ตายๆๆ !!! ความวัว 'มติชน' ยังไม่ทันหาย ความควาย 'กสช.' ก็เข้ามาแทรก อะไรกันหนักหนานี้


ดูครับดู ทุกท่าน เรื่องของมติชนควันยังไม่ทันหาย เรื่อง กสช.ที่รอคอยกันมาชาติหนึ่งก็มาฮอตแทน

ช่วงนี้ประเด็นสื่อนี้น่าจับตามองจริง ๆ

เท้าความกันก่อน สำหรับใครที่ไม่ได้ติดตาม เริ่มเรื่องมาจาก มาตรา 40 ยอดฮิตแห่งรัฐธรรมนูญปี 2540 เขาบอกว่าสื่อเป็นของสาธารณะ ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่งแม้แต่รัฐบาล ในเมื่อมันเป็นสาธารณะ ใครมาใช้ก็ได้ ถ้าไม่มีการจัดการมันก็จะยุ่ง ก็เลยมีการตั้งคณะกรรมการกิจการวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ กสช.ขึ้นมาเพื่อที่เป็นคนจัดสรรคลื่นต่าง ๆ

โดยกรรมการที่คัดสรรมานี้มี 7 คน คุณสมบัติที่พึงมีก็คือ มีความรู้เกี่ยวกับสื่อและการปฎิรูปสื่อ ที่สำคัญคือไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน คือไม่ไปมีเอี่ยวได้เงินจากองค์กรอื่นน่ะ เดี๋ยวมันไม่แฟร์กับชาวบ้านคนอื่น

เวลาก็ผ่าน 8 ปีครับ กสช.ก็ยังไม่แล้วสักที บ้างก็ว่าคุณสมบัติของผู้สมัครไม่ได้ บ้างก็ว่ารัฐบาลเตะถ่วง เพราะมีเมื่อไรรัฐเสียประโยชน์ อันนี้ก็ว่ากันไป

ไม่คิดไม่ฝันละครับว่าชาตินี้จะได้เห็น

จนมาเมื่อวันอังคาร อุ๊ย! นอนอยู่ดี ๆ ก็มีข่าวลอยมาจากวิทยุเข้าสู่โสตประสาทว่า สว.คัดเลือก กสช.ได้แล้ว (มีคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติชุดหนึ่งก่อน แล้วก็ยืนให้สว.เลือก 7 จาก 14 คน)

คราวนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นมันอยู่ที่ว่าท่าน สว. ทั้งหลายรีบตัดสินใจกันไวเกินไปครับ ทั้ง ๆ ที่ศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินก่อนหน้านี้ว่าคุณสมบัติของผู้สมัครคือ พลเอก ธงชัย เกื้อสกุล และ นางสุพัตรา สุภาพ มีความสัมพันธกับพล.ท.สุนทร โสภณศิริ กรรมการสรรหา กสช. ไม่ผ่านการคัดเลือก เนื่องจากว่ามีผลประโยชน์กับคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติ

เมื่อเป็นเช่นนี้ เรื่องก็ควรจบลง แล้วหาคนใหม่มาพิจารณา แต่ สว.ท่านกลับไม่เห็นหัว พิจารณากันซะ (บอกว่าจะได้รีบมาแก้ปัญหาวิทยุชุมชน)

กรณีนี้เหมือนกรณีของอดีตผู้ว่า สตง. คุณหญิงจารุวรรณ เด๊ะเลย

ส่วนตัว กสช. ทั้ง 7 ที่ถูกคัดเลือกเข้ามา ก็เป็นข่าวเม้าท์ว่ามีการล็อบบี้กัน เพราะก่อนหน้านั้นมีข่าวออกมาเด๊ะ ๆ เลยว่าใครจะได้ แถมคะแนนที่ลงโหวตให้ ยังเหมือนกันตั้ง 83 ใบ

สว. กาเหมือนกันเด๊ะ 83 ใบ ก็เลยคิดกันว่าเฮ้ยมีอะไรเปล่าว่ะ

ผู้สมัครบางคนที่เป็นตัวเต็งได้รับการแต่งตั้งอย่างท่านอดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (จำชื่อไม่ได้) ก็ได้รับแค่ 4 คะแนน

เรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนนี้สำคัญมาก เพราะหากมีใครคนใดคนหนึ่งเกิดอยากเอื้อเฟื้อให้เพื่อนพ้องมากกว่าชาวบ้าน มันก็ไม่เป็นธรรมใช่ไหมครับ

คราวนี้มันก็เหมือนเดิม บริษัทใหญ่ ๆ ก็พยายามส่งคนของตัวเองเข้าไปเป็น กสช. เพื่อที่แสวงหาประโยชน์จากจุดนั้น

นอกนั้นสิ่งที่กังวลกันเกี่ยวกับ กสช. ก็สรุปได้ดังนี้

1. อดีตข้าราชการในกลุ่มสื่อของรัฐ เช่น สื่อเครือกองทัพ กรมประชาสัมพันธ

2.เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดสนิทสนมกับกลุ่มทุนสื่อวิทยุ-โทรทัศน์

3.เป็นกลุ่มคนที่ไม่เคยปรากฏวิสัยทัศน์เรื่องการปฏิรูปสื่อ

4.เป็นกลุ่มคนที่มีข้อครหาเรื่องการมีผลกระโยชน์ทับซ้อนและสำคัญที่สุดคือ

5.ไม่มีตัวแทนของกลุ่มชุมชน คนท้องถิ่น และตัวแทนผู้บริโภคเลย


กรณีเช่นนี้น่ากลัวกว่าเรื่องของการซื้อหุ้นมติชนของแกรมมี่เสียอีก เพราะซื้อไปก็คุมได้แต่ที่ตัวเองซื้อ แต่นี้มันคุมได้ทั้งหมด

คนทำสื่อตัวเล็ก ๆ ก็คงต่อสู้อะไรกับบิ๊ก ๆ ทั้งหลายไม่ได้

สิ่งที่ต้องรอดูต่อไปก็คือ วุฒิสภายังกล้ายืนเรื่องให้ในหลวงแบบกรณีคุณหญิงจารุวรรณหรือไม่ กรณีนี้ผิดชัดเจนกว่ากรณี สตง.มาก เพราะคนในคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติยังออกมาพูดเลยว่าตนเองผิด

ระงับไว้ก่อนเถิดครับท่าน มันล่วงมาแปดปีแล้ว ให้มันต่อไปอีกหน่อยไม่เป็นไรหรอก หรือกลัวคุณสุพัตราจะอายุเกิน 70 แล้วเป็นไม่ได้

ทำอะไรก็ให้มันถูกแต่ต้นเถิด บทเรียนก็เห็นมาแล้ว ยังจะดื้อดึงดันอีก

เรื่องนี้ติดตามกันต่อไปครับ concern citizen อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ อย่าได้ปล่อยวาง เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ตัดสินอนาคตเรื่องสื่อของประเทศไทยเลยนะครับ



Create Date : 30 กันยายน 2548
Last Update : 30 กันยายน 2548 17:03:27 น.
Counter : 1657 Pageviews.

12 comments
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
๏ ... รามคำแหง แรงคำหาม ... ๏ นกโก๊ก
(2 ม.ค. 2567 14:22:51 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
No. 1259 สาระเกือบมี (ตอนทำงานที่ใหม่ ถูกลองดี) ไวน์กับสายน้ำ
(1 ม.ค. 2567 05:58:05 น.)
  
เอาอีกแล้ว
โดย: rebel วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:12:12:27 น.
  
คิดมาตั้งนานแล้วอ่ะค่ะ
ว่าถ้ามี กสช.
ก็จะมีกลุ่มคนรวบอำนาจสื่ออย่างเบ็ดเสร็จ
เอาๆ เข้าไป
เมื่อทุนนิยมและอำนาจรัฐรวมกัน
ประชาชาชนจะไปอยู่ที่ไหน
โดย: grappa วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:12:12:51 น.
  
ก็คงต้องรอดูกันต่อไป ส่าอะไรจะเกิดขึ้นอีก
โดย: ค้างคาว (Batgirl 2001 ) วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:12:19:50 น.
  
ประชาชนอย่างเรา ๆ ต้องต่อสู้ครับ

อย่าให้ใครมาครอบงำพวกเราได้
โดย: I will see U in the next life. วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:13:18:06 น.
  
โดย: มอสทาร่ายักษ์ วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:13:21:07 น.
  
เสริม ประวัติของ กสช.ทั้ง 7 ท่าน (จากมติชน)

*นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ

เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2499 จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาการเมือง การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันมีอาชีพสื่อมวลชน ผู้ดำเนินรายการวิทยุและโทรทัศน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทบางกอกมีเดีย เอเยนซี่

*พล.อ.ธงชัย เกื้อสกุล

เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2484 จบการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต โรงเรียนนายร้อย จปร. วุฒิบัตรสาขาวิชาป้องกันประเทศ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ

*นายบุญเลิศ ศุภดิลก

เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2485 จบการศึกษาปริญญาโทและเอกด้านสื่อสารมวลชนจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน วบ.(เกียรตินิยม) สาขาวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาชีพปัจจุบัน เป็นผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษา สาขาวิชานิเทศศาสตร์ สาขาการสื่อสารการตลาด(หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

*นายพนา ทองมีอาคม

เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2490 จบการศึกษานิเทศศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทสาขาวิชาโฆษณา มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ปริญญาเอกสาขาวิชานิเทศศาสตร์สหสาขา มหาวิทยาลัยเท็กซัส แอท ออสติน สหรัฐอเมริกา อาชีพปัจจุบัน รองศาสตราจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

*นายสุพงษ์ ลิ้มธนากุล

เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2495 จบการศึกษาปริญญาโทด้านการตลาด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ลองบีช ปริญญาเอกด้านบริหารธุรกิจ ด้านการตลาดระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยซาน กาเบรียล อาชีพปัจจุบัน รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

*นางสุพัตรา สุภาพ

เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2480 จบการศึกษาปริญญาตรีรัฐประศาสนศาสตร์(เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทด้านรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทด้านสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยไอโอวา สหรัฐอเมริกา อาชีพปัจจุบัน คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์และนิตยสารประมาณ 10 ฉบับ

*นางโสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์

เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2492 จบการศึกษาปริญญาตรีครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทด้านจิตวิทยาสังคม มหาวิทยาลัยนอร์ธเทิร์น โคโลราโด สหรัฐอเมริกา ปริญญาเอก ด้านจิตวิทยาและการให้บริการปรึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ธเทิร์น โคโลราโด อาชีพปัจจุบัน ประธานมูลนิธิโสภาธารน้ำใจ เพื่อพัฒนาสังคมไทย
โดย: I will see U in the next life. วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:13:30:32 น.
  
ส่วนอันนี้เป็นทัศนะเกี่ยวกับการปฎิรูปสื่อแต่ละท่าน (มติชนเช่นกัน)

1.นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ

ภารกิจที่ผมเห็นว่าสำคัญที่สุดของ กสช.ก็คือ การลดและขจัดการผูกขาดทางด้านคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ เนื่องจากปัจจุบันคลื่นความถี่โทรทัศน์และวิทยุอยู่ในมือของคนบางส่วน ที่ควรแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการวิทยุและโทรทัศน์รายกลางและย่อย รวมทั้งประชาชน มีส่วนร่วมในการจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์

ส่วนการจัดสรรคลื่นความถี่นั้นคงต้องดำเนินไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 40 แล้วก็ดำเนินการตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ.2543 ซึ่งจุดหลักของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่นั้น มีเป้าหมายสำคัญว่าคลื่นความถี่เป็นสมบัติสาธารณะ ไม่ใช่ของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

หน้าที่สำคัญที่ของ กสช. ในความคิดของผมก็คือการร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยยึดหลักความโปร่งใส การพัฒนาทางเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากรให้ก้าวทันโลก สิ่งสำคัญที่สุดอีกจุดหนึ่งคือการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยให้ประชาชนรายเล็ก กลาง มีโอกาสเข้าไปจัดสรรคลื่นความถี่มากขึ้น แทนที่จะให้บริษัทใหญ่ๆ ยึดครองคลื่นวิทยุหลายๆ สถานี โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาไพรม์ไทม์

นอกจากนี้ผมเห็นว่าช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ควรถูกใช้ให้เป็นประโยชน์มากกว่าปัจจุบันที่เน้นแต่รายการเกมโชว์ วาไรตี้ ละคร มากเกินไป ควรจะนำมาเป็นช่วงการนำเสนอสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ เช่น ข่าวการศึกษา ศิลปะ วัฒนธรรม



2.พล.อ.ธงชัย เกื้อสกุล

ผมเห็นว่าภารกิจสำคัญที่สุดของ กสช. ก็คือเรื่องความมั่นคงของชาติ ผมเห็นว่าสื่อวิทยุและโทรทัศน์นั้นมีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติเพราะเป็นสื่อที่เข้าถึงประชาชนได้มาก เช่นกรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส รวมทั้งสงขลาและสตูล ซึ่งมีวิถีการดำเนินชีวิตในแบบของไทยมุสลิม หากฝ่ายความมั่นคงของชาติไม่ไดัคำนึงถึงวิถีชีวิตของเขา ก็ไม่สามารถจะเข้าใจหัวใจของพี่น้องไทยมุสลิม

ดังนั้นหากผมได้เป็น กสช. สิ่งแรกที่ผมจะทำคือการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ในพื้นที่ ในลักษณะวิทยุเฉพาะกิจประจำถิ่นโดยใช้ภาษาถิ่นคือมลายู และก็ใช้คนในท้องถิ่นเป็นวิทยากร ขณะเดียวกันก็สื่อความเข้าใจจากภาครัฐไปสู่องค์กรที่เป็นวิทยุและโทรทัศน์ประจำพื้นที่นั่นเอง เชื่อว่าจะสร้างความสมานฉันท์และสร้างความรู้สึกที่ดีได้

ในทางทหารถือว่าวิทยุและโทรทัศน์ เป็นยุทโธปกรณ์สงคราม ดังนั้นนี้ควรมีการใช้สถานีวิทยุเฉพาะกิจเคลื่อนที่อยู่ในพื้นที่สำคัญๆ ที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น โดยใช้วิทยุสั้นๆในพื้นที่เล็กๆ 15-20 กิโลเมตร เคลื่อนที่เข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน เชื่อว่าจะได้รับความร่วมมือจากประชาชน แต่ทั้งนี้ไม่ใช่นำคนภาคกลางเข้าไป จะต้องใช้คนท้องถิ่น

ขณะเดียวกันหน่วยข่าวกรอง กระทรวงมหาดไทย หรือสภาความมั่นคง ควรใช้วิทยุชุมชนให้เกิดประโยชน์ โดยเอาวิทยุชุมชนไปตรึงไว้ตามชายแดน



3.นายบุญเลิศ ศุภดิลก

สิ่งแรกที่ผมจะผลักดันคือ การมี พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ เพื่อนำไปจัดสรรคลื่นความถี่ จากนั้นก็จะต้องมีการร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดสรรคลื่นความถี่ โดยการร่างแผนแม่บทนี้ต้องเปิดให้ผู้ประกอบการ สื่อมวลชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ขณะเดียวกัน กสช.ก็ต้องมีการประชุมเรื่องนี้ร่วมกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.)

ส่วนหน้าที่ของ กสช.นั้น ผมเห็นว่ามี 2 ประการสำคัญ คือ 1.เป็นผู้จัดสรรคลื่นความถี่ ด้วยการออกใบอนุญาตจัดสรรและใบอนุญาตประกอบการ 2.ทำหน้าที่เป็น regulator คือกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แต่ไม่ใช่การไปควบคุม(control) ขณะเดียวกันจะมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

นอกจากนี้ จะสนับสนุนให้วิทยุและโทรทัศน์ที่เป็นบริการสาธารณะ เช่นด้านศาสนา วัฒนธรรม โดยจะมีการจัดตั้งกองทุนขึ้นมาสนับสนุน

ผมต้องการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีความเป็นวิชาชีพ เหมือนแพทย์ วิศวกร และให้สมาคมที่ประกอบวิชาชีพมีจรรยาบรรณ จริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคม มีเสรีภาพแต่ต้องไม่กระทบกระเทือนต่อศีลธรรมอันดีงาม



4.นายสุพงษ์ ลิ้มธนากุล

ผมได้ติดตามสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสไว้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จึงเห็นว่าภารกิจสำคัญที่สุดของ กสช. นอกจาเหนือจากการกำหนดนโยบายและแผนแม่บทแล้ว สิ่งที่จะต้องรีบทำคือการใช้สื่อกระจายความถูกต้องและแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้บรรดาเกษตรกรได้ทราบว่าในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมนั้นทำอย่างไรจะมีความสำเร็จไม่เป็นหนี้สิน เพราะปัจจุบันเกษตรกรมีหนี้สินมาก

นอกจากนี้ควรใช้สื่อ ให้ความรู้แก่ประชาชนภาคเกษตรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทำการเช่าสถานีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่วังไกลกังวล โดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ปีละหลาย 10 ล้านบาท เพื่อเช่าสัญญาณดาวเทียมเพื่อส่งกระจายเสียงไปยังพื้นที่ทุรกันดาร

ถ้า กสช.สามารถเข้าไปสนับสนุนโครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ก็จะทำให้เด็กนักเรียนด้อยโอกาส ยากจน ในต่างจังหวัดได้รับประโยชน์ เพราะคนเหล่านี้ช่วงเวลากลางวันเด็กเหล่านี้ต้องออกไปช่วยพ่อแม่ทำเกษตรกรรม แต่พอกลับมาบ้านก็ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือแล้ว เพราะกลับมาก็มีแต่รายการที่ไม่ประโยชน์ เช่น เกมโชว์ ละคร


5.นายพนา ทองมีอาคม

สิ่งที่ผมเห็นว่าควรรีบทำก่อนเลยก็คือการประสานกับ กทช.เพื่อจัดทำแผนแม่บทคลื่นความถี่ของประเทศ อาจมีการกำหนดว่าจำนวนคลื่นที่ต้องนำมาใช้ในกิจการวิทยุโทรทัศน์จะต้องเท่าไหร่ จากนั้นก็มากำหนดสัดส่วน โดยฟังเสียงประชาชนเป็นหลัก นอกจากนี้ก็ควรมีการกำหนดมาตรฐานด้านการสื่อสารที่ชัดเจน เพราะปัจจุบันบางประเทศก็ไปเรื่องโทรทัศน์ดิจิตอลแล้ว

เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือการจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชน รัฐหรือธุรกิจ ในส่วนของภาคประชาชนก็ต้องว่าไปตามกฎหมาย เรื่องวิทยุชุมชนก็ต้องดูว่าถูกใช้ไปเพื่อชุมชนจริงหรือไม่ ต้องมีการตรวจสอบ ต้องดูว่าจะควบคุมดูแลกันอย่างไร อีกอันหนึ่งที่สำคัญมากคือการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม

6.นางสุพัตรา สุภาพ

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ กสช.ต้องเป็นคนคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต กล้าทำ มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่อยู่ในอาณัติของใคร สื่อมีผลกระทบต่อสังคม ชาติ ครอบครัว ดังนั้น กสช.ที่ดีจะต้องมีการกำหนดระเบียบ โดยต้องมีการจัดระดับ(rate) ของคนดู เพราะทุกวันนี้คนทุกวัยดูรายการเดียวกันได้หมดเลยทั้งที่บางครั้งเป็นเรื่องล่อแหลม รุนแรง เช่นละคร ซึ่งจะทำให้เด็กซึมซับไปทุกวัน จะต้องถือหลักว่าต้องทำเพื่อประชาชน ไม่ใช่เห็นแก่เงิน การจะมีเกมบันเทิงอะไรต่างๆ ก็มีไปเถอะ แต่ขณะเดียวกันเราไม่ควรละเลยอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

7.นางโสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์

จุดแรกที่ดิฉันมองไว้คือ จะพยายามให้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสื่อให้มีเนื้อหาสาระที่เกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด ทั้งระดับชาติและท้องถิ่น นอกจากนี้จะจัดสรรคลื่นความถี่โดยให้คนทุกกลุ่มในสังคมมีโอกาสใช้สื่อทั้งในแง่ผู้ผลิตและผู้รับสื่ออย่างเป็นธรรมและเหมาะสม หลังจากนั้นก็ให้ประชาชนเข้ามามีปากมีเสียงในการบริหารเพื่อกำหนดเนื้อหาสาธารณะ เพราะดิฉันเห็นว่าปัจจุบันเนื้อหาสาระยังไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 40 โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล ส่วนใหญ่เนื้อหาสาระจะมุ่งเน้นคนในกรุงเทพฯ ทั้งที่คนกรุงเทพฯคิดเป็นสัดส่วน 15% ของประชากรทั้งประเทศ เหตุที่เนื้อหาสาระมุ่งไปคนที่กรุงเทพฯและเมืองใหญ่ของประเทศก็เพราะคนกลุ่มนี้มีกำลังซื้อสูง

สื่อจึงมองกลุ่มนี้เป็นสำคัญเพื่อผลตอบแทนทางธุรกิจในเรื่องวิทยุชุมชน ที่มีปัญหาว่าเกิดคลื่นรบกวนคนอื่นบ้าง หรือนำไปแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจบ้าง ดิฉันก็จะแยกออกมาว่าจะจัดการปัญหาอย่างไร
โดย: I will see U in the next life. วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:13:39:00 น.
  


ตามจนท้อค่ะ เหนื่อยใจ

บางทีก็ไม่รู้จะทำไง ได้แต่ สวดส่ง

ก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว ขนาดฝ่ายค้านยังเสียงสู้รัฐบาลไม่ได้เลย

ประชาธิปไตย ยังมีหลงเหลืออยู่ในประเทศไทยอีกหรือคะ

นอกจากประชาธิปไตยจอมปลอม

โดย: แก๊ซซ่า (แก๊ซซ่า ) วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:14:01:46 น.
  
โอ...ชีวิตชั้น

เมื่อไหร่ประเทศไทยจะพ้นจากการแย่งชิงอำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตนซะทีเนี่ย
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:14:18:26 น.
  
คอยดูต่อไปว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะวงการวิทยุและโทรทัศน์
โดย: ชายคา วันที่: 3 ตุลาคม 2548 เวลา:1:24:49 น.
  
Good write-up, I??m normal visitor of one??s blog, maintain up the nice operate, and It's going to be a regular visitor for a long time.
Discount Louis Vuitton //www.trufill.co.uk/
โดย: Discount Louis Vuitton IP: 94.23.252.21 วันที่: 2 สิงหาคม 2557 เวลา:12:45:20 น.
  
As I web-site possessor I believe the content material here is rattling excellent , appreciate it for your hard work. You should keep it up forever! Good Luck.
Louis Vuitton Outlet Bags //www.trufill.co.uk/
โดย: Louis Vuitton Outlet Bags IP: 94.23.252.21 วันที่: 4 สิงหาคม 2557 เวลา:9:29:10 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Djdonk-mc43.BlogGang.com

I will see U in the next life.
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด