ปรมาจารย์แห่งการวาดไผ่ : เหวินถง (文同) จิตรกรสมัยซ้อง




เดี๋ยวเถอะ....เจ้านี่

อยากจะกินหน่อไม้จิ้มเนื้อแล้วใช่มั้ย?




ครับผม.... "หน่อไม้จิ้มเนื้อ" เป็นสำนวนทางจีนเค้า
ผมจำไม่ได้แล้วว่าอยู่ในหนังสืออะไร รู้แต่ความหมายว่า
"เดี๋ยวโดนไม้เรียวฟาดน่องแตก"





โอ้ละหนอ..ความหลังยังฝังจิต

เป็นลูกศิษย์ครูสวยอำนวยศิลป์

ชอบโห่ฮาอาจารย์เป็นอาจินต์

เลยได้กินหน่อไม้จิ้มเนื้อ...เอย




สมัยก่อนสอนกันมา "รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี"
ผมเคย "ถูกใช้" และ "ใช้" คำพังเพยนี้ทั้งสองกรณี
สมัยนี้อาจจะล้าสมัยแระ

ครายกระแดะมาตีลูกกรู...เด๋วเห็นดีกาน

อย่างไรก็ตาม หากเราจะเลือกใช้เป็นมาตรการสุดท้ายก็น่าจะใช้ได้อยู่
คิดเสียว่าตีเพราะรักงัย ถ้าไม่รักจะไม่ตีให้เมื่อยมือหรอกจร้า

จงจำคำครูหนูเอ๋ย ไม้เรียวเจียวเหวย
กูเคยเข็ดหลาบขวาบเขวียว



จบนำร่องสยดสยองน่องแตกไปแร้ว เข้าเรื่องได้เรยยย




................................




ไม้เรียว เอ๊ย ไม้ไผ่ เป็นอะไรที่ทรงคุณค่าอเนกอนันต์
สารพัดสาระพันจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทุกเรื่อง

ตั้งแต่เป็นจตุปัจจัยในฐานะ..อาหาร ที่อยู่อาศัย
เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค

ประดาเครื่องใช้ไม้สอยนับร้อยนับพันอย่าง
เราสามารถทำจากต้นไผ่ได้ทั้งสิ้น


ผมจึงขอ "สดุดี" ไม้ไผ่ ด้วยการเขียนบล๊อกนี้

"ไผ่" ยังเป็นนายแบบโมเดล ให้ช่างวาด จิตรกร กวี
ได้ถ่ายทอดความงดงาม สง่า อ่อนโยน
ทั้งรูปลักษณ์สีสัน ทั้งท่วงท่า และสุ้มเสียง
หากท่านใดเก่งประเสริฐอาจสามารถถ่ายทอดเสียง...
เสียงใบไผ่ลู่ล้อลม เสียงลำไผ่เบียดกอเสียดสีกัน


สรรพสุนทรียะหากท่านจะได้สัมผัส ผมก็ย่อมยินดีนักแล




อนุสนธิจากบล๊อกที่แล้ว
ผมได้กล่าวถึง "เหวินถง" ที่เป็นปรมาจารย์สาขาวาดรูป "ไผ่"
ยืนยันฟันธงโดยมหากวี ซูตุงพอ อ้างอิงกันแค่นี้ก็การันตีได้แล้ว




เจ้าพืชที่ "ไม่อ่อนไม่แข็ง"
แถมยัง "ไม่ใช่หญ้าไม่ใช่ต้นไม้"
เออ..ทั้งยังประมาณอายุได้ 60 ปี ก็จะ "ออกดอก"
ออกดอกแล้วไม่ช้าก็จะแห้งตาย

ไผ่มีทั้ง "ตัวผู้" และ "ตัวเมีย"
และตัวเมียนั้นจะแตกหน่อได้มากกว่า

ลำไม้ไผ่นั้นข้างในกลวง ข้างนอกนั้นเหยียดตรง
ในทางศิลปกรรมจีนจึงเป็นสัญลักขณ์ของสุภาพบุรุษ
ที่อ่อนโยน ถ่อมตน และพูดตรง

ลักษณะของลำต้น ข้อ กิ่ง ใบ เหมาะเจาะเหลือเกินกับการวาด

เส้น สาย จุด ขีด ที่เกิดขึ้น
เมื่อปรับเข้ากับศิลปะการปาดแต้มพู่กันเขียนอักษรจีน
สามารถนำเอามาใช้วาดรูปไผ่ได้อย่างลงตัวที่สุด




สุดยอดเทพแห่งการวาด "ไผ่" ในสมัยราชวงศ์ซ้องคือ

"เหวินถง" (文同)



เกิดเมื่อ คศ. 1018
ตายเมื่อ คศ. 1079


มีชื่อรองว่า "หยวีเข่อ" (与可)
มีฉายาว่า "เซี่ยวเซี่ยวจวีซื่อ" (笑笑居士 : ประสกยิ้มยิ้ม)
หรือ "เซี่ยวเซี่ยวเซียนเซิง" (笑笑先生 : นายยิ้มยิ้ม)
บางคนเรียกท่านว่า "สือซื่อเซียนเซิง" (石室先生 : นายห้องศิลา)
หรือ เหวินหูโจว (文湖州)

อยู่ในสมัยเป่ย์ซ่ง (北宋)
เป็นคนอำเภอหย่งไท่ (永泰县) ในมณฑลเสฉวน
ท่านเป็นทั้งจิตรกร และ กวี
ในสมัยจักรพรรดิ์ซ่งเหรินจุง (คศ. 1049) สอบได้เป็นจิ้นซื่อ (进士)
ได้รับราชการและโยกย้ายไปตามเมืองต่างๆ ชะตากรรมทางการเมือง
คล้ายกับพรรคพวก (กลุ่มซูตุงพอ โอวหยางซิว และซือหม่ากวง)
สุดท้ายป่วยหนักที่เฉินโจว( 陈州) ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 61 ปี



ผลงานทางจิตรกรรม

อย่างที่ทราบกันว่า เหวินถงชื่นชอบการวาดไผ่มาก ไผ่ของท่านจะมีความเคลื่อนไหว
ถอดเอาจิตวิญญาณของความเป็นไผ่มาได้ทั้งหมด
สกุลช่างแนวทางท่านเป็นที่โด่งดัง นับถือว่าเป็น "ปรมาจารย์แห่งไผ่หมึก"
(墨竹大师) หรือรู้จักกันในนาม เหวินหูโจวจู๋พ่าย (文湖州竹派)


มีคำพังเพยที่เกี่ยวกับท่านคือ

"胸有成竹" แปลว่า
"ในหัวอกหัวใจล้วนแต่ครุ่นคิดถึงไผ่"

ที่มาของคำพังเพยคือ บทกวีของซูตุงพอ :

"汉川修竹贱如蓬, 斤斧何曾赦箨龙.
料得清贫馋太守, 渭滨千亩在胸中."

แปลว่า :


"ไผ่งามที่ฮั่นชวนราคาถูกราวกับกอหญ้า,
หน่อไม้ก็ไม่มีใครดูแลรักษาด้วยพร้าขวาน.
คาดหวังว่าสหายผู้สัตย์ซื่อแสนยากจน,
จะได้มีที่สักพันไร่ไว้ในทรวง."



ในหนังสือบันทึกข้อมูลภาพเขียน(ถูฮว่าเจี้ยนเหวินจื้อ : 图画见闻志) กล่าวถึงไผ่หมึกของท่านว่า

"富潇洒之姿,逼檀栾之秀" แปลว่า

"เปี่ยมลีลาท่าทางดังธรรมชาติ เพียบพลังของพฤกษาสง่าพร้อม"





ผมเคยยกคำวิจารณ์ที่ท่านมหากวีซูตุงพอเคยกล่าวถึง
การวาดไผ่ของเหวินถง ท่านแต่งเป็นซือไว้ว่า :




"เมื่อเหวินหยวีเข่อวาดไผ่
จะเห็นแต่ไผ่ ไม่เห็นใครอื่น

ข้าฯว่าเขาไม่เห็นใครเลยทั้งนั้น
ลืมกระทั่งตัวตนของตนเอง

นึกว่าตนเองเป็นต้นไผ่
แตกกิ่งใบไม่รู้จบสิ้น

จวงจื่อก็สิ้นชีพไปนาน
มิได้อยู่กับเราแล้ว

ใครเล่าจักอาจคาดคะเนได้
ในพลังอันลี้ลับนี้?"




นี่คือปรัชญาแห่งการวาดรูปจีน
ที่ต้องศึกษาอย่างทุ่มเทสุดหัวจิตหัวใจ
เพื่อที่จะได้บรรลุถึงขั้นสูงสุด



......................................................



ผลงานภาพเขียน "ไผ่" ของเหวินถง




รูปที่ 1



รูปนี้ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกู้กงที่ไต้หวัน



อธิบายภาพ :

ภาพนี้เป็นไผ่ลำเดียวปรากฏออกมาทางมุมซ้ายบน
ลำอ่อนช้อยขวางพาดลงมุมล่างขวา
แตกกิ่งก้านแผ่ไปทั้งสองข้างดังลีลาเริงระบำ
การปาดแต้มพู่กันแม่นยำ คมชัด
การใช้สีหมึกอ่อนเข้มควบคุมได้ดังใจ
ขนาดกิ่งขนาดใบได้จังหวะเหมือนจริง
มีพลังเคลื่อนไหวราวมีชีวิต

ประทับตรา 2 ตรา คือ
"静闲书屋" (ห้องหนังสือสงบสงัด) และ
"文同与可" (เหวินถงหยวีเข่อ)



รูปที่ 2



รูปนี้ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกู้กงที่ไต้หวัน




รูปที่ 3



รูปนี้น่าจะเป็นการวาดเลียนแบบรูปข้างบน




รูปที่ 4



รูปนี้ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนครเซี่ยงไฮ้




รูปที่ 5



รูปนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งกว่างโจว






สภาพของ รูปที่ 5 ก่อนบูรณะ






.........................................





ชมภาพถ่ายไปพร้อมๆกับฟังเพลงท้ายบล๊อกนะครับ




































..........................................................





สำหรับเพลงครั้งนี้อยากให้ฟังเพลง "เซียวเซียงสุ่ยหยวิน
(瀟湘水雲 : หมอกเมฆเหนือแม่น้ำเซียวและเซียง)
เดี่ยวกู่ฉินโดย ชาร์ลี หวง (ใช้กู่ฉินสายลวด)




ขอบคุณ You Tube สำหรับดนตรีที่แสนเสนาะโสต




........................................


สวัสดีครับ









Create Date : 19 มิถุนายน 2553
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 6:10:04 น.
Counter : 6776 Pageviews.

61 comments
Aankhon Mein Teri Ajab Si (आँखों में तेरी अजबसी) from Om Shanti Om (ओम शांति ओम) ปรศุราม
(29 มี.ค. 2567 09:47:16 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 14 : กะว่าก๋า
(26 มี.ค. 2567 04:51:34 น.)
ภ า พ จิ ต ร ก ร ร ม ฝ า ฝ นั ง สมาชิกหมายเลข 7582876
(23 มี.ค. 2567 11:46:41 น.)
วัดศรีสุภณ Wat Si Suphon, Nakhon Ratchasima. nanakawaii
(21 มี.ค. 2567 00:48:34 น.)
  
โดย: Suessapple วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:0:18:47 น.
  
สวัสดีครับท่านประสกดิ่ง
ผมเดาเอา....เดามานาแล้วว่าแถวๆนั้น (เมืองจีน) ไม้ไผ่คงเยอะมาก
สังเกตุเอาจากหนังจีนกำลังภายใน...ก็เห็นท่านจอมยุทธเดินอยู่ตาม
ดงไผ่..ดังนั้น จิตรกรของเขาก็คงชอบวาดไผ่เป็นพิเศษ...ที่ภูเขาแถว
กาญจนบุรีก็มีไม้ไผ่เยอเหมือกัน...ว่างๆผมจะลองวาดมาโชว์ครับ
โดย: panwat วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:0:24:20 น.
  


โหววววววันนี้คุณดิ่งโหดจังอ่ะ
เล่นไม้เรียวเลย
รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี
ม่ายเคยได้ยินเลยยยยค่ะ

เคยได้ยินแต่
รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตังค์

โดย: Suessapple วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:0:29:53 น.
  
รูปใบไผ่..สวยมากๆทั้ง 5 รูปเลยค่ะ
แต่รูปที่ 3 ทีวาดเลียนแบบรูปที่ 2
วาดได้ไม่อ่อนช้อยงดงามเท่าภาพต้นแบบ

....

เจ้าของบ้านนี้ดุจังเลย
คราวหน้ามาเยี่ยม
ต้องใส่ยีนส์ขายาวมาแล้ว
เดี๋ยวน่องแตก


โดย: Suessapple วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:0:40:15 น.
  
Photobucket

เอาไม้เรียวมาฝากคุณดิ่งทั้งป่าเลยค่ะ

Photobucket

Photobucket
โดย: Suessapple วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:1:13:05 น.
  
หมดคำพูดกับรูปวาด...
วาดเหมือนไผ่มีชีวิตจริงๆสุดยอดเลย



อรุณสวัสดิ์ครับพี่ ^^
โดย: พระจันทร์ของคุณ (Great_opal ) วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:5:40:20 น.
  
สวัสดียามเช้าครับพี่

น้อยแต่มาก
ง่ายแต่งาม

รู้สึกแบบนี้จริงๆครับ
เวลามองภาพใบไผ่ของท่าน

งดงามมากจิรงๆครับ








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:7:58:48 น.
  
