิการช่วยเหลือ อาจจะเป็นการยากอยู่เสียหน่อย เพราะตัวบรรณาธิการเองก็ต้องมีความรู้ความสามารถในระดับหนึ่ง นี่ยังไม่นับรวมปัญหาที่อาจะเกิดจากอีโก้ของนักเขียนแต่ละคนด้วย ลองไว้ใจบรรณธิการของคุณ เปิดใจให้กว้าง และรับฟังความคิดเห็นเหล่านั้นดู 10. เสาะหาความรัก - ข้อนี้คงไม่ต้องอธิบายนะ ครบ 10 ข้อแล้ว ลองดูสิว่าคุณ "พร้อม" สำหรับการเขียนแค่ไหน ให้คะแนนตัวเองกันค่ะ น่าสนใจมากๆค่ะ อยากเป็นนักเขียนเหมือนกัน
โดย: au_jean IP: 118.92.89.81 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2553 เวลา:16:52:58 น.
มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ ดีจังเลยครับที่เอาหลักการที่ดีของการเป็นนักเขียนมาลงให้อ่าน อ่านแล้วได้แง่คิดเยอะเลยครับ ผมก็อยากจะไปอบรมเกี่ยวกับการเขียนเหมือนกันครับ แต่ไม่ค่อยมีโอกาสเลยครับ ขออนุญาตแอดบล็อกไว้นะครับ ในฐานะที่เป็นนักอยากเขียนเหมือนกัน อิอิ โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 23 พฤศจิกายน 2553 เวลา:13:37:43 น.
มาทักทายอีกรอบครับ จะมาบอกว่า ... ผมลองเขียนดูแล้วนะครับ แต่ว่าเรื่องราวมันอาจจะไร้สาระไปหน่อยนะครับ ลองไปอ่านดูนะครับ เล่นท่ายาก อิอิ โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 1 ธันวาคม 2553 เวลา:20:55:03 น.
ก็อยากเป็นนักเขียนนะคะ แต่ยังติดตรงภาษาในการเขียนและก็การนึกภาพในหัวหรือดูภาพต่างๆแล้วมาเขียนเป็นตัวหนังสืออ่ะค่ะ
โดย: ไม่รู้ IP: 101.108.243.250 วันที่: 13 มกราคม 2557 เวลา:18:55:52 น.
|
บทความทั้งหมด
|
แวะมาทักทายค่ะ มีความสุขมากๆ นะคะ