การตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน 1
เขียนโดย ยุทธพงศ์ ทัพผดุง

ปัจจุบันการตรวจสอบระบบไฟฟ้าได้นิยมใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนมาประยุกต์ใช้งานเป็นอย่างมาก ซึ่งข้อได้เปรียบการประยุกต์ใช้เครื่องมือดังกล่าวนั้นก็จะช่วยทำให้ไม่จำเป็นต้องดับกระแสไฟฟ้า ซึ่งนั่นก็หมายความว่าการตรวจสอบระบบไฟฟ้าโดยกล้องถ่ายภาพความร้อนสามารถตรวจสอบขณะที่กระบวนการผลิตยังคงดำเนินการอยู่และเมื่อตรวจพบสิ่งผิดปกติแล้วก็ทำให้สามารถวางแผนการบำรุงรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลดความสูญเสียและระยะเวลากระแสไฟฟ้าขัดข้องในกระบวนการผลิตได้ทำให้ระบบไฟฟ้ามีความเชื่อถือได้และมีความมั่นคงสูง การตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนนั้นจะมีบุคคลที่เกี่ยวข้องด้านการตรวจสอบระบบไฟฟ้าทั้ง 2 ฝ่ายด้วยกันคือ

ผู้ให้บริการตรวจสอบระบบไฟฟ้า

การตรวจสอบระบบไฟฟ้านั้นผู้ให้บริการตรวจสอบฯควรจะต้องทราบถึงปริมาณของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต้องเข้าดำเนินการตรวจเพื่อที่จะได้วางแผนในการตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถร้องขอจากผู้ว่าจ้าง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • วงจรเส้นเดี่ยวของระบบไฟฟ้าของบริษัทที่จะดำเนินการตรวจสอบจุดประสงค์ก็เพื่อให้ทราบปริมาณงานและขอบเขตในการตรวจสอบ
  • ประเภทอุตสาหกรรมของโรงงานที่เข้าดำเนินการตรวจสอบ จุดประสงค์ก็เพิ่มจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเป็นพิเศษ อาทิเช่น แว่นตานิรภัย, Ear Plug , หน้ากากป้องกันสารเคมีและอื่นๆ
  • ผู้ตรวจสอบควรชี้แจ้งเงื่อนไขการจัดทำรายงานแก่ผู้รับบริการใช้ชัดเจนเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาการส่งมอบรายงานภายหลัง
  • ผู้ตรวจสอบควรแจ้งลูกค้าให้จัดเตรียมพนักงานของลูกค้าพาผู้ตรวจสอบเดินไปตำแหน่งที่ต้องการตรวจสอบและเป็นผู้เปิดตู้ไฟฟ้าต่างๆ
  • ผู้ตรวจสอบไม่ควรเปิดตู้ไฟฟ้าโดยภาระการหรือถ่ายภาพนอกเหนือจากลูกค้ากำหนด

 

ผู้รับบริการ

ผู้รับบริการการตรวจสอบฯควรจะต้องทราบถึงปริมาณของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะให้ผู้ตรวจสอบฯเข้าดำเนินการตรวจเพื่อจะได้ดำเนินการวางแผนพาผู้ตรวจสอบฯไปหาตำแหน่งอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ซึ่งนอกเหนือจากข้อมูลที่จะต้องจัดเตรียมสำหรับผู้ให้บริการดังหัวข้อข้างต้น ผู้รับบริการควรดำเนินการนี้

  • ผู้รับบริการตรวจสอบต้องตกลงและทำความเข้าใจกับผู้ให้บริการตรวจสอบฯให้ชัดเจนเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆของการให้บริการ
  • ช่างเทคนิคหรือผู้รับผิดชอบพาผู้ตรวจสอบฯไปตรวจสอบระบบไฟฟ้านั้นควรทราบตำแหน่งของตู้ไฟฟ้าภายในโรงงานทั้งหมดเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบ
  • ช่างเทคนิคหรือผู้รับผิดชอบจะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์หรือกุญแจสำหรับเปิดตู้ไฟฟ้าให้ครบถ้วน
  • ช่างเทคนิคหรือผู้รับผิดชอบจะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์หรือชุดพิเศษสำหรับเข้าตรวจสอบในกระบวนการผลิตพิเศษ
  • ช่างเทคนิคหรือผู้รับผิดชอบจะต้องเตรียมเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าแบบคล้องและไฟฉายเพื่อใช้ประกอบการตรวจสอบฯ


ขั้นตอนการตรวจสอบระบบไฟฟ้า

การตรวจสอบระบบไฟฟ้านั้นควรดำเนินการตรวจสอบตั้งแต่ระบบไฟฟ้าแรงสูงไปสู่ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบและทำให้การทำรายงานมีความต่อเนื่องและในกรณีที่โรงงานหรือบริษัทมีหลายอาคารควรตรวจสอบทีละอาคารเพื่อป้องกันความสับสนในการทำรายงาน ซึ่งการตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่กล่าวข้างต้นให้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าตั้งแต่ระบบไฟฟ้าแรงสูงไปสู่ระบบไฟฟ้าแรงต่ำนั้นสามารถสรุปอุปกรณ์ต่างๆได้ดังนี้