ตอนนี้ชัชสนใจเหลียวไจ ของผูซงหลิงมากเลยครับ
ลุงเคยอ่านมั้ย ยากมากกก อยากแปลไทย

ตอนนี้เป็นอะไรก็อยากแปลไปหมด
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:9:55:24 น.
  
วันก่อนผมนั่งอ่านคำสอนของศาสนาอิสลาม
มีหลายคำสอนที่ตรงกับหลักธรรมของพุทธ
รวมทั้งหลักธรรมของคริสเตียนด้วยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:13:30:53 น.
  
ชอบมากๆครับ
ปกคิชัชชอบเรื่องผีๆอยู่แล้ว
อีกอย่างมันเป็นนิทาน
แปลง่ายหน่อย

ยากตรงคนเขียนใช้ภาษาสมัยฉินนี่สิครับ
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:17:33:11 น.
  
สวัสดีค่ะคุณครูดิ่ง...ใจร้ายยยยยยย

หอบเอาดอกกุหลาบสวยๆไปฝากเราแล้ว
นึกว่าครูจะให้อภัย...กลับโดนตี



ทำไมครูดิ่งดุจังเลยยยยย
แค่ไม่ฟังครูสอน นั่งเล่นเกมส์แป๊บบบบเดียวเอง
ก็โดนครูตี

โดย: Suessapple วันที่: 20 มิถุนายน 2553 เวลา:1:02:54 น.
  
มาวหัวทิ่มจิ้มบอลโลกให้มานสุดสุดปายเรยยยย....เอิ๊ก

55555+
ชอบประโยคนี้อย่างแรง อิอิ

อรุณสวัสดิ์ครับพี่ ^^
โดย: พระจันทร์ของคุณ (Great_opal ) วันที่: 20 มิถุนายน 2553 เวลา:6:02:17 น.
  
สวัสดียามเช้าครับพี่

น้องชัชเรียกพี่ลุงเลย หุหุหุ
ผมก็ชอบงานเขียนของผูซงหลิงนะครับ





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 มิถุนายน 2553 เวลา:7:44:49 น.
  
ศิษย์พี่
เด็กสมัยนี้ถ้าโดนตีเมื่่อไหร่ เขาแจ้งตำรวจไม่ก็ฟ้องศาลนะคะ

รูปไผ่รูปแรกสวยจริงๆค่ะ เหมือนนั่งดูไผ่ต้องลมอยู่ตรงหน้า

คนจีนผูกพันกับไผ่มากนะคะ เพื่อนสนิทเป็นคนจีน ไม่กี่วันมานี่เธอบอกว่าอยากกินหน่อไม้ ฤดูนี้ที่เมืองจีน (ที่นี่ด้วย)หน่อไผ่กำลังแทงได้ขนาด (ภาษาของเพื่อน) แต่อยู่ประเทศนี้ก็คงจะได้กินแต่หน่อไม้กระป๋องแก้อยากไปพลางๆก่อน

ดูต้นไผ่แล้วก็ให้นึกถึงแต่สิ่งที่เกี่ยวพันกับจีนมากกว่าอย่างอื่น ตามสวนจีนในสวนต่างๆที่นี่ก็มักจะปลูกไผ่ไว้เป็นสัญลักษณ์ด้วย

รูปถ่ายรูปที่สอง คล้ายๆรูปวาดหลายๆรูปที่เคยลงให้ดูมาก่อนนะคะ สวยกันไปคนละแบบ (แอบชอบแแบบรูปวาดมากกว่านิดนึง)

ปล. แล้วศิษย์พี่ชอบทานหน่อไม้ไหมคะ (หน่อไม้จริงๆนะคะ ไม่ใช่หน่อไม้จิ้มเนื้อ) แม่แป๋วชอบทาน ต้องคอยห้ามๆไว้เพราะแสลงโรค
โดย: SevenDaffodils วันที่: 20 มิถุนายน 2553 เวลา:9:38:04 น.
  
ตอนนี้ชัชพยายามเป็นถ้วยที่ว่างครับ
รอรับเรียนรู้อย่างเดียว
แต่ก่อนเต็มเกินไป เลยทำอะไรก็ไม่ได้
อย่างที่คุณลุงบอกทุกอย่างมันเริ่มจากง่ายๆ
แต่ชัชลืมสิ่งเหล่านี้ไป ไปตั้งเป้าตรงความยาก
ออกแนวมีจุดหมาย แต่ปราศจาคกระบวนการที่่ชัดเจน
ชัชว่ารูปแบบมันสำคัญมาก
เป้าหมายมันแค่สิ่งที่เราต้องไป
แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือรูปแบบของกระบวนการแบบไหน
ถึงจะไปสู่เป้าหมายได้ชัดเจนที่สุด นี่สิยาก


เรื่องเหลียวไจ ชัชเขียนไม่ผิดครับ
ภาษาสมัยราชวงศ์ฉินจริงๆ
ถ้าชิง ชัชคงไม่บ่นว่ายากหรอกครับ

คือคนจีนมีค่านิยมแบบนี้ครับ
บทความที่ดี ที่สวย ต้องเป็นภาษาก่อนฉินครับ
ทีนี้ผูซงหลิงนี่ อ่านหนังสือมาก เก่งไปหมด
เค้าเลยเขียนนิทานผีด้วยการเลียนแบบภาษาสมัยนั้นครับ
ด้วยเหตุนี้ทำไมคนจีนจึงบอกว่า เค้าเขียนได้สวยมาก

ชัชโชคดีที่เรียนมาแล้ว
แต่โชคร้ายที่ภาษาสมัยนั้นเรียบง่ายเกินไป
จนลดทอนอะไรสำคัญไปหลายๆอย่าง
ซึ่งคนจีน(ที่เรียนสูงๆ)อ่านแล้วเข้าใจครับ
แต่เนื้อหาพวกนั้นเวลาแปลสงสัยต้องไปไว้ข้างหลัง
ไม่งั้นจะยาวกว่านิทานซะ
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 20 มิถุนายน 2553 เวลา:10:07:18 น.
  
สวัสดีครับท่านประสกดิ่ง
.....................................................................
แวะมาชวน...ไปดูซากสงครามครับ...เขาช่องไก่
.....................................................................
พักนี้..มีแต่ฟุตบอลครับ....อ่อ..ใบไผ่และกอไผ่ แปะไว้ก่อนครับ
โดย: panwat วันที่: 20 มิถุนายน 2553 เวลา:11:10:25 น.
  
น้องชัชเป็นเด็กที่ไม่ธรรมดานะครับ
ทั้งสิ่งที่สนใจและแนวความคิด

ผมถือว่าเป็นบุคลากรที่มีคุณค่าของประเทศเราเลยครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 มิถุนายน 2553 เวลา:15:42:11 น.
  
"ผู้นำ" หรือ "ผู้ชี้นำ" นั้นสำคัญจริง
คนไม่กี่คนนั้นสามารถนำฝูงชนขึ้นสวรรค์หรือลงนรกได้ทั้งสิ้น
....................................................
จริงของคุณดิ่งนั่นแหละครับ....
....................................................
จากบล็อก...รูปสุดท้าย...ไม่มีที่พิพิธภัณฑ์สงครามหรอกครับผมเจอ
แถวๆกรุงเทพฯเห็นว่าเรื่องราวมันคล้ายๆย้อนยุค เลยเอามาประกอบ
เล่นๆนะครับ

ชมฟุตบอลให้สนุกทีมที่เชียร์ชนะสมใจนะครับ
โดย: panwat วันที่: 20 มิถุนายน 2553 เวลา:21:27:47 น.
  
Photobucket

แว้บบบมาบอกว่า
ไปนั่งดูบอลก่อนนะคะ
เดี๋ยวมา...
โดย: Suessapple วันที่: 21 มิถุนายน 2553 เวลา:1:33:33 น.
  
สวัสดีค่ะ
วันนี้เข้ามาแบบหลบๆ กลัวคุณครูดิ่งที่มีอาวุธพร้อมมือ (ไม้เรียวทั้งป่า) จำไม่ได้ว่าเคยโดนครูตีหรือเปล่า แต่ไม่เคยโดยพ่อแม่ตีแน่นอนค่ะ เป็นเด็กดี อิ อิ (ดื้อเงียบไม่มีใครรู้)

ฝันสลาย นึกว่า หน่อไม้จิ้มเนื้อ เป็นอาหารซะอีก ที่แท้เป็นบทลงโทษ

นอร์ชก้าเติบโตมากับต้นไผ่ ที่บ้านเคยมีไผ่เหลือสองกอใหญ่ ชอบเสียงต้นไผ่เวลาลมพัด ได้อาศัยกินหน่อไม้บ้าง และให้เหล่านกกาได้พำนัก แต่คุณแม่ไม่อยากกวาดใบไผ่แล้ว เราจึงต้องบ้ายบายสองกอนั้น

ฉายาท่าน "เหวินถง" (文同) คือ ประสกยิ้มยิ้ม หรือ นายยิ้มยิ้ม น่ารักดีจังค่ะ ได้ชมภาพสวยๆ ยังได้ปรัญญากลับบ้านไปด้วย ขอบคุณมากค่ะ "ในทางศิลปกรรมจีนจึงเป็นสัญลักขณ์ ของสุภาพบุรุษ ที่อ่อนโยน ถ่อมตน และพูดตรง"

ปล.
1 คุณชาร์ลี หวง แต่งชุดเท่มาก ยอมรับว่าเพลง 瀟湘水雲 นี้ฟังยาก ต้องฟังตั้งหลายรอบแหนะ
2 ภาพถ่ายภาพหนึ่งแปลกตาดีค่ะ ไผ่มีใบเป็นต้นเมเปิ้ล (แซวเล่นนะคะ อิ อิ)
โดย: Noshka วันที่: 21 มิถุนายน 2553 เวลา:2:18:45 น.
  
^^ เขียนผิด คุณครูอย่าตีหนูนะคะ พอดีอากาศมันร้อน หุ หุ

ต้องการบอกว่า "ไผ่เหลือง" กับ "ปรัชญา" (ที่จริงได้ปริญญากลับบ้านอีกสักใบก็ถ้าจะดี อิ อิ) ค่ะ
โดย: Noshka วันที่: 21 มิถุนายน 2553 เวลา:2:31:24 น.
  
อิ อิ มาเจอคุณนอร์ชก้าที่นี่

คุณนอร์ชคะ...คุณครูดิ่งดุมากๆนะคะ
เอาไม้เรียวไปตีเราถึงบ้านเลยค่ะ



ลืมบอกคุณดิ่งไปค่ะว่า
ป่าไม้เรียวที่เอามาฝาก เป็นไม้เรียวนอกนะคะ
ถ่ายที่ญี่ปุ่น ตอนไปเที่ยวที่เมือง Kamakura แล้วได้ไปเที่ยว
วัดป่าไผ่ พอดีจำชื่อภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ค่ะเลยเรียกวัดป่าไผ่

วัดนี้ร่มรื่นมากๆ เต็มไปด้วยต้นไผ่สูงๆอย่างที่เห็น
และในป่าไผ่ยังมีร้านให้นั่งดื่มน้ำชาด้วยค่ะ
ร้านเล็กๆน่ารักมาก แต่เราไม่ได้เข้าไปนั่ง
เพราะมัวแต่เดินชื่นชมกับความงามของต้นไผ่

Photobucket

ขอบคุณคุณดิ่งสำหรับกุหลาบเฉิ่มๆสองดอกนะคะ
ของเรามีดอกเดียวเอง...แต่ทั้งเฉิ่มทั้งเชยเลยอ่ะ
รับไว้หน่อยก็แล้วกัน

โดย: Suessapple วันที่: 21 มิถุนายน 2553 เวลา:3:43:14 น.
  
มาทักทายยามเช้าครับพี่


อรุณสวัสดิ์ครับ ^^
โดย: พระจันทร์ของคุณ (Great_opal ) วันที่: 21 มิถุนายน 2553 เวลา:6:07:04 น.
  
สวัสดียามเช้าครับพี่







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 มิถุนายน 2553 เวลา:7:56:29 น.
  
ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆ ที่แนะนำน้องชัชครับผม
โดย: กุ๊กไก่ IP: 210.246.159.254 วันที่: 21 มิถุนายน 2553 เวลา:9:01:07 น.
  
คุณพันวัตต์...

ไผ่ทางจีน จีนเหนือหรือแถวญี่ปุ่นจะต่างกับไผ่บ้านเราตรงที่มักขึ้นเป็นลำเดี่ยวๆ ไม่เป็นกอ
ปลูกแล้วมีช่องไฟจังหวะ มีระเบียบ สวยงาม จึงเป็นแรงบันดาลใจทางศิลปะได้ดีมาก
แต่แถวๆจีนใต้จะมีพวกไผ่เป็นกอแบบเราด้วยครับ

สนุกกับการดูบอลนะคร้าบคุณไฟแรงสูง



คุณเปิ้ล...

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตังค์" ...... ประยุกต์ได้ตรงเป๊ะเรยครับ
ลูกศิษย์ผมหลายคน spoiled เพราะพ่อแม่ให้ตังค์เยอะ รักมากให้ตังค์มาก
มานเรยหาแต่เวลาไปใช้ตังค์จนลืมเรียนหนังสือ
มีสุดยอดอยู่คนนึง หลักสูตร 6 ปี เธอเรียนซะ 12 ปี เพิ่งจบไป
เข็นกันแทบตาย เฮ้อออออ.....จบปายแระ

คุณครูดิ่งใจร้ายเพราะเป็นลูกศิษย์ของมาร์กีส์ เดอ ซ้าดส์
ก็บอกแร้วงัยว่า...ม่ายร้ากม่ายตีให้เมื่อยมือหรอก

แต่ตอนนี้ผมเลิกตีลูกศิษย์แล้ว
ถ้ามันเกเร แล้วสอบซ่อมไม่ได้ ผมรีไทร์มานลูกเดียว...โหดกว่ามั้ย?
เหอ เหอ เหอ



คุณพระจันทร์ของคุณหมอ...

จริงครับ....หลายรูปที่งามมากๆจนไม่รู้จะบรรยายอย่างไร
เจอแบบนั้น...เล่าฮูก็มิมีวาจาอันใดจะกล่าวแล้ว เหอ เหอ เหอ



คุณน้องก๋า...

ภาพไผ่หมึกของจีนนี้ สะท้อนคำพูดที่ว่า
"Simplicity is Beauty" จริงๆ
แค่สีขาวดำ+สีแดงเล็กๆของตราประทับ....ลงตัวที่สุด



น้องชัช...

พี่ก๋าเขาถือว่าชัชเป็นบุคลากรที่มีคุณค่าของประเทศเราเลยนะ
แต่ลุงว่า วิชากู่ฉินหรือดนตรีทั้งหลายเนี่ย เป็นของมนุษยชาติด้วยซ้ำไป

เหมือนที่ใครๆหลายคนว่า..........

"Music, when soft voices die Vibrates in the memory"
(Percy Bysshe Shelley)

"Music should strike fire from the heart of man, and bring tears from the eyes of woman."
(Ludwig van Beethoven)

"Music is the divine way to tell beautiful, poetic things to the heart."
(Pablo Casals :Spanish Cellist and Conductor)

"Music is the universal language of mankind"
(Henry Wadsworth Longfellow)

"I despise a world which does not feel that music is a higher revelation than all wisdom and philosophy"
(Ludwig van Beethoven)

"Music takes us out of the actual and whispers to us dim secrets that startle our wonder as to who we are, and for what, whence, and whereto."
(Ralph Waldo Emerson)

แค่นี้ก่อนน๊าชัช



คุณแป๋ว SevenDaffodils...

ศิษย์พี่ชอบกินหน่อไม้สุด เช่น
ซุปหน่อไม้(ไม่ใส่ข้าวคั่วบด)
แกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง(บางคนเรียกแกงเปอะ/เปรอะ)
แกงส้มหน่อไม้ดอง ปลาน้ำจืด แล้วใส่ใบมะขามอ่อน
ต้มจืดหน่อไม้หวานกับซี่โครงหมู
หน่อไม้ต้ม/ลวกจิ้มน้ำพริกกะปิ
ฯลฯ
โอ๊ย สาระพันเมนู

คนที่ปลูกไผ่เขาจะรู้วิธีเลี้ยงหน่อไม้ให้อวบโต พอเห็นแทงหน่อใหม่ๆต้องรีบโกยเอาดินกลบไว้ก่อน อย่าไปรีบสับ(ตัด)
เวลาปรุงบางชนิดจะขม ต้องต้มเอาน้ำขมออกก่อน
เอาเฉพาะที่อ่อนๆนุ่มๆมาปรุง ที่แข็งๆกระด้างเอาทิ้งไป อย่าเสียดาย

จำพวกพืชที่เป็นยอดอ่อน หรือหน่อ จะมีกรดยูริคสูงมาก
เป็นอันตรายต่อคนเป็นโรคเก๊าต์ ใครเป็นโรคนี้อดอาหร่อยกับหน่อไม้แหง็มๆ



คุณนอร์ชก้า...

ถ้ามีลูกหลานเอามาเป็นลูกศิษย์ผม รับรองได้ดีทุกราย
หาครูดุดุเด๋วนี้ง่ายซะเมื่อไหร่

พอรู้ว่าเราดุ...มานบอกว่า มีลูกขอตัวดิ 555+ ม่ายช่ายหมานะเฟร้ย

คุณน้อร์ชเคยปลูกไผ่จะรู้ว่ามันโตเร็ว รกเร็ว
ผมเคยปลูกไว้ใกล้ตัวบ้าน สักพักนึงกลับถึงบ้านทีไรเป็นลมพิษคันคะเยอทุกที
ลองขุดไผ่ทิ้งดู หายครับ แสดงว่าแพ้คายขนเล็กตามใบ กาบไผ่

ปรัชญาจากไผ่อีกอันนึงที่ผมเห็นว่าดีคือ

"ความกลวงของลำไผ่"

ความกลวง = ความว่าง (空 อ่านว่า คง)

พุทธะ เป็นศาสนาที่นิยม "ความว่าง" คือ สูญญตา, อนัตตา
จึงเรียกว่า "คงเจี้ยว" (空教) คือลัทธิแห่งความว่าง
ล้อคำว่า "ขงเจี้ยว" (孔教) คือลัทธิขงจื่อ

ตัวเอกของนิยายกิมย้งใน 8 เทพอสูรมังกรฟ้า ชื่อ ซวีจู๋ (虚竹)
แปลว่า ไผ่แห่งความว่าง, ไผ่ที่กลวง
ซวีคง ( 虚空) = ความว่างเปล่า
หากคุณน้อร์ชเห็นต้นไผ่ รูปไผ่ ใจก็สามารถคิดไปถึงความเป็นแก่นแห่งพุทธะได้
เป็นอนุสติให้นึกถึงสูญญตาเพื่อลดการยึดมั่นถือมั่นได้นะครับ

เคยอ่านมาก็เอามาเล่าต่อครับคุณน้อร์ช



คุณกุ๊กไก่...

หวัดดีครับท่าน สิ่งดีๆที่ผมมีอยู่น้อยนิด แบ่งให้ใครๆได้
แล้วทำไมจะให้หลานไม่ได้ละครับ...ว่าแต่ว่า เบื่อลุงเพ้ออะป่าว หุ หุ หุ


โดย: Dingtech วันที่: 21 มิถุนายน 2553 เวลา:11:33:16 น.
  
สวัสดีค่ะคุณดิ่ง...

ขอบคุณสำหรับเม้นท์ยาวๆที่บ้านค่ะ
เป็นการให้ความรู้เพื่อนบล๊อคไปด้วยเลย
เกี่ยวกับความเป็นมาของปราสาทยุโรปสมัยกลาง
ซึ่งเราไม่ได้เอามาลงไว้ เพราะไม่อยากทำบล๊อคซีเรียส
และคิดว่าถ้ามีใครสนใจจริงๆ ก็คงไปค้นในกูเกิ้ลได้

แต่โดนคุณครูไปตรวจงาน 555 ถือว่าคุณครูช่วยลูกศิษย์
มาให้ความรู้กับเพื่อนๆก็แล้วกันนะคะ
ลูกศิษย์ขี้เกียจอย่างเรา
555 เรียนก็ขี้เกียจ ครูจะตีก็ไม่ยอม จะรีไทร์ก็ไม่ไป เอิ๊กๆๆๆๆ

ปราสาทหลังนี้เป็นของส่วนบุคคล
ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนค่ะ
ในนั้นมีคุกด้วยจริงๆแหละ
หนึ่งในนักโทษที่ถุกขังอยู่ในคุกนั้น
เป็นหญิงสาวคนหนึ่งที่ฆ่าทารกแรกเกิด
ที่เป็นลูกของตัวเอง ... ฟังแล้ว.. เศร้า

ปราสาทชิลลอนที่ Montreux ใช่ไหมคะ
ปราสาทนั้นสวยมากตั้งอยู่ที่ทะเลสาบเจนีวา
อยากไปอีกจัง แต่ไกลไปโหน่ยยยย

เรื่องถ่ายรูปเด็กๆ
เรามีในไฟล์รูปเพียบเลยค่ะ
สงสัยวันหลังต้องเอามาลงบล๊อคเฉพาะรูปเด็กๆ ที่ทั้งแอบถ่าย
และไปขอเค้าถ่าย อิ อิ
รูปเด็กผู้หญิงสามคนนั้น
วันนั้นที่ปราสาทหลังนี้มีงานแต่งงานค่ะ
เด็กๆที่มางานเลยวิ่งเล่นไปมาอยู่ในปราสาท
เราเลยจับมาถ่าบรูปเสียเลย

วันนี้ก็จะเชียร์สวิสค่ะคุณดิ่ง
แต่อากาศไม่ค่อยเป็นใจเลย
ครึ้มๆ ฝนทำท่าจะตก และหนาวววด้วย
ข้างนอกอุณหภูมิ 14 องศาเอง
คือกะว่าจะออกไปเชียร์กับเพื่อนๆข้างนอก
ไปดูจอยักษ์ แต่ว่าถ้าฝนตกก็คงหมดสนุก
คงต้องนั่งเชียร์อยู่ที่บ้านแทน

คุณดิ่งดูบอลเอาสนุกๆสิคะ
อย่าไปซีเรียส จะได้ไม่อ่อนล้าระโหยจนเกินไป
ถ้าทีมไหนที่เราลุ้นมากๆ เราก็เหนื่อยเหมือนกันค่ะ
เล่นเสร็จ คนเชียร์ก็หมดแรง
แต่พอมีบอลอีกเราก็เชียร์อีก 55 ไม่เคยท้อ
เรื่องเชียร์บอลสู้ตายยย..ว่าแต่วันนี้เชียร์สวิสนะคะครูดิ่ง



รักษาสุขภาพและขอให้คุณดิ่งมีความสุขมากๆนะคะ

โดย: Suessapple วันที่: 21 มิถุนายน 2553 เวลา:16:33:42 น.
  
ฮ่าๆๆๆๆๆ
ทำไมเม้นท์เรายาวจังหว่า
โดย: Suessapple วันที่: 21 มิถุนายน 2553 เวลา:16:35:03 น.
  
มาใหม่...
คราวก่อนคุยไว้ว่า
ในวัดป่าไผ่นี้มีร้านน้ำชาด้วย
เลยมาชวนคุณดิ่งดื่มชาร้อนๆกันนะคะ


Photobucket

Photobucket

Photobucket
โดย: Suessapple วันที่: 21 มิถุนายน 2553 เวลา:16:43:34 น.
  
8 ปีที่แล้ว
ผมดูบอลโลกทุกคู่
จบบอลโลกผมน้ำหนักลด 8 โลครับ 5555

พอแต่งงานมีเมีย มีลูก
การดูฟุตบอลก็หายไปจากชีวิต
ตอนนี้อ้วนกลมปุ๊กลุ๊กเลยครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 มิถุนายน 2553 เวลา:18:09:15 น.
  
สวัสดีค่ะคุณดิ่งขอบคุณสำหรับ ผลงานภาพเขียน "ไผ่" ของท่านเหวินถงนะคะ มีโชว์ที่พิพิธภัณฑ์กู้กงที่ไต้หวันด้วยเหรอคะ เดี๋ยวเดือนหน้าหยุนจะไปไถวาน ต้องไปชมให้ได้เลยค่ะ แต่ไม่รู้จะหาเจอเหรอป่าว แต่เค้าห้ามถ่ายรูปภายในพิพิธภัณฑ์เสียดายจัง
โดย: yzai วันที่: 21 มิถุนายน 2553 เวลา:20:37:33 น.
  
สวัสดีครับ
...................
มาทักทายครับ
โดย: panwat วันที่: 22 มิถุนายน 2553 เวลา:0:08:40 น.
  
โธ่ ไอ้ขาสั้น 5555555555555555+
ผมอ่านแล้วอย่างฮา 555+

อรุณสวัสดิ์ครับ ^^
โดย: Great_opal วันที่: 22 มิถุนายน 2553 เวลา:6:09:36 น.
  
สวัสดียามเช้าครับพี่





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 มิถุนายน 2553 เวลา:7:50:18 น.
  
สุดยอดเลยครับ
โดย: บูรพากรณ์ วันที่: 22 มิถุนายน 2553 เวลา:9:11:05 น.
  
ผมรอดูคู่อังกฤษครับพี่

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 มิถุนายน 2553 เวลา:14:25:33 น.
  
สวัสดีค่า ไม่ได้แวะมาซะนาน คอมเพิ่งซ่อมเสร็จ หยุดเล่นบล็อคไปเป็นอาทิตย์ ๆ เลยงวดนี้ ขอบคุณมากที่แวะไปเจิมบล็อคใหม่ให้นะคะ

ฮากลอนหน่อไม้จิ้มเนื้อมากเลยอ่ะ เขียนได้น่ารักดีแท้ ตอนเรียนเป็นเด็กดี ไม่โดนไม้เรียว แต่อยู่บ้านออกจะทะโมน โดนแม่ฟาดประจำ

ดีจัง ได้อ่านเรื่องของปรมาจาร์ยวาดไผ่อย่างละเอียด แถมได้อ่านบทกวีเพราะ ๆ ด้วย ขอบคุณมากนะคะ สำนวนแปลคุณDingtechยังเฉียบขาดเหมือนเดิม ภาพไผ่ของท่านเหวินถงงามจริง ๆ ค่ะ เห็นแล้วนึกอยากวาดไผ่มั่ง แต่ลงมือวาดทีไรก็เหลวทู๊กที
โดย: haiku วันที่: 22 มิถุนายน 2553 เวลา:22:09:28 น.
  
โดย: Suessapple วันที่: 23 มิถุนายน 2553 เวลา:3:54:23 น.
  


เอาดอกไม้ไปฝากเราทั้งต้น
แล้วยังไม่รู้อีกว่าดอกอะไรมาถามเรา
เราดูแล้วดูอีก คิดว่าเป็นดอกข้างล่างนี่แหละค่ะ
ใช่แน่นอน อิ อิ

Photobucket

ขาเขาคือกิ่งพฤกษชาติ
ช๋อชูดูดาษ....และดกด้วยดอกออกระดะ
.
.
เอากลอนปาตูมาด้วย
ให้ครูดิ่งช่วยแปลด้วยค่ะ
ขาเขา ?????
ช๋อชู ?????
ออกระดะ ?????
.
.
เห็นมันหล่นอยู่ใต้ต้นไม้น่ะค่ะ


โดย: Suessapple วันที่: 23 มิถุนายน 2553 เวลา:4:01:20 น.
  
แต่หลายครั้งเราไม่เข้าใจ....ในสิ่งที่สามารถเข้าใจ^^

เพราะอะไรเล่า????...โง่ รั้น หรือว่า ตะแบง...ละขอรับ?


ถูกใจมากมายครับ...

อรุณสวัสดิ์ครับพี่ ^^
โดย: พระจันทร์ของคุณ (Great_opal ) วันที่: 23 มิถุนายน 2553 เวลา:5:41:12 น.
  
สวัสดียามเช้าครับพี่






โดย: กะว่าก๋า วันที่: 23 มิถุนายน 2553 เวลา:7:47:57 น.
  
รีบกลับมาขอบคุณครูดิ่งจะรับลูกหลานหนูเป็นศิษย์นะคะ ต้องส่งหลานๆไปเรียนก่อน เพราะลูกๆไม่รู้จะลืมตาดูโลกเมื่อไหร่ สอนเราไปก่อนก็ได้นะคะ : )
ที่จริงชอบเรียนกับครูดุๆ ค่ะ ตื่นเต้นดี ถือคติว่าถ้าไม่รักและห่วงใยกัน ไม่เสียเวลาสั่งสอนหรอก

ไผ่มีประโยชน์จริงๆค่ะ มองเป็นธรรมะก็ได้ด้วย ขอบคุณเรื่องที่อ่านแล้วมาเล่าต่อ... "รูป" พอจะสละความยึดมั่นถึอมั่นได้.. แต่ "จิต" นี่สิค่ะ สละยากจริงๆ

ไม่ได้มามือเปล่า เห็นรูปนี้แล้วนึกถึงตอนลอยกระทงสมัยที่ยังเป็นเด็กๆ ที่บ้านจะเผาข้าวหลามกินกันค่ะ

โดย: Noshka วันที่: 23 มิถุนายน 2553 เวลา:9:49:15 น.
  
ใช่เลยครับพี่
การมีลูก
ทำให้วิธีคิดของผมเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงครับ


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 23 มิถุนายน 2553 เวลา:10:41:40 น.
  
สวัสดียามบ่ายค่ะ

สบายดีกันหรือป่าวคะ??

ขอให้มีความสุขมากๆนะคะ,,
โดย: cd2lucky วันที่: 23 มิถุนายน 2553 เวลา:14:31:57 น.
  
สวัสดีค่ะคุณดิ่ง..

Lugano ที่คุณดิ่งไปถ่ายรูปดอกไม้มา
ที่เดียวกับที่นี่หรือเปล่าคะ

Photobucket

โดย: Suessapple วันที่: 24 มิถุนายน 2553 เวลา:0:44:33 น.
  
ขอบคุณสำหรับกุหลาบ 4 เศษ 1/4 ดอกค่ะ
สีสวยเข้ากับบีจีบ้านเราเลย


Photobucket

ระหว่างทางมาบ้านคุณดิ่ง
เราเลยแวะเก็บกุหลาบมาฝากคุณดิ่ง
อย่างละครึ่งดอกค่ะ

Photobucket

เจ้าลิงน้อยนินจา
บอกจะตามมาด้วย
เลยต้องให้มา อิ อิ

โดย: Suessapple วันที่: 24 มิถุนายน 2553 เวลา:0:50:57 น.
  
หมากัดกันเลยเหรอพี่ 5555+



อรุณสวัสดิ์ครับ ^^
โดย: พระจันทร์ของคุณ (Great_opal ) วันที่: 24 มิถุนายน 2553 เวลา:6:07:35 น.
  
"กินหน่อไม้จิ้มเนื้อ"สำนวนจีนนี้เคยได้ยินครับ
แต่ไม่รู้ความหมายวันนี้ได้รุ้ซักทีอิอิ เกือบลืมคำๆนี้ไปเเล้วเหมือนกัน พี่ชายเอามาเขียนมันเหมือนขุดเอาความจำเบื่องลึกออกมาใหม่ ขอบคุณครับ อ่านเพลินดูภาพประกอบเสียงเพลง เข้ากันดีแท้ ที่บ้านผมปลูกไผ่น้ำเต้าไว้ตอนนี้สูง2เมตรได้แล้วครับ เสียงลมต้องใบไผ่ซู่ๆได้อารมณ์ที่ไม่อาจบรรยายได้เลย อิอิ ชอบภาพต้นไผ่ทามกลางหมองที่พี่เอามาให้ดูมากครับ
โดย: takaiji วันที่: 25 มิถุนายน 2553 เวลา:1:26:34 น.
  
สวัสดียามเช้าครับพี่






โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 มิถุนายน 2553 เวลา:8:09:14 น.
  
สวัสดีสายๆครับท่านประสกดิ่ง
มีของฝากเล็กๆน้อยครับ
.................................
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
..................................
26 มิถุนายน 2553 รำลึกถึงสุนทรภู่ครับ
โดย: panwat วันที่: 25 มิถุนายน 2553 เวลา:10:32:15 น.
  
แวะมาทักทายและส่งเข้านอน ฝันดีนะคะ
โดย: sawkitty วันที่: 25 มิถุนายน 2553 เวลา:22:20:55 น.
  
ว้าววววววคุณดิ่ง
คุณดิ่งไป Lugano centro
ได้ไปเจอปฎิมากรรมชิ้นเอกหลายชิ้นเลยอ่ะค่ะ
ทำไมตอนเราไปไม่ได้เห็นมะรู้
.
.
ตอนเราไปเดินๆเล่นอยู่ริมทะเลสาบ
ได้เจอแต่คนบ้านั่งมองทะเลสาบอ่ะ

เลยเอารูปทะเลสาบมาฝากค่ะ
ซว๊ยสวยโนะ


Photobucket


โดย: Suessapple วันที่: 25 มิถุนายน 2553 เวลา:22:24:54 น.
  
สวัสดียามเช้าครับพี่





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 มิถุนายน 2553 เวลา:7:40:58 น.
  
สวัสดีค่ะคุณพี่ดิ่ง..

เพิ่งโงหัวได้จากบอลค่ะ.. เลยไม่ได้เข้ามาเยี่ยมซะพักนึง สงสัยอยู่เหมือนกันว่าคุณดิ่งจะอัพแล้วหรือยัง..

ไผ่ ดูเหมือนเป็นภาพวาดง่ายๆ แต่ยากนะคะที่จะทำให้ออกมาดูมีชีวิตชีวา ดูเหมือนภาพวาดหรืออะไรที่เกี่ยวกับไผ่เนี่ย จะให้ความรู้สึกว่าเป็นสัญญลักษณ์ของจีนไปซะแระ นอกจากนั้นก็มีเกาหลี ญี่ปุ่น ที่ใช้ประโยชน์จากไผ่กันอย่างคุ้มค่า

ถูกหวดด้วยกิ่งไผ่ยังไม่เคยอ่ะค่ะ ไม่อยากลองด้วย เคยถูกหวดแค่ก้านมะยมก็แย่แล้ว..

เป๊ะเลยค่ะกับเรื่องรักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ป้าโซเองก็ยังเห็นด้วยกับคำขวัญนี้อยู่ ถึงแม้ตัวเองจะตีลูกนับครั้งได้ก็ตาม

เด็ก.. ยังไงซะก็เป็นเด็กอยู่วันยังค่ำ การลงโทษบ้างในบางครั้งเพื่อให้เขาจำ เป็นการสมควรอย่างยิ่ง แต่ต้องเป็นการลงโทษที่ควบคู่ไปกับคำสั่งสอน มิใช่เป็นการลงโทษด้วยอารมณ์ซึ่งจะทำให้การลงโทษนั้นไร้ความหมายไป

สังคมในร.ร.ที่ญี่ปุ่น เมื่อสมัยก่อนก็เป็นแบบเราแหละค่ะ คือครูมีสิทธิ์ในการลงโทษนักเรียนได้เมื่อทำผิด แต่สมัยนี้ไม่สามารถลงโทษได้อย่างสุ่มสี่สุ่มห้าอีกต่อไป เนื่องจากยุคสมัยได้เปลี่ยนไป คนก็ได้เปลี่ยนไปด้วย ประมาณลูกข้าใครอย่าแตะ .. เนี่ย ไอ้อย่างเนี้ยมันจะกลายเป็นพ่อแม่รังแกฉันไปซะ แล้วมันไม่ใช่แต่จะรังแกฉันสิคะ ไอ้ตัว"ฉัน"นี่แหละจะไปรังแกชาวบ้านอื่นในสังคมด้วย ..

จากไผ่ไปถึงเรื่องตี..ท่านพี่โยงเรื่องได้แจ่มนัก ว่าแต่.. หน่อไม้จิ้มเนื้อ นี่ ถ้าเปลี่ยนเป็นพันเนื้อน่าจะอร่อยกว่านะคะ
โดย: ป้าโซ วันที่: 26 มิถุนายน 2553 เวลา:12:56:01 น.
  
ดีค่ะ


ที่จีน ต้นไผ่เยอะจริงๆ

โดยเฉพาะ บริเวณซีหู
โดย: kiwi (la_ongrat ) วันที่: 26 มิถุนายน 2553 เวลา:17:02:56 น.
  
สวัสดียามเช้าครับพี่








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 27 มิถุนายน 2553 เวลา:7:53:18 น.
  
ดีค่ะ

คิดถึงอาหารไทยจริงๆ ค่ะ

วันนี้ทำอาหารไทยอีกวันค่ะ

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
โดย: kiwi (la_ongrat ) วันที่: 27 มิถุนายน 2553 เวลา:8:00:34 น.
  
สวัสดีครับพี่ชายขอบคุณสำหรับเกร็ดความรู้เรื่องดอกลีลาวดีด้วยครับ ผมเองพึ่งรู้ว่าดอกลีลาวดีเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาวนะครับเนี่ยและอีกอย่างผมก็พึ่งจาไปเถียงกับเพื่อนที่ทำงานที่เค้าเป็นคนอีสานว่าเค้าไม่ได้เรียกดอกจำปาซะหน่อยเค้าเรียกลีลาวดี อิอิ เพราะผมผมเคยเห็นตอกจำปามันจะเป็นดอกสีเหลืองๆกลีบดอกลีๆยาวๆ เลยไปปล่อยไก่ซะงั้นแหะๆ ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับพี่ และขอบคุณสำหรับภาพงานปั้นที่นำมาฝากด้วยนะครับเจ๋งมากเลย
โดย: takaiji วันที่: 27 มิถุนายน 2553 เวลา:22:37:39 น.
  
สวัสดีค่ะคุณดิ่ง...

ขอบคุณสำหรับรูปวิวสวยๆจากหาดใหญ่นะคะ
เพราะรูปนี้ทำให้เราต้องเข้าไปเช็คในกูเกิ้ล จึงได้รู้ว่าหาดใหญ่อยู่ในจังหวัดสงขลา ..เชยจังเลยเรา อิ อิ เหมือนเป็นจังหวัดเลยนะคะ ใหญ่มาก

เรื่องปราสาท Neuschwanstein ของคิง Ludwig ที่เต็มไปด้วยภาพวาดแสนโรแมนติกของ Wagner นั้น เราเคยไปแต่เค้าห้ามถ่ายรูปข้างในน่ะค่ะคุณดิ่ง คิง Ludwig นี่ต้องปลื้ม wagner และหลงใหลในตัวเขามากถึงกับสร้างปราสาทแห่งนี้สว่นหนึ่งคือให้เป็นที่ระลึกแก่ wagner แต่คนเยอรมันรุ่นนี้ก็ชื่นชมหลงใหลเพลงของเขาไม่แพ้บีโธเฟนเลยค่ะ

คุณดิ่งรีเควสท์มา เราหารูปเก่าๆไม่เจอแล้วค่ะ
เอาไว้ถ้าได้ไปอีกเมื่อไหร่ จะเอามาโชว์นะคะ
แต่ อิ อิ มันไกลจากที่เราอยู่จัง

ป่านนี้คุณดิ่งคงหายไข้แล้วมั๊งคะ
ถ้ายังก็ขอก็หายเร็วๆนะคะ

วันนี้ไปเดินเล่น เห็นต้นไผ่ผุดหน่อขึ้นมาจากดินที่นี่
รีบถ่ายรูปมาเลยค่ะ เพราะไม่เคยเห็น 55
เชยอีกแร้วววว
เดี๋ยวมานะคะ เดี่ยวไปเอารูปมาให้ดู

แป๊บบบบบบบบบบบบบบ
โดย: Suessapple วันที่: 27 มิถุนายน 2553 เวลา:23:26:51 น.
  
มาแว้วววววววก๊าบ

Photobucket


Photobucket

คุณดิ่งว่าหน่อไม้อันนี้จะกินได้มั๊ยคะ
ถ้ากินได้ พอโตสักโหน่ยเราจะไปตัดเอามากิน


โดย: Suessapple วันที่: 27 มิถุนายน 2553 เวลา:23:37:58 น.
  
Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket
โดย: Suessapple วันที่: 27 มิถุนายน 2553 เวลา:23:41:06 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Dingtech.BlogGang.com

Dingtech
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]

บทความทั้งหมด