การประเมินค่างาน
การประเมินค่างาน

การประเมินค่างานเป็นวิธีการดำเนินการอย่างเป็นระบบในการจัดลำดับ ชั้นงาน (Ranking) เพื่อตีค่างานได้อย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรม โดยนำงานมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน หรือเปรียบเทียบลักษณะงานขนาด และคุณภาพความยุ่งยากของงานที่เป็นอยู่ปัจจุบันภายใต้องค์ประกอบหรือปัจจัยการประเมินที่มีระดับการวัด (Scale) ที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน เพื่อการกำหนดระดับตำแหน่งของงานต่างๆได้ สำหรับหลักเกณฑ์การประเมินค่างานนี้ ก.พ. กำหนดไว้ 2 ลักษณะ คือ
1) ตำแหน่งที่มีลักษณะบริหารและบังคับบัญชา เป็นการประเมินค่างานของตำแหน่งที่ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน ตั้งแต่หัวหน้างานระดับต้นจนถึงผู้บริหารในส่วนราชการ เช่น ตำแหน่งหัวหน้างาน ตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย ตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงาน ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับกอง (บก.) และตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานสูงกว่ากอง (บส.)
2) ตำแหน่งที่มิใช่ลักษณะบริหารและบังคับบัญชา เป็นการประเมินค่างานของตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ (ว) ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ (วช.) และตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ (ชช.)ที่มีในส่วนราชการ

องค์ประกอบในการประเมินค่างาน
หลักเกณฑ์การประเมินค่างานเป็นแนวทางที่ใช้ในการพิจารณาลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณภาพและความยุ่งยากของงานในตำแหน่ง สำหรับตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าส่วนราชการในระดับต่างๆ และตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์หรือตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ รวมทั้งการประเมินความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่ต้องการใช้ในการปฏิบัติงานของตำแหน่งนั้นๆ ด้วย ทั้งนี้ ได้กำหนด องค์ประกอบการประเมินค่างานไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ ซึ่งสะท้อนให้เห็นคุณภาพ ความยุ่งยากของงานของตำแหน่งนั้น เพื่อการกำหนดระดับตำแหน่งได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม ดังนี้
1. องค์ประกอบด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นในงาน : องค์ประกอบด้านนี้พิจารณาถึงระดับความความรอบรู้และชำนาญงาน ความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ และทักษะ ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ ที่ตำแหน่งนั้นๆ ต้องการ ซึ่งจำแนกองค์ประกอบได้ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 ความรอบรู้และชำนาญงาน : ความรู้ ความชำนาญงาน ซึ่งโดยสภาพของงานนั้นๆ จะต้องมีเพื่อปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบให้สำเร็จลุล่วงไปได้ และรวมถึงระดับและขอบเขตความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพที่จะต้องใช้ โดยมิใช่ความรอบรู้และชำนาญงานเฉพาะตัวบุคคลผู้ดำรงตำแหน่ง
องค์ประกอบที่ 2 การบริหารการจัดการ : ความรู้ความสามารถในการบริหารการจัดการที่ตำแหน่งนั้นๆ ต้องการ โดยพิจารณาลักษณะงานในบทบาทของการบริหารจัดการ ซึ่งต้องคำนึงถึงความยุ่งยากในการวางแผน กำกับ ตรวจสอบ ติดตามการปฏิบัติงาน ความหลากหลายในเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของงาน รวมถึงระดับและขอบเขตของการบริหารจัดการในงาน
องค์ประกอบที่ 3 การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ : ทักษะความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น หรือการทำงานร่วมกับผู้อื่นหรือการให้ผู้อื่นร่วมทำงาน โดยพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการติดต่อสื่อสาร รวมทั้งระดับและขอบเขตของการติดต่อสื่อสาร
2. องค์ประกอบด้านการคิดและการตัดสินใจแก้ไขปัญหา : องค์ประกอบด้านนี้พิจารณาถึงระดับในการคิดและการตัดสินใจที่ต้องการของตำแหน่งนั้นๆ โดยพิจารณาระดับความเป็นอิสระในการคิดและตัดสินใจตามสภาพแวดล้อมของสถานการณ์ของปัญหา รวมทั้งความท้าท้ายในการคิดและพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในงาน ซึ่งจำแนกองค์ประกอบได้ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 4 การปฏิบัติงานและการตัดสินใจแก้ไขปัญหา : ระดับ ขอบเขต แนวทางของการปฏิบัติงานหรือการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในงานของตำแหน่งนั้นๆ
องค์ประกอบที่ 5 ความท้าทายในความคิดหรือความคิดสร้างสรรค์ : ระดับความท้าทายของความคิดหรือความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่ตำแหน่งนั้นๆต้องการ โดยมิใช่พิจารณาที่ความสามารถในการคิดของบุคคลที่ดำรงตำแหน่ง
3. องค์ประกอบด้านภาระความรับผิดชอบ : องค์ประกอบด้านนี้พิจารณาระดับภาระความรับผิดชอบ ซึ่งพิจารณาจากความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน รวมทั้งขนาดและขอบเขตของผลกระทบของงานที่เป็นภาระความรับผิดชอบ ตลอดจนอำนาจหน้าที่ในขอบเขตความรับผิดชอบ ที่ตำแหน่งนั้นๆ ต้องการ ซึ่งจำแนกองค์ประกอบได้ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 6 อิสระในการปฏิบัติงาน : ความเป็นอิสระในการทำงาน หรือกรอบการปฏิบัติงาน หรือระดับการกำกับตรวจสอบที่ได้รับ
องค์ประกอบที่ 7 ขอบเขตผลกระทบของงาน : ระดับหรือขอบเขตของผลกระทบจากงานในตำแหน่งนั้นๆ ต่อวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
องค์ประกอบที่ 8 อำนาจที่ได้รับ/ขอบเขตความรับผิดชอบ : ขอบเขตอำนาจในการดำเนินงาน หรือระดับการได้รับมอบอำนาจในการดำเนินการ หรือขอบเขตความรับผิดชอบของตำแหน่งนั้นๆ
เกณฑ์การกำหนดระดับตำแหน่ง
การกำหนดค่าคะแนนรวมใน 8 องค์ประกอบดังกล่าว มีค่าคะแนนรวม 1,000 คะแนน เกณฑ์การกำหนดระดับตำแหน่งแต่ละระดับมีค่าคะแนนดังนี้



คะแนนที่ได้จากการประเมิน ระดับ
ตั้งแต่ 360 คะแนนขึ้นไป
ตั้งแต่ 460 คะแนนขึ้นไป
ตั้งแต่ 600 คะแนนขึ้นไป
ตั้งแต่ 760 คะแนนขึ้นไป
6
7
8
9
หลักเกณฑ์การประเมินค่างาน
สำหรับตำแหน่งที่มีลักษณะบริหารและบังคับบัญชา
หลักเกณฑ์การประเมินค่างานสำหรับตำแหน่งที่มีลักษณะบริหารและบังคับบัญชานี้ เป็นเกณฑ์ใช้พิจารณาลักษณะหน้าที่ ความรับผิดชอบ คุณภาพ ความยุ่งยากของงานในตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างานในระดับต่างๆ รวมทั้งประเมินความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่ต้องการใช้ในการปฏิบัติงานของตำแหน่งนั้นๆด้วย ทั้งนี้ โดยมีองค์ประกอบในประเมินค่างาน ดังนี้ องค์ประกอบด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นในงาน
องค์ประกอบที่ 1 ความรอบรู้และชำนาญงาน (150 คะแนน) องค์ประกอบที่ 2 การบริหารการจัดการ (100 คะแนน)
องค์ประกอบที่ 3 การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ (100 คะแนน)
องค์ประกอบด้านการคิดและการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
องค์ประกอบที่ 4 การปฏิบัติงานและการตัดสินใจแก้ไขปัญหา (100 คะแนน)
องค์ประกอบที่ 5 ความท้าทายในความคิดหรือความคิดสร้างสรรค์ (150 คะแนน)
องค์ประกอบด้านภาระความรับผิดชอบ
องค์ประกอบที่ 6 อิสระในการปฏิบัติงาน (100 คะแนน)
องค์ประกอบที่ 7 ขอบเขตผลกระทบของงาน (150 คะแนน)
องค์ประกอบที่ 8 อำนาจที่ได้รับ/ขอบเขตความรับผิดชอบ (150 คะแนน)
รวม 1,000 คะแนน
สำหรับตำแหน่งที่ไม่ใช่ลักษณะบริหารและบังคับบัญชา
หลักเกณฑ์การประเมินค่างานสำหรับตำแหน่งที่ไม่ใช่ลักษณะบริหารและบังคับบัญชานี้ เป็นเกณฑ์ใช้พิจารณาลักษณะหน้าที่ ความรับผิดชอบ คุณภาพ ความยุ่งยากของงานในตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์หรือตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะหรือวิชาชีพเฉพาะในส่วนราชการ รวมทั้งการประเมินความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่ต้องการใช้ในการปฏิบัติงานของตำแหน่งนั้นๆ ด้วย ทั้งนี้ ได้แบ่งองค์ประกอบในการประเมินค่างาน ดังนี้
องค์ประกอบด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นในงาน
องค์ประกอบที่ 1 ความรอบรู้และชำนาญงาน (200 คะแนน)
องค์ประกอบที่ 2 การบริหารการจัดการ (100 คะแนน)
องค์ประกอบที่ 3 การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ (100 คะแนน)
องค์ประกอบด้านการคิดและการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
องค์ประกอบที่ 4 การปฏิบัติงานและการตัดสินใจแก้ไขปัญหา(100 คะแนน)
องค์ประกอบที่ 5 ความท้าทายในความคิดหรือความคิดสร้างสรรค์ (150 คะแนน) องค์ประกอบด้านภาระความรับผิดชอบ
องค์ประกอบที่ 6 อิสระในการปฏิบัติงาน (100 คะแนน)
องค์ประกอบที่ 7 ขอบเขตผลกระทบของงาน (150 คะแนน)
องค์ประกอบที่ 8 อำนาจที่ได้รับ/ขอบเขตความรับผิดชอบ (100 คะแนน)
รวม 1,000 คะแนน



