"เมื่อใด ไร้ตัว...ไร้ตน ชั่วขณะ เมื่อนั้น...ก็ละกิเลสได้"



สวัสดี ...วันพระขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๒

"เมื่อใด ไร้ตัว...ไร้ตน ชั่วขณะ เมื่อนั้น...ก็ละกิเลสได้"
(ไร้ตัว...ไร้ตน ในที่นี้หมายถึง การไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวเรา ว่าเป็นของเรา)


วันพระนี้..จึงเขียนมาเพื่อ "มองให้เห็น...เห็นในการมอง"
คำว่ามองให้เห็นคือ เห็นว่าไร้ตัว...ไร้ตน เช่นนี้เรียกว่า ความไม่เที่ยง ไม่แน่นอน (อนิจจัง)

อธิบายดังนี้..
ถ้านำน้ำแข็งใส่แก้วใบหนึ่ง วางไว้กลางแจ้งสักหนึ่งเดือน น้ำแข็งในแก้วนี้จะเป็นอย่างไร?
เหลือเท่าเดิมไหม? หรือว่าเหลือแต่แก้วเปล่า...เปล่า... ให้ย้อนกลับไปค่อย..ค่อย...พิจารณา
ตั้งแต่เริ่มแรกใส่น้ำแข็งในแก้ว น้ำแข็งนั้นสามารถจับต้องได้ (นี่คือตัว....คือตน) ผ่านไป
๑ - ๒ ชั่วโมง น้ำแข็งจะละลายเป็นน้ำ ยังเห็นได้และตอบได้ด้วยสายตา ผ่านไป......
ผ่านไป ๑ เดือน น้ำแข็งอยู่ไหน น้ำอยู่เท่าเดิมหรือไม่

เอาใหม่นะ...“คนป่าหาธรรม” ขณะเขียนวันพระเขาเรียกว่า "คน" ผ่านไป...ผ่านไป....
ไม่มีลมหายใจ เขาเรียกว่า " ศพ " เอาไปเผาเขาเรียกว่า " ผี " นี่แสดงให้เห็นถึงความไม่เที่ยง
ไม่แน่นอน (อนิจจัง) "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แล้วก็ดับไป" ถามว่า
สุดท้าย....ของสุดท้าย ไหนคือตัว..ไหนคือตน?

ฉะนั้น วันนี้...วันพระ...
ขอให้เธอทั้งหลาย พิจารณาขณะหนึ่ง แบบนิ่ง ๆ ว่า ตัวเรา...อยู่ตรงไหน ผ่านไป...ผ่านไป
อยู่ไหน แล้วต่อไปล่ะ...แล้วต่อไปอีกล่ะ...
พิจารณาแรก ๆ อาจจะทำให้โศกเศร้าเสียใจ พิรีพิไรรำพัน หรือหดหู่ หรือกลัว...ถูกต้องแล้ว
ให้พิจารณาใหม่อีกครั้ง...อีกครั้ง เพื่อให้เห็นสภาวะสองสภาวะ คือ

๑) สภาวะธรรมดา คือ เป็นเรื่องธรรมดา เกิดขึ้นกับทุก ๆ คนบนโลกใบนี้
๒) สภาวะธรรมชาติ คือ ทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ ย่อมเป็นไปตามธรรมชาติ
ไม่มีใคร ไม่มีผู้ใดเปลี่ยนแปลงได้



เมื่อเข้าใจสภาวะนี้จริง ๆ จะเห็นว่า....
สภาวะที่ไร้ตัว..ไร้ตน แล้วจะค้นหาสิ่งใด..มาเพื่ออะไร..เพื่อใคร.. เพียงชั่วขณะหนึ่ง
ของจิตที่เข้าสู่สภาวะที่เห็นสภาพที่แท้จริง.... จิตก็กลับสู่จิตเดิม (จิตเป็นประภัสสร)
แค่นี้..ใจเธอก็สะอาดขึ้น เนื่องจากความโลภ..ความโกรธ..ความหลง..ก็จะน้อยลง...
นี่คือ "เมื่อใด ไร้ตัว...ไร้ตน ชั่วขณะ เมื่อนั้น...ก็ละกิเลสได้" (ชั่วคราว)







Create Date : 12 มกราคม 2554
Last Update : 13 มกราคม 2554 22:38:04 น.
Counter : 1028 Pageviews.

