ลิ่มเอี๋ยว 林耀 : เจ้าสำนักใหญ่ด้านจิตรกรรมจีนแห่งสยามประเทศ








อจ.โอภาส หาญวานิช
( ลิ่มเอี๋ยว )
ลายเซ็น ตราประทับ
" 林 耀 "




.......................................................




ได้เล่าเรื่องราวของจิตรกรจีน-ญี่ปุ่นมาหลายเอ็นทรี่แล้ว

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจิตรกรที่อยู่นอกประเทศไทย

คราวนี้จะขอเก็บเอาเรื่องราวและผลงานของเจ้าสำนักใหญ่ในเมืองไทยบ้าง

จะเรียกว่าท่านเป็นมืออาชีพก็คงไม่ผิด

ท่านมีชื่อไทยว่า อจ. โอภาส หาญวานิช 

แต่รู้จักกันดีว่า อจ. ลิ่มเอี๋ยว (林耀)  จีนกลางอ่านว่า หลินหย้าว

ปัจจุบันอายุท่านคง.....ปาเข้าไปสัก 95 ขวบแล้วมั้ง

เพราะรู้จักท่าน(ฝ่ายเดียว) มาตั้งแต่ปี 2510+  เพราะได้ชมนิทรรศการของท่านหลายครั้ง

ยุคนั้น...ธนาคารศรีนคร ของเจ้าสัวอุเทน เตชะไพบูลย์ เป็นโต้โผใหญ่ทางศิลปะจีน

ตัวท่านเจ้าสัว เรียกกันอย่างลำลองว่า "โหงวเล้า" มีฝีไม้ลายมือทาง "อักษรศิลปะของจีน"

ทางเดียวกับที่คุณไฮกุโชว์ฝีมือเขียนพู่กันในบล๊อกแกงค์นี่แหละ



อาคารสำนักงานใหญ่ของธนาคารศรีนคร ที่อยู่แถวสวนมะลิ

เป็นรมนียสถานของผมและเพื่อนพ้องได้อาศัยเป็นที่เสพศิลปะภาพวาดจีน

เป็นที่น่าเสียดายมากที่บัดนี้กิจกรรมอันทรงคุณค่าด้านนี้ . . . ขาดผู้อุปถัมภ์ค้ำชูไปแล้ว

หากจะมีเศรษฐีเถ้าแก่ใหญ่ท่านใดคิดจะรื้อฟื้นการสนับสนุนศิลปะจีนด้านนี้ขึ้นมาอีก

คงจะเป็นคุณูปการสร้างสุนทรียรสอีกสายหนึ่งให้กับชีวิตอันแห้งผาก-กรากกระด้างของเรา

ให้มีสิ่งงดงามมาเลี้ยงหล่อให้อ่อนโยนละมุนลไม ชุ่มชื่นแจ่มใสไปอีกนานๆ



ประวัติสังเขปที่น่าสนใจของท่าน อจ.ลิ่มเอี๋ยว

พศ.2460  - เกิดที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
                - อายุ 13 ปี เริ่มเรียนการวาดภาพจีนจาก อจ.เล่าเชี่ยงเตี๊ย ที่โรงเรียนเผยอิง กรุงเทพ
                  และได้ฝึกฝนกับอาจารย์เล่าเหล่าซือมาอีกระยะหนึ่ง

พศ.2477  - ศึกษาด้านวาดภาพต่อกับ อจ.ซุนเปยกก เป็นเวลา 5 ปี

พศ.2495  - เมื่อมีความชำนาญมากขึ้นเรื่อยๆ ท่านจึงรับสอนแก่ผู้ที่สนใจเป็นครั้งแรก

พศ.2518  - รวบรวมผลงานตีพิมพ์รวมเล่มเป็นครั้งแรก

พศ.2519   - จัดนิทรรศการภาพวาดในกรุงเทพครั้งแรก เมื่อเดือนมีนาคม
                - รวมผลงานตีพิมพ์เป็นเล่มที่สอง
                - ตระเวณแสดงภาพวาดในต่างประเทศ เช่น
                  ปีนัง มาเลย์เซีย
                  แคลิฟอร์เนีย อเมริกา
                  อิโปห์ มาเลย์เซีย
                  สิงคโปร์

พศ.2520   -ได้แสดงนิทรรศการในกรุงเทพอีกครั้ง
                  และมีผลงานของจิตรกรมาเลย์ร่วมแสดงด้วย

พศ.2521   -ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองประธานด้านศิลปะจีนของสมาคมแต้จิ๋ว ประเทศไทย
                - แสดงผลงานที่ยุโรป สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง
                - แสดงนิทรรศการที่ธนาคารศรีนคร และโรงแรมแอมบาสเดอร์

พศ.2522   -ได้เผยแพร่ความรู้ทางศิลปะภาพวาดจีนที่โทรทัศน์ช่อง 5
                -ได้แสดงนิทรรศการที่กรุงเทพร่วมกับจิตรกรมีชื่อเสียงอีกหลายท่าน
                -ได้รับเป็นอาจารย์ใหญ่เพื่อสอนศิลปะภาพจีนของธนาคารศรีนคร
                -ได้แสดงนิทรรศการเดี่ยวที่ธนาคารศรีนคร
                - แสดงผลงานที่ฮ่องกงด้วย

พศ.2523   - แสดงนิทรรศการที่โรงแรมมณเฑียร

พศ.2524   - แสดงนิทรรศการที่ธนาคารศรีนคร
                  ได้บริจาครายได้จากการจำหน่ายภาพสมทบทุนมูลนิธิสายใจไทย
                - จัดให้แสดงผลงานของลูกศิษย์ที่ธนาคารศรีนคร
                -ได้รับเชิญจากเมืองซัวเถาให้ร่วมแสดงผลงาน
                - จัดแสดงนิทรรศการที่นอร์เวย์

                            ฯลฯ

                            ฯลฯ

                            ฯลฯ

นิทรรศการครั้งล่าสุดที่ผมได้ไปชมนานมากแล้ว
จำได้ว่าแสดงที่ "ศูนย์การค้าสยาม"
มีผลงานที่หลากหลายมาก  อจ.ชำนาญในทุกแบบ
ทั้งทิวทัศน์  นก-ดอกไม้  ภาพเหมือนบุคคล
ภาพต้นไผ่ เหมย เบญจมาศ ต้นสน ฯลฯ
มีทั้งแบบสมัยโบราณ และแบบร่วมสมัย
บางภาพขนาดใหญ่โตมาก (เต็มผนัง)
จำได้ว่าสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯเสด็จ
และพระองค์ท่านก็จะทรงวาดภาพพู่กันจีนด้วย





ข่าวที่ได้ทราบจากเว็บจีน เมื่อ ปี พศ.2551 กล่าวถึงท่านว่า

" ความสง่างามของนกกระเรียน...ปรากฏในภาพชุด " โผผิน " ( 翔 ) ของลิ่มเอี๋ยว
นิทรรศการ : สีสันไม่แก่เฒ่า ลิ่มเอี๋ยวเก้าสิบปี ( 丹青不老─林耀九十作品展 )
แสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งกว่างโจว และ พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมกวานซานเยว่ที่เซินเจิ้น

จัดโดยสมาคมจิตรกรแห่งมณฑลกว่างตง และอีกหลายองค์กรของจีน

ลิ่มเอี๋ยวได้ใช้หมึก..วาดภาพอันงดงามสร้างสัมพันธภาพไทย-จีน..จำนวนร้อยกว่าภาพ "




ปัจจุบันท่าน อจ.ลิ่มเอี๋ยวมีอายุได้ 95 ปี แล้ว
บ้านของท่านที่เคยเป็นโรงเรียนสอนวาดภาพจีนอยู่แถวสุขุมวิท
ซอยไหนผมไม่รู้จักเพราะไม่เคยไป แต่มีคนเล่าว่าอยู่ใกล้เอ็มโพเรียม
ไม่ทราบเหมือนกันว่าท่านยังสุขภาพดี ความจำแจ่มใสอยู่หรือเปล่า
เสียดายที่ไม่มีผู้เก็บประสบการณ์ของท่านมาเขียนไว้
อย่างประวัติท่านฉีไป๋สือ...ท่านเล่าประวัติเรื่องราว ผู้จดบันทึกนำมาเรียบเรียงขัดเกลา
ศิษย์เอกของท่านคนไหน....หากได้อ่านบล๊อกนี้ของผม กรุณาอย่ารอช้า....เขียนเถอะครับ
มีคุณค่ากับอนุชนรุ่นหลังแน่ๆ


...................................................................


เชิญชมผลงานของท่านครับ
เป็นงานที่แสดงนิทรรศการพร้อมกับลูกศิษย์
ณ สำนักงานใหญ่ ธนาคารศรีนคร
เมื่อ ปี พศ.2526


รูปภาพทั้งหมดนี้ผมถ่ายมาจากหนังสือที่ระลึกในการเปิดแสดงภาพ
ความคมชัดก็ได้เท่าฝีมือครูดิ่งแค่นี้หละครับ





" นิทรรศการภาพวาดจีนของ อจ.ลิ่มเอี๋ยวและศิษย์ "
( ลายมือ อจ.ลิ่มเอี๋ยว )



...................



1

เบญจมาศ - นกกระจอกคู่



2

สมเด็จฯพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ
เสด็จเปิดนิทรรศการ เมื่อ วันที่ 18 กรกฎาคม พศ.2524 Smiley



3

ทรงสนพระทัยฝึกวาดรูปใบไผ่ Smiley



4

ทรงฝึกวาดรูปนก Smiley



5

ผลงานที่ทรงวาด
ลงลายพระหัตถ์อักษรจีน...วันที่ 2 มกราคม พศ.2525
"สิรินธร" (琳通) Smiley



6




7




8




9

รูปที่ 6 - 9 เป็นภาพชุดแขวนต่อกัน
อายุยืนยาวดังสน - กระเรียน



10

ภาพทิวทัศน์



11

นกยูงงามราวมุ่นไหมเลื่อมหลากสี



12

สน - กระเรียน อายุยืนยาว



13

เจ้าป่าพักผ่อนบนยอดน้ำตก



14

มวลมาลีคลี่บาน วสันต์ยาวนาน
( โชควาสนามหาศาล )



15

ประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์
(1978)



16

นกยูงเผือกคู่
( โชคลาภมั่งมีศรีสุข )



17

ไผ่ - นกกระจอก



18

ดีดพิณกลางดงไผ่
(ภาพประกอบบทกวีของท่านหวางเหวย)
สังเกตว่าเครื่องดนตรี กู่ฉิน ...ไม่สมจริง



19

นกยูง



20

นกอินทรีเกาะกิ่งสน



21

ไผ่ยามต้องลม



22

ดอกโบตั๋นยามฝนสาด



23

ปลาทอง - ดอกวิสทาเรีย



24

นักรบยามบาดเจ็บ



25

ไผ่ - นกกระจอก



26

บ๊วย - นกกระจอก



27

นกเอี้ยง - ใบไม้แดงฤดูศารท



28

ดอกจุ๊ยเซียน



29

นกกระจอกยามราตรี



30

ทิวทัศน์



31

ชานเมืองชิคาโก
(1981)



32




33




34




35

ภาพที่ 32 - 35 ทิวทัศน์ วาดเลียนแบบ
ท่าน หมี่หนานกุง (米南宫) 1052 - 1109
จิตรกรสมัยซ่ง...ผู้ชอบใช้หมึกบนกระดาษชุ่มน้ำ



36

นกกระจอก - ดอกพุทธรักษา



37

นกยูง



38

นกกระเรียนยามเช้า



39

ใบบัว



40

ใบบัว - นกกระเต็น



41

เทพธิดา



42

ภาพเหมือนท่านจิตรกรเอกสกุลหลิ่งหนาน
นามว่า...จ้าวเส้าอ๋าง (趙少昂)
ท่านจ้าวได้เขียนลายมือไว้ด้วยที่ขอบซ้ายของภาพ



43

นกยูง



44

ไก่หิวโหยจ้องตั๊กแตนตำข้าว



45

กระเรียนคู่กับน้ำตก
( อายุวัฒนา )



46

ภาพที่ลูกศิษย์ 4 คนวาดร่วมกัน
ต้นสน - วิสทาเรีย - โบตั๋น - จุ๊ยเซียน
อจ.เขียนลายมือให้



47

ภาพที่ลูกศิษย์ 6 คนวาดร่วมกัน
ต้นสน(บอนไซ) - ทับทิม - ปี่แป๊ - ไผ่ - ลูกพลับ - ไฮเดรนจีย


............................




บังเอิญไปเจอภาพของ อจ.ลิ่มเอี๋ยวอีกชุดหนึ่ง
ที่เคยเซฟมาจากเว็บจีน จึงนำมารวมเพิ่มเติมไว้




48

แหล่งหล้าล้วนหลากสี



49

ยลมาลีฤดูวสันต์นั้นเป็นเลิศ ไร้ที่เปรียบปาน



50

ดุจดังแพรพราวสี



51

ยามฤดูใบไม้ผลิ



52

หอม..อบอวลชวนชื่น



53

ยามฤดูศารท



54

ดอกโบตั๋น



55

งามทั่วหล้า..หอมทั่วฟ้า



56

ดั่งเทพนฤมิต



57

หอม-หนาว



58

บัวแดง



59

ร่ายรำท่ามลมฤดูวสันต์



60

แรกวสันต์



61

หอมมากับความหนาว



62

ขันแข็งกล้า ท้า..วสันต์


63

เหลืองแดงโดดเด่น



64

นกกระตั้ว



........................................................................



เป็นที่น่าสังเกตว่า...ศิลปะการวาดภาพจีนก็มิได้แตกต่างจากศิลปกรรมด้านอื่นๆ

มีขึ้นมีลง  มีความนิยม  มีความเสื่อม  ตรงกับโลกธรรมที่พระศาสดาทรงตรัสสอนสั่ง

ยามบ้านเมืองสงบราบคาบ . . . ศิลปะแทบทุกด้านได้รับการดูแลเสริมส่ง

ตรงกันข้าม . . . ยามมีศึกสงคราม  ยามเกิดความขัดแย้งจลาจลวุ่นวายก็ซบเซา

พัฒนาการของศิลปะ . . . เป็นปฏิภาคตรงกับสันติสุขของประชาชน

เป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพชีวิตและความสุขของประเทศในแต่ละยุคจริงๆ



คนจีนในประเทศไทย . . . มีความสุขสบายตั้งแต่ครั้งมาพึ่งบรมโพธิสมภารกระโน้น

พระมหากษัตริย์พระราชทานที่ดินให้อาศัยทำกิน ตลอดทั้งได้อวยยศฐาบรรดาศักดิ์

กลมกลืนไปกับคนไทยกระทั่งกลายเป็นเครือญาติทั้งระดับสามัญชนและชั้นเจ้านาย

พระราชนิยมในศิลปกรรมของจีนก็มีหลักฐานปรากฏมากมายทั้งในวังในวัด



สำหรับท่าน อจ. ลิ่มเอี๋ยว . . . ท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงยิ่ง

จากสมเด็จฯพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ ที่เสด็จมาเปิดนิทรรศการให้ท่านหลายครั้ง

อจ. ลิ่มเอี๋ยว ได้มีโอกาสถวายคำแนะนำในการวาดรูปพู่กันจีนเสมอ

นี่คือเกียรติยศที่ศิลปินอย่างท่านได้รับ

คงจะเคยเห็นกันในข่าวโทรทัศน์...เมื่อสมเด็จฯพระเทพฯเสด็จเยือนเมืองจีน

พระองค์ท่านจะทรงพู่กันจีน...หากไม่ทรงวาดรูปก็จะทรงเขียนอักษรจีน

ทรงใช้ศิลปะเพื่อผูกสัมพันธไทย-จีน ให้แนบแน่น . . . นี่คือ ง า น ข อ ง ช า ติ ครับ




ขอจบเอ็นทรี่นี้ด้วยพุทธสุภาษิตที่ว่า

" นิมิตตัง สาธุรูปานัง กตัญญูกตเวทิตา "

(
ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดีSmiley

แม้โลกสันนิวาสปัจจุบันยังอบอวลด้วย เงินทุน-ผลประโยชน์-การแก่งแย่งแสวงกำไร

อยากให้พวกเราหันกลับมาคิดถึงการตอบแทนคุณบ้านเมือง และ ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์

เพื่อลูกหลานจะได้เห็นแบบอย่าง และเป็น " ค น ดี " ในโลกใบนี้ต่อไป  Smiley



........................................................




คลิปวันนี้ขอเชิญฟัง
ดนตรีบรรเลงแบบผ่อนคลายสบายใจ
ชื่อเพลง Tea Song of the Xiang River



ขอบคุณ You Tube ที่นำเพลงไพเราะมาสู่เราเสมอมา


.........................................



ปอลอ.

ช่วงนี้ จขบ.กำลังใช้เวลาเก็บอัลบัมเก่าๆจากมัลติพลาย
เพื่อย้ายมาใส่ไว้ที่บล๊อกแกงค์แห่งนี้ จะได้มีบล๊อกเดียว
จึงต้องห่างเหินทางเรื่องศิลปะจีนไปบ้าง....ขออภัยด้วย
รูปที่เอามาอัพไว้ก็จะเกี่ยวกับทางศิลปะในต่างแดนครับ




ขอบคุณที่แวะมา
แล้วเจอกันใหม่


สวัสดีครับ


Smiley Smiley Smiley







Create Date : 30 กันยายน 2555
Last Update : 1 ตุลาคม 2555 10:58:15 น.
Counter : 18966 Pageviews.

27 comments
บันเทิงเริงจีน 449:เทพีมหาสงกรานต์ 67/หมีเซียะ&เซียะหลี/21ปีเลสลี่/Kowloon Walled City/บุปผารักอลวน ข้าน้อยคาราวะ
(12 เม.ย. 2567 20:34:55 น.)
几度花落时( จี่ตู้ฮวาลว่อสือ) by 任光 (เหยินก่วง)​ ปรศุราม
(5 เม.ย. 2567 10:45:31 น.)
รักแรก โคตรลืมยาก (2566) ไมเคิล คอร์เลโอเน
(21 มี.ค. 2567 00:37:20 น.)
รีวิวภาพยนตร์ "Pee Nak 4" พี่นาคภาค 4 หนังผีที่สนุกที่สุดในตอนนี้ นายแว่นขยันเที่ยว
(20 มี.ค. 2567 01:18:47 น.)
  
สวยงามมากเลยค่ะครู
นกกระเรียนอย่างกับมีชีวิตแน่ะ อยากรู้ว่าวาดพู่กันยังไงให้ได้ไผ่สักปล้อง คงต้องหาโอกาสไปชมดูบ้างเสียแล้ว
นั่งดูมาเรื่อยๆ เจอจิมมี่ คาร์เตอร์ ตกกะใจ ปรับmode ไม่ทัน 0_0
โดย: หวงหลิง IP: 58.8.23.93 วันที่: 30 กันยายน 2555 เวลา:11:59:22 น.
  
หวัดดีค่ะคุณพรี่..

ทึ่งกับฝีพระหัตถ์ค่ะ

เอ็นทรี่นี้งามมมม ทุกภาพเลยค่ะ นอกจากภาพวิวแล้วท่านยังมีฝีมือทางภาพเหมือนอีกด้วย ..

อาทิตน์สองอาทิตย์นี้ป้าโซห่างๆไปนิ้สสสนะคะ อารมณ์ขี้เกียจเข้าสิง อิอิ.. ไ่ม่ทราบพี่ดิ่งอัพไปกี่บล็อกแล้ว เด๋วต้องตามไปแงะดูโดยเฉพาะมุมที่ว่าโกดังเละเทะน่ะ..ต้องดูให้ได้ ใคร้จะเชื่อง่ายๆว่าเละเทะ ต้องตามไปให้เห็นจริง


ป้าโซอัพบล็อกแต่งดเม้นท์ค่ะคราวนี้ ก็แค่อยากเล่าอะไรๆที่มันอาจไม่เ้ข้าทางกับความคิดคนอ่านบางท่าน เลยขอเป็นเผด็จการทางการเขียน อิอิ..


ไปละค่ะ จะไปดูประกวดร้องเพลงทางยูตุ๊บ ราตรีสวัสดิ์ค่ะคุณพรี่..

ปล.เข้าบ้านพี่ดิ่งทีไร เครื่องตรวจไวรัสมันเด้งทุกทีเลยอ่ะพี่ เหมือนกับบล็อกพี่หมีเลย อ่านเจอคนที่ไปเม้นท์บล็อกพี่หมีว่าเว็บฝากรูปมีไวรัสหรือไรเนี่ย.. เข้ามาแบบเจี๋ยวๆนะนี่แต่ไม่เข้าบล็อกสองพี่ไม่ได้ ทนเสียงเรียกร้องของหัวจายม่ายหวาย.. กรี๊สสสสส เอิ้กกกก..
โดย: ป้าโซ วันที่: 30 กันยายน 2555 เวลา:20:35:32 น.
  
สวัสดีค่ะ

ต้องขอบพระคุณครูด่ิงมาก ๆ ที่แนะนำเหล่าซือท่านนี้ให้รู้จัก ชอบเขียนพู่กันจีนแต่ก็ไม่ค่อยจะรู้จักลิปิกรชาวไทยเท่าไหร่เลย รู้จักท่านนึงอยู่ในห้องจีนศึกษาคือ เหล่าซือนายเสลา

เหล่าซืออายุยืนมาก ๆ ลายมือและภาพวาดงดงามเป็นที่สุด ภาพ portrait ก็สวยได้ใจ ภาพที่สิบเจ็ดวาดไผ่ได้สวยและมีมิติดีจังค่ะ ครูดิ่งให้ชมภาพแบบจุใจเลย ชมภาพด้วยความเพลิดเพลิน มีความสุขมาก ๆ


ฟังเรื่องและเห็นพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระเทพฯ แล้วปลาบปลื้มดีใจแทนเหล่าซือจริง ๆ นับว่าท่านโชคดีและมีบุญมากเลยนะคะ ได้ถวายคำแนะนำการเขียนพู่กันจีนแด่พระองค์ท่าน แล้วยังเสด็จมาเปิดนิทรรศการให้หลายครั้ง เสียดายที่ยังไม่เคยไปชมผลงานของเหล่าซือด้วยตาตัวเองเลยสักครั้ง โชคยังดีที่ได้ชมในบล็อกของครูดิ่ง ขอบคุณจริง ๆ ค่ะ

ครูดิ่งรักษาสุขภาพด้วยนะคะ ตะกี้แวะไปบ้านคุณIM โหวตหมวดศิลปะไปแล้ว ไว้มาโหวตให้อีกทีละกันค่า
โดย: haiku วันที่: 30 กันยายน 2555 เวลา:23:36:50 น.
  
ภาพส่วนใหญ่ วาดจากภูกันหรือครับ สวย อ่อนช้อย
เป็นไปแบบธรรมชาติมากครับครู
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 1 ตุลาคม 2555 เวลา:11:27:43 น.
  
สวัสดีครับพี่ดิ่ง

อยากเป็นลูกศิษย์ท่านจังครับ
ลูกศิษย์ท่านน่าจะมีอยู่มากมายหลายท่าน
แต่จะเหลือกี่ท่านหนอที่มุ่งมั่นตั้งใจในสายศิลปะจีนแนวนี้

เส้นสายท่านพลิ้วมากครับ
โดยเฉพาะรูปกิ่งไผ่ หรือนกกระเรียน
วาดได้มีชีวิตชีวาจริงๆครับ


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 ตุลาคม 2555 เวลา:13:46:13 น.
  
ภาพงดงามมองตะลึงครับ
นึกไม่ออกเลยว่าวาดขึ้นมาได้ยังไง

อยากส่งเจ้าตัวเล็กที่บ้านไปเรียนเขียนพู่กันจีนบ้าง
แต่ยังเด็กเกินไป

แถมเจ้าหนูก็วาดแต่รถเก๋ง ไม่ค่อยชื่นชมธรรมชาติสักเท่าไหร่ คงต้องรอไปอีกสักพัก

ขอบพระคุณครูดิ่งที่นำภาพสวยๆเรื่องดีๆมาลงให้อ่านกันเสมอครับ
โดย: Polarbee วันที่: 2 ตุลาคม 2555 เวลา:15:14:07 น.
  
แวะมาโหวตให้ค่า
โดย: haiku วันที่: 2 ตุลาคม 2555 เวลา:21:22:35 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง






โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 ตุลาคม 2555 เวลา:6:54:44 น.
  
ดอกโบตั๋นสวยมากทุกรูปเลยค่ะ

ชอบตาของประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์มาก ในสารคดีตอนใกล้พันตำแหน่ง ตาแบบนี้เป๊ะเลย

ตอนเด็กๆไม่เคยสนใจศิลปะจีนเลย นึกๆแล้วน่าเสียดาย เพราะจำได้ว่าธนาคารศรีนครมีรายการดีๆหลายอย่างค่ะ

โดย: SevenDaffodils วันที่: 3 ตุลาคม 2555 เวลา:8:26:04 น.
  

มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ

มาอ่านเรื่องราวของศิลปินและชมภาพวาดศิลปะจีนครับ ภาพวาดแนวนี้ดูสวยดีครับ


ส่วนเรื่องศิลปะจีนผมไม่มีความรู้ทางนี้เลยครับ

อิอิ
โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 3 ตุลาคม 2555 เวลา:15:57:15 น.
  
นี่เชียงใหม่ฝนตกหนักแบบนี้
หนาวแทนคนกรุงครับพี่ดิ่ง





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 ตุลาคม 2555 เวลา:19:54:22 น.
  
สวัสดีช่วงหน้าฝนค่ะคุณลุง
ช่วงนี้ชีวิตเปียกปอนไปกับการชำระสมบัติเก่าๆที่จะเอามานำเสนอใหม่ค่ะ
เห็นภาพและเรื่องราวในชุดนี้แล้ว
เสทือนไปถึงหัวอกหัวใจจริงๆ
(เอ่อ..ไม่ทราบเขียนถูกตามราชบัณฑิตยสถานหรือเปล่าน้อ..)
โดย: buraneemeo วันที่: 3 ตุลาคม 2555 เวลา:22:20:01 น.
  
สวัสดีค่ะคุณดิ่ง..
วันนี้เป็นวันมหามงคล
วโรกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
ทรงพระชนมายุ 99 พรรษาค่ะ
ขอเพื่อนๆร่วมถวายพระพรพระองค์ท่าน
ขอให้พระองค์ทรงหายพระประชวรในเร็ววันค่ะ
สาธุ..สาธุ..สาธุ..
โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 3 ตุลาคม 2555 เวลา:23:21:16 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 ตุลาคม 2555 เวลา:5:49:23 น.
  
คุณลุงคะ ขอคุยยาวนิดหนึ่ง แรกก็ขอบพระคุณมากที่นำภาพท่านอังคารมาให้ชมค่ะ สองก็คือจะเดินทางไปหลวงพระบางวันอาทิตย์นี้ ไปไม่กี่วัน หน้าฝนพอดี แต่คราวนี้กลับมาอาจมีการเขียนเป็นหนังสือ อาจจะนะคะ ดูเพื่อนก่อน สามคือ เมื่องานสมุนไพรแห่งชาติเดือนก่อน ไปชมงาน ที่บูทการแพทย์แผนจีน มีการสอนเขียนอักษรจีนด้วยค่ะ ดีมากสนุกมากค่ะ คาดว่าหมึกจีน พู่กันจีนและกระดาษที่มีอยู่คงได้ทำหน้าที่ของเขาค่ะ
กลับมาจากหลวงพระบาง ถึงจะทำหรือไม่ทำหนังสืออย่างไรก็จะเขียนลงบล็อคค่ะ เพราะเริ่มทำความคุ้นเคยกับโน๊ตบุ็คใหม่และวินโว์เซเว่นอัลทิเมทแล้วค่ะ(เหนื่อยกับภาษาอังกฤษแจรงแจรง..)
คือว่า หลวงพระบางที่ไปมาเก่าก็ยังลงไม่จบเลยค่ะ...แฮร่่่...
ภาษาไทยเขาเรียกดินพอกหางหมูน่ะค่ะคุณลุง
รักเคารพและคิดฮอดเด๊อค่ะเด๊อ
โดย: buraneemeo วันที่: 4 ตุลาคม 2555 เวลา:12:55:43 น.
  
ลูกน้องเก่าผมก็เป็นแบบนี้ครับพี่ดิ่ง
ซ้อมเช้าซ้อมเย็น
แต่ก็เห็นอยู่กันทนมากเลยครับ

เห็นแล้วงงจริงๆครับ


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 ตุลาคม 2555 เวลา:21:22:04 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 ตุลาคม 2555 เวลา:5:45:03 น.
  
ผมนี่เป็นคนนึงที่ไม่ค่อยรอเลยครับ 555
ร้านดังวันหยุด
คิวยาวแบบ 20 คิวนี่ไม่ได้กินเงินผมแน่นอนครับ 555


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 ตุลาคม 2555 เวลา:20:31:28 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 ตุลาคม 2555 เวลา:6:43:08 น.
  
โอวว ท่านเป็นครูของสมเด็จพระเทพฯ นี่เอง

แสดงว่าพระเทพท่านฝึกฝนมานานนมแต่ไหนแต่ไร

ความสัมพันธ์ไทย-จีนถึงแน่นแฟ้นไม่เหมือนใคร
โดย: Bkkbear วันที่: 6 ตุลาคม 2555 เวลา:11:22:59 น.
  
รูปสวยทุกรูปเลยค่ะ ชื่นชมคนเก่งที่มีฝีมือทุกแขนง รวมทั้งด้านศิลปะ
โดย: sawkitty วันที่: 6 ตุลาคม 2555 เวลา:22:07:27 น.
  
***** ด่วน!!! รับสมัครบุคลากรจำนวนมาก *****
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสร้างรายได้ หลักพันถึงหลักหมื่นบาท ในเดือนแรก ไม่ใช่ลูกโช่ ไม่ใช่งานขาย
สนใจติดต่อ คุณนคร
โทร 082-9255352
//goo.gl/E4xhS
คุณสมบัติ :
- ช/ญ อายุ 18 ปีขึ้นไป
- ไม่จำกัดวุฒิ
- สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐานได้ (มีการสอนงาน/อบรม ไม่บังคับ)
- มีทัศนะคติดี พร้อมเรียนรู้ มีมนุษยสัมพันธ์ดี จริงจังในการทำงาน

*หมายเหตุ : ผู้ที่สนใจต้องติดต่อสมัครงานด้วยตนเองเท่านั้น
(รับจำนวนจำกัด!! กรุงเทพและปริมลฑลจะรับพิจารณาเป็นพิเศษ)
โดย: Nakhon1993 IP: 61.90.75.115 วันที่: 8 ตุลาคม 2555 เวลา:0:13:42 น.
  
สวยสุดๆ ชอบมากๆค่ะ
โดย: พิมผกา IP: 61.7.241.94 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2555 เวลา:15:24:50 น.
  
ขอบคุณพี่ดิ่งครับ
โดย: ดินหิน IP: 180.180.61.16 วันที่: 28 มกราคม 2556 เวลา:18:07:03 น.
  
เพื่อนชาวเยอรมันเคยเรียนกับอาจารย์โอภาส หาญวานิช เกือบ20ปีที่แล้ว เค้าอยากทราบว่าอาจารย์สบายดีมั๊ยและจะติดต่อกับอาจารย์ทางไหนที่สดวกคะ
ขอบคุณคะ
โดย: ประภาพรรณ IP: 115.67.67.81 วันที่: 5 ธันวาคม 2556 เวลา:17:20:25 น.
  
ขอบคุณค่ะที่นำภาพของอาจารย์มาลง เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ค่ะ ตอนนี้ก็ทำมาหากินกับงานที่อาจารย์สอนมานี้ล่ะค่ะ คิดถึงอาจารย์ค่ะเพราะอาจารย์เพิ่งเสียเมื่อปีที่แล้ว อาจารย์เป็นอาจารย์ที่น่ารักมากค่ะขอบคุณอีกหลายๆครั้งนะค่ะ
โดย: จราภรณ์ IP: 118.172.16.79 วันที่: 2 มิถุนายน 2557 เวลา:7:13:06 น.
  
Do you sperak English?
โดย: Anton Noé IP: 94.23.252.21 วันที่: 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา:14:00:37 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Dingtech.BlogGang.com

Dingtech
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]

บทความทั้งหมด