เครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R-410A สารทำความเย็น R-410A เป็นสารทำความเย็นชนิดใหม่ ที่เริ่มมีการนำมาใช้กันในเครื่องปรับอากาศ ในแวดวงเครื่องปรับอากาศบ้านเรา การนำสารทำความเย็น R-410A มาใช้ จัดว่าเป็นสิ่งที่ค่อนข้างใหม่สำหรับช่างแอร์-ช่างเครื่องเย็น เนื่องจากมีความแตกต่างจากสารทำความเย็นแบบเดิมๆในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น คุณสมบัติ องค์ประกอบทางเคมี ระดับแรงดัน รูปแบบวิธีการชาร์ทสารทำความเย็น ฯลฯ ![]()
ความเป็นมา ของสารทำความเย็น R-410A ย้อนกลับไปในช่วงกลางปี คศ.1990 สารทำความเย็นชนิด R-407C ได้ถูกออกแบบขึ้น โดยมีค่าการทำความเย็นและแรงดันที่ใกล้เคียงกับสารทำความเย็นชนิด R-22 ที่มีใช้กันในระบบเครื่องปรับอากาศ นานหลายสิบปี แต่การออกแบบนั้น ก็มีสิ่งท้าทายว่าจะออกแบบอย่างไรให้มีประสิทธิภาพด้านการแลกเปลี่ยนความร้อน และใช้พลังงานในการทำความเย็น เทียบเท่ากับระบบที่ใช้สารทำความเย็นชนิด R-22 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสารทำความเย็นชนิด R-407C จะไม่ใช่สารทำความเย็นในอุดมคติ ตามที่คาดหวังไว้ แต่ก็เป็นที่นิยมในตลาดเครื่องปรับอากาศของทางฝั่งยุโรป เนื่องจากคุณสมบัติของสารทำความเย็นชนิดนี้ คือ การไม่ทำลายชั้นโอโซน ช่วยลดภาวะโลกร้อน และสามารถใช้ได้กับระบบที่ใช้สารทำความเย็นชนิด R-22 เดิมได้ เพียงแก้ไขเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนข้อด้อยของสารทำความเย็นชนิดนี้ คือความไม่เสถียรในบางสถานะของสัดส่วนและคุณสมบัติของน้ำยา และประสิทธิภาพที่ลดลงเล็กน้อยจาก R-22 อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกรายใหญ่หลายรายจากญี่ปุ่นได้ร่วมมือและสนับสนุนที่จะใช้สารทำความเย็นชนิด R-407C กับระบบปรับอากาศที่ส่งเข้าตลาดยุโรป สำหรับตลาดเครื่องปรับอากาศของญี่ปุ่นนั้น ความนิยมส่วนใหญ่ในตลาดมุ่งไปยังการใช้สารทำความเย็นชนิด R-410A แทน
การบรรจุสารทำความเย็น R-410Aโดยปกติเมื่อเทียบด้วยถังบรรจุขนาด 10 กิโลกรัมนั้นให้คำนวณการบรรจุดังนี้ถ้าเป็น R-22 บรรจุได้ Maximum 10 กิโลกรัมถ้าเป็น R-410A บรรจุได้ Maximum 7 กิโลกรัม
- ราคาสารทำความเย็นอาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากในภาพ ขึ้นอยู้กับร้านค้าผู้จำหน่าย -
![]()
สารทดแทน R-22 แบ่งเป็นสามกลุ่ม ปัจจุบันหน่วยงานในระดับนาๆชาติต่างให้ความสำคัญกับสภาวะโลกร้อน ก่อให้เกิดการประชุมหารือกันในระดับนานาชาติ เพื่อกำหนดมาตรการต่างๆขึ้นมาควบคุม ยกตัวอย่างเช่น แม้ว่าสารทำความเย็นที่สามารถใช้ทดแทน R-22 มีอยู่หลายชนิด แต่ที่กำลังมาแรงในแวดวงเครื่องปรับอากาศของบ้านเรา เห็นจะเป็นสารทำความเย็น R-410A
ข้อมูลทางเทคนิคของสารทำความเย็น R-410A Category : HFC ความดันไอที่อุณหภูมิ 90F = 272.8 psig (bubble point) และ 271.2 psig (dew point) ค่าแรงดันที่วัดได้ ตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสารทำความเย็น R-410A
![]()
ในตอนนี้มีหลายคน ถามผมอยู่บ่อยๆ ในเรื่องของการวัดระดับแรงดันของสารทำความเย็น R-410A จะใช้เมนิโฟลด์ เกจของ R-22 ได้หรือไม่? ผมขอตอบในที่นี้เลยนะครับว่า ไม่ได้ เพราะสารทำความเย็น R-410A มีแรงดันสูงกว่า R-22 ประมาณ 1.5 1.6 เท่า เมนิโฟลด์ เกจ ต้องเป็นแบบเฉพาะที่ออกแบบมาให้รองรับสารทำความเย็น R-410A เท่านั้น และคอมเพรสเซอร์ที่ใช้ก็ต้องเป็นแบบเฉพาะที่ผลิตมาไว้ใช้กับสารทำความเย็น R-410A โดยตรง ![]() การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R-410A เครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R-410A ปัจจุบันเริ่มมีเข้ามาวางจำหน่ายในท้องตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ รุ่น Inverter และผมก็คาดว่าในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปรับอากาศแบบธรรมดา หรือแบบ Inverter ผู้ผลิตก็จะทยอยเปลี่ยนมาใช้สารทำความเย็น R-410A กันหมด และจะส่งผลให้ สารทำความเย็น R-22 ค่อยๆหายไปจากตลาด คงเหลือไว้เพียงส่วนน้อย เพื่อใช้เป็นสารทำความเย็นสำหรับเติมเครื่องปรับอากาศรุ่นเก่า และสารทำความเย็น R-410A ก็จะมีการผลิตและวางจำหน่ายเพิ่มขึ้น และอาจทำให้มีราคาถูกลงกว่าที่เป็นอยู่ ในขณะนี้(พ.ศ. 2555)สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการจะซื้อเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็นเบอร์ใหม่ ในกรุงเทพและปริมณฑลหรือตามหัวเมืองใหญ่ๆไม่น่าจะมีปัญหา แต่สำหรับผู้บริโภคที่อยู่ต่างจังหวัด หรือซื้อเครื่องปรับอากาศ R-410A มาจากที่อื่นแล้วจะมาติดตั้งในพื้นที่ ก่อนอื่นท่านควรจะสอบถามร้านให้บริการติดตั้งแอร์ในละแวกใกล้เคียง ว่ามีความสามารถและอุปกรณ์พร้อมในการให้บริการหรือไม่ เพราะตอนนี้ปัญหาที่ผมได้ทราบมา คือ ร้านแอร์ตามท้องถิ่นนอกเมืองไม่มีเกจวัดแรงดันสารทำความเย็น R-410A ไว้ให้บริการ และช่างบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจในระบบเครื่องทำความเย็น R-410A ซึ่งช่างที่จะออกให้บริการในงานเครื่องปรับอากาศ Inverter ที่ใช้สารทำความเย็น R-410A ควรได้รับการอบรมหรือแนะนำจากฝ่ายเทคนิคของบริษัทผู้ผลิตแอร์ เพื่อที่จะได้ออกให้บริการได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย คำถามที่พบบ่อยในเรื่องที่เกี่ยวกับสารทำความเย็น R-410A เครื่องทำความเย็นที่ เดิมใช้ R-22 จะเปลี่ยนมาใช้ R-410A ได้ไหม ? โดยทั่วไปแล้วไม่สามารถทำได้ ถ้าคอมเพรสเซอร์และอุปกรณ์ต่างๆในระบบ ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้กับ R-410A โดยเฉพาะ เพราะส่วนของคอยล์ อาจรับแรงดันของสารทำความเย็น R-410A ไม่ได้ คุณสมบัติแรงดัน และเทอร์โมไดนามิคของ R-410A ทำให้คอมเพรสเซอร์ที่ใช้ ต้องถูกออกแบบใหม่โดยเฉพาะ คอมเพรสเซอร์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับ R-22 หากนำไปใช้กับสารทำความเย็น R410-A จะทำให้มอเตอร์งานเกินกำลังและทำให้ได้รับความเสียหาย หากเครื่องพยายามปั๊ม R-410A ในระบบปรับอากาศ น้ำมันคอมเพรสเซอร์ R-410 กับ R-22 ชนิดเดียวกันหรือไม่ ? น้ำมันที่ใช้ในระบบ R-22 เป็นชนิดที่แตกต่างกับของระบบ R-410A การใช้งานต้องเลือกใช้น้ำมันที่ผลิตมาโดยเฉพาะ การปฏิบัติงาน ซ่อม บำรุงรักษา และติดตั้ง เครื่องปรับอากาศที่ใช้ R-410A มีข้อควรระวัง ซึ่งเป็นรายละเอียดเพิ่มเติม อะไรบ้าง? ปัญหาในเรื่องของความชื้นและสารปนเปื้อน - เรื่องของความชื้น เนื่องจากน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้ในระบบ เป็นประเภทโพลีออลเอสเตอร์ (POE) ซึ่งดูดซึมความชื้นในอัตราที่เร็วและสูงกว่าน้ำมันที่ใช้ในระบบทำความเย็นแบบเดิมๆ ดังนั้นระยะเวลาที่ ภายในคอมเพรสเซอร์จะสัมผัสถูกบรรยากาศจึงสั้นกว่ามาก หลักการปฏิบัติที่ดีคือไม่ควรดึงจุกที่อุดปลายท่อของคอมเพรสเซอร์ออกจนกว่า คอมเพรสเซอร์จะติดตั้งเรียบร้อย จึงจะเอาออกเพื่อเชื่อมต่อระบบ...และขั้นตอนการทำสูญญากาศระบบ สำหรับการติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ใช้ R-410A ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญและละเลยไม่ได้ เครื่องปรับอากาศที่ใช้ R-410Aต้องทำสูญญากาศระบบด้วยปั๊มทำสุญญากาศ(vacuum pump)ตามระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น! จริงอยู่ที่ในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ R-22 บางครั้งเรายังพบการใช้วิธีลัดโดยการใช้น้ำยาที่ให้มาในระบบไล่อากาศแทนการใช้ปั๊มทำสูญญากาศ(vacuum) แต่ในกรณีของ R-410A เราจะใช้วิธีการเอาน้ำยาในระบบมาไล่อากาศแบบนั้นไม่ได้ เพราะความชื้นในระบบที่ถูกกำจัดออกไปไม่หมด จะมีผลต่อการทำงานของเครื่อง และส่งผลต่อการทำความเย็นด้วย - อีกอย่างที่เราควรระวังในการปฏิบัติงาน ซ่อบำรุงหรือติดตั้ง เครื่องทำความเย็นที่ใช้ R-410A คือเรื่องสารปนเปื้อนในระบบ เพราะว่าน้ำมันโพลีออลเอสเตอร์ (POE) ที่ใช้ในระบบนั้น มีความสามารถในการเป็นตัวทำความสะอาดชั้นดี ซึ่งจะพาคอปเปอร์ออกไซด์ และสารปนเปื้อนอื่นๆให้ไหลไปปะปนในระบบได้ง่าย อาจทำให้เกิดการอุดตันของอุปกรณ์ในระบบ - ทั้งการควบคุมความชื้นและสารปนเปื้อนควรจะเป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญมาก ในขณะที่ปฏิบัติงาน ติดตั้ง และซ่อมบำรุง เครื่องทำความเย็นที่ใช้ R-410A ![]() ในอนาคต หากมีการใช้งานสารทำความเย็น R-410A อย่างแพร่หลาย แล้วเราจะทราบได้อย่างไร ว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นใช้สารทำความเย็นรหัสไหน เบื้องต้น ข้อมูลสารทำความเย็นที่เครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นใช้ ทางผู้ผลิตได้แสดงรายละเอียดไว้บนแผ่นป้าย (Name Plate) ที่ติดด้านข้างของเครื่อง ยิ่งถ้าเป็นเครื่องปรับอากาศที่ใช้ R-410A ปัจจุบันผู้ผลิตจะติดป้ายขนาดใหญ่ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นสารทำความเย็นชนิดใหม่ "New Refrigerant HFC410A" แต่ถ้าไม่มีป้ายแสดง ก็ให้สังเกตจากวาล์วลูกศรที่ใช้เสียบเกจวัดแรงดัน(หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต) หัววาล์วลูกศรของ R-22 จะเป็นขนาด 1/4" ส่วนหัววาล์วลูกศรของ R-410A จะเป็นขนาด 3/8" การชาร์ทน้ำยาเข้าสู่ระบบ ใช้การตวงวัดปริมาตรแบบไหน ? ![]()
สรุป : สารทำความเย็น R-410A เป็นสารทำความเย็นแบบใหม่ที่นำมาใช้แทนสารทำความเย็น R-22 มีแรงดันสูงกว่า R-22 ประมาณ 1.5 - 1.6 เท่า ราคาในตอนนี้ยังถือว่าแพง และติดไฟได้ ที่สำคัญ...ไม่สามารถใช้เกจของ R-22 มาวัดแรงดันของ R-410A ได้...ต้องซื้อเกจตัวใหม่ที่รองรับ R-410 ในตอนนี้ช่างที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบทำความเย็นที่ใช้ R-410A ยังมีน้อย ช่างที่จะติดตั้งเครื่องปรับอากาศ R-410A ทางที่ดีควรจะได้รับการฟังบรรยายอบรม เกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศที่ใช้ R-410A และเนื่องด้วยสารทำความเย็น R-410A นั้น เป็นส่วนผสมของ HFC-35 และ 120 ในอันตราส่วน 1:1 โดยสารทำความเย็นชนิดนี้จะปราศจากคลอรีน ไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศโลก และมีประสิทธิภาพดีกว่าสารทำความเย็นแบบ R-22 ถึง 10% การใช้งานในประเทศไทย ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ย 25-35 องศาเซลเซียสนั้น เครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R-410A นั้น จะช่วยประหยัดพลังงาน และค่าไฟต่อปีได้ดีกว่าเครื่องปรับอากาศ R-22
ปัญหาแอณ์บ้านทำงานไปได้สักระยะประมาณ10นาที แล้วดับไปเฉยๆ เกิดจากอะไรครับ
โดย: ผีโรงเย็น EG IP: 58.64.73.103 วันที่: 9 พฤษภาคม 2555 เวลา:16:19:20 น.
ปัญหาแอร์บ้านทำงานไปได้สักระยะประมาณ10นาที แล้วดับไปเฉยๆ เกิดจากอะไรครับ
โดย: ผีโรงเย็น EG IP: 58.64.73.103 วันที่: 9 พฤษภาคม 2555 เวลา:16:21:18 น.
ใช้แล้วดีจริง น้ำยาแอร์ 410 ดีใจที่ไม่ปล่อยมลพิษ
//www.refrigerant-trading.com/refrigerant_410.html โดย: MutainChiro
![]() |
บทความทั้งหมด
|