  • สถานีไฟฟ้าย่อย (กรณีโรงงานมีสถานีไฟฟ้าย่อย)ซึ่งประกอบด้วย Circuit Breaker, CT, PT, Air Break Switchและจุดต่อต่างๆ
  • ชุด Metering ของ กฟภ. หรือ กฟน. หรือ IPP และ SPP
  • สวิตซ์ตัดตอนแรงสูง (LBS) และ Ring Main Unit
  • หม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ (Drop Out Fuse และ Lightning Arrestor และจุดต่อต่างๆ)
  • Main Distribution Board ซึ่งประกอบด้วย Air Circuit Breaker, CT ,Mold Case Circuit Breaker, HRC Fuse, Busbar, Magnetic Contactor และ อื่นๆ
  • Distribution Board ซึ่งประกอบด้วย Mold Case Circuit Breaker, CT , Busbar และ อื่นๆ
  • Load Center ซึ่งประกอบด้วย Miniature Circuit Breaker, Busbar, จุดต่อสายไฟฟ้า และ อื่นๆ

การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละประเภท

อุปกรณ์ที่ในไฟฟ้าภายในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมนั้นจะประกอบด้วยอุปกรณ์หลายชนิดและมีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันและมีจุดในการตรวจสอบหรือให้ความสนใจเพื่อการตรวจสอบหาสิ่งผิดปกติที่แตกต่างกันไปซึ่งสามารถสรุปได้เบื้องต้นดังนี้

เซอร์กิตเบรกเกอร์

เซอร์กิตเบรกเกอร์เป็นอุปกรณ์ป้องการกระแสเกินเนื่องจากการทำงานเกินพิกัดและการลัดวงจรไฟฟ้า ซึ่งส่วนประกอบต่างๆที่จะต้องตรวจสอบด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนนั้นจะประกอบด้วย:

  • จุดต่อและขั้วไฟฟ้าต่างๆ
  • จุดเข้าหัวสายหรือหางปลาต่างๆ(Cable Lug)
  • การเกิดความร้อนภายในตัวเซอร์กิตเบรกเกอร์เนื่องจากหน้าสัมผัสภายในชำรุด (Bad Contact)

 

รูปที่ 1 สายไฟฟ้าไหม้เนื่องจากจุดต่อหลวม


รูปที่ 2 หน้าสัมผัสภายในชำรุด

รูปที่ 3 หน้าสัมผัสภายในชำรุด

 

หม้อแปลงเครื่องมือวัด

หม้อแปลงเครื่องมือวัดหรือหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า (PT)และหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า (CT) สำหรับชุด metering ต่างๆซึ่งระบบไฟฟ้าแรงดันสูงและปานกลางจะประกอบด้วย PT และ CT แต่ถ้าเป็นระบบแรงดันต่ำจะประกอบด้วย CT เพียงอย่างเดียวซึ่งสิ่งที่จะต้องตรวจสอบด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนนั้นจะประกอบด้วย:

  • จุดต่อและขั้วไฟฟ้าภายนอกต่างๆ
  • จุดเข้าหัวสายหรือหางปลาต่างๆ(Cable Lug)
  • วัดอุณหภูมิ CT หรือ PT เปรียบเทียบกันระหว่างเฟสว่ามีอุณหภูมิใกล้เคียงกันหรือไม่ ถ้าพบว่าอุณหภูมิ CT หรือ PT ใดมีค่าสูงกว่า CT หรือ PT ปกติที่ติดตั้งในเฟสข้างเคียงประมาณ 10-15°C  ให้สันณิฐานเบื้องต้นว่าจะเกิดสิ่งผิดปกติภายในตัว CT หรือ PT

 

รูปที่ 4 CT ในสถานีไฟฟ้าย่อย 115 kV.


 

 

รูปที่ 5  CT ระบบไฟฟ้า 22 kV.


รูปที่ 6 เกิดความร้อนภายในตัว CT


ฟิวส์

ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้า ซึ่งส่วนประกอบต่างๆที่จะต้องตรวจสอบด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนนั้นจะประกอบด้วย:

  • จุดต่อและขั้วไฟฟ้าต่างๆ
  • จุดเข้าหัวสายหรือหางปลาต่างๆ(Cable Lug)
  • การเกิดความร้อนภายในกระบอกฟิวส์เนื่องจากเส้นฟิวส์ภายในเกิดการหลอมละลายทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อเทียบกับฟิวส์ชุดอื่นๆเมื่อทำงานที่สภาพโหลดใกล้เคียงกัน


รูปที่ 7 เกิดความร้อนภายในกระบอกฟิวส์


รูปที่ 8 เกิดความร้อนจุดต่อของ Drop Out Fuse


รูปที่ 9 เกิดความร้อนบริเวณหน้าสัมผัส


สวิตซ์ตัดตอนแรงสูง

สวิตซ์ตัดตอนเป็นอุปกรณ์ปลด-สับขณะวงจรไฟฟ้าไม่มีโหลด ซึ่งส่วนประกอบต่างๆที่จะต้องตรวจสอบด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนนั้นจะประกอบด้วย:

  • จุดต่อและขั้วไฟฟ้าต่างๆ
  • จุดหมุนที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
  • จุดเข้าหัวสายหรือหางปลาต่างๆ(Cable Lug)
  • สวิตซ์ตัดตอนแรงสูงบางแบบนั้นจะประกอบด้วยฟิวส์แรงสูงซึ่งอาจจะเกิดอุณหภูมิสูงภายในกระบอกฟิวส์เนื่องจากเส้นฟิวส์ภายในเกิดการหลอมละลายทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อเทียบกับฟิวส์ชุดอื่นๆเมื่อทำงานที่สภาพโหลดใกล้เคียงกัน


รูปที่ 10 เกิดความร้อนบริเวณหน้าสัมผัส


รูปที่ 11 เกิดความร้อนบริเวณหน้าสัมผัส





Create Date : 06 กรกฎาคม 2558
Last Update : 12 กรกฎาคม 2558 14:54:14 น.
Counter : 1458 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Hellogear.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 2468428
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด