แมวของ ฮิชิดะ ชุนโซ (菱田 春草) (ตอน 1) : จิตรกรยุคเมจิ (明治)










.................................




ไปญี่ปุ่นคราวนี้ได้ของแถมมาคือตอนแวะโอซาก้าไปกินทงคัทสึที่ซินไซบาชิ
อิ่มแล้วแวะไปเจอร้านหนังสือมือสอง ได้หนังสือมา 5 เล่ม หนึ่งใน 5 คือ
หนังสือรวมภาพของจิตรกรเอกสมัยเมจิท่านหนึ่ง จึงขอเอามาเล่าสู่เพื่อนๆครับ
จิตรกรรมญี่ปุ่นยุคนี้ส่งอิทธิพลต่อจิตรกรรมจีนที่เรียกว่า "สกุลหลิ่งหนาน"




ร้าน BOOK OFF โอซาก้า



..........................................................................






ฮิชิดะ ชุนโซ
(菱田 春草)

ฮิชิดะ ชุนโซ
(菱田 春草)
คศ.1874-1911
เป็นนามปากกาของ ฮิชิดะ มิโยจิ จิตรกรเอกสมัยเมจิ
เป็นศิษย์ของ โอคะขุระ เทนชิน (岡倉 天心) รุ่นราวเดียวกับ
โยโคะยามะ ไทคาน (横山 大観
) และ ชิโมมุระ คานซาน (下村 観山)
เขามีชื่อเสียงโด่งดังมากในการวาดภาพแมว



ชุนโซในวัย 15 ปี

ชุนโซเกิดที่ไอดะในแคว้นนางะโน พออายุ 14 ปี ได้ย้ายไปเรียนที่โตเกียว
ร่ำเรียนวิชาที่สำนักคาโน โดยมีอาจารย์คือยุขิ มาซาขิ (คศ.1834-1904)
ในปีถัดมาได้มีการเริ่มก่อตั้ง "คณะวิจิตรศิลปและการดนตรี (東京美術学校)"
ในมหาวิ
ทยาลัยโตเกียว
ชุนโซเป็นจูเนียร์สต๊าฟ โดยมีผู้ร่วมงานคือไทคาน และคานซาน
อาจารย์ของเขาคือ ฮะชิโมโตะ งาโฮ (橋本 雅邦)
ศิษย์ทั้ง3 มีอาจารย์ที่ส่งอิทธิพลมากคือ โอคะขุระ เทนชิน (岡倉 天心)
และอาจารย์ชาวอเมริกัน เออร์เนสต์ ฟีโนลโลซ่า (Ernest Fenollosa)



อายุ 16 ปี มาเรียนที่โตเกียว

หลังจากสำเร็จการศึกษาได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลสำนักพิพิธภัณฑ์ของจักรพรรดิ
ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็น "พิพิธภั
ณฑสถานแห่งชาติโตเกียว (東京国立博物館)"
เขาได้คัดลอกภาพพระพุทธรูปจากวัดสำคัญๆในเมืองเกียวโต นารา
และรับเป็นอาจารย์ในคณะวิจิตรศิลปฯ

คศ.1898 ร่วมกับ โอคะขุระ ในการก่อตั้ง "สถาบันวิจิตรศิลปแห่งญี่ปุ่น (日本美術院)"
คศ.1903-1905 เขาเดินทางไปต่างประเทศ เช่น อินเดีย อเมริกา และยุโรป
เมื่อกลับมาญี่ปุ่นเขาได้แสดงนิทรรศการระดับชาติหลายๆครั้ง



ชินโซ นั่งแถวหน้า(ขวาสุด) อายุ 31 ปี กลับจากต่างประเทศ

ชุนโซได้พัฒนาการวาดรูปแบบใหม่เรียกกันว่า "โมโร-ไท moro-tai" (vague style)
ใช้วิธีเกลี่ยไล่เฉดสีทดแทนการใช้เส้นที่นิยมมาตั้งแต่ดั้งเดิมแบบจี
วิธีนี้ได้รับความนิยมจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะของจิตรกรรมญี
่ปุ่น
แนวการวาดแบบนี้เหมาะในการวาดภาพยามเช้าที่มีหมอกมัว หรือยามเย็นสลัวโพล้ิเพล้



ชินโซ(ที่2 จากหน้า) อายุ 33 ปี ที่สถาบันวิจัยศิลปกรรมแห่งญี่ปุ่น

ในปีท้ายๆของชีวิต เขาป่วยเป็นโรคไต
ความเกรงว่าจะตาบอด ทำให้เขาตะลุยวาดรูปจำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่ออาการโรคทุเลา



ชุนโซอายุ 35 ปี กับภรรยาและลูกชายทั้ง 3

คศ.1910 ผลงานชื่อ "โอชิบะ (落葉 แปลว่า ใบไม้ร่วง)" ได้รับรางวัลชนะเลิ
ในการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3
งานชิ้นนี้ได้รับการขึ้นทะเบียน
เป็นสมบัติล้ำค่าของชาติ
และเก็บรักษาไว้ที่ เอเซบุงโคมิวเซียม (永青文庫)
เช่นเดียวกับภาพแมวดำ ที่วาดในปี คศ.1910 ก็เป็นสมบัติล้ำค่าของชาติเช่นกัน

คศ.1911 ชนโซก็ได้จากโลกนี้ไป ด้วยวัยอันแสนสั้นแค่ 37 ปี
เขาจบชีวิตไปในยามที่กำลังไฟแรง . . . โอ ช่างน่าเสียดายเหลือเกิน Smiley
ผลงานที่ทรงคุณค่ามากมายของเขากระจายไปทั่วญี่ปุ่นและต่างประเทศ




..........................................................




เชิญเพื่อนๆชมบรรดาแมวๆขนนุ่มๆของชุนโซได้แล้วขอรับ




1

ภาพขยายจากรูปที่ 10




2

แมวกับดอกเหมย




3

แมวกับไผ่และดอกลิลลี่




4

แมวดำ (ชิ้นสำคัญ)




5

ใบไม้ร่วง




6

แมวกับเหมยชรา




7

แมวกับคาเมเลีย




8

ใต้ร่มไม้




9

แมวกับเหมย




10

แมวกับเหมยชรา




11

แมวกับไผ่




12

แมวกับคาเมเลีย




รูปคน ฮิชิดะ ชุนโซ ก็วาดไว้พอสมควร
นุ่มนวลอ่อนหวานคงเส้นคงวาครับ
วันนี้เอามาให้ชมเป็นแซมเปิ้ลสักหน่อยนึง Smiley

ยังมีรูปทิวทัศน์สวยๆของชุนโซอีกมาก
คิดว่าจะทำต่อให้ชมอีกสักบล๊อกหนึ่งนะขอรับ Smiley


13

ชมจันทร์ฤดูศารท




14

หวางเจาจวิน..ยามจะจากมาตุภูมิ





ฉากบังลมเป็นวัสดุอย่างหนึ่งที่นิยมใช้เป็นที่วาดภาพประดับแบบญี่ปุ่น


15

ใบไม้ร่วง




16-1


16-2

ใบไม้ร่วง (落葉) วาดบนฉากบังลมคู่ ขนาด 6 บาน




.....................................................................




การวาดภาพของญี่ปุ่นในสไตล์นี้จะมีความนุ่มนวลอ่อนหวานเป็นอย่างยิ่ง
บางครั้งองค์ประกอบของภาพไม่ซับซ้อนหรือมีเรื่องราวมากมาย
นี่ตรงกับบุคลิกของคนญี่ปุ่นเป็นอย่างยิ่ง

ที่จริงแล้วในทางจีนเองก็ได้มีการวาดแบบนี้มานานแล้ว เรียกว่าวาดแบบ "ไม่มีกระดูก" นั่นเอง
แต่รสนิยมทางจีน...ยังให้ความสำคัญกับ "เส้น" จึงพัฒนาสไตล์นี้ไม่ไปไกลเท่าญี่ปุ่น
และสุดท้าย...ก็กลับไปเอาแบบของญี่ปุ่นมาพัฒนาเป็นสำนักหลิ่งหนานในปลายราชวงศ์ชิงถึง
ตอนต้นสมัยสาธารณรัฐ

การส่งถ่ายทางวัฒนธรรมไปๆมาๆนับเป็นเรื่องปกติ
เมื่อมีการติดต่อสันถวะกันระหว่างชาติ การแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมเกิดตลอดเวลา
สมัยราชวงศ์ชิงก็มีพระนิกายเยซูอิตนำการวาดภาพแบบตะวันตกมาจีน
ดังได้เคยกล่าวไว้ในบล๊อกที่ว่าด้วย กิวเซปเป้ คาสติกลิโอเน่ และ เรื่องม้าๆ











ภาพพิมพ์ไม้ของญี่ปุ่น (ยูคิโยเอะ) ได้ส่งอิทธิพลไปถึงจิตรกรสำนักอิมเพรสชันนิสต์ในยุโรป
ฟาน ก๊อก จะวาดรูปที่มีภาพพิมพ์ไม้ของญี่ปุ่นปรากฏอยู่หลายรูป ( 2 รูปข้างบน)




อย่างไรก็ดี...การรับอารยธรรมข้ามชาติ หากเป็นศิลปะแล้วก็จะไม่ส่งผลกระทบมากมายเท่าไหร่
แต่การรับเอาระบอบการปกครองมาใช้...ในบางประเทศ...ประชาธิปไตย ที่ว่าแสนจะวิเศษ
ทำไมหนอเมื่อมาถึงเมืองไทยในแหลมทองจึงลุ่มๆดอนๆนัก
แปรสภาพกลายเป็น " ป ร ะ ช า ธิ ป ไ ต ย แ บ บ ไ ท ย ๆ " หรือแบบพวกมากลากไป

โ ก ง ไ ด้ - โ ก ง ไ ป
ซื้ อ เ สี ย ง ไ ด้ - ซื้ อ เ สี ย ง ไ ป
รู้ จั ก แ ต่ สิ ท ธิ
(บ้าง) - แ ต่ ไ ม่ (ค่อย) ท ำ ห น้ า ที่

แล้วยังงี้ประเทศเราจะไปถึงไหนกันได้ละเนี่ย

เฮ้อออออ...ว่าถึงศิลปะอยู่ดีๆ ไหงกลายเป็นบ้องกัญชาไปด้ายยยย Smiley



.........................................



ฟังเพลงญี่ปุ่นกันดีกว่า สัก 2 เพลง ครับผม


คลิปแรก เดี่ยวโคโตะ แบบนุ่มนวล
โดย โยชิเอะ ซาไก






............................



คลิปที่ 2 เดี่ยวโคโตะ แบบเร็ว
โดย มิชิโอะ มิยากิ






ขอบคุณ You Tube ที่นำเพลงไพเราะมาสู่เราเสมอมา


........................



ขอบคุณที่แวะมา แล้วพบกันใหม่ตอนหน้า

ฮิชิดะ ชุนโซ (2) : ภาพวาดทิวทัศน์

สวัสดีครับ

Smiley Smiley Smiley







Create Date : 26 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 4 ธันวาคม 2555 0:14:50 น.
Counter : 5737 Pageviews.

21 comments
สุขสันต์วันปีใหม่ไทย ๒๕๖๗ haiku
(13 เม.ย. 2567 10:13:33 น.)
sajṇī (सजणी) from Laapataa Ladies (लापता लेडीज) ปรศุราม
(24 มี.ค. 2567 10:20:27 น.)
La dernière valse from Une Revue by Reynaldo Hahn ปรศุราม
(21 มี.ค. 2567 10:13:15 น.)
รักแรก โคตรลืมยาก (2566) ไมเคิล คอร์เลโอเน
(21 มี.ค. 2567 00:37:20 น.)
  
บล็อกศิลปะของพี่ดิ่ง
ไม่เคยทำให้ผิดหวังจริงๆครับ


อ่านแล้วได้ประโยชน์
ได้แรงบันดาลใจ
ได้แง่คิดดีดีกลับไปเสมอครับพี่


โหวตบล้อกศิลปะให้เลยนะครับพี่

งานของท่าน
ทำให้นึกถึงคำว่า

"รู้ให้เชี่ยวชาญเถิด จะเกิดผล"


วาดแมวจนคนจำภาพได้เลยว่า
ภถ้านึกถึงแมว ต้องนึกถึงท่าน






โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 พฤศจิกายน 2555 เวลา:6:29:41 น.
  
สวัสดีครับ ทักทาย




โดย: ต้นกล้า อาราดิน วันที่: 26 พฤศจิกายน 2555 เวลา:9:36:45 น.
  