Create Date : 18 กันยายน 2552
Last Update : 18 กันยายน 2552 9:40:42 น.
Counter : 698 Pageviews.

3 comments
The Last Thing on My Mind - Tom Paxton ... ความหมาย tuk-tuk@korat
(1 ม.ค. 2567 14:50:49 น.)
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
ไม่ลอดช่องโหว่ ปัญญา Dh
(2 ม.ค. 2567 13:44:30 น.)
No. 1259 สาระเกือบมี (ตอนทำงานที่ใหม่ ถูกลองดี) ไวน์กับสายน้ำ
(1 ม.ค. 2567 05:58:05 น.)
  
อ.รุ่งโรจน์ อรรถานิทธิ์ ผู้อำนวยการสำรวจค่าจ้าง ให้แก่ HR Center เป็นที่ปรึกษาเรื่องการประเมินค่างาน ให้บริษัทผมครับ
อาจารย์เก่งมาก ใช้เครื่องมือที่เหมาะกับ
องค์กรไทย และฝึกให้ HR เราทำกันเป็น
ผลประเมินใช้งานได้จริง Line Manager
ยอมรับมาก ๆ ทั้ง ๆ ที่เดิมหลายคนนิยม
Consultant ต่างประเทศ ซึ่งแพงมาก
และไม่เหมาะกับบริษัท แต่พอเจอ อ.รุ่งโรจน์ ซึ่งประสบการณ์สูงมาก
Line ถึงกับยกนิ้วให้ครับ
โดย: สุรชัย IP: 119.31.61.37 วันที่: 18 มกราคม 2553 เวลา:22:13:27 น.
  
เราเป็นลูกศิษย์ อ.รุ่งโรจน์ อรรถานิทธิ์ MD ของ Thaiskillplus คนหนึ่งค่ะ เพราะ
ไปเข้าอบรมกับอาจารย์แล้ว buy-in มาก อาจารย์เก่งทั้งทฤษฏี และ ปฏิบัติ สมกับที่ีมีประสบการณ์ตรงในด้าน HR มาและทำประเมินค่างานให้องค์กรต่าง ๆเยอะมาก เราถามเพื่อนที่เคยเชิญอาจารย์มาเป็นที่ปรึกษา พบว่า Happy กับ อาจารย์กันมาก เสียดายบริษัทเรา
เสียเงินจ้างคนอื่นไปแล้ว และก็นำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้ ฮือ ฮือ รู้จักอาจารย์ช้าไป
โดย: คิดตี้ IP: 203.144.144.164 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:03:31 น.
  
เราเป็นลูกศิษย์ อ.รุ่งโรจน์ อรรถานิทธิ์
เหมือนกัน และ ศรัทธาในความเ่ก่งจริง
และเราก็ยังเป็นลูกศิษย์ของ อ.อุไรวรรณ
อยู่ชา ซึ่งทั้งเก่งทั้งบรรยายได้สนุกได้ประโยชน์มาก ประสบการณ์สูงมาก
ดังนั้น ตอนนี้เรา ก็เลยยกให้
Thaiskillplus เป็นบริษัทที่ปรึกษา
ซึ่งอยู่ในใจเราไปแล้วค่ะ
โดย: ริสา IP: 203.144.144.164 วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:18:33 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Drmen.BlogGang.com

sunchart
Location :
ยโสธร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]