รักษ์ภาษาไทยกับ วาย.เอ็ม.ซี.เอ. (วันภาษาไทยแห่งชาติ)
ที่มาของ “วันภาษาไทยแห่งชาติ”

วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี กำหนดให้เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ” เนื่องด้วยตรงกับวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงเสด็จฯไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิ ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 ทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ “การใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน” ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปรายอย่างดีเยี่ยม แสดงถึงพระปรีชาสามารถ และความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทยเป็นที่ประทับใจผู้เข้าร่วมการประชุม ครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง และนับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว

ดังนั้นคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เสนอให้รัฐบาลไทย จัดตั้ง“วันภาษาไทย”ขึ้น และได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2542 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ กำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ”

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. การมี “วันภาษาไทยแห่งชาติ” จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ “ภาษาประจำชาติ” ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ

2. บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

3. ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทย ตลอดไป


เมื่อวันเสาร์ที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ วาย.เอ็ม.ซี.เอ.เชียงใหม่(สันติธรรม) ได้จัดกิจกรรม "รักษ์ภาษาไทยกับ วาย.เอ็ม.ซี.เอ." เพื่อให้สมาชิกและผู้ปกครอง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย โดยจัดกิจกรรมหลากหลายทั้ง พูด เขียน อ่าน เป็นสื่อ











เด็กๆ และผู้ปกครองให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน รางวัลเป็นเพียงสิ่งตอบแทนเล็กๆ น้อยๆ แต่ความรู้ ความสามารถที่ตนมีอยู่ การที่ได้เรียนรู้ ได้พัฒนาตนเพิ่มขึ้นต่างหาก เป็นรางวัลที่แท้จริง






เขียนตามคำบอก หรือ เขียนไทย
คำที่เด็กๆ มักจะเขียนไม่ได้คือ "ปรารถนา" และ "สามารถ"
















"บทกลอน" สำหรับคัดไทย

มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงใช้น้อยกินน้อยค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน

ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ
ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน
เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าชรากาล
จงเลี้ยงท่านอย่าให้อดรันทดใจ



"ผสมคำศัพท์" จะว่าง่ายก็ง่ายจะว่ายากก็ยากเหมือนกัน
ตัวอักษรที่ไม่ค่อยมีโอกาสใช้ เช่น ฑ ฒ ฌ ฐ เด็กๆ ก็ยังไม่ได้นำมาใช้เช่นเดิม
เพราะมี "เวลา" เป็นตัวกำหนดนั่นเอง....














"สุภาษิตไทย" กิจกรรมนี้ให้ผู้ปกครองช่วยด้วย


















หวังว่าเด็กๆ จะได้เรียนรู้ภาษาไทย
และรักที่จะ "รักษา" ภาษาไทยให้ถูกต้องต่อไป


















Create Date : 02 สิงหาคม 2554
Last Update : 2 สิงหาคม 2554 13:12:07 น.
Counter : 2620 Pageviews.

0 comments
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
BUDDY คู่หู คู่ฮา multiple
(3 ม.ค. 2567 04:49:04 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
BUDDY คู่หู คู่ฮา multiple
(3 ม.ค. 2567 04:49:04 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Kidsymca.BlogGang.com

nanainn
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด