ไส้อั่วและแหนมปุ๋ย ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี ผลงาน ม.เชียงใหม่
ไส้อั่วและแหนมปุ๋ย ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี ผลงาน ม.เชียงใหม่

การประกอบอาชีพการเกษตร หลายคนมุ่งเน้นที่จะเพิ่มผลผลิตของตนเองให้มากขึ้น พัฒนาคุณภาพผลผลิตให้เป็นที่ต้องการของตลาด แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป นั่นคือ การลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยเคมีที่พืชมีความจำเป็นต้องการธาตุอาหาร

ดร.ธนะชัย พันธ์เกษมสุข ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล่าว่า ปัจจุบันนี้การเกษตรเน้นด้านการเกษตรแบบอินทรีย์ มีการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด อย่างไรก็ตาม การใช้ปุ๋ยเคมีก็ยังมีความจำเป็น โดยเฉพาะพื้นที่ที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ของดิน

ดังนั้น การที่จะลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี เพราะปุ๋ยเคมีราคาสูง เอกชนผลิตปุ๋ยออกมาจำหน่ายระยะแรกเป็นปุ๋ยเคมีที่ละลายเร็ว ปุ๋ยกระสอบน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ราคากว่า 500 บาท สาเหตุเพราะการละลายเร็ว ต้นพืชจึงดูดธาตุอาหารไปใช้ได้น้อย ประมาณ 20% ที่เหลือจะสูญสลายลงในดิน 80% ภาคเอกชนจึงคิดค้นวิธีการผลิตปุ๋ยละลายช้า แต่ราคาสูงถึงกระสอบละกว่า 1,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตของเกษตรกร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการสนับสนุนจากโครงการพืชผักเชียงใหม่ปลอดภัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.)

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ และมูลนิธิไจก้า ประเทศญี่ปุ่น จึงเริ่มคิดค้นและทดลองหาวิธีการลดต้นทุนการผลิต เรียกชื่อว่า "ไส้อั่วปุ๋ย" ด้วยการใช้ปุ๋ยเคมีละลายเร็ว ราคาถูก แต่ให้ละลายลงดินได้ช้า ต้นพืชใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารได้มาก โดยใช้ไส้เทียม เป็นชนิดเดียวกันกับที่ร้านอาหารของภาคเหนือนำมาใช้เป็นไส้อั่วหมู ไส้อั่วเนื้อ ไส้อั่วไก่ หรือหม่ำตับของภาคอีสาน ซึ่งไส้เทียมนี้ทำมาจากเซลลูโลสของเยื่อไม้ สามารถบริโภคได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมีลงได้มากถึง 10 เท่าตัว จึงใคร่ขอแนะนำให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติใช้เอง

ขั้นตอนการทำไส้อั่วปุ๋ย เริ่มต้นวัดความยาวของไส้เทียมตามต้องการ หากใช้กับต้นไม้กระถางควรยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ต้นไม้ใหญ่ยาวประมาณ 80-100 เซนติเมตร ใช้เข็มหมุดเจาะลงบนไส้เทียม 10-20 รู ต่อความยาวของไส้เทียม 1 เซนติเมตร มัดปลายด้านหนึ่งด้วยเชือกให้แน่น จากนั้นจึงเริ่มบรรจุปุ๋ยเคมีตามสูตรที่ต้องการ แต่อย่าบรรจุให้แน่นเกินไปเพราะไส้เทียมจะแตก หากใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 น้ำหนัก 200 กรัม ใช้ไส้เทียมยาวประมาณ 100 เซนติเมตร เมื่อบรรจุปุ๋ยเต็มไส้เทียมแล้วมัดปลายอีกด้านหนึ่ง เป็นอันเสร็จขั้นตอนการเตีรยมปุ๋ยไส้อั่ว

จากนั้นจึงนำไปใส่ในกระถางต้นไม้ หรือฝังลงดินบริเวณรากใกล้ต้นพืชที่ต้องการใส่ปุ๋ย ผลการทดสอบการเจาะรูไส้อั่วปุ๋ยที่เหมาะสมคือ นำไปใช้กับกระถางกล้วยไม้ เจาะ 4 รู หากใช้กับพืชผักในแปลง เจาะไส้เทียม 10 รู แต่อย่างไรก็ตาม เกษตรกรสามารถดัดแปลงเพิ่มหรือลดได้ตามความเหมาะสม

การลดต้นทุนปุ๋ยเคมีอีกวิธีหนึ่งที่ใช้กับต้นพืชที่อายุยาวนาน หรือประเภทไม้ผล ควรใช้วิธีที่เรียกว่า "แหนมปุ๋ย" ขั้นตอนการทำคล้ายกับไส้อั่วปุ๋ย เพียงแต่เปลี่ยนจากไส้เทียมเป็นถุงพลาสติค ขนาด 3x6 นิ้ว ใช้เข็มหมุดเจาะรูรอบๆ ถุงพลาสติค ประมาณ 40-56 รู ทำให้บรรจุปริมาณปุ๋ยเคมีได้มาก ใช้ได้ตลอดทั้งฤดูกาล จากนั้นจึงนำไปวางใกล้โคนต้นไม้ใหญ่ ประมาณ 4 จุด ต่อต้น จุดละ 40 กรัม แต่มีข้อจำกัดคือ ถุงพลาสติคจะย่อยสลายได้ยาก ต้องเก็บมาทำลายภายหลัง ในปี 2548 ทดสอบกับต้นส้มสายน้ำผึ้ง เมื่อครบรอบ 1 ปี ผลการทดสอบปรากฏว่า ต้นส้มแตกช่อดี มีใบอ่อนมาก ใบเขียวเข้ม คุณภาพผลผลิตได้น้ำหนักผลส้มดีกว่า เปลือกหนา เนื้อแน่น แต่รสชาติเปรี้ยวกว่าเล็กน้อย เนื่องจากส้มเขียวหวานจะต้องใช้ปุ๋ยเคมีหลายสูตร แต่การทดสอบครั้งนี้ใช้ปุ๋ยเคมีเพียงสูตรเดียว เมื่อเก็บเกี่ยวผลส้มแล้ว ถุงพลาสติคที่เจาะรู 40 รู และ 56 รู ยังคงมีปุ๋ยเหลืออยู่ในถุงแหนมปุ๋ย นำไปตากแห้งแล้วนำไปชั่งน้ำหนัก พบว่าเหลือปุ๋ยแห้งประมาณ 360-420 กรัม

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร. (09) 850-7090



Create Date : 20 กรกฎาคม 2549
Last Update : 20 กรกฎาคม 2549 8:22:20 น.
Counter : 1871 Pageviews.

0 comments
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
อุ้มสีมาทำบุญ ๙ วัด ในวันขึ้นปีใหม่ที่จ.อุบลราชธานี อุ้มสี
(3 ม.ค. 2567 19:10:02 น.)
ทนายอ้วนจัดดอกไม้ - จัดดอกไม้ง่ายๆ – แจกันสวัสดีปีใหม่ 2567 - กุหลาบพวงสีชมพู - ขาว ทนายอ้วน
(2 ม.ค. 2567 15:16:32 น.)
No. 1259 สาระเกือบมี (ตอนทำงานที่ใหม่ ถูกลองดี) ไวน์กับสายน้ำ
(1 ม.ค. 2567 05:58:05 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Hoonvi.BlogGang.com

hoon_vi
Location :
ขอนแก่น  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]

บทความทั้งหมด