กัญชาทางการแพทย์ ... ข้อมูลวิชาการ ( คัดลอกมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )
กัญชาทางการแพทย์ (ฉบับ Evidence-based)
กัญชาทางการแพทย์ ฉบับ Evidence-based 20 เมษายน - วันกัญชาโลก (National Weed Day)

เนื่องจากช่วงนี้มีกระแสข่าวการปลูกกัญชาเสรีเป็นจำนวนมาก .. กัญชามีสรรพคุณอะไรกันบ้าง ? อันไหนลวง อันไหนจริง อันไหนมี study รับรอง หมออย่างเราลองมาดูกัน ..





กัญชา (Cannabis/Marijuana) เป็นพืชที่มีสารออกฤทธิ์หลายอย่าง แต่มักใช้นำมาเสพเพื่อหวังผลออกฤทธิ์ให้เกิดความสนุกสนาน (recreational use) ในขณะเดียวกัน ก็พบว่ามีประโยชน์ในการรักษาอาการบางชนิดทางการแพทย์ (medical use)




แม้ว่ากัญชาจะมีสารออกฤทธิ์มากกว่า 500 ชนิด แต่ชนิดที่มีการศึกษาว่ามีประโยชน์ทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย คือ 9-tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD)

THC เป็นสารตัวหลักที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท โดยความแรง (high) ของกัญชาจะขึ้นกับสัดส่วนของ THC โดยตรง

ในขณะที่ CBD นั้นออกฤทธิ์หลายอย่างตรงกับข้ามกับ THC ไม่มีฤทธิ์ให้เกิดอาการ high และพบว่ามีฤทธิ์ต้านโรคจิตเภท (antipsychotic) คลายกังวล (anxiolytic) กันชัก (anti-seizure) และ ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory)

สำหรับกัญชาที่ใช้เสพนั้นมีสัดส่วนของ THC และ CBD ที่แตกต่างกันไป หรืออาจไม่มี CBD เลยก็ได้

ซึ่งจริง ๆ แล้ว ร่างกายของเรานั้นก็มีการสร้างสารกัญชา (endogenous cannabinoid) ได้เองเช่นกัน โดยออกฤทธิ์ผ่าน cannabinoid receptors ซึ่งพบมากในสมอง





ประโยชน์ของกัญชาที่ถูกอ้างถึงกันมาก คือ สรรพคุณในด้านการรักษาอาการปวด ลดการอักเสบ รักษามะเร็ง แก้โรคลมชัก โรคทางจิตเวชและการบำบัดผู้ติดยา ฯลฯ

เรามาดูกันว่าสรรพคุณไหน ที่มี study มารองรับบ้าง

- มีการศึกษา (RCT) ว่ากัญชาใช้บรรเทาอาการปวดและช่วยทำให้นอนหลับดีในผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง (chronic pain) เช่น การปวดจากมะเร็ง (cancer pain) การปวดจากเส้นประสาท (neuropathic pain) ฯลฯ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการระงับอาการปวดฉับพลัน (acute pain) การปวดข้อ (rheumatoid pain) โดยมีฤทธิ์ทั้งรูปยากิน และยาสูด

- มีการศึกษา (RCT) ว่ากัญชาช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนภายหลังจากการฉายแสงได้ดีกว่ายาหลอก

- มีการศึกษาในจานเพาะเลี้ยงและในหนูว่า CBD สามารถยับยั้งการเจริญ และเพิ่มการตอบสนองต่อรังสีรักษา (radiosensitive) ของเซลล์มะเร็ง (glioma cell lines) แต่ไม่มีการทดลองใดทำในมนุษย์

- มีการศึกษา (RCT) ว่ากัญชาสามารถรักษาโรคลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อยากันชัก (treatment-resistant epilepsy) บางชนิดได้ แต่ไม่ได้เป็นตัวเลือกแรกในการรักษาโรคลมชัก

