PM 2.5 ภัยเงียบที่ไม่มีใครสนใจ ต้องรอให้ป่วยก่อนหรือ ถึงจะใส่ใจมัน
PM 2.5 ภัยเงียบที่ไม่มีใครสนใจ จะต้องรอให้คนใกล้ตัวป่วยก่อนหรือ ถึงจะใส่ใจมัน
          “มองไม่เห็น ใช่ว่าจะไม่มี” คำคำนี้ไม่ได้ใช้กับสิ่งเหนือธรรมชาติเท่านั้น แต่สิ่งที่มีในธรรมชาติแล้วเรามองไม่เห็น แต่สามารถส่งผลต่อชีวิตคุณ หรือคนที่คุณรักได้ก็คือแก๊ส สารเคมี ฝุ่นผง และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ซึ่งในวันนี้สิ่งที่มองไม่เห็นแต่มีผลกับการดำรงชีวิตของเราทุกคนในประเทศไทย คือ กลุ่มของฝุ่นผงขนาดเล็กที่เรียกว่า PM 2.5 และยังรวมพลังกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทั้งแบคทีเรีย และเชื้อโรค เชื้อไวรัสต่างๆ ซึ่งทำให้คนที่ร่างกายอ่อนแอป่วย หรือสะสมเป็นโรคร้ายในระยะยาว
          ฝุ่น PM 2.5 เป็นคำเรียกค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีหน่วยวัดคือ ไมครอน หรือไมโครเมตร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ PM 10 และ PM 2.5 โดยฝุ่น PM 2.5 เป็นอนุภาคขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร แขวนลอยอยู่ในอากาศรวมกับไอน้ำ ควัน และก๊าซต่างๆ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เมื่อมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมหาศาลจะมองเห็นเป็นหมอกควันอย่างที่เราเห็นกันในทุกๆ เช้านั่นเอง เป็นมลพิษต่อสุขภาพของมนุษย์ตามที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญ และออกมาแจ้งเตือนให้ทราบ เพราะเป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมาก (เล็กกว่าเส้นผมถึง 20 เท่า) เมื่อหายใจเขาไปแล้ว สามารถเล็ดลอดผ่านขนจมูกเข้าสู่ปอดและหลอดเลือดได้ง่าย จนส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว โดย PM 2.5 มีแหล่งกำเนิดจาก 5 เหตุหลักใหญ่ๆ คือ โรงผลิตไฟฟ้า ควันท่อไอเสียรถยนต์ การเผาป่า เผาขยะ  การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ และฝุ่นจากการก่อสร้าง สำหรับกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นเมืองที่ล้อมรอบไปด้วยตึกสูง มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่น PM 2.5 ได้ง่าย
 
PM2.5 เกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัย คือ
1. แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่
    1). จากการเผาในพื้นที่เพาะปลูกพืช รวมไปถึงหมอกควันพิษข้ามพรมแดน เป็น 58.82% ของการเกิดทั้งหมด
    2). การคมนาคมขนส่ง มาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง เป็น 14.08% ของการเกิดฯ และยังเป็นแหล่งกำเนิดของออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) อีกด้วย
    3). การผลิตไฟฟ้า เป็น 8.89% ของการเกิดฯ แม้จะน้อยกว่า 2 สาเหตุแรก แต่เป็นต้นเหตุในการปล่อยก๊าซพิษ (NOx และ SO2) มากที่สุด
    4). อุตสาหกรรมการผลิต เป็น 18.21% ของการเกิดฯ โดยพบมากที่สุดในที่ อ.มาบตาพุด จังหวัดระยอง
2. การรวมตัวของก๊าซต่างๆ ในอากาศ ทั้งสารปรอท(Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) โดยเฉพาะออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ล้วนแต่เป็นสารพิษที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์


 
การกำหนดค่า PM2.5 ขององค์การอนามัยโลก
          องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดค่ามาตรฐาน 4 ระดับ ได้แก่ 35, 25, 15 และ 10 µg./m3 ขึ้นอยู่กับระดับการพัฒนาของประเทศ โดยค่าเฉลี่ยรายปีและค่าเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมง อยู่ที่ 10 และ 25 µg./m3 ตามลำดับ แต่ไทยได้กำหนดค่าไว้สูงกว่าค่ามาตรฐาน โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 25 และ 50 µg./m3 เพราะได้รับสิทธิพิเศษที่จะสามารถปล่อยมลพิษทางอากาศได้มากกว่าหลายประเทศในฐานะ “ประเทศกำลังพัฒนา”
 
โรคร้ายที่เกิดจาก ฝุ่น PM 2.5
          ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กมาก (ประมาณ ⅛ ของ ผศก. เส้นผม) สามารถเล็ดรอดผ่านผนังถุงลมเข้าไปในเส้นเลือด และกระจายตัวแทรกซึมไปทั่วร่างกายได้ กระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ลดระบบแอนตี้ออกซิแดนท์ รบกวนสมดุลของร่างกาย กระตุ้นยีนที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งสารอักเสบซึ่งมีอันตรายต่อเนื้อเยื่อในร่างกาย และส่งผลกระทบต่างๆ ตามมา คนที่มีโรคระบบทางเดินหายใจ คนที่เป็นโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดกิดอาการกำเริบ  ส่วนผลระยะยาวจะทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองได้ แม้ว่าคุณจะไม่สูบบุหรี่ และมีโอกาสทำให้เกิดมะเร็งปอดอีกด้วย โรคที่เกิดจาก PM 2.5 ที่อาจแสดงผลได้ทันที คือ โรคผิวหนัง เพราะอนุภาคฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กมาก สามารถผ่านเข้าไปยังเซลล์ผิวหนังได้ ทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับผิวหนัง ทำให้เกิดริ้วรอย ผิวหมองคล้ำ เกิดจุดด่างดำและส่งผลต่อการทำงานของเซลล์­ผิวในระดับยีน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรค ผิวหนังอักเสบ และโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคเยื่อบุตาอักเสบ หรืออาการตาแดง เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือมลพิษในอากาศ เมื่อฝุ่นควันจาก PM 2.5 เข้าสู่เยื่อบุตาจนเกิดการอักเสบ ดาแดง แสบตา คันตา ถ้าไม่รุนแรงมาก อาการจะหายไปเองภายใน 2-3 สัปดาห์
 
ข้อแนะนำและวิธีป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5
- หลีกเลี่ยง หรือ งด การเผาไหม้ขยะในที่แจ้ง
- หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่เปิด ในพื้นที่การจราจรคับคั่งกลางเมือง
- ออกกำลังกายในที่ร่ม หรือที่ที่ฝุ่นน้อย ไม่ควรใส่หน้ากากอนามัยเวลาออกกำลังกาย**
- รับประทานอาหารเสริม อาหารที่มีวิตามินซี และวิตามินอีสูง เช่น ถั่ว ปลา(มีโอเมก้า 3 มาก)
- จัดหาเครื่องกรองอากาศในรถ ในบ้าน (ถ้ามีงบประมาณ)
  เครื่องกรองอากาศปัจจุบันมีมากมายหลายยี่ห้อ 90% กรอง PM 2.5 ได้หมด ไม่เช่นนั้นอาจขายไม่ได้ แต่จากที่กล่าวมา เราไม่ได้กลัวแค่ PM 2.5 แต่ยังมีก๊าซต่างๆ อีกด้วย ดังนั้นการเลือกเครื่องกรองอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศ ควรเลือกที่มีความละเอียดของแผ่นกรองที่ละเอียดกว่า 0.02 ไมครอน ซึ่งมีความจำเป็นในการกรองเชื้อโรค เชื้อไวรัส และสารพิษต่างๆ เพราะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความเจ็บป่วยทั้งหมด
- ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่จำเป็นต้องออกข้างนอกบ้าน
   ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดอนุภาคที่เล็กมากๆ จึงทำให้หน้ากากอนามัยแบบธรรมดาทั่วไป ไม่สามารถที่จะป้องกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนได้ ควรจะเป็นหน้ากากอนามัยรุ่น N95 จะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุดเนื่องจากหน้ากากรุ่นนี้ทำมาเพื่อป้องกันมลพิษโดยเฉพาะ แต่หากไม่สามารถหาซื้อ N95 ได้ ให้ใช้หน้ากากอนามัยแบบธรรมดาและซ้อนกระดาษทิชชู่สามชั้นทดแทน จะสามารถช่วยป้องกันได้ระดับหนึ่ง แต่ต้องเปลี่ยนกระดาษทิชชูบ่อยหน่อย และเมื่อเข้าบ้านให้ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเพื่อล้างโพรงจมูกหลังจากไปข้างนอก และทำความสะอาดฝุ่นที่ตกค้างในโพรงจมูก
- ปลูกต้นไม้ในบ้าน (สำหรับบ้านที่มีพื้นที่) อาทิ ขนุน กระถิน มะขาม มะม่วง มะกอกน้ำ บุนนาค ชาสีทอง ฯลฯ
 
 
 
อ้างอิง
หนังสือ : เรียนรู้อยู่กับฝุ่น PM 2.5 โดย กลุ่มระวังฝุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทความ : การรับมือภัยมืดที่มองไม่เห็น https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=dcaomsin
เว็บสแตนดาร์ด : https://thestandard.co/pm-2-5-environmental-nano-pollutants/
เว็บTQM : https://www.tqm.co.th/blog/โรคร้ายจากPM2.5/



#ภูมิแพ้ #มะเร็ง #อนามัยโลก #CleanAir #ขออากาศดีคืนมา #กรมควบคุมมลพิษ #ฝุ่นละออง #มลภาวะทางอากาศ #ดัชนีคุณภาพอากาศอากาศ #PM2.5
 



Create Date : 23 ธันวาคม 2562
Last Update : 23 ธันวาคม 2562 14:57:30 น.
Counter : 618 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Dcaomsin.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 4309986
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]