ควอนตัมกับการได้กลิ่น ... Another one of controversial theory // บล็อกนี้อ่านยาก แต่ผมอยากเขียน

KenGSoHigH_Quantum


     จู่ๆมันก็เกิดแรงฮึด อยากจะเขียนอะไรที่เป็นวิทยาศาสตร์จ๋าๆไว้ซักเรื่องในบล็อกของผม เนื่องจากผมไปลงสมัครประกวด Thailand blog award 2010 หมวดวิทยาศาสตร์เอาไว้ อีกเหตุผลหนึ่งคือผมเป็นนักเคมี (ที่แม้บางทีอาจจะทำตัวเหมือนนักจิตวิทยา) สิ่งที่ผมโปรดปรานมากๆคือเรื่องควอนตัม


     ผมยังจำได้สมัยที่อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สอนผมในวิชาฟิสิกส์เคมี ปีที่ 2 เรื่องควอนตัม ... มันเป็นศาสตร์ที่น่าฉงน เราสามารถตอบทุกคำถามได้ด้วยคำว่า "ถึงแม้กระนั้น มันก็ยังไม่แน่นอนว่าจะเป็นอย่างนี้" แต่นักวิทยาศาสตร์ก็พยายามทำความไม่แน่นอนให้แน่นอนด้วยการพิสูจน์ให้ลึกลงไปอีก แต่ก็ยิ่งเจอแต่ความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นมาด้วยกันทั้งนั้น


     ทุกสิ่งในจักรวาลล้วนแต่เป็นอนัตตาตามหลักคำสอนของพุทธองค์ ไม่มีตัวตนด้วยกันทั้งนั้น ... เราอยู่ในจักรวาลแห่งความสั่นสะเทือนตลอดเวลา มีความว่างคั่นอยู่ทุกขณะ แต่ก็ใช่ว่าจะแปลว่าทุกอย่างไม่มีจริง เพียงแต่เป็นความจริงชั่วขณะ ... ลองดูได้ว่า ให้ท่านเอามีดมาเฉือนนิ้วเล่น ยังไงมันก็ต้องเจ็บและเลือดไหล จะบอกว่านิ้วและมีดไม่มีจริงไม่ได้


     เรื่องของกลิ่นก็เช่นกัน เราเคยเชื่อกันแต่ก่อนด้วยสมมติฐานทางชีววิทยาว่า กลิ่นเกิดจากการที่โมเลกุลของสารให้กลิ่น (Odorant) ที่มีขนาดเข้ากันได้เป๊ะกับเซลล์ตัวรับ (Receptor) ซึ่งเป็นเซลล์ชนิดหนึ่งในโพรงจมูก เกิดการรับกันได้และเชื่อมกันพอดีคล้ายแม่กุญแจ(receptor cell) กับลูกกุญแจ (Odorant) ; Lock and key เมื่อเข้าคู่กันได้แล้ว เสียบแทงกันอย่างเมามันก็เกิดแรงกระตุ้นส่งสัญญาณไฟฟ้าไปที่สมองแล้วแปลความกลิ่นออกมา เราเรียกทฤษฏีนี้ว่า ทฤษฏีรูปร่าง (Shape theory)


     แต่คำถามมันก็เกิดขึ้นมาว่าทำไมสารที่มีโมเลกุลคล้ายกัน เช่น เอธานอลและ ethane thiol แต่ให้กลิ่นต่างกันสุดขึ้ว เอธานอลกลิ่นแหลมเหมือนวอดกา แต่ ethane thiol ให้กลิ่นเหมือนไข่เน่า (สารทั้งสองชนิดนี้ต่างกันที่ตัวนึงมีอะตอมออกซิเจนและอีกตัวมีอะตอมกำมะถัน) ซึ่งเทียบได้กับลูกกุญแจที่มีรูปร่างคล้ายกันมาก แต่เข้าคู่กับแม่กุญแจคนละโรงงานกันเลยทีเดียว


     คำโต้แย้งเกี่ยวกับทฤษฏีรูปร่างเริ่มถูกนำเสนอออกมา โดยการใช้ควอนตัมเข้ามาแทนที จุดเด่นของทฤษกีควอนตัมคือการเพ่งสิ่งเล็กๆแล้วดูพฤติกรรมของมันเพื่อใช้อธิบายสิ่งใหญ่ๆ จากเดิมคือ โมเลกุลจะมีรูปร่างที่พอดีกันในการเข้าคู่กับเซลล์ตัวรับ แต่ควอนตัมมองว่าโมเลกุลนั้นจะสั่นสะเทือน ควงสว่่าน สวิงกิ้งหรืออะไรก็แล้วแต่ จนดูเผินๆแล้วมีรูปร่างเป็นอย่างหนึ่ง แล้วค่อยเข้าไปเข้าคู่กับเซลล์ตัวรับนั้น


     โดยการเข้าคู่กันมีกลไกการเกิดปฏิกริยาโดยมีจุดยึด 2 ด้าน ด้านหนึ่งเข้าไปล็อกกับที่รับอิเล็กตรอน และอีกด้านหนึ่งไปยึดกับด้่านที่เป็นด้านให้อิเล็กตรอน เกิดการจับตัวกันได้อย่างแข็งแรง ทำให้ตัวรับสัญญาณแปลสัญญาณว่า "เปิด" กลไกยังถูกอธิบายลึกเข้าไปอีกซึ่งยากแก่การอธิบายโดยผมตอนนี้ เนื่องจากความรู้ผมยังไม่เพียงพอ


     กลไกที่ยากนั้น ผมสันนิษฐานว่าเป็นกลไกการเกิดท่ออุโมงค์โดยอิเล็กตรอน ไปทำให้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าของสารให้กลิ่นบิดเบี้ยว และเกิดการสลับคุณสมบัติรับ-ให้อิเล็คตรอน คล้ายการดีดเส้นลวดที่ถูกขึงตึงๆให้สั่น ลวดจะเปลี่ยนตำแหน่งบน-ล่างอย่างรวดเร็วจนทำให้เหมือนว่าเกิดท่ออุโมงค์เล็กๆในนั้น


     จากทฤษฏีเดิมคือ Lock and Key การเป็นทฤษฏีการรูดบัตร (swipe card) (การรูดบัตรไม่ว่าจะเป็น key card หรือบัตรเครดิต ล้วนแต่อาศัยความจำเพาะเจาะจงของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ต่างก็เป็นควอนตัมที่เราจับต้องได้)


     แต่เหล่านักชีววิทยา หรือนักฟิสิกส์บางส่วนอาจยังไม่เชื่อโดยสนิทใจว่ากลไกการได้กลิ่นของมนุษย์จะเป็นควอนตัมไปเสียจริงๆ เพราะทฤษฏีการสั่นสะเทือนเป็นกลศาสตร์นิวตันที่เกิดก่อน อธิบายอะไรๆได้ง่ายกว่า .... แต่ลองจินตนาการดูสิครับ หากมนุษย์เข้าใจกลไกการได้กลิ่นในระดับควอนตัมได้จริง วงการการผสมน้ำหอมคงสั่นสะเทือนและก้าวไปสู่อีกยุคนึงแน่นอน สารที่มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่ให้กลิ่นต่างกันสุดขั้ว มันต้องมีอะไรสักอย่างที่อธิบายซึ่งกันและกันได้ในระดับควอนตัม


     ในอนาคตมนุษย์อาจค้นพบวิธีการผสมน้ำหอมโดยอาศัยความแตกต่างกันสุดขั้วของสารให้กลิ่น รังสรรค์กลิ่นน้ำหอมที่ลึกซึ่งและซับซ้อนได้กว่าเดิม


     ไข่เน่าและวอดกา ... อาจจะกลายเป็นกลิ่นคาร์เวียร์หรือกลิ่นแชมเปญราคาขวดละเป็นสิบล้าน


พูดคุยกันได้ที่เดิมที่
www.KenGSoHigH.com


รบกวนช่วยโหวตให้ผมด้วยนะครับที่
//www.thailandblogawards.com/viewblog.php?u=http%3A%2F%2Fwww.oknation.net%2Fblog%2Fimakeperfume


ขอบคุณครับ 






Free TextEditor



Create Date : 31 กรกฎาคม 2553
Last Update : 31 กรกฎาคม 2553 13:49:41 น.
Counter : 764 Pageviews.

1 comments
  
ไปโหวต + 3 ละกัน
โดย: ก้อยค่ะ (Gunpung ) วันที่: 31 กรกฎาคม 2553 เวลา:22:11:18 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Kengsohigh.BlogGang.com

Thai-SkY
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]

บทความทั้งหมด