ความสุขของกะทิ : จากซีไรซ์มาสู่จอภาพยนตร์
ความสุขของกะทิ 



วันนี้เพิ่งได้ดูความสุขของกะทิจากวิชาเลือกในมหาลัย ... ออกตัวก่อนว่า โดยส่วนตัวเป็นคนชอบวรรณกรรมทุกรูปแบบ โดยเฉพาะวรรณกรรมเยาวชนเรียกได้ว่า โตมาด้วยกันเลย (ประดุจดั่งแชแนลวี...มุกอะไรเนี่ย 55) แต่ผลงานของนักเขียนซีไรท์ชื่อดังอย่างคุณงามพรรณ เวชชาชีวะ ก็ยังไม่เคยผ่านสายตาเลยสักเล่ม อาจจะเป็นเพราะตอนที่ความสุขของกะทิออกมา เราพ้นช่วงที่อยากจะอ่านวรรณกรรมเยาวชนไปแล้ว



ตอนที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉาย จำได้ว่ามีเสียงวิจารณ์ในแง่ลบมากมาย โดยเฉพาะบทพูด ซึ่ง...ขนาดเราที่ชอบอ่านหนังสือ เรียกว่าชีวิตอ่านหนังสือมาหลายร้อยเล่ม (แบบว่าเช่าเอา) ยังสะดุดกับบทสนทนาในหลายๆตอนที่ภาษาเขียนมากๆ เดาเอาว่าคนทำหนังเรื่องนี้คงคิดว่าตัวหนังสือนั้นดีอยู่แล้วจนไม่อยากปรับแต่งอะไรเพิ่มเติม

บอกตรงๆว่า เราเองก็เคยอยากให้หนังสือที่เราชอบเป็นแบบนั้น ไม่ต้องตัด ไม่ต้องแต่ง เอามาทุกบรรทัดให้ครบๆ แต่เมื่อดูหนังมากๆเข้าก็เข้าใจนะ ว่ามันเป็นไปไม่ค่อยจะได้

ตัวหนังเอง...อาจจะเป็นเพราะดูในห้องเรียน จึงค่อนข้างตั้งใจดูเป็นพิเศษ

ตัวหนังค่อนข้างเรียบๆ เนือยๆ เอื่อยๆ อาจจะง่วงไปหน่อยสำหรับบางคน อาจจะดูอาร์ตสำหรับบางคน มีสิ่งที่อาจจะเป็นสัญลักษณ์มากมายในหนัง เช่นม้า (เคยอ่านเรื่องม้ามาบ้าง ตอนที่มี MV ของ Singular ที่มีซิมโบลเยอะๆ) หรือ กุญแจที่สั่นไหว(อันนี้อาจารย์พูด ว่ามันหมายถึง การที่กะทิไม่อยากเข้าไปสู่โลกของแม่ O_O ล้ำลึกเนอะ 55) หรือ เงาของต้นไม้ การถ่ายต้นไม้ การเลื่อนกล้องแบบอาร์ตๆ(มั้ง)ที่เลื่อนผ่านหน้าต่าง ...

เรื่องซิมโบลหลายๆอย่างในหนังเนี่ย บางทีเราก็ว่ามันเหมือนภาพ Abstract อ่ะนะ ที่ใครจะดูเป็นแบบไหนก็ได้ หรือความจริงมันอาจจะไม่มีอะไรก็ได้

หนังเริ่มจากชีวิตของกะทิ เด็กหญิงวัยเก้าขวบ หน้าม้าเต่ออันเป็นเอกลักษณ์ ที่ใช้ชีวิตอยู่ในชนบท กับครอบครัวที่มีแค่ตากับยาย ตาผู้อ่อนโยน ใจดี 
มีอารมณ์ขัน กับ ยายผู้ซึ่งเข้มงวดกับทุกสิ่งทุกอย่าง แต่จริงๆแล้วก็รักกะทิมาก มีชีวิตวัยเด็กตามประสาเด็กๆทั่วไป มีพี่ทองเด็กวัดแสนดี 



แต่ ไม่มี

แม่...

แม่ไม่เคยสัญญาว่าจะกลับมา

ในบ้านไม่มีรูปถ่ายแม่เลย

ไม่มีใครเคยพูดถึงแม่

กะทิจำหน้าแม่ไม่ได้แล้ว

ความสุขของกะทิ

เหลือเพียงเสียงของแม่ที่กะทิจำได้

อยากเห็นแม่หิ้วตะกร้ากลับจากตลาด

อดีตเหมือนเงาที่บางครั้งก็นำทางอนาคต

น้ำตาไม่อาจแทนความเศร้าโศกได้

หนังมีตัวหนังสือขึ้นมาเป็นระยะๆ ไม่ความรู้สึกเหมือนขึ้นบทใหม่ เวลาเราอ่านหนังสือ 

สุดท้ายครอบครัวของกะทิก็ตัดสินใจให้กะทิไปพบแม่ เมื่อแม่ใกล้จะจากโลกนี้ไปแล้ว ฉากแรกที่เจอแม่ เห็นแม่ไม่ขยับเขยื้อน ไม่พูด เราเข้าใจได้ทันทีว่าแม่เป็นอัมพฤกษ์แต่ตอนแรกนึกว่าเป็นใบ้ด้วย ฉากต่อมาที่แม่กะทิพูดได้ เรางงเลย แบบว่า เดาผิดเหรอเนี่ย อะไรแบบนี้

แม่ของกะทิตัดสินใจจะไปจากกะทิเพราะว่าตัวเองเป็นอัมพฤกษ์คิดว่าจะสร้างความเดือดร้อนเป็นอันตรายแก่ลูก ...ซึ่ง ในฐานะที่เป็นลูกคนนึงนะ ต่อให้แม่เป็นอย่างไง เราก็ยังอยากอยู่กับแม่ ถ้าแม่ยังรักเราล่ะก็นะ แต่นี่ผู้ใหญ่คิดแทนกะทิมาตลอด ในทุกๆเรื่อง ไม่ใช่เรื่องนี้ แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆในชีวิตประจำวันก็ด้วย

เมื่อกะทิมาเจอแม่ในสภาพที่ไม่ได้เป็นอย่างที่คิด จากที่คิดเอาไว้ว่า "อยากจะเห็นแม่หิ้วตะกร้ากลับจากตลาด" แม่กลับไม่พูดไม่จา ไม่ขยับเขยื้อน ไม่กอดกะทิ ไม่อธิบาย กะทิจึงวิ่งออกไปร้องไห้ (ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าเหตุผลนี้มั้ย คงต้องไปหาคำตอบในหนังสือเอา)

จริงๆเราตั้งคำถามถึงพ่อตั้งแต่ที่ แม่ไม่เคยสัญญาว่าจะกลับมา แล้ว

กะทิเป็นเด็กที่เข้มแข็ง ไม่เคยถาม ไม่เคยพูด เก็บทุกสิ่งไว้ในใจ แต่จริงๆแล้วเธอก็มีมุมที่คาดไม่ถึง เช่น การเสนอตัวเป็นโกลด์ให้เด็กผู้ชาย ฉากน่ารักๆแบบนี้ก็ชวนยิ้มเหมือนกัน หรือกระทั่งการตัดสินใจเรื่องพ่อของกะทิ พ่อที่ไปอยู่อังกฤษและไม่เคยกลับมา ไม่เคยใส่ใจ แม่ให้กะทิเลือกเอง และกะทิก็ตัดสินใจได้อย่างที่ตัวเองน่าจะมีความสุขที่สุด ...จริงๆตรงนี้ หลายๆคนอาจจะไม่เข้าใจ ว่า จริงๆแล้วกะทิไม่ได้ส่งจดหมายไปหาพ่อ แต่ส่งจดหมายไปหาพี่ทอง คำเฉลยมีเล็กๆที่ฉากสุดท้ายที่พี่ทองพูดว่า "ตกใจเลย ตอนเห็นจดหมาย ไม่คิดว่าจะเขียนมา ดีใจที่กะทิรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร" แล้วกะทิก็บอกว่า "เรื่องนี้เก็บเป็นความลับระหว่างเราสองคนนะ" ก็คือกะทิส่งจดหมายไปหาที่ทองที่อเมริกาต่างหาก ไม่ได้ส่งไปหาพ่อ 

กับฉากท้ายสุด ที่เป็นฉากเต้นรำ...เราว่าตรงนี้แหละ เฉลยคำว่า ความสุขของกะทิ ที่ว่าไม่ว่ากะทิจะผ่านเรื่องร้ายๆอะไรมามากมายเท่าไหร่ แต่กะทิก็ยังมีคนที่รักและเข้าใจกะทิมากมาย



เราสะดุดมากตอนที่เชอรี่พูดคำว่า "สวยหยดย้อยเลยค่ะ" กับลุงตอง ตอนจัดดอกไม้ เกิดมาเรายังไม่เคยได้ยินคำนี้ออกจากปากใครมาก่อน 555
เราว่าคำพูดของน้อย วงพรู ธรรมชาติที่สุดแล้วในเรื่อง(อาจจะมากไป แบบว่าคำพูดดูเป็นตัวเองสุดๆ และแอบดูฝรั่ง) เช่นตอนที่กะทิโดนอะไรสักอย่างตำที่หาดทราย แล้วน้อยถามว่า "เป็นอะไรป่าว เจ็บมั้ย" ธรรมชาติสุดละ แล้วเราก็พึ่งรู้ว่าเสียงน้อย เป็นอย่างนี้เหรอ เป็นเอกลักษณ์มาก 

หนังเนิบ เนือย คล้ายๆสไตล์การดำเนินเรื่องของหนังญี่ปุ่นบางเรื่องที่ก็ต้องใช้ความอดทนในการดูเช่นกัน ... มุมกล้องสวย ช้า... ภาพสีสดสวย 
เหมือน All about lily chou chou มาก ตอนที่เห็นทุ่งนา (บอกตรงๆ หลังจากดู all about lily chou chou เห็นทุ่งเขียวๆปุ้บ นึกถึงปั้บ หนังมันติดตาจริงๆ)

ปล. หนังเรื่องนี้ห่างไกลคำว่าห่วยมาก สำหรับเราค่ะ เห็นในกระทู้หลายๆคน เราไปค้นๆดู เสียงบ่นกันให้แซ่ด


ขอมาแก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้ง หลังจากที่ไปหาหนังสือมาอ่านเรียบร้อยแล้ว
เราคิดว่าตัวหนังสือนั้น ดีกว่าฉบับภาพยนตร์เอามากๆเลยทีเดียว แม้ว่าบทภาพยนตร์จะถอดหนังสือมาเป้ะๆ หนังสือเล่มเล็กๆที่สามารถอ่านจบภายในเวลาไม่ถึงชั่วโมง 
เราคิดว่าตัวละครที่ตรงกับในหนังสือมากที่สุดก็คือ น้าฎา ดูเธอค่อนข้างตรงกับในหนังสือเลยทีเดียว คนที่ไม่ตรงกับในหนังสืออย่างผิดคาดของเราก็คือ น้อย วงพรู
น้ากันต์ในหนังสือค่อนข้างเป็นผู้ชายที่มีเสน่ห์(อย่างล้นเหลือ อย่างน้อยก็ในสายตาคนอ่านอย่างเราล่ะนะ) เงียบแต่อบอุ่น แม้จะไม่พูดแต่คอยอยู่ข้างๆตลอด เราสัมผัสได้ถึงความรักที่เขามีให้ เป็นคนนึงที่เข้าใจกะทิมากที่สุด และมีโมเมนต์น่ารักๆให้ยิ้มได้เสมอ เป็นตัวละครที่เราชอบมากที่สุดเลยล่ะ หลังจากอ่านจบ แบบว่าประทับใจอ่ะนะ

แต่ก็ยังคิดว่าหนังก็ไม่ได้ห่วยมากอะไรนะ ^^




Create Date : 18 เมษายน 2555
Last Update : 13 พฤษภาคม 2555 20:39:49 น.
Counter : 2568 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Marinarain.BlogGang.com

marina_rain
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 13 คน [?]

บทความทั้งหมด