สิ่งรบกวนในระบบไฟฟ้าที่มีผลต่อภาระทางไฟฟ้า2

เมื่อความถี่ไฟฟ้าในระบบเกิดการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงของความถี่ไฟฟ้าจากค่ามาตรฐานนั้น อาจจะมีผลกระทบต่อภาระทางไฟฟ้าบางประเภทอาทิ เช่น คอมพิวเตอร์,อุปกรณ์สื่อสารต่างๆหรืออื่นๆในตารางที่ 3  แต่ถึงอย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของความถี่ไฟฟ้านั้นก็อาจจะช่วยแก้ไขปัญหาบางระบบได้หรือสามารถลดระดับแรงดันของระบบให้อยู่ในระดับปกติได้ ซึ่งสามารถจะมองเห็นในภาพรวมได้เมื่อภาระทางไฟฟ้าโดยรวมทั้งหมดได้ถูกต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้าซึ่งมีความสามารถจ่ายพลังงานต่ำกว่าภาระทางไฟฟ้า

 

สุดท้ายรู้จักกับฮาโมนิกส์

ในบางครั้งสิ่งรบกวนในระบบไฟฟ้านั้นอาจจะเกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมเองก็เป็นได้ ซึ่งก็เกิดจากผลของแรงดันฮาร์โมนิกส์หรือรูปคลื่นผิดเพี้ยนไป ถึงแม้ว่าแรงดันไฟฟ้าในโรงงาน  อุตสาหกรรมของคุณจะอยู่ในสภาวะปกติก็ตาม แต่ก็อาจจะพบสิ่งผิดปกติในโรงงานของคุณก็เป็นได้อาทิเช่น เครื่องกำเนิดหรือมอเตอร์เกิดร้อนผิดปกติ,คาปาซิเตอร์เกิดระเบิดโดยไม่ทราบสาเหตุบ่อยครั้งหรือไม่ก็ระบบสื่อสารและระบบควบคุมต่างทำงานผิดปกติไปเป็นต้น ซึ่งแรงดันฮาร์โมนิกส์สามารถเพิ่มปริมาณขึ้นได้ ถ้าในโรงงานอุตสาหกรรมของคุณมีการติดตั้งคาปาซิเตอร์เพื่อแก้ค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ โดยถ้าเราพิจารณาให้ดีแล้ววงจรสมมูลย์จะมีการต่อเป็นแบบขนานระหว่างค่าคาปาซิแตนซ์กับค่าอินดักซ์แตนซ์ในระบบ ซึ่งกรณีที่ระบบมีความถี่ในระดับปกติก็จะไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใด แต่ถ้าในระบบของคุณมีแหล่งกำเนิดกระแสฮาร์โมนิกส์ เช่น เรคติไฟล์เออร์,ชุดขับเคลื่อนมอเตอร์หรือภาระไฟฟ้าในระบบที่ไม่ใช้แรงไฟฟ้าที่มีรูปคลื่นไซส์  ต่อร่วมอยู่ในระบบแล้วก็อาจจะทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่าเรโซแนนซ์ได้ ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวก็จะทำให้เกิดแรงดันฮาร์โมนิกส์ให้สูงขึ้นและสร้างความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงงานอุสาหกรรมของคุณได้

ถึงตรงนี้คงทราบและรู้จักแล้วสิครับว่าสิ่งรบกวนจากระบบไฟฟ้าอาจจะเกิดจากภายนอกและเกิดขึ้นจากภายในโรงงานของคุณเองก็ได้เกิดจากอะไรได้บางและมีวิธีการป้องกันและแก้ไขได้อย่างไร โดยที่ระดับความรุนแรงก็แตกต่างกันไปก็ขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์ ดังตารางที่ 3 ซึ่งสามารถให้คุณใช้เพื่อเป็นแนวทางและทราบความสามารถในการทนต่อสิ่งรบกวนจากระบบไฟฟ้าของอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรมของคุณได้ เพื่อจะได้เตรียมการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึ่งประสงค์เกิดขึ้น ดังคำสุภาษิตโบราณที่ว่า “กันไว้ดีกว่าแก้”  สวัสดีครับ

เรียบเรียงจาก

- Electrical Distribution system Protection, COOPER POWER SYSTEM, Third Edition,1990

//www.mea.or.th

//www.mge.com

อุปกรณ์ในระบบ

ระดับแรงดัน

ระดับแรงดันผิดเพี้ยน

เนื่องจากฮาร์โมนิกส์

ความถี่

หมายเหตุ

อุปกรณ์เตือนภัยต่างๆ

ตามประเภทอุปกรณ์

-

-

-

คาปาซิเตอร์สำหรับ

แก้ค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์

+10% ถึง –110%

-

+0% ถึง –100%

-

อุปกรณ์สื่อสาร

+/-5%

ตามประเภทอุปกรณ์

-

-

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

ประมวลผมข้อมูล

+/-10%ที่เวลา 1 ไซเคิล

5%

+0.5 Hz ถึง –1.5 Hz

-

คอนแทคเตอร์,ตัวสตาร์ตมอเตอร์

คอยล์กระแสสลับเสียหาย

คอยล์กระแสสลับหยุดทำงาน

คอยล์กระตรงหยุดทำงาน

 

+10% ถึง –15%

-30% ถึง –40%ที่เวลา 2 ไซเคิล

-30% ถึง –40%ที่เวลา 5-10 ไซเคิล

 

-

-

-

 

-

-

-

 

-

-

-

อินดักชั่นมอเตอร์

+/-10%

-

+/-5%

-

อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์

ชนิดสูญญากาศ

+/-5%

ตามประเภทอุปกรณ์

-

-

ระบบแสงสว่าง

หลอดฟลูออเรสเซนต์

 

หลอดอินแค็นเดซเซนท

หลอดไอปรอท

 

-10%

-25%

+18%

-50%ที่เวลา 2 ไซเคิล

 

-

-

-

-

 

-

-

-

-

 

ติดยาก,อายุการใช้งานสั้น

หลอดไม่สว่าง

อายุหลอดสั้นลง 10 %

หลอดไม่สว่าง

เตาหลอมโลหะ,ฮีตเตอร์

ตามประเภทอุปกรณ์

-

-

-

โซลินอยล์สำหรับเปิด-ปิด

วาวล์ต่างๆ

-30% ถึง –40% ที่0.5 ไซเคิล

 

-

-

หม้อแปลง

+5%ของพิกัด kVA£0.80 PF

+10% ขณะไม่มีภาระ

-

 

-

 

แรงดันจะเปลี่ยนแปลงถ้าความถี่มีการเปลี่ยนแปลง

อินเวอร์เตอร์

+5% ที่ภาระเต็มพิกัด

+10%ที่ไม่มีภาระ

-10%ทรานเซียนซ์

2%

+/-2 Hz

การจุดฉนวนวงจรเกิดการผิดพลาด

เรคติไฟล์เออร์

ไดโอด

อุปกรณ์ควบคุมเฟส

 

+/-10%

+/-5% ที่ภาระเต็มพิกัด

+10%ขณะไม่มีภาระ

-10%ทรานเซียนซ์

 

ไวต่อการรบกวนสูง

+/-2%

 

-

+/-2 Hz

 

+5% ถึง –10%(NEMA Std.)

การจุดฉนวนวงจรเกิดการผิดพลาด

เครื่องกำเนิด

+/-5%

ไวต่อการรบกวนสูง

-5%

ควรติดตั้งกับดักเสิร์ทที่จุดต่อของเครื่องกำเนิด




Create Date : 06 กรกฎาคม 2558
Last Update : 6 กรกฎาคม 2558 15:00:37 น.
Counter : 327 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Hellogear.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 2468428
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด