Singha Biz Coures มาเหนือเมฆ Singha Biz Coures มาเหนือเมฆ ![]() เมื่อสัปดาห์ก่อน ระหว่างที่ผมเดินไปเรียนที่ตึกด้านหลังของมหาวิทยาลัย ขณะเดินอยู่ก็ผ่านป้ายประชาสัมพันธ์หน้าโรงอาหาร ป้ายมีขนาดสูงเกือบ 2 เมตร กว้างประมาณ 1.5 เมตร พื้นหลังของป้ายเป็นสีดำ ตรงกลางป้ายเป็นอักษรสีเหลือง เขียนขนาดตัวใหญ่ได้ใจความว่า Singha Biz Coures เหลือบตามองลงต่ำมาอีกนิด จะเห็นรายละเอียดของกิจกรรม Singha Biz Coures ข้อจำกัดของโครงการนี้ คือ คุณต้องเป็นนักศึกษาปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 3 หรือ 4 จึงจะมีสิทธิ์เข้าร่วมในโครงการนี้ได้ ด้านขวาของป้ายประชาสัมพันธ์ มีตาราง Road Show ซึ่งจะเป็นการทำกิจกรรมในสถาบันการศึกษาชื่อดังต่างๆ ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนปีนี้ ไปถึงกลางเดือนมกราคมปีหน้า โครงการ Singha Biz Coures เป็นโครงการที่เฟ้นหานักธุรกิจรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่มีความคิดสร้างสรรค์ ได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์การทำงานจริง กับสาขาที่ตนเองสนใจหรือกำลังศึกษาอยู่ น่าเสียดายถ้ายังเยาว์วัยกว่านี้อีกสักนิด ก็คงจะไม่พลาดโอกาสแบบนี้ รุ่นน้องที่มีความสนใจเข้าไปที่ //www.singhabizcourse.com ดูนะครับ ประโยชน์ที่นักศึกษาพึงจะได้รับการจากเข้าร่วมกิจกรรม คือ การทำงานและการเรียนรู้ที่ไม่มีอยู่ในห้องเรียนซึ่งจะเป็นประโยชน์มากสำหรับอนาคตข้างหน้า แต่หากมองกลับกันแล้ว โครงการ Singha Biz Coures ล่ะ จะได้อะไรจากที่ค้นหาและเฟ้นหัวกะทิจากแต่ละสถาบัน โครงการนี้ใช้เงินไปร่วมๆ 20 ล้านบาท มันไม่ใช่เม็ดเงินที่ให้ประโยชน์กับนักศึกษาเพียงอย่างเดียว เม็ดเงินที่ทุ่มไปนี้ต้องเป็นประโยชน์ย้อนกลับมาให้กับสิงห์เช่นกัน ประโยชน์ที่ว่านั้นคือการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายในระยะยาว (Long-term Relationship) ย้อนไปหลายปีก่อน เดิมทีแล้วแบรนด์สิงห์เป็นแบรนด์ที่เก่าแก่แต่เต็มไปด้วยความคลัง กลุ่มเป้าหมายของเบียร์สิงห์จะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน คือ เบียร์สิงห์สำหรับคนมีอายุวัยทำงาน เบียร์ลีโอสำหรับวัยรุ่น ไทเบียร์สำหรับชนชั้นรายได้ต่ำ ภายหลังมีเบียร์อีสานอีกด้วย กลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มต่างมีแบรนด์รองรับกลุ่มทั้งหมด สิงห์ใช้เวลาสร้างการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายได้ทั้ง 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มต่างมีจุดยืนที่แตกต่างและชัดเจน สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันหมดภายใต้เครื่องหมาย สิงห์ ในภาษาทางการตลาดเรียกว่า การเพิ่ม Product line จากที่เคยมีแค่เบียร์สิงห์เท่านั้น ก็ออกแบรนด์ใหม่เป็น ลีโอเบียร์ หรือ ไทเบียร์ เป็นต้น การเพิ่ม Product line แบบนี้ เป็นการเพิ่มในแนวดิ่งให้บริษัทมีมิติของสินค้า ![]() แต่เมื่อเวลาผ่านไป (จริงๆผ่านไปไม่กี่ปีเอง) กลุ่มผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น เริ่มจดจำแบรนด์สิงห์เป็นแบรนด์ที่มีอายุมากขึ้น จนรู้สึกว่าขาดความคุ้นเคยกับตราสิงห์นี้ ต่างกับแบรนด์ลีโอ ทุกครั้งที่มีการสังสรรค์กันเมื่อไหร่ จำเป็นต้องมีลีโอประดับโต๊ะด้วยทุกครั้งไป แน่นอนครับ ! เมื่อเป็นนักศึกษา พวกเขาเลือกดื่มลีโอโดยไม่มีข้อยกเว้น แต่เมื่อย่างเข้าสู่วัยทำงาน พวกเขาอาจจะเลือกดื่มแบรนด์ไฮเนเก้น แทนสิงห์ก็เป็นได้ โครงการ Singha Biz Coures จึงเกิดขึ้น โดยเชื่อว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษา และกำลังย่างเข้าสู่วัยทำงาน จากที่เคยดื่มลีโอสมัยเป็นนักศึกษา เมื่อทำงานมีรายได้ ก็ควรหันมาเพิ่มระดับตัวเอง ด้วยการดื่มเบียร์สิงห์แทน (ไม่ใช่หันไปดื่มไฮเนเก้นแทน) ซึ่งสิงห์พยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวให้กับคอเบียร์ใหม่ๆ สร้างแบรนด์สิงห์ให้ไปอยู่ในใจของผู้บริโภค ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมน้ำเมาที่ใช้กลยุทธ์นี้ในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ก่อนหน้านี้ในธุรกิจการเงินก็มีให้เห็นเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ธนาคาร มีผลิตภัณฑ์รองรับตั้งแต่เป็นทารกจนไปถึงเสียชีวิต เมื่อคุณลืมตาดูโลก พ่อแม่คุณก็จะเริ่มฝากเงินประจำให้ เมื่อคุณเริ่มเข้าเรียนมหาวิทยาลัย พ่อแม่คุณอาจจะกู้เงินจากธนาคารนั้นสำหรับค่าเล่าเรียน พอคุณเรียนจบแต่งงงาน อยากมีบ้าน คุณจะหาสินเชื่อสำหรับซื้อบ้าน ซึ่งผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดตั้งแต่คุณลืมตาดูโลกยันซื้อโลงศพ คุณสามารถใช้บริการจากธนาคารเดียวกันได้ทั้งหมด ขายของเดิม แต่ขายให้คนใหม่ ? ต้องหาลูกค้าใหม่เสมอ ขายให้คนเดิม และขายของใหม่ ? รักษาลูกค้าเก่าตามช่วงอายุของลูกค้า โครงการ Singha Biz Coures อาจจะเป็นเพียงโครงการเริ่มต้นสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวเท่านั้น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มเป้าหมายจำเป็นต้องอาศัยกลยุทธ์อื่นๆ วิธีการ และใช้เวลา รวมถึงคำนึงถึงคู่แข่งทางตรงอย่างไฮเนเก้น และคู่แข่งทางอ้อมอย่างสุราด้วย อย่างไรก็ตาม มันคือก้าวแรกของการสร้างความภักดีต่อตราสินค้า โครงการ Singha Biz Coures แม้จะเริ่มต้นได้เดือนกว่าแต่เท่าที่ประเมินจากสายตา น่าจะประสบความสำเร็จทีเดียว อย่างน้อย ก็ในแง่ของการสร้างความคุ้นเคยให้กับกลุ่มเป้าหมายซึ่งไม่ว่าใครที่เรียนอยู่ในสถาบันที่เข้าร่วมโครงการก็ต้องเห็นป้ายประชาสัมพันธ์ และความรู้สึกนี้เป็นฐานสำคัญของการก้าวสู่สาวกคอเบียร์ในที่สุด คิดไปคิดมาแล้ว เกรงว่าโครงการนี้ไม่ได้สนับสนุนให้นักศึกษาพัฒนาทักษะตัวเองมากขึ้น แต่กลัวว่าจะเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้นักศึกษาดื่มเบียร์กันมากขึ้นน่ะสิ สถานที่ๆที่สิงห์จัดกิจกรรม อยู่ในสถาบันอุดมศึกษา ไม่น่าเชื่อว่า มหาวิทยาลัยอนุญาตให้น้ำเมาเข้ามาทำกิจกรรมทางการตลาดได้ อีกหน่อยคงเปิดซุ้มชิมเบียร์ได้แหงๆ 555+++ เธญเธทเธก เธเธฃเธดเธเธเนเธงเธข
เนเธเนเธเธฐเธงเนเธฒเนเธเธเนเธณเนเธกเธฒเธเธตเนเธเนเนเธเนเธเนเธชเนเธเธเธนเนเธเธเธฒเธเธเธฑเธเธเธตเธงเธดเธเธเธฑเธเธจเธถเธเธฉเธฒเนเธเธขเธธเธเธซเธฅเธฑเธเน เธเนเธฒเธเธฐเนเธซเนเนเธเธฅเธตเนเธขเธเธงเธดเธเธตเธเธตเธงเธดเธเนเธเธเธเธตเนเธเธเธเนเธญเธเนเธเนเธฃเธฐเธขเธฐเนเธงเธฅเธฒเธเธตเนเธเธฒเธเธกเธฒเธเนเนเนเนเธเนเน เธเธญเธเธญเธเธเธธเธเธเนเธญเธกเธนเธฅเธเธตเนเนเธเธเธเธตเนเธเธฃเธฑเธ โดย: Hi IP: 58.10.170.140 วันที่: 15 ธันวาคม 2551 เวลา:17:07:40 น.
ความคิดดีนะครับ เขากะจับกลุ่มลูกค้ายาวๆเลย ผมคนนึงที่ชอบกินเบียร์ ผมก็กินแต่ ลีโอกับสิงห์นี่แหละ
ส่วนเรื่องการจัดกิจกรรมผ่านทางนักศึกษา ผมคิดว่าอยู่ที่วุฒิภาวะของแต่ละคนมากกว่าเพราะระบุว่าปี3หรือ4 ซึ่งอายุน่าจะ 20ปีขึ้นไปน่าจะคิดได้แล้ว(ถ้าเรียนทางด้านการตลาดควรจะดื่มเป็นบ้างเพราะต่อไปทำงานอาจต้องมีการเข้าสังคมหรือดื่มกับลูกค้า) เพราะการดื่มเบียร์ไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่ต้องดื่มให้เป็น ถูกที่ถูกเวลามากกว่า โดย: Tong IP: 202.90.124.50 วันที่: 26 มกราคม 2552 เวลา:15:51:48 น.
ขออนุญาติเอาข้อมูลไปให้ประกอบรายงานนะค่ะ
โดย: ใบตอง IP: 101.108.207.92 วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:20:35:17 น.
|
บทความทั้งหมด
|
เราผ่านมาในนี้บล็อคนี้ พอดีกำลัง หาข้อมูลโครงการนี้อยู่ พอได้อ่านแล้ว
เราก็ลองมองอีกมุมแบบที่เธอว่า มันก็จริงแฮะ การตลาดแนวใหม่ ... แต่ก็จะลองดู
เขียนเก่งจัง