ผาด พาสิกรณ์ - กรอบอารมณ์ของคนบางกอก (นวนิยาย)


“พวกเขาเดินปะปนอยู่ในสังคมของเรานี่แหละ
เหมือนเพื่อน เหมือนคนรู้จัก ที่เราอาจจะเห็นเพียงด้านหนึ่ง
และเนิ่นนานต่อมา
เราจึงได้รู้จักเขาในอีกด้านหนึ่ง...ผ่านอีกสถานการณ์หนึ่ง
ส่วนบางคน ก็โผล่เข้ามาในชีวิตแบบไม่มีที่มาที่ไป
และหายเงียบไปโดยไม่มีเหตุผล
ปล่อยให้เราคิดถึง ให้สงสัยว่า เขาหรือเธอเป็นใคร
และป่านนี้... ไปทำอะไรอยู่ที่ไหน”

กรอบอารมณ์ของคนบางกอก
A Collection of Snapshots of Loneliness
ผู้เขียน คุณ ผาด พาสิกรณ์
จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์คเณศบุรี
ตีพิมพ์ครั้งแรก นิตยสารขวัญเรือน
ปักษ์หลัง มิถุนายน 2557 - ปักษ์หลัง ธันวาคม 2557
พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง สำนักพิมพ์คเณศบุรี (กุมภาพันธ์ 2558)
 

ผมอ่านงานเขียนของคุณผาดเล่มนี้เมื่อไม่กี่วันก่อน
เป็นวันวานของปีที่แล้ว...

คำนำอ่านตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกา
ส่วนคำโปรยหลังปก อ่านแล้วอ่านอีก ทั้งก่อนหาซื้อมาอ่านและขณะที่กำลังอ่าน

ปีกของนักเขียน
บทแรกที่ผมเริ่มอ่านโดยไม่ข้ามไปข้ามมาเหมือนเคย
แค่เพียงวิถีแห่งสายน้ำ ก็พาลพาผมดำดิ่งไปสู่ห้วงเวลาที่แสนดีในอดีตที่ผ่านมา
ผมไม่เคยเข้าใจเลยว่า อะไรทำให้นักเขียน เขียนบรรยายได้ขนาดนั้น
ดึงเอาประสบการณ์ดีๆ ของผู้อ่านออกมาฟุ้ง ขณะที่องค์ประกอบภาษาช่างงดงาม
พอเข้าเรื่องจริงๆ แล้ว ก็เป็นตามสไตล์งานเขียนของแกจริงๆ (ตามความเห็นส่วนตัวผม)

จะเว้นระยะการอ่านได้แค่ตอนต้นที่เริ่มอ่านได้นิดๆ เท่านั้น
พอเข้าสู่ห้วงความอยากรู้อยากเห็นของผู้อ่านแล้ว
ผมก็ถูกลากไปจนจบบท

ย้อนนึกไปตอนที่อ่านเสือเพลินกรง ผมก็โดนลากแบบนี้เช่นกัน
ด้วยความอยากรู้ของเรา ทำเอาเราจมจ่อไปหนึ่งในสามของนวนิยายเล่มหนา
นี่ขนาดผมอ่านจบแล้ว
ยังต้องย้อนไปดูช่วงปีกของนักเขียนกับครุฑที่เหาะมาจากหน้าธนาคารอีก
ผมอ่านบทแรกเมื่อปีก่อน จบบทแรกก็เข้าบ่ายวันแรกของปีแล้ว
 

ไม่ค่อยสบายหาข้ออ้างนอนอ่านหนังสือ แล้วก็ผล็อยหลับไปในยามบ่ายพร้อมยุงแอบกัด
สะดุ้งตื่นขึ้นมาเห็นกำแพงร้านเช่าพร้อมความหน่วงในใจ
(นี่ ไอ้ปัญหาบ้าบอที่แฝงตัวมาหลายปีนั่น ยังแก้ไม่ได้เหรอเนี่ย
ล่อซะเข้าไปถึงจิตใต้สำนึกเราเลย พับผ่า)

หน่วงๆ ในความคิดบ้าบอที่ยังแก้ไม่ได้
ก็ไปคว้าหนังสือมาอ่าน
เป็นหวัด เบลอในความฝัน แต่อ่านหนังสือรู้เรื่อง

ผมอ่าน “บ้านหลังที่สอง” ต่อแบบจบทีเดียว
รู้สึกพอเข้าใจ แต่ไม่รู้จะพูดมันอย่างไรออกมา
ซึ่งมันอาจเหมือนคนไม่เข้าใจ
แต่ผมกลับรู้สึกว่า พอได้นั่งอ่านบทนี้นานๆ โดยไม่ได้เว้นระยะพัก
มันกลับได้คำตอบบางอย่างสะท้อนเรื่องราวตัวเราเอง

จนรู้สึกว่า
ผู้เขียนกับผู้อ่าน ไม่ได้ส่งจดหมายหรือคุยกัน
แต่เมื่อผมเลือกหนังสือที่จะมาอ่านแล้ว
บางทีคำตอบมันก็รออยู่แล้วในหน้าหนังสือที่ซ้อนทับกันอยู่
 

พักระยะ ไปยืนดูต้นไผ่ซุ้มใหญ่หลังร้านเช่า
มันพลิ้วลมเบาๆ ท้องฟ้าสดใส เมฆสวยปุยขาวลอยล่อง
อีกฟากของร้านเสียงเพลงดังข้ามมา
ลูกหลานของลุงป้าแกมาเที่ยวกันให้เต็มร้านขายของชำเต็มไปหมด
ผม ยืนมองบนระเบียงผ่านม่านที่แดดบ่ายแผดกล้า
เสียงเพลงจูบเย้ยจันทร์ที่ลุงกับป้าแกร้องคู่ดังมาชัดเจน
“ถึงจะมองก็ไม่เห็นเป็นอะไร”
จบท่อนนั้นของเพลง นั้นผมก็กลับมาอ่าน “หมอหมากับกระรอกบิน”

เป็นเรื่องที่น่ารักเสมอ
เมื่อมีเจ้าชิบเข้ามาในบทนี้
ทำเอาอดนึกถึงเป่งล้งจาก “สำเนียงของเวลา” ขึ้นมาไม่ได้
ว่าแต่ว่าเจ้าชิบ... กับเป่งล้ง นี่เอาเรื่องพอกัน 555

ผมพักเรื่องไว้กลางคัน
ออกไปหาลูกชิ้นกับขนมและเครื่องดื่มมารับประทาน กะจะอ่านหนังสือต่อ
รีบปอกแตงมาแกล้ม เคี้ยวลูกชิ้นไปหนึ่งชุดก็อ่านจบบท
 

“โลกของกิ่ง” ทำเอาผมเผลอดีใจไปกับกิ่ง
ผมเฝ้าดู ‘ชิมิชางก้า’ พร้อมๆ กับเสียงลำโพงดนตรีจากอีกฟากของถนน
เพลงช้างถูกบรรเลงผ่านลำโพง ไล่ไปจนถึงเพลงระบำชาวเกาะ
เมื่อกินลูกชิ้นชุดสองหมด ผมก็ ห๊ะ! นี่ กิ่งเหวี่ยงชิมิชางก้า ลงถังขยะ
ผมไม่ได้ไปค้นดูเสียงเพลง Fjogur Piano ดู
มีแต่เพียงเพลงช้างทำนอง Original ที่ก้องอยู่ในหัว พร้อมๆ กับภาพของครุฑที่ง่อนแง่น

คั่นอีกเวลาด้วยการกระดกเครื่องดื่มสีเข้มสวยใส
หน้าขวดแปะยี่ห้อเดียวกับผงชูรสยี่ห้อหนึ่ง
“แบล็ก ข้าวแฟ่” ติดตาตอนที่ผมรินมันลงแก้ว
ในขณะที่เปิดขนม โอรีโอ มา การภาวนาขอพรในวันปีใหม่ของผมก็สมประสงค์
ผมได้การ์ด จีซู Blackpink มาหนึ่งใบ โอ้ยยย...ดีใจ
 

ต่อด้วย “กล่องเก็บความทรงจำที่ถูกลืม” เป็นเรื่องที่ยาวและน่าติดตามมาก
เหตุและผลของเรื่องเข้าถึงและไม่เป็นอันวางหนังสือได้เลย
แต่เสียงลำโพงภายนอกนั้น
กลับมีเสียงร้องของหญิงสาวและชายหนุ่มในอดีตสักสามสิบปีล่วงมาแล้ว
“โอ้กานดา... กลับมาหาพี่เถิด”
ทั้งเสียงใสและหยอกเย้าระคนกัน
Feel ในการอ่านหนังสือก็เลยตามเลยไปเช่นนั้น
 

ส่วน “ในเมืองที่ปราศจากแก๊สหัวเราะ”
ผมชอบประโยคหนึ่งมาก
“โลกเห็นเราเป็นคนละคนกับที่เราเห็นตัวเองเสมอ”
มันทำให้ผมต้องวกคิดกลับไปมา
ในตอนนี้ผมชอบช่วงที่เล่าถึงเบ็ธ และช่วงวัยเด็กที่กล่าวถึงเรื่องของจิม
แล้วก็โดนหักมุม เป้งๆ ตอนคำว่า “เขาอาย” ตอนจบบท
 

“หน้าตาของความรัก” ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันที่ผมเคยอ่านผ่านๆ มา
แต่กลับเป็นความจริงที่ผมหาอ่านจากนวนิยาย
ตรงนี้ผมไม่รู้เลยว่าผมจะได้มาอ่าน Devsadว์ ในบทนี้
แต่ก็ดีใจที่ได้อ่าน เพราะยังมีความอยากรู้ตั้งแต่บทแรกแล้วว่า
เรื่องที่มาจากบางละมุงเรื่องนั้น เป็นอย่างไร...
 

หากผิดพลาดหรือล่วงเกินผู้ประพันธ์และงานเขียนประการใด
ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ขอขอบพระคุณคุณผาดที่สละเวลาลงลายเซ็นให้เสมอ
และขอขอบพระคุณในความกรุณาที่ลงวลีภาษาอังกฤษข้อความนั้นลงในปกให้ด้วยครับ
ผมรู้สึกว่าสิ่งนั้นคือพรที่มีคุณค่ามากครับ
 



Create Date : 01 มกราคม 2566
Last Update : 8 มกราคม 2566 14:33:22 น.
Counter : 533 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Kimhanvisuwat.BlogGang.com

Kimhanvisuwat
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด