เลือกซื้อยาอย่างไร ประหยัดค่าใช้จ่าย ...






บทความเรื่องนี้ ผมเก็บไว้นานแล้ว จะไม่ได้ว่า นำมาจากที่ไหน .. ถ้าใครเคยเห็นหรือทราบว่าบทความนี้มาจากไหน รบกวนแจ้งให้ผมทราบด้วยนะครับ ...

"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ยาชนิดเดียวกันเมื่อมีการผลิตจากหลายบริษัทอาจมีราคาขายที่แตกต่างกันได้มาก เนื่องจากยาเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง มูลค่ายาจึงมีองค์ประกอบต้นทุนที่เป็นส่วนที่ต้นทุนคงที่ และต้นทุนแปรผันแตกต่างกันในยาแต่ละชนิด

อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ายาใหม่ (brand name or original drugs) มักจะมีราคาแพงมากกว่ายาเก่าในกลุ่มเดียวกัน เนื่องจากบริษัทยาผู้ผลิตจำเป็นต้องได้รับกำไรชดเชยค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา (research and development cost) ยาชนิดนั้นๆ ก่อนที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนให้นำมาจำหน่ายในท้องตลาดได้

บริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตรของยาใหม่จึงได้รับความคุ้มครองในช่วงเวลาหนึ่ง (ประมาณ 15 - 20 ปี นับแต่วันจดทะเบียนสิทธิบัตรการค้นพบ) เมื่อครบกำหนดบริษัทยาอื่นก็สามารถผลิตยาชนิดเดียวกันนั้นออกจำหน่ายด้วยเช่นกัน แต่ต้องใช้ชื่อการค้าอื่นหรือใช้ชื่อทางเคมีของยาโดยตรง

จึงนิยมเรียกยาที่ผลิตออกจากต่างบริษัทในภายหลังว่าเป็นยาเลียนแบบหรือ ยาสามัญ (generic drugs) ซึ่งส่วนใหญ่มักมีราคาถูกลงมาก เนื่องจากบริษัทที่ผลิตขึ้นตามในภายหลังเหล่านี้ไม่มีต้นทุนด้านการวิจัยและพัฒนามากเหมือนบริษัทต้นแบบ


ปัญหาเรื่องการกำหนดราคายาที่เหมาะสมจึงเป็นปัญหาหนึ่งที่มีข้อถกเถียงกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมยาของบริษัทข้ามชาติที่เป็นหัวขบวนในการคิดค้นพัฒนายาใหม่เข้าสู่ระบบสาธารณสุข กับกลุ่มบริษัทยาขนาดเล็กที่มุ่งเน้นผลิตยาสามัญและประเทศด้อยพัฒนาที่มีฐานะจำกัดทางเศรษฐกิจ คนกลางที่เป็นผู้ตัดสินได้แก่องค์กรของรัฐหรือผู้กำหนดนโยบายสาธารณสุขของแต่ละประเทศที่ต้องรักษาดุลยภาพระหว่างการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนายาใหม่ที่จำเป็นต่อการต่อสู้โรคร้ายต่างๆ กับโอกาสในการเข้าถึงยาจำเป็นของประชาชนส่วนใหญ่ที่มีฐานะยากจน

คำถามที่ทำให้แพทย์ผู้สั่งใช้ยา หรือผู้ป่วยมักลังเลในการเลือกใช้ยาชนิดเดียวกันที่มีราคาแตกต่างกันได้มากตั้งแต่ 2-30 เท่าขึ้นไปก็คือ คุณภาพของยาระหว่างชนิดราคาถูก (ยาสามัญ) จะดีเท่าชนิดที่มีราคาแพง (ยาต้นแบบ) หรือไม่ คำตอบสุดท้ายในเรื่องนี้คงไม่อาจตอบได้อย่างง่ายๆ ในทุกกรณี เนื่องจากการประเมินคุณภาพของยาเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้หากมีความตั้งใจจริงและมีระบบตรวจสอบประเมินคุณภาพที่ดีพอรองรับ


ควรจะเลือกซื้อยาอย่างไรให้ประหยัดค่าใช้จ่าย

ราคายาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในการรักษาโรค มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ผู้บริโภคจะพิจารณาเพื่อลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ ทั้งจากยาตามใบสั่งแพทย์และยาสามัญที่ซื้อกันเองโดยทั่วไป สิ่งเหล่านี้ได้แก่

การซื้อยาในชื่อทั่วไป เมื่อบริษัทผู้ผลิตยาวิจัยและพัฒนายาใหม่จนสามารถขอขึ้นทะเบียนยาได้ ต้องใช้เวลานับสิบปีและค่าใช้จ่ายนับพันล้านบาท บริษัทผู้ผลิตยาจะได้รับลิขสิทธิ์ยานั้นระยะหนึ่ง (หลายปี) ซึ่งในช่วงนี้ผู้ผลิตต้องแสวงหาผลประโยชน์จากการลงทุนกลับคืนอย่างเต็มที่ด้วยการตั้งราคายาไว้สูง เมื่อลิขสิทธิ์ยาหมดลงบริษัทผู้ผลิตอื่นสามารถผลิตยา ขอขึ้นทะเบียนและขายได้ภายใต้ชื่อทั่วไปหรือชื่อการค้าใหม่ของตน ส่วนใหญ่ยาเหล่านี้จะมีขนาดความแรงและวิธีใช้เหมือนยาต้นฉบับ โดยมีรูปลักษณะและคุณภาพใกล้เคียงกัน แต่มีราคาถูกกว่ามากเนื่องจากไม่ต้องลงทุนวิจัยและพัฒนายา

ในกรณีการซื้อยาตามใบสั่งแพทย์ ท่านอาจขอให้เภสัชกรจ่ายยาชื่อทั่วไปแทนยาชื่อการค้าได้ ถ้าหากยาดังกล่าวมีคุณภาพใกล้เคียงกัน แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้ยาตามชื่อการค้าที่แพทย์สั่งเนื่องจากแพทย์ระบุว่าไม่ต้องการให้เภสัชกรจ่ายยาแทน หรือเป็นยาชื่อการค้าที่ไม่มียาชื่อทั่วไปที่มีคุณภาพใกล้เคียงในการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการผลิตยาไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ดีผู้ป่วยที่มีความวิตกเรื่องราคายาควรขอให้แพทย์ผู้รักษาเขียนใบสั่งยาที่มียาชื่อทั่วไปให้ตน

การเลือกร้านขายยา มีปัจจัยหลายอย่างที่ใช้ประกอบการเลือกร้านขายยา ได้แก่

ระยะทางและความสะดวก ร้านขายยาที่อยู่ใกล้บ้านหรือที่ทำงานของท่านจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่ได้ขับรถ ต้องการซื้อยาเพื่อรักษาความเจ็บป่วยอย่างเร่งด่วน เช่น เด็กตัวร้อนจัด หรือซื้อยาธรรมดาสามัญ เช่น ยาแก้ปวดศีรษะ

ร้านขายยา การสืบราคาจากร้านขายยาหลายๆ ร้าน จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องยาได้มาก เนื่องจากแต่ละร้านอาจมีนโยบายทางการค้าไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ดียาราคาถูกอาจสัมพันธ์คุณภาพการให้บริการหรือยาที่ลดลง เช่น ขาดคำแนะนำที่ถูกต้อง ยาเก็บรักษาในร้านอย่างไม่ถูกต้องมาตรฐาน หรือแม้กระทั่งในกรณีที่ร้ายแรงคือยาไม่ได้มาตรฐาน เช่น ยาหมดอายุ เป็นต้น

เภสัชกรประจำร้าน เภสัชกร จะให้คำตอบหรือคำแนะนำที่ถูกต้องเกี่ยวกับยาที่ซื้อตามใบสั่งแพทย์ ประเมินอาการผู้ป่วยเบื้องต้นและพิจารณาเลือกยา ให้อย่างมีหลักการในกรณีที่ผู้ใช้ยารักษาตนเอง ทั้งนี้ตัวผู้ใช้ยาเอง จะต้องเปิดใจและรู้สึกสะดวกสบายในการตอบข้อซักถามของเภสัชกร ซึ่งมักเป็นคำถามที่คล้ายคลึงกับที่แพทย์ถามผู้ป่วยก่อนให้การรักษาหรือจ่ายยา

การซื้อยาคราวละมากๆ การซื้อยาสามัญที่ใช้ประจำคราวละมากๆ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้แพ้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก แต่จะต้องปรึกษากับเภสัชกรก่อนทุกครั้งที่จะซื้อคราวละมากๆ ดังกล่าว เนื่องจากยาบางอย่างมีอายุสั้น หรือจะเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว ให้สังเกตวันเดือนปีหมดอายุของยาและไม่นำมาใช้เมื่อเกินวันเวลาดังกล่าว



ถ้าสนใจเรื่อง ยา ลองแวะไปอ่านในบล๊อกของคุณ อะธีลาส นะครับ มีข้อมูลน่าสนใจเยอะเลย

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยา..... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=01-10-2009&group=4&gblog=78

ยาเหลือใช้... ที่บ้าน................ นำมาฝาก จากเวบหมอชาวบ้าน ...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-12-2010&group=4&gblog=89

แพ้ยา ผลข้างเคียงของยา ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=4&gblog=47

ยา ทำไมถึง แพง ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-06-2008&group=4&gblog=49

เลือกซื้อยาอย่างไร ประหยัดค่าใช้จ่าย...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-06-2008&group=4&gblog=50

ยาสเตียรอยด์ ,สเตอรอยด์

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-02-2008&group=5&gblog=5

ยาชุดคืออะไร

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2008&group=5&gblog=6

ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (เอนเสด ) ... ไม่ใช่ขนมนะครับ จะได้กินกันไปเรื่อย ...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-08-2008&group=4&gblog=54

ยาล้างไต มีจริง ???ล้างไต ได้จริงหรือ ??? กินยาแล้วปัสสาวะสีเขียว???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-08-2008&group=4&gblog=55

ยา กับ อาหารเสริม(ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ต่างกันอย่างไร ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-08-2008&group=7&gblog=5

ยาไทย หรือยานอก
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mister-gray&month=08-2005&date=21&group=2&gblog=7

ยาไทย หรือยานอก ภาค 2ระวังยาโรงพยาบาลให้ดี

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mister-gray&month=08-2005&date=22&group=2&gblog=16

ยาไทย หรือยานอก ภาค 3ปัญหาของยาไทย

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mister-gray&month=08-2005&date=23&group=2&gblog=5

เหตุผลที่ยานอก ดีกว่ายาไทย

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mister-gray&month=08-2005&date=24&group=2&gblog=1

ยานอก ดีกว่ายาไทยจริงๆ

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mister-gray&month=08-2005&date=24&group=2&gblog=2


“””””””””””””””””””””

คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแสนแพง... ( นำมาฝาก )

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-05-2015&group=7&gblog=189

โรงพยาบาลเอกชน "แพง" ..ข้อมูลที่ยังไม่รู้ หรือว่า แกล้งไม่รู้ ? ( ฟังความอีกข้าง^_^ )

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=08-06-2015&group=7&gblog=190





Create Date : 22 มิถุนายน 2551
Last Update : 3 กรกฎาคม 2560 21:58:39 น.
Counter : 2463 Pageviews.

3 comments
  
คนทั่วไปส่วนใหญ่มักจะคิดว่า ยาที่มีราคาแพง หรือยาจากนอกจะมีคุณภาพดีกว่ายาธรรมดา จริงหรือเปล่าไม่รู้
โดย: VICT วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:18:20:25 น.
  
มีสมาชิก ห้องสวนลุม ตั้งกระทู้นี้ไว้ เห็นว่า น่าสนใจ เลยนำมาแปะไว้ที่นี่ด้วย ..

ตามหาแหล่งซือยาราคาถูก

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L7174931/L7174931.html#11


ตามหาแหล่งซือยาราคาถูก

คุณพ่อและคุณป้าต้องกินยาตลอดคะ เมือก่อนใช้สิทธิเบิกให้ได้ แต่ตอนนี้เค้าตัดสิทธิหมด เลยต้องซื้อเอง ได้ยินว่าคลังยาบางปะกอกถูก แต่มันไกลคะ มีทีอืนแนะนำไหมคะ อยู่แถวลาดพร้าว ทำงานแถวสะพานควายคะ

เห้นมันมีร้านชื่อคลังยาลาดพร้าว มาเปิดเหมือนกัน มันจะเครือเดียวกันกับที่บางปะกอกไหมคะ จะได้ถูกเหมือนกันไหม


ขอบคุณทุกคำตอบนะคะ เห้นเค้าว่าแจก give ให้ได้ แต่ทำไม่เป็นนะคะ
ถ้ามาสอนและเรามีให้ ก็จะตอบแทนให้กับทุกคนที่มาตอบคะ

จากคุณ : Big_Baht - [ 5 พ.ย. 51 09:40:14 ]



ความคิดเห็นที่ 1

อยู่สะพานควาย ก็ไปซื้อที่ร้านวิฑูรย์เภสัชซิคะ อยู่ถนนประดิพัทธ์ ฝั่งตรงข้ามเยื้องๆกับโรงแรมมณีกานต์ หรือกานต์มณี (จำชื่อโรงแรมม่ะค่อยได้)

ไปไม่ถูกจ้างมอไซด์รับจ้างไปก็ได้ คนไปซื้อกันเยอะ
หน้าร้านเป็นห้องแถวไม่ใหญ่มาก แต่ยาเยอะๆ เป็นร้านขายส่ง

จากคุณ : The eye of earth - [ 5 พ.ย. 51 10:03:39 ]





ความคิดเห็นที่ 2

ร้านยาอ่อนนุชค่ะ
ฝั่งเดียวกับคาร์ฟูร์อ่อนนุช ตึกสองห้อง
อยู่ติดถนนด้านสุขุมวิท
หาไม่ยากค่ะ

จากคุณ : คืนนี้ไม่เหมือนคืนนั้น - [ 5 พ.ย. 51 10:27:43 ]





ความคิดเห็นที่ 3

อยู่สะพานควาย ร้านวิทูรเภสัช นั่นแหละใกล้สุด แต่เขาจะขายราคาส่งเฉพาะกับบุคลากรทางแพทย์ คนทั่วไปไม่แน่ใจว่าจะได้ราคาส่งไหม แต่การซื้อยากินเอง ต้องระวังถ้าไม่มีความรู้ในการประเมินผลการรักษา ผลข้างเคียง หรืออาการแพ้ อาจเกิดอันตรายได้

จากคุณ : ลูนาติก - [ 5 พ.ย. 51 13:00:57 ]





ความคิดเห็นที่ 4

ร้านเพชรรัตน์เภสัช ท่าน้ำศิริราช แถวนั้นมีหลายร้านเลือกเอาเองราคาพอๆกัน

จากคุณ : huavoon - [ 5 พ.ย. 51 13:12:30 ]





ความคิดเห็นที่ 5

ไปซื้อหน้ารพ.ราชวิถีสิคะ มีอยู่สองร้าน แนะนำร้านที่ใกล้ top ไม่ไกลเท่าไหร่จากสะพานควาย

ตอนนี้ก็ซื้อยาให้คุณแม่ประจำเลย

จากคุณ : คิดถึงแฟน - [ 5 พ.ย. 51 14:54:54 A:124.120.17.167 X: TicketID:192895 ]





ความคิดเห็นที่ 6

ร้านยาหนึ่ง มีหลายสาขามาก ไม่แน่ใจแถวๆ ที่ถามมาจะมีมั๊ย

ของเค้าถูกจริง
ถูกจนน่าตกใจว่าร้านอื่นๆ เค้าเอากำไรกันขนาดนั้น และตกใจว่าจริงๆ แล้ว ต้นทุนยามันกี่บาทกันแน่

ไม่รู้มีร้านอื่นถูกกว่ายาหนึ่งมั๊ย

ลอง นั่งรถไฟฟ้ามาลงอนุสาวรีย์ชัยครับ ฝั่งตรงข้ามรพ.ราชวิถี ร้านขายยาเพียบ แต่ว่าแต่ละร้านราคาไม่เท่ากันนะครับ ผมซื้อแต่ร้านยาหนึ่ง เคยเห็นอีกร้านมีรถเข็นคนป่วยขายด้วย ร้านนั้นจะแพงหน่อยราคาพอๆกะ booth กับ watson เลย

จากคุณ : โนโบะ - [ 5 พ.ย. 51 15:37:09 ]





ความคิดเห็นที่ 7

คงจะไกลจากร้านที่ผมจะแนะนำครับ แต่ถ้าสนใจ ชื่อร้านจักรเพชรเภสัช อยู่ตรงข้ามห้าง เอทีเอ็ม พาหุรัดครับ ร้านสองห้อง คนแน่นตลอดเลย

จากคุณ : e20 - [ 5 พ.ย. 51 15:51:23 ]





ความคิดเห็นที่ 8

ขอแจมหน่อยค่ะ
ร้านยาอ่อนนุชนี่ราคาต่างกันกับ คลังยาบางปะกอก หรือจักรเพชรมั๊ยคะ

จากคุณ : My Pucca Girl - [ 5 พ.ย. 51 16:47:57 ]





ความคิดเห็นที่ 9

ร้านยาหนึ่ง ที่อ่อนนุชตรงข้ามคาร์ฟู ก็ขายถูก ครับ
เชิญไปใช้บริการได้

จากคุณ : จำปูน (อ่างหยก) - [ 5 พ.ย. 51 16:52:53 ]





ความคิดเห็นที่ 10

อย่าลืม ศึกษาเรื่อง " ยา " ด้วยนะครับ ... สอบถามให้ละเอียดว่าใช้อย่างไร ผลข้างเคียง วิธีการปรับใช้ยา ฯลฯ


ไม่อยากให้คิด แค่ ราคา ถูกอย่างเดียว นะครับ อยากให้นึกถึงบริการด้วย ...

ถูกว่า ไม่กี่ร้อย แต่ จะคุ้มกับที่จะเอาชีวิตไปเสี่ยงหรือเปล่า ???

ยาไม่ใช่ขนม หรือ อาหาร นะครับ ... จะซื้อ ก็ต้องสอบถามให้ละเอียด ....

จากคุณ : หมอหมู - [ 5 พ.ย. 51 18:31:59 ]





ความคิดเห็นที่ 11

ลืมแปะ บล๊อก ..


เลือกซื้อยาอย่างไร ประหยัดค่าใช้จ่าย ...

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-06-2008&group=4&gblog=50


ยาทำไม ถึงแพง ..

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-06-2008&group=4&gblog=49




ถ้าสนใจเรื่อง ยา ลองแวะไปอ่านในบล๊อกของคุณ อะธีลาส นะครับ มีข้อมูลน่าสนใจเยอะเลย

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mister-gray&month=08-2005&date=21&group=2&gblog=7

จากคุณ : หมอหมู - [ 5 พ.ย. 51 18:58:09 ]
โดย: หมอหมู วันที่: 5 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:02:09 น.
  

//www.doctor.or.th/node/10267

นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม : 369
เดือน-ปี : 01/2553
คอลัมน์ : การใช้ยา พอเพียง
นักเขียนหมอชาวบ้าน : ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด



คำถาม จะประหยัดค่ายาได้อย่างไร?

ค่ายา ปัญหาหนึ่งที่สำคัญต่อการรักษาโรค

ยิ่งนับวันมนุษย์โลกก็จะมียาชนิดใหม่ๆ มาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น ทำให้คนรุ่นใหม่มีทางเลือกในการรักษาด้วยยาเพิ่มมากขึ้นกว่าในสมัยก่อน ส่งผลยกระดับคุณภาพชีวิตและอายุยืนมากขึ้น แต่ท่ามกลางข่าวดีเรื่องการคิดค้นวิจัยและพัฒนายาใหม่ๆ ให้มีทางเลือกในการรักษาพยาบาลมากขึ้น

สิ่งหนึ่งที่มาพร้อมกับวิธีการ รักษาด้วยยาใหม่ๆ ก็คือ ราคายา ซึ่งนับวันจะยิ่งมีราคาสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ยิ่งยาชนิดใหม่ๆ ราคายิ่งสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ยาลดไขมันในเลือดบางชนิด เม็ดหนึ่งราคาประมาณ 50 บาท (จนมีผู้ป่วยหลายคนอุทานว่า แพงกว่าค่าอาหารในแต่ละมื้อเสียอีก...จนต้องใช้ยาด้วยความระมัดระวัง... ไม่กล้าทำหล่นหาย...เพราะราคาแพงมาก!!!) หรือยารักษาโรคมะเร็ง ซึ่งมีการคิดค้นยาใหม่ๆ ขึ้นมากมายเช่นกัน ส่วนหนึ่งก็จะช่วยชีวิตของผู้ป่วยให้ทุกข์ทรมานน้อยลง และช่วยยืดอายุขัยให้ยืนยาวยิ่งขึ้น แต่ราคายารักษาโรคมะเร็งก็สูงขึ้นเช่นกัน จนในบางครั้งการรักษามะเร็งต้องใช้เงินเป็นหลักหมื่น หรือหลักแสน เป็นต้น

ราคายาที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ เป็นปัญหาและอุปสรรคหนึ่งของการรักษา บางคนต้องขายที่ดินขายนาไร่มารักษาโรค บางคนต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้เป็นค่ายาค่ารักษาโรค ถ้าหายก็ดีไป (ไม่หายก็ตายกันไป) หลายรายที่หายจากปัญหาด้านสุขภาพ แต่ต้องกลับไปแก้ปัญหาเรื่องเงินๆ ทองๆ แทน ต้องหาเงินมาใช้หนี้สินจากการรักษาโรค เหมือนหนีเสือปะจระเข้ แก้ปัญหากันไม่จบไม่สิ้น

"อโรคยา ปรมา ลาภา-ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ" จึงขอให้พวกเรารักษา "สุขภาวะ" ของตนของท่านให้ดีที่สุด คงไว้ซึ่งความไม่ประมาท เพราะถึงแม้ว่าจะมียาใหม่ที่ก้าวหน้าหรือทันสมัยเพียงใด แต่อุปสรรคหนึ่งที่เหมือนเป็นก้างขวางคอหรือไอ้เข้ขวางคลอง คือ ราคายา ที่นับวันจะสูงมากขึ้นๆ จนเป็นปัญหา ทำให้เกิดภาวะล้มละลายด้านสุขภาพ คือ รักษาโรคให้หายได้ แต่ผู้ป่วยหรือครอบครัวล้มละลาย ต้องขายเรือกสวนไร่นามารักษาพยาบาล ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำในสังคมไทยและสังคมโลก

ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงแนว ทางในการทุเลาปัญหาเรื่องราคายา ที่เป็นปัญหาหนักอกให้ลดขนาดลงบ้าง ไม่มากก็น้อย จะได้ช่วยทุเลาปัญหาด้านค่ารักษาพยาบาลได้บ้าง



มีประกันสุขภาพ..หรือไม่?

เริ่มต้นด้วยคำถามว่า "มีประกันสุขภาพ...หรือไม่?" ในที่นี้หมายถึง ประกันสุขภาพทุกประเภท เช่น การประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง หรือ ในอดีตเรียกกันว่า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค แต่ในปัจจุบันไม่ต้องจ่าย 30 บาทแล้ว) การประกันสังคม (สำหรับผู้ที่ทำงานในภาคเอกชน) สวัสดิการข้าราชการ ประกันสุขภาพเอกชน เป็นต้น

เหตุผลที่ต้องถามเรื่องนี้ก็เพราะว่า ถ้ามีประกันสุขภาพ จะมีคนอื่นที่ช่วยจ่ายค่ายาและค่ารักษาพยาบาลแทนเรา และไม่ต้องจ่ายค่ายาด้วยตนเอง หรือถ้าจำเป็นต้องจ่ายค่ายา อาจจะจ่ายเพียงบางส่วน ไม่ต้องจ่ายทั้งหมด ดังนั้นการมีประกันสุขภาพ ก็จะช่วยลดหรือประหยัดค่าใช้จ่ายในเบื้องต้นได้อย่างดี

เรื่องนี้นับเป็นความดีความชอบของรัฐบาลไทยหลายยุคสมัยที่ได้นำแนวคิดประกันสุขภาพมาใช้ กับสังคมไทย จนปัจจุบันมีการประกันสุขภาพหลายชนิดช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชน ได้เป็นอย่างดี ทำให้ประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพไปรับการรักษาได้อย่างทั่วถึง ถึงแม้ว่าจะยังมีปัญหาอยู่บ้างบางส่วน ก็คงจะต้องพัฒนาปรับปรุงแก้ไขระบบประกันสุขภาพของไทยให้ดียิ่งขึ้น



การรักษาโดยไม่ใช้ยา การปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน

สิ่งหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจ พร้อมๆ กับเป็นยารักษาโรคหลายๆ โรคได้อย่างดี ก็คือการปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งอาจเรียกว่า "การรักษาโดยไม่ใช้ยา" ได้แก่ "4 อ" อันประกอบด้วย อารมณ์ อาหาร ออกกำลังกาย และอากาศ ล้วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ช่วยลดความเสี่ยง ลดอันตรายกับสุขภาพ ได้ด้วยหลัก 4 อ.

เริ่มต้นด้วยการรักษาอารมณ์ให้ไม่เครียดจนเกินไป รู้จักผ่อนคลายอย่างเหมาะสม และพักผ่อนให้เพียงพอ ตามมาด้วยการรับประทานอาหารที่สุกใหม่ ในปริมาณที่พอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไป และให้หลากหลายชนิดไม่ซ้ำซาก เสริมด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำอาทิตย์ละ 3 ครั้ง (วัน) ครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป และสุดท้ายอยู่ในสภาวะแวดล้อมของอากาศที่ดี

ถ้าปฏิบัติได้ ดังนี้ ก็จะช่วยบรรเทาอาการของโรคได้หลายชนิด เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน เป็นต้น ทั้งยังทำให้สุขภาพแข็งแรงยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถปรึกษาเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเองกับแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือบุคลากรทางสาธารณสุขต่างๆ ได้



การลดค่าใช้จ่ายด้านยา

ในกรณีที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยา มีแนวทางในการประหยัดค่ายาได้ง่ายๆ ดังนี้
1. การทบทวนยาที่จำเป็นจริงๆ
2. การเลือกใช้ยาสามัญที่มีราคาถูกกว่ามาทดแทน
3. การแบ่งเม็ดยา
4. การใช้ยาสูตรผสม
5. การเลือกแหล่งจำหน่ายยา
6. จำนวนการสั่งซื้อยา


1. การทบทวนยาที่จำเป็นจริงๆ

หลักการแรกของการใช้ยา คือ ควรใช้ยาให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นจริงๆ ดั่งคำขวัญของยาที่ว่า "ยามีคุณอนันต์ และโทษมหันต์" ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้ยา จึงควรนำยาทั้งหมดของตนเองมาปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรให้ช่วยทบทวนและ พิจารณาดูว่า ยาชนิดใดที่จำเป็นสำหรับโรคใด โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาหลายชนิด ในบางกรณีอาจได้ยาซ้ำซ้อนกันได้ อาจทำให้ร่างกายได้รับยาเกินขนาด ทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้ และเป็นการสิ้นเปลืองยาอีกด้วย


2. การเลือกใช้ยาสามัญที่มีราคาถูกกว่ามาทดแทน

ขั้นนี้ ลองปรึกษาหารือกับแพทย์ที่ให้การรักษา หรือเภสัชกร ถึง "ยาสามัญที่ราคาถูกกว่า" มาทดแทน ทั้งนี้เพราะแพทย์ส่วนใหญ่นิยมหรือคุ้นเคยกับการจ่ายยาต้นตำรับ ซึ่งมักมีราคาแพงกว่ายาสามัญซึ่งเป็นตัวยาชนิดเดียวกัน ขนาดเท่าเทียมกัน และให้ผลการรักษาเหมือนกัน แต่มีราคาย่อมเยากว่าประมาณร้อยละ 20 ขึ้นไป จนยาบางชนิดราคายาสามัญมีราคาถูกกว่าเป็นสิบเท่าก็มี ตัวอย่างเช่น ยาลดไขมันในเลือด พบว่าตัวยาเดียวกัน แต่ยาต้นตำรับมีราคาเป็นสิบเท่าของยาสามัญ เป็นต้น


3. การแบ่งเม็ดยา

อีกประเด็นหนึ่งที่ช่วยลดค่ายาได้ ก็คือ การแบ่งเม็ดยา เพราะมียาเป็นจำนวนมากที่มีหลายขนาด เช่น ยาลดไขมันในเลือด มีในขนาดเม็ดละ 10, 20 และ 40 มิลลิกรัม ให้เลือกใช้
ถ้าแพทย์สั่งจ่ายยาในขนาด 10 มิลลิกรัมให้กับเรา เราอาจเลือกใช้ยาในขนาด 10 มิลลิกรัม จำนวน 1 เม็ด หรือยาในขนาด 20 มิลลิกรัม จำนวนครึ่งเม็ด หรือยาในขนาด 40 มิลลิกรัม จำนวน 1 ใน 4 ของเม็ดก็ได้ ซึ่งถ้าหักเม็ดแล้วมีราคาถูกกว่า เราก็อาจเลือกใช้ยาหักเม็ด เพื่อประหยัดค่ายาได้

นอกจากนี้ กรณีที่ต้องใช้ยาหักเม็ด ขอแนะนำให้ขอความช่วยเหลือจากห้องยาช่วยหักครึ่งเม็ดให้ เพราะห้องยาส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์สำหรับหักเม็ดยาและให้บริการเรื่องนี้อยู่ แล้ว ประกอบกับถ้าผู้ป่วยไปหักเม็ดยาด้วยตนเอง อาจหักได้ไม่ดี โดยเฉพาะผู้สูงอายุมักหักเม็ดยาได้ไม่ดีไม่สม่ำเสมอ และบางคนก็ทำเม็ดยาตกหล่น ทำให้สูญเสียยาไปได้จากการหักยา (ยิ่งยามีขนาดเล็ก จะยิ่งหักได้ยากยิ่งขึ้น)


4. การใช้ยาสูตรผสม

ประเด็นที่ 4 นี้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาหลายชนิด และโชคดีที่มีการผลิตยาหลายชนิดในเม็ดเดียวกัน ทั้งนี้เพราะการผลิตยาหลายชนิดในเม็ดเดียวกัน จะช่วยให้ผู้ป่วยใช้ยาได้ง่าย และสะดวกยิ่งขึ้น เพรากินยาเม็ดเดียวดีกว่ากินยาหลายเม็ด และยังอาจมีราคาถูกกว่าได้ ถ้าราคายาของหลายอย่างในเม็ดเดียวกันมีราคาถูกกว่าการแยกเม็ดยา ก็จะช่วยประหยัดค่ายาได้


5. การเลือกแหล่งจำหน่ายยา

ในประเด็นที่ 5 นี้ ราคายาของบ้านเรามีราคาแตกต่างกัน โดยทั่วๆ ไป ในยาชนิดเดียวกัน พบว่า "ราคายาที่โรงพยาบาลเอกชนจะมีราคาสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาลหรือร้านขายยา" ในประเด็นนี้จึงมีผู้ป่วยจำนวนมากปรึกษาแพทย์และขอจ่ายค่าธรรมเนียมแพทย์ที่ โรงพยาบาลเอกชน และขอใบสั่งยาเพื่อนำมาซื้อยาเองภายนอก (บางรายอาจยอมซื้อยาที่โรงพยาบาลเอกชนเพียงบางส่วน และซื้อยาส่วนใหญ่ภายนอกโรงพยาบาล) เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย


6. จำนวนการสั่งซื้อยา

ประเด็นสุดท้ายที่จะกล่าวถึงเพื่อช่วยประหยัดค่ายา คือ การซื้อครั้งละมากๆ หรือ "ซื้อโหล...ถูกกว่า" เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาชนิดนั้นเป็นประจำเป็นเวลานานๆ การซื้อครั้งละมากๆ จะช่วยต่อรองราคา และลดค่าใช้จ่ายลงได้บ้าง

ดังนั้นในผู้ป่วยที่ต้องจ่ายเงินซื้อยาด้วยตนเอง และต้องการประหยัดค่ายา อาจปรึกษากับแพทย์ผู้สั่งใช้ยา หรือเภสัชกรทั้งที่อยู่ในโรงพยาบาลและที่ร้านยา เพื่อช่วยท่านประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยา ไม่ว่าจะด้วยการทบทวนยาเท่าที่จำเป็นจริงๆ การแนะนำการปรับปรุงการดำเนินชีวิตประจำวัน การเลือกใช้ยาสามัญทดแทนที่ถูกกว่า การหักเม็ดยา การเลือกใช้ยาผสม การเสาะแสวงหาแหล่งจำหน่ายที่ถูกกว่า และการซื้อครั้งละมากๆ ทั้งนี้เพื่อคงประสิทธิภาพในการรักษา และช่วยประหยัดค่ายา ซึ่งนับวันจะมีราคาสูงขึ้น เป็นภาระค่าใช้จ่าย เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจของผู้ป่วย ให้ทุเลาลงได้บ้างไม่มากก็น้อย สวัสดีครับ


โดย: หมอหมู วันที่: 23 กันยายน 2553 เวลา:12:23:40 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

บทความทั้งหมด