นิทานเซ็น "อย่าเพ่อวิ่งหนี..."


โดยส่วนตัวแล้ว....ชีวิตในวัยเด็กค่อนข้างใกล้ชิดกับวัด เพราะตอนเด็ก ๆ อยู่กับคุณย่า และคุณยาย เสียเป็นส่วนใหญ่...
เรื่องของธรรมะ จึงวนอยู่รอบ ๆ ตัว และค่อย ๆ ซึมซับเข้าไปในใจทีละนิด

แต่พอช่วงย่างเข้าวัยรุ่น... วัย และ สภาพแวดล้อมพาไปให้ใช้ชีวิตไปตามแต่ความรู้สึกจะพาไป...
ธรรมะที่เคยใกล้ชิดก็ดูจะเลือน ๆ และห่างตัวไปทุกที

จวบจนชีวิตวัยเยาว์ และวัยรุ่นหมดไป...
เริ่มเข้าสู่ชีวิตจริง!!
เริ่มพบกับความเจ็บปวด ความผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่า และความผิดพลาดในการดำเนินชีวิต...

...ธรรมะ จึงเข้ามามีบทบาท และความสำคัญกับชีวิตอีกครั้ง!

ในชั้นหนังสือ เริ่มมีหนังสือธรรมะมากขึ้น!!
อ่านแล้วเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง หลับคาหนังสือบ้างก็มี
แต่ก็ค้นพบสัจธรรมในชีวิตมากขึ้น...
รู้แล้วว่า...ตนเองมีที่พึ่งทางใจ มีหลักยึดเหนี่ยวในใจเมื่อยามทุกข์

...................................................................................

วันนึง...ไปยืนอยู่ในร้านหนังสือ...
ตรงหน้ามีหนังสือธรรมะมากมาย...หยิบมาเปิดดู แล้วก็วางกลับเข้าที่
สายตาระเรื่อยไปตามสันหนังสือ...
แล้วก็ไปสะดุดตากับหนังสือเล่มนึง... "เล่านิทานเซ็น"

หลาย ๆ คน คงจะรู้อยู่บ้างแล้ว่า...
"เซ็น" เป็นนิกายนึงในพุทธศาสนา

พุทธศาสนานิกายเซ็น มีเทคนิค และวิธีการสอนธรรมะที่พิเศษคือ...
"จี้ตรงใจ" คือสอนมุ่งตรงไปยังจิตใจ...
เกิดความสว่างแห่งปัญญาอย่างรวดเร็ว


ในหลาย ๆ ครั้งที่ผ่านมาที่เจอะเจอกับปัญหา รู้สึกสับสน หาทางออกให้ตัวเองไม่ได้... ก็มักหยิบเอาหนังสือของ "เซ็น" ขึ้นมาอ่าน
แล้วก็ได้ข้อคิดทุกครั้งไป...


เอาหละ! เกริ่นมาซะนาน
เล่านิทานกันดีกว่า


กระบวนแห่สิงโตผ่านมาในถนน ประชาชนแตกตื่นพากันอุ้มลูกจูงหลานออกมาดู เด็กอายุ 3-4 ขวบคนหนึ่งร้องไห้เพราะความกลัวสิงโต ก็ดิ้นอย่างจะสิ้นชีวิตลงไป แม่ต้องอุ้มพาหนีเข้าไปในสวนข้างถนนแห่งหนึ่ง พลางบ่นว่า...น่าสงสารลูกโง่ ๆ คนนี้เหลือเกิน แม่จะได้ดูอะไรสักนิดก็ไม่ได้ดู...

ทันใดนั้นเอง แม่ก็ดิ้นและร้องวี๊ดว๊าดขึ้น เพราะกิ้งกือตัวหนึ่งเผอิญหล่นลงมาจากต้นไม้ ตกลงไปในเสื้อ ลูกเล็ก ๆ คนนั้นหัวเราะชอบใจ บอกแม่ว่าเขาจะช่วยหยิบให้! แล้วก็ช่วยหยิบทิ้งให้จริง ๆ


.................................................................................................


เป็นการสุดวิสัยที่จะไม่ให้เด็ก ๆ กลัวสิ่งที่มีลักษณะ และอาการอย่างภูติผีปีสาจ กระโดดโลดเต้นเข้ามาราวกะจะจับตัวเอาไปกินเสียกระนั้น แต่ทีแม่เอง กลับกลัวกิ้งกือตัวนิดเดียว

ทั้งเลื้อยด้วยท่าทางอันนิ่มนวลอ่อนโยน ราวกับเข้ามาแสดงความเคารพ หรือขอความช่วยเหลืออะไรสักอย่างหนึ่ง ความกลัวของแม่ ก็กลัวอย่างกับจะขาดใจตายเช่นเดียวกับลูกเหมือนกัน! เมื่อประกอบอยู่ด้วยอวิชชาอยู่อย่างเต็มที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นภูติผีปีศาจ หรือเป็นสัตว์ตัวนิด ๆ เช่นกิ้งกือใส้เดือนก็ตาม ย่อมสามารถปลุกปั่นความกลัว (วิภวตัณหา) ได้โดยทำนองเดียวกัน ในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความขลาด และวิ่งหนีได้โดยเสมอกัน

ในที่สุด ก็เหลือแต่สิ่งที่ต้องคำนวณดูว่า
ลูกอายุเพียง 2-3 ขวบ
ส่วนแม่อยู่ในฐานะที่เป็นแม่ หรือผู้ปกครองสั่งสอนลูกแล้ว
ในกรณีนี้ ใครเล่า...ที่โง่เขลาและน่าสมเพชกว่าใคร
ในระหว่าง... แม่ และ ลูก


" ถ้าท่านกลัว จนเกินไป... ท่านก็ไม่มีทางทำอะไรสำเร็จได้ "

จากหนังสือ "นิทานเซ็น"
โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

ขอให้ทุกท่าน....มีดวงตาเห็นธรรม
สาตุ๊....



Create Date : 11 ธันวาคม 2551
Last Update : 13 ธันวาคม 2551 20:48:47 น.
Counter : 792 Pageviews.

1 comments
: รูปแบบของการตระหนักในการรับรู้ : กะว่าก๋า
(15 เม.ย. 2567 05:37:45 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 31 : กะว่าก๋า
(9 เม.ย. 2567 05:58:44 น.)
สักกายทิฐิ **mp5**
(8 เม.ย. 2567 11:07:04 น.)
ไม่ควรก่อแผลหรือก่อแผลเป็น ปัญญา Dh
(8 เม.ย. 2567 20:22:02 น.)
  
ชอบอ่านนิทานเซนค่ะ ได้ข้อคิดดี
ขอบคุณที่มาแบ่งปันกันค่ะ
โดย: กิ่งไม้ไทย วันที่: 20 ธันวาคม 2551 เวลา:9:05:57 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Giddy.BlogGang.com

i am_giddy
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]