มาเยี่ยม ชมมาทักทายครับ

ผมไม่ค่อยมีความารู้เรื่องศิลปะและการวาดภาพสักเท่าไหร่เลยครับ แต่เห็นภาพแมวที่วาดแล้วก็ต้องบอกว่าดูแล้วมีชีวิตชีวามาก ๆ เลยครับ

ไๆด้หนังสือพวกนี้มาก็มีค่าแก่การสะสมเป็นอย่าวมากเลยครับ

อิอิ
โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 26 พฤศจิกายน 2555 เวลา:11:20:47 น.
  
ผมชอบภาพแนวของจีนกับญี่ปุ่นและไทยโบราณนะครับ
แต่ไม่ได้เรียนมาฝึกเองก็ลุ่มๆดอนๆผิดสัดส่วน

แต่ถ้าเป็นมังงะของญี่ปุ่นสายกล้ามเนื้อล่ะค่อนข้างถนัดครับ

แต่เรื่องลงสีแบบพู่กันจีนนั้นยากจริง แต่ก็แอบหัดไว้บ้างจะได้รู้พื้นฐาน ก่อนนำไปประยุกต์ใช้ในการระบายสีด้วยเครื่องคอมพิวเต้อร์น่ะครับ

พักก่อนมีกระแส วาดอะไรไม่ไทยเบย ก็อดใจไม่ไหวไปร่วมแจมกับเขา แรกๆก็สนุกดี แต่พอมากเข้าความสนุกความขำมันก็เฝือครับ ต่างกับการวาดแบบจริงจังที่วาดแล้วน่าภาคภูมิใจกว่ากันเยอะเลย
โดย: Polarbee วันที่: 26 พฤศจิกายน 2555 เวลา:20:04:40 น.
  
มีคนที่หล่อมาก
เลือกแฟนขี้เหล่มากครับพี่ดิ่ง
เค้าบอกว่า
เคยมีแฟนสวยแล้วแฟนนอกใจ
คนต่อมาเลยเลือกที่ไม่สวย แต่นิสัยดี

น่าแปลกครับ
ตอนนี้อยู่กันมานานมกา ลูกสองแล้ว
แต่ก็ยังรักกันดีครับ


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 พฤศจิกายน 2555 เวลา:21:08:44 น.
  
ภาพวาด ดูนุ่มนวล เพิ่งรู้ว่าเขาใช้การเกลี่ยสี แทนการ
การใช้เส้น
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 27 พฤศจิกายน 2555 เวลา:5:34:17 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 27 พฤศจิกายน 2555 เวลา:6:11:32 น.
  
พอมีลูก
เลยรู้เลยครับพี่
ไม้อ่อนดัดง่าย
ไม่แก่ดัดยากจริงๆครับ


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 27 พฤศจิกายน 2555 เวลา:12:13:55 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 28 พฤศจิกายน 2555 เวลา:5:57:44 น.
  
บล็อกสาระแนวนี้ ต้องเป็นคนที่รู้ลึกครับ คุณดิ่งสุดยอดเลย ขอชมเชยครับ .. น่าเสียดายอย่างเดียว ผมเพ่งรูปแทบตายเพราะรูปเล็กมาก ต้นฉบับที่นำมาแสกน รูปเล็กมากไหมครับ? หากรูปใหญ่ ขอเชียร์ว่า ของดีๆ แบบนี้ให้รุ่นน้องด้านศิลปะมีโอกาสศึกษานะครับ จัดหนักจัดเต็มไปเลย


ขอโหวตให้ในสาขา Art Blog ครับ
โดย: yyswim วันที่: 28 พฤศจิกายน 2555 เวลา:19:49:12 น.
  
พออ่านจบก็กดโหวตให้อย่างแรงเลยค่ะ ครูดิ่งเขียนบล็อกได้ดีจริง ๆ ให้ชมภาพวาดแล้วยังอธิบายความได้ละเอียดละออ ได้ความรู้ใหม่ ๆ ได้เปิดหูเปิดตาเวลามาบล็อกนี้ประจำเลย ต้องขอบคุณที่เขียนบล็อกดี ๆ แบบนี้ให้อ่านเลยนะคะ แต่คิดเหมือนพี่สิน ขนาดภาพเล็กไปหน่อย ถ้าแปะภาพใหญ่ ๆ ละก็เยี่ยมเลยค่ะ

ภาพวาดแมวงดงามและมีชีวิตชีวามาก ชอบสไตล์ภาพแบบนี้ค่ะ ลงสีและลายเส้นดูนวลตาดี น่าเสียดายที่ท่านศิลปินจากโลกไปเร็วนัก

สุขสันต์วันลอยกระทงค่า
โดย: haiku วันที่: 28 พฤศจิกายน 2555 เวลา:23:04:58 น.
  
ขออภัยที่เข้ามาตอบคอมเมนต์นอกเรื่องในบล็อก
คุณดิ่งถามที่บล็อกผมว่า "เห็นแต่คลิปเด็กญี่ปุ่น...ไม่ทราบชาติอื่นเก่งเท่านี้มั้ยครับ?"

ผมบอกไว้ในบล็อกว่า
"หากสังเกตรายชื่อแชมป์ข้างบน ล้วนเป็นนักโยโย่ชาวญี่ปุ่น..
ใช่เลย กิจกรรมนี้ชาวญี่ปุ่นเก่งมาก ได้แชมป์ในการแข่งขันทุกปีในประเภทใดประเภทหนึ่ง"

ผมขอเพิ่มเติมอีกนิดครับ
โดยเฉพาะนาย Shinji Saito อายุ23ปี คนที่เล่นประเภท 2A สุดยอดเก่งเลยนายคนนี้
(ผมเคยนำคลิปที่เขาเล่นมาอัพลงบล็อกผมครั้งหนึ่งแล้ว)
//en.wikipedia.org/wiki/Shinji_Saito
นายคนนี้ คว้าแชมป์โลก มาแล้ว 12 ครั้งครับ
และยังคว้าแชมป์ที่อื่นๆ อีก เขาจะถนัดเล่นโยโย่สองมือเป็นพิเศษ

โดย: yyswim วันที่: 29 พฤศจิกายน 2555 เวลา:19:19:04 น.
  
แวะมาดูภาพศิลป์ ฟังดนตรีเพราะๆ ขอบคุณครับ
โดย: surya21 IP: 110.169.154.186 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2555 เวลา:14:13:43 น.
  
สวัสดีครับคุณดิ่ง

แต่ละภาพของท่านฮิชิดะ ชุนโซ มีความสงบนิ่ง เรียบง่าย พลอยให้ผู้ชมมีจิตใจสงบดั่งในภาพวาด
การไม่ใช้เส้นในภาพวาดต้องมีส่วนอื่นมาทดแทนขอบเขตของเส้น การตัดกันของสี หากต้องทำให้อ่อนโยนด้วยแล้วยิ่งยากเข้าไปใหญ่

ขอบคุณครับที่นำพาให้รู้จักศิลปินท่านนี้

โดย: Insignia_Museum วันที่: 1 ธันวาคม 2555 เวลา:8:30:14 น.
  

ขอบคุณที่นำสาระดีดีมาฝากเสมอค่ะ

โดย: อุ้มสี วันที่: 2 ธันวาคม 2555 เวลา:13:59:19 น.
  
ชอบความเห็นท้ายบล็อกครับ เปิดเผย ตรงไปตรงมา
โดย: Insignia_Museum วันที่: 2 ธันวาคม 2555 เวลา:21:36:56 น.
  
ชอบมากๆเลยค่ะครูดิ่ง แมวในภาพวาด สวยจัง
โดย: sawkitty วันที่: 2 ธันวาคม 2555 เวลา:22:19:23 น.
  
ภาพเขียน
รูปแมว สวยจริงๆครับ
โดย: panwat วันที่: 3 ธันวาคม 2555 เวลา:0:01:15 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 ธันวาคม 2555 เวลา:6:28:04 น.
  
ขอบคุณครับพี่ดิ่ง
เที่ยวนี้ป่วยสามวันครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 ธันวาคม 2555 เวลา:10:03:09 น.
  
เปิดเข้ามาเจอโดยบังเอิญ แล้วพบว่านี้เป็นขุมทรัพย์ที่จะตอบโจทย์ภาพในแสตมป์ญี่ปุ่นที่สะสมไว้คะ
ทำให้รู้ว่าแสตมป์ที่เป็นงานศิลปะนั้น
เป็นของใคร ชื่ออะไร
มีที่มาอย่างไร
add เป็น my favorites ติดตามต่อคะ
ขอบคุณคะ
โดย: bhet IP: 161.200.142.26 วันที่: 4 ธันวาคม 2555 เวลา:8:58:24 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Dingtech.BlogGang.com

Dingtech
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]

บทความทั้งหมด