ประวัติโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ภาพยนตร์เป็นมหรสพและ การสื่อสารมวลชนที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง สามารถเทียบได้กับการโทรทัศน์ในปัจจุบัน โรงภาพยนตร์ในสยามสมัยรัชกาลที่ 7 นั้นมีประมาณ 20 โรง กระจายอยู่ทั่วเขตพระนครและธนบุรี จัดฉายภาพยนตร์นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งนั้นเป็นภาพยนตร์จากสหรัฐ หรือจาก ฮอลลีวู้ดนั่นเอง

โรงภาพยนตร์สยามในสมัยนั้น มักเป็นโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายอาคารโรงไม้ หลังคามุงสังกะสี ไม่มีโรงขนาดใหญ่และหรูหรา จนกระทั่ง พ.ศ. 2475 ปีแห่งมหามงคลสมัยเฉลอมฉลองพระนครมีอายุครบ 150 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้างโรงมหรสพขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องด้วย พระองค์ทรงโปรดภาพยนตร์เป็นพิเศษ โรงภาพยนตร์แห่งใหม่ที่ทันสมัยและโอ่โถงหรูหรา ขนาดจุผู้ชมได้มากว่า 2,000 คน และนับเป็น โรงมหรสพ โรงแรก ในเอเซียที่มีเครื่องปรับอากาศ ระบบไอน้ำ ( Chilled Water System ) ถูกสร้างขึ้นบริเวณหัวถนนเจริญกรุงตัดกับถนนตรีเพชร มีหม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง นายนารถ โพธิปราสาท เป็นวิศวกร ใช้สถาปัตยกรรมแบบเรียบง่าย ระหว่างตะวันตกผสมผสานกับไทย และได้รับพระราชทานนามว่า " ศาลาเฉลิมกรุง " เปิดฉายปฐมฤกษ์ครั้งแรกเมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่จัดฉาย คือ " เรื่องมหาภัยใต้สมุทร "

ปัจจุบัน ศาลาเฉลิมกรุง ยังคงเปิดดำเนินการอยู่ ภายใต้การบริหารของบริษัทเฉลิมกรุงมณีทัศน์ จำกัด แต่มิได้ฉายภาพยนตร์เหมือนโรงภาพยนตร์ทั่วไปในยุคปัจจุบัน แต่ถูกยกระดับให้เป็นโรงมหรสพแห่งชาติ จัดฉายภาพยนตร์และเปิดการแสดงมหรสพสำคัญ ๆ ในโอกาสต่าง ๆ

ศาลาเฉลิมกรุง โรงมหรสพหลวงที่ยังเปิดดำเนินการมาจนปัจจุบันนี้ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 66 ถนนเจริญกรุง แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200



Create Date : 09 ธันวาคม 2550
Last Update : 9 ธันวาคม 2550 4:13:19 น.
Counter : 3971 Pageviews.

0 comments

Filmlover.BlogGang.com

land_scape_man
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]

บทความทั้งหมด