5 comments
หลักของสติ **mp5**
(16 เม.ย. 2567 12:14:57 น.)
เรื่องนี้ไม่ง่าย แต่คนมักชอบอะไรที่มันง่ายๆ 121 235 เขาถาม - ตอบกัน 450 > คำถาม : ทำอย่างไ สมาชิกหมายเลข 7881572
(16 เม.ย. 2567 09:58:49 น.)
สุขสันต์วันปีใหม่ไทย ๒๕๖๗ haiku
(13 เม.ย. 2567 10:13:33 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 35 : กะว่าก๋า
(13 เม.ย. 2567 05:51:40 น.)
  
แอบเข้ามาตั้งแต่เช้าแล้วค่ะ

จะเอาไปแบ่งปันเพื่อนที่ เฟซบุ๊ค

ขออนุญาตนะคะ

ขอบคุณค่ะ
โดย: laykoy IP: 115.87.67.192 วันที่: 12 มกราคม 2554 เวลา:16:35:18 น.
  
ยินดีนะ...

"ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก...."
โดย: คนป่าหาธรรม IP: 27.130.63.229 วันที่: 13 มกราคม 2554 เวลา:12:39:06 น.
  
"เมื่อไร้ตัว...ไร้ตน...ชั่วขณะ
ใจก็ละได้ซึ่งกิเลสหมาย
มิยึดมั่นถือมั่นสิ่งรอบกาย
มิตรสหายประสพสุข ณ ใจตน..."

หากมีสิ่งใดต้องยึดไว้..เพียงชั่วขณะเราก็ "วาง"
เราจะรู้สึกได้ถึงคำว่า "เบา" เบาทั้งกาย..ไม่เหนื่อยต้องไข่วคว้า เบาทั้งใจ..ไม่เหนื่อยต้องโหยหา

เมื่อไม่มีสิ่งใดต้องยึดแล้ว...เมื่อนั้น.."ว่าง"

อย่างที่คุณคนป่าเคยเขียนไว้...
"จิตเดิมแท้นั้น...สะอาดนัก"
โดย: คนเมือง^-^ IP: 10.0.3.175, 125.24.188.227 วันที่: 17 มกราคม 2554 เวลา:20:36:08 น.
  
แน่นอนเป็นความจริงแท้..."ถ้าวางได้ ก็เบา..."
เบาทั้งกาย...เบาทั้งใจ...

พระพุทธเจ้า ทรงสอนให้ รู้แจ้ง เห็นจริง และเข้าใจ
ในสภาวะที่เป็น "ไตรลักษณ์"

ไตรลักษณ์ เข้าใจแบบง่าย ๆ ก็คือ
อนิจจัง หมายถึง ความไม่เที่ยงแท้ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ทุกขัง หมายถึง ทุกข์เกิดจากขันธ์ ๕
อนัตตา หมายถึง ไม่มีตัว ไม่มีตัว

เมื่อเราเข้าใจว่า "ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา..แล้วดับลง.."
อย่างยอมรับ...เราก็จะสบายขึ้นอีกขั้น...

ขอบคุณ "คนเมือง" ที่ช่วยอธิบายเพิ่มเติม...






โดย: คนป่าหาธรรม IP: 125.24.223.75 วันที่: 19 มกราคม 2554 เวลา:11:23:53 น.
  
อนุโมทนาสาธุครับ
โดย: shadee829 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:22:22:48 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Konpa.BlogGang.com

คนป่าหาธรรม
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด