วิธีวัดความดันเลือดให้แม่นยำ


ภาพ - วิธีวัดความดันเลือด(โลหิต)ให้แม่นยำ

จากคำแนะนำของสมาคมแพทย์อเมริกา

..... 

องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า

ทั่วโลก (คนบนโลกมี 7,600 ล้านคน)

เป็นความดันเลือดสูงประมาณ

= 1,100 ล้านคน = 1/7

ถ้าไม่นับเด็ก...

นับเฉพาะผู้ใหญ่ โอกาสเป็นโรคนี้ = 1/3

.....

คนที่เป็นความดันเลือดสูงทั่วโลก

ควบคุมความดันเลือดให้พอดีได้ 

= น้อยกว่า 1/5

.....

ภาพ - ปัจจัยที่ทำให้ความดันเลือด(โลหิต)สูงเกินจริง 7 ข้อ

.....

การวัดความดันเลือด(โลหิต)ให้แม่นยำ

จำเป็นต้องลดปัจจัยที่ทำให้ความดันเลือด(โลหิต)สูงเกินจริงได้แก่

(1). เข้าห้องน้ำ ปัสสาวะ(ฉี่)ก่อน

ปวดปัสสาวะ(ฉี่)เต็มที่

เพิ่มความดันเลือด = 10 มม.ปรอท

(2). นั่งเก้าอี้ พิงพนักด้านหลัง วางเท้าบนพื้น

นั่งไม่พิงพนัก เท้าลอย

เพิ่มความดันเลือด = 6.5 มม.ปรอท

(3). ไม่นั่งไขว้ขา

นั่งไขว้ขา 

เพิ่มความดันเลือด = 2-8 มม.ปรอท

(4). ไม่พูด ไม่ฟัง-ไม่ดู TV บางเรื่องอย่างจริงจัง

ตั้งใจ "พูด-ฟัง-ดู"

เพิ่มความดันเลือด = 10 มม.ปรอท

.....

(5). พันแถบวัดบนแขนท่อนบนโดยตรง

ไม่พันผ่านเสื้อผ้า

พันผ่านเสื้อผ้า

เพิ่มความดันเลือด = 5-50 มม.ปรอท

(6). แถบวัดเล็กเกิน

เพิ่มความดันเลือด = 2-10 มม.ปรอท

(7). ให้แขนอยู่ระดับหัวใจ

วางแขนท่อนล่างบนโต๊ะ หรือที่รองรับ

แขนลอย ไม่วางแขนบนโต๊ะ หรือที่รองรับ

เพิ่มความดันเลือด = 10 มม.ปรอท

.....


.....

สมาคมโรคหัวใจอเมริกา

สถาบันเมโย คลินิก (และ)

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา

แนะนำวิธีวัดความดันเลือด(โลหิต)ไว้ดังนี้

(1). ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน

เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง 30 นาทีก่อนวัด

(2). นั่งเงียบๆ (ไม่พูด) 5 นาที

(3). นั่งเก้าอี้ที่สูงพอดี

เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลัง มีที่ท้าวแขน

(ดีกว่าโซฟา)

  • ให้เท้าแตะพื้น
  • แขนวางบนพนัก หรือแท่นรองรับ
  • ให้แขนท่อนบนอยู่ระดับเดียวกับหัวใจ

(4). แถบวัดกว้างอย่างน้อย = 80% ของความยาวแขนท่อนบน

พันแถบวัดรอบแขนโดยตรง

ไม่พันบนเสื้อผ้า

(5). ไม่พูด

(6). วัด 2 ครั้ง ห่างกัน = 1-3 นาที

ถ้าวัดได้ค่าต่างกันเกิน 5 มิลลิเมตรปรอท

ให้วัด 3 ครั้ง

นำค่าที่วัดครั้งหลังสุดไปใช้

(7). ถ้าวัดแขน 2 ข้าง 

ให้ใช้ค่าที่สูงกว่า

การศึกษาปี 2014/2557 

ทำในกลุ่มตัวอย่างเกือบ 3,400 คน

พบว่า

ความดันเลือดตัวบน (systolic) 

ต่างกันประมาณ = 5 หน่วย

ให้ใช้ค่าที่สูงกว่า

ความดันเลือดที่วัดจากแขน 2 ข้าง

อาจต่างกันได้ถึง 10 มม.ปรอท

น่าจะเป็นจากขนาดแขนใหญ่ไม่เท่ากัน

(แขนข้างที่ใหญ่กว่า มักจะ วัดความดันเลือดได้สูงกว่า แขนข้างที่เล็ก)

ถ้าความดันเลือดที่วัดจากแขน 2 ข้าง

ต่างกันมากเกิน 10 มม.ปรอท

อาจมีโรคหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน

.....


ตาราง - ขนาดแถบพันรอบแขน เลือกตามเส้นรอบวงแขนท่อนบน 

ขนาดกลาง = 22-32 ซม. 

มากกว่า 32 ซม. ใช้ขนาดใหญ่

น้อยกว่า 22 ซม. ใช้ขนาดเล็ก

.....


ตาราง - การแบ่งกลุ่มความดันเลือดสูง [ heart ]

2 กลุ่มแรก เป็นค่า "และ" ได้แก่

  • ความดันเลือดปกติ = น้อยกว่า 120 (ตัวบน) และ น้อยกว่า 80 (ตัวล่าง)
  • สูงกว่าปกติ = 120-129 (ตัวบน) และ น้อยกว่า 80 (ตัวล่าง) 

ต้องเข้าเกณฑ์ทั้งความดันเลือดตัวบนและล่าง

ถ้าไม่เข้าเกณฑ์ ให้นับเป็นระยะสูงขึ้น

.....

ความดันเลือดสูงส่วนใหญ่ไม่มีอาการ

ทว่า... เพิ่มเสี่ยงหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน

อัมพฤกษ์ อัมพาต สมองเสื่อม 

หัวใจเสื่อม-หัวใจวาย ไตเสื่อม-ไตวาย

คนที่มีความดันเลือดสูงส่วนน้อยปวดหัวทางด้านหลัง

.....

เพียงท่านตรวจเช็คความดันเลือดสูงเป็นประจำ

ถ้าสูงก็รักษาให้ต่อเนื่อง

จะช่วยชาติประหยัดค่ารักษาพยาบาลได้มากในระยะยาว

ถึงตรงนี้... ขอให้ทุกๆ ท่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.....

From - https://oknation.nationtv.tv/blog/health2you/2018/05/19/entry-4

From - https://www.ama-assn.org/ama-johns-hopkins-blood-pressure-resources

From - AMAhttps://twitter.com/twitter/statuses/997254211770372098

From - PAHO/WHO

From - https://targetbp.org/wp-content/uploads/2017/05/PatientTrainingReferenceGuide.pdf

From - ESC https://www.escardio.org/Journals/E-Journal-of-Cardiology-Practice/Volume-13/arterial-hypertension-benefits-and-limitations-of-treatment

From - https://www.health.harvard.edu/heart-health/tips-to-measure-your-blood-pressure-correctly

From - https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/in-depth/high-blood-pressure/art-20047889

From - https://targetbp.org/blood-pressure-improvement-program/patient-measured-bp/implementing/smbp-selecting-the-right-cuff-size/

From - https://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HighBloodPressure/KnowYourNumbers/Monitoring-Your-Blood-Pressure-at-Home_UCM_301874_Article.jsp#.WwAjq1OFNTY

From - https://www.nytimes.com/2008/04/15/health/research/15symp.html

.....




Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2562
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2562 14:09:35 น.
Counter : 934 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Health2u.BlogGang.com

wullop
Location :
ลำปาง  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]

บทความทั้งหมด