- มีการศึกษาในสัตว์ทดลองว่า CBD มีผลคลายกังวล แต่การศึกษาเชิงสังเกตในผู้เสพกัญชา (ซึ่งมี THC) พบว่าทำให้เกิดความกังวลมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ยังไม่มีการศึกษาในมนุษย์ที่แสดงถึงประสิทธิภาพของกัญชาในการรักษาโรคซึมเศร้า หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar) การศึกษาพบว่า การใช้กัญชาในผู้ป่วย bipolar ทำให้อาการณ์กำเริบได้มากขึ้น (new manic episode)





สิ่งที่ละเลยไม่ได้เลยก็คือ ผลข้างเคียงจากการใช้กัญชา โดยเฉพาะในผู้ใช้เสพปริมาณมาก และไม่มีการกำกับดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

- หลักฐานการศึกษา (meta-analysis,RCT) จำนวนมากพบว่า การใช้กัญชาในระยะยาวทำให้การทำงานของสมองแย่ลง โดยลดความสามารถในด้านความคิดความเข้าใจ (cognitive function) ทำให้เกิดอาการเลื่อนลอย (amotivation syndrome) และกระตุ้นให้เกิดโรคจิต (psychosis) โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเดิ

- ในการทดลองทางการแพทย์โดยใช้กัญชาเทียบกับยาหลอก พบว่า กัญชาทำให้เกิดผลข้างเคียงมากกว่า (29 studies, CI2.4-3.8) ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงมากกว่า (34 studies, CI 1.04-1.92) และการออกจากการศึกษาเนื่องจากผลข้างเคียงมากกว่า(23 studies, CI 2.2-4.0) อย่างมีนัยยะสำคัญ

- ผลข้างเคียงที่สำคัญจากการใช้กัญชาทางการแพทย์ เช่น สับสน(disorientation) อาการมึนหัว euphoria สับสน(confusion) ง่วงซึม(drowsiness) ปากแห้ง ง่วงนอน(somnolence) เสียการทรงตัว เห็นภาพหลอน(hallucination) คลื่นไส้ หงุดหงิด(asthenia) อ่อนเพลีย ฯลฯ ตามลำดับของ odd ratio จากมากไปน้อย

- บางการศึกษา (open label) ทางการแพทย์ เพื่อรักษาอาการปวด พบว่า ผลข้างเคียงไม่แตกต่างจากยาหลอก และไม่มีการชินต่อยา (analgesic tolerance) ที่เวลา 1 ปี

- บางการศึกษา (open label) พบว่ามีอาการขาดยา (withdrawal)

อย่างไรก็ตาม ยังขาดการศึกษาผลข้างเคียงต่อการใช้กัญชาในระยะยาวทางการแพทย์





ในปัจจุบัน มียาที่ได้รับการรับรองจาก US FDA และมีส่วนผสมของกัญชาอยู่ คือ

1) Dronabinol และ Nabilone ที่มีส่วนผสมของ THC โดยมีข้อบ่งชี้ใช้รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนภายหลังจากการทำคีโม และใช้เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักลดมาก
2) Epidiolex® ที่มีส่วนผสมของ CBD สำหรับใช้รักษาโรคลมชักในเด็ก เฉพาะในกลุ่ม Dravet syndrome และ Lennox-Gastaut syndrome

ซึ่งทั้ง 3 ตัว เข้าใจว่ายังไม่มีการนำมาขายในประเทศไทย






แม้ว่ากัญชาจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีสรรพคุณทางการแพทย์หลากหลาย การศึกษาส่วนมากอยู่ในระดับสัตว์ทดลอง หรือกลุ่มคนจำนวนน้อย แม้ในยุคหลังจะมีการศึกษาระดับ RCT มากขึ้นก็ตาม จึงเป็นที่มาว่าเหตุใดจึงยังไม่มีการนิยมใช้ในทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย รวมทั้งการที่ FDA ยังไม่ประกาศรับรองในหลายข้อบ่งชี้ (indication) ก็คงทำให้แพทย์ส่วนมากไม่กล้าจะแนะนำให้ใช้กัญชาเป็นแน่ ส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นเพราะกฎหมาย ทำให้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับกัญชาทำได้ยาก

ความเป็นไปได้ ที่จะเกิดการใช้กัญชาทางการแพทย์ ในอนาคตอันใกล้ นอกเหนือจากที่ FDA รับรองแล้ว คือ
การใช้เป็นยาระงับปวด โดยเฉพาะในอาการปวดจากโรคมะเร็ง (ไม่ใช่รักษามะเร็ง) โดยมีการรายงานว่า ภายหลังการประกาศให้กัญชาถูกกฎหมายในบางรัฐของอเมริกา ทำให้มีการสั่งกัญชาเป็นยาแก้ปวดมากขึ้น ช่วยลดอัตราการสั่งใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม opioid ซึ่งทำให้ติดได้ง่าย และมีผลข้างเคียงถึงชีวิต

สำหรับการใช้รักษาโรคอื่น ๆ คงยังต้องรอการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป

บทความโดย Pornlada Likasitwatanakul

__________________________________________

Reference

1. Andrade, C., Cannabis and neuropsychiatry, 1: benefits and risks. J Clin Psychiatry, 2016. 77(5): p. e551-4.
2. Bradford, A.C., et al., Association Between US State Medical Cannabis Laws and Opioid Prescribing in the Medicare Part D Population. JAMA Intern Med, 2018. 178(5): p. 667-672.
3. O'Connell, B.K., D. Gloss, and O. Devinsky, Cannabinoids in treatment-resistant epilepsy: A review. Epilepsy Behav, 2017. 70(Pt B): p. 341-348.
4. Romero-Sandoval, E.A., A.L. Kolano, and P.A. Alvarado-Vazquez, Cannabis and Cannabinoids for Chronic Pain. Curr Rheumatol Rep, 2017. 19(11): p. 67.
5. Rong, C., et al., Cannabidiol in medical marijuana: Research vistas and potential opportunities. Pharmacol Res, 2017. 121: p. 213-218.
6. Scott, K.A., A.G. Dalgleish, and W.M. Liu, The combination of cannabidiol and Delta9-tetrahydrocannabinol enhances the anticancer effects of radiation in an orthotopic murine glioma model. Mol Cancer Ther, 2014. 13(12): p. 2955-67.
7. Services., N.I.o.D.A.N.I.o.H.U.S.D.o.H.a.H. Marijuana as Medicine. 2018 June 2018 [cited 2019 26 March 2019]; Available from: https://www.drugabuse.gov/publications/drugfacts/marijuana-medicine#references.
8. Turna, J., B. Patterson, and M. Van Ameringen, Is cannabis treatment for anxiety, mood, and related disorders ready for prime time? Depress Anxiety, 2017. 34(11): p. 1006-1017.



**********************************************

การใช้ #สารสกัดจากกัญชา ทางการแพทย์
#กัญชาศาสตร์: เอกสารการอบรม รุ่น 1
First Do No Harm.
กัญชายังคงเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5: ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาต…เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ [พรบ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562]

https://www.facebook.com/FreeMedicalBookThailand/posts/2087878574664206?hc_location=ufi
___________________________

คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์ [Guidance on Cannabis for Medical Use]
https://drive.google.com/file/d/1q6m7orxwHuELtbxv_jQMbWh66usNUB-_/view?fbclid=IwAR1V5Uq1gwn4BT8AcqN8wI9h6GxFbfAnWos_hgRXuRJoSVRmzEv1lTD2x4k
________________________________

เอกสารการอบรม สำหรับบุคลากรทางการแพทย์รุ่น 1
https://drive.google.com/drive/folders/1sKLx0AS8J8jZ3zhfW8NSgSL8-PwGXHIe?fbclid=IwAR1HNCnAbLNZe8ZlxVztW4lu_Iqcap5oSC_Zj7UPkYVo9nhmeWwsKXYcvS4

**********************************************




นพ.ธีระ วรธนารัตน์ : นโยบาย “กัญชา”...ระวังเรื่องโง่ จน และเจ็บ
Tue, 2018-10-23 11:08    -- hfocus
ธีระ วรธนารัตน์

ใครจะให้ข่าวเพื่อหวังงบไปทำศึกษาวิจัย ใครจะให้ข่าวเพื่อหวังประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือใครจะให้ข่าวเพื่อวัตถุประสงค์แอบแฝงหรือไม่ประการใด ผมคงไม่อาจล่วงรู้ได้ และไม่สนใจที่จะไปขุดคุ้ยค้นหา
แต่วันนี้จำเป็นต้องมาเล่าข้อเท็จจริงจากความรู้วิชาการเรื่องกัญชาที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับสากล เพราะที่ผมสนใจคือความเคลื่อนไหวของรัฐที่จะผลักดันนโยบายเกี่ยวกับกัญชา ซึ่งจะมีผลกระทบระยะยาวต่อประชาชนในสังคม รวมถึงลูกหลานของผม และของทุกคนในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ที่แพร่มาจากหลายต่อหลายแหล่ง สื่อให้คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจกันว่า กัญชานั้นมีสรรพคุณเลิศเลอนั้น จะเป็นจริงมากน้อยเพียงใด เชื่อได้หรือไม่ หรือดูแค่หน้าตา ตำแหน่งที่อ้าง ก็เชื่อกันไปหมดแล้ว โดยลืมนึกถึงสัจธรรมในโลกนี้ว่า ไม่มีอะไรหรอกที่ดีเว่อร์จนไม่มีผลเสีย หรือเราพูดง่ายๆ ว่า ไม่มีอะไรหรอกที่ดีไปหมด และไม่มีอะไรหรอกที่แย่ไปหมดจนหาจุดดีไม่ได้เลย

อ้างกันเยอะว่าประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะเรื่องการที่นำกัญชามาแก้ “ปวด” แก้ “อ้วก” และแก้ “เกร็ง”

วันนี้จะมาตีแผ่ให้ดูว่า แก้ปวด แก้อ้วก แก้เกร็งนั้น จริงไหม? ประการใด? ข้อควรระวังคืออะไร? และเหตุใดจึงนำมาจั่วหัวบทความว่า ให้ระวังโง่จนเจ็บ หากไม่ดูตาม้าตาเรือ

ขอเกริ่นไว้ก่อนว่า ผมไม่สนใจงานวิจัยที่ทำแค่ในห้องทดลอง ในหลอดทดลอง ในสัตว์ หรือในมนุษย์ โดยไม่เสร็จสิ้นกระบวนการตามมาตรฐานการวิจัยระดับสากล ดังนั้นคำกล่าวจากไหนหรือจากใครก็ตาม ที่มาเรียกร้องให้ผลักดันนโยบายสาธารณะโดยให้ลืมมาตรฐานสากล แล้วเอาเฉพาะงานวิจัยจากประเภทไม่เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าวมาใช้เลยนั้น ผมจะไม่นำมาพิจารณาเด็ดขาด และจะถือว่าเรียกร้องโดยไม่ถูกต้องเหมาะสม เพราะนโยบายสาธารณะนั้นส่งผลกระทบต่อประชาชนคนหมู่มาก ต้องยึดตามหลักฐานวิชาการที่ได้มาตรฐานสากล อันทำให้มั่นใจขึ้นในเรื่องความถูกต้อง และความปลอดภัย ซึ่งเกิดจากขั้นตอนการศึกษาวิจัยที่รัดกุม ขจัดอคติจากปัจจัยต่างๆ และมีการทำซ้ำเพื่อตรวจสอบได้ แม้จะไม่มีงานวิจัยใดเลยที่สมบูรณ์แบบ แต่สุดท้ายคนทั่วโลกก็ยังยอมรับมากกว่าการที่จะอ้างเอาสารเคมี หยูกยา หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการมาตรฐานดังกล่าวมาใช้กับคน ซึ่งมีชีวิตจิตใจ หรือแม้แต่กับสัตว์ซึ่งก็มีกระบวนการวิจัยมาตรฐานกำกับทั้งด้านวิทยาศาสตร์และจริยธรรมเช่นกัน

Allan GM และคณะ ตีพิมพ์ผลการวิจัยทบทวนงานวิชาการทั่วโลกอย่างเป็นระบบ ในวารสาร Canadian Family Physician เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้เอง โดยทำการทบทวนงานวิจัย 1,085 ชิ้น พบว่ามี 31 ชิ้นที่เป็นรูปแบบการทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ ซึ่งถือเป็นระดับความน่าเชื่อถือสูงเมื่อเทียบกับงานวิจัยรูปแบบอื่นๆ ซึ่งแต่ละชิ้นงานนั้นคัดเลือกเฉพาะงานวิจัยที่ทำการทดสอบเปรียบเทียบผลของกัญชาในการแก้อาการต่างๆ ทั้งเรื่องปวด เกร็ง อ้วก และมีการประเมินเรื่องอาการไม่พึงประสงค์/ผลข้างเคียง โดยออกแบบงานวิจัยที่รัดกุม โดยมีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างและมีกลุ่มควบคุม ซึ่งรูปแบบดังกล่าวนั้นคือรูปแบบวิจัยมาตรฐานสากลที่เหมาะสำหรับการดูผลของสิ่งที่ทดสอบ ไม่ว่าจะเป็นยา วัคซีน หรืออื่นๆ แตกต่างจากงานวิจัยประเภทอื่นที่เชื่อถือได้น้อยและไม่ควรฟังเสียงนกเสียงกานำมายึดถือเป็นสรณะ

ว่าด้วยเรื่องแก้ “ปวด”

มีงานวิจัย 23 ชิ้น ทำการศึกษาทั้งในเรื่องปวดเฉียบพลันจากโรคกระดูกและข้อและกล้ามเนื้อ ปวดเรื้อรัง ปวดจากพยาธิสภาพของประสาท และปวดจากโรคมะเร็ง

สรุปให้อ่านกันสั้นๆ ได้ว่า สารออกฤทธิ์จากกัญชานั้นไม่ได้ช่วยเรื่องอาการปวดแบบเฉียบพลัน ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดจากโรคกระดูกและข้อก็ตาม ส่วนผลในการลดอาการปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นก็ไม่ชัดเจน

สำหรับอาการปวดแบบเรื้อรัง และปวดจากพยาธิสภาพของเส้นประสาทนั้น สารออกฤทธิ์จากกัญชาดูจะช่วยลดอาการปวดได้เฉลี่ย 0.4 ถึง 0.8 หน่วย (จากอาการปวดคะแนนเต็ม 10) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้กัญชา โดยมีการอภิปรายเปรียบเทียบให้กระจ่างชัดขึ้นด้วยว่า ผลของกัญชาในการลดอาการปวดนี้ เทียบเท่ากับการบริโภคแอลกอฮอล์ จนมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 0.08% ซึ่งในต่างประเทศนั้นถือว่าเป็นระดับที่ผิดกฎหมายหากไปขับรถ เพราะจะทำให้ความสามารถในการขับรถด้อยลง เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ดังนั้นจึงมีนักวิชาการจำนวนไม่น้อยแซวว่า ถ้าลดปวดได้เท่าแอลกอฮอล์ ก็แทบจะไม่ค่อยมีที่ยืนให้กัญชามาใช้ในสรรพคุณแก้ปวดนี้เลย

ยิ่งไปกว่านั้น พอไปวิเคราะห์เจาะลึก พบว่า สรรพคุณเรื่องแก้ปวดนั้นมักพบเฉพาะในงานวิจัยที่มีขนาดเล็ก และติดตามผลระยะสั้นกว่า 2 เดือน ในขณะที่งานวิจัยที่ติดตามผลไปนานกว่า 2 เดือนขึ้นไป พบว่ากลุ่มที่ได้สารออกฤทธิ์จากกัญชานั้นมีลักษณะอาการปวดไม่ต่างกับกลุ่มควบคุม ซึ่งอาจแปลความได้ว่า เลยสองเดือนไปก็จะไม่ได้ผลนั่นเอง จึงทำให้มีคำถามตามมาอีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องประโยชน์ที่จะได้จริงเวลานำมาใช้ดูแลรักษา รวมถึงความคุ้มค่าในการลงทุนตั้งแต่การศึกษาวิจัยสรรพคุณทางการแพทย์ จนถึงการลงทุนระบบการผลิตเชิงธุรกิจอุตสาหกรรมสำหรับทางการแพทย์

ว่าด้วยเรื่องแก้ “คลื่นไส้อาเจียน”

มีงานวิจัยจำนวน 5 ชิ้น สรุปให้ฟังได้ว่า สารออกฤทธิ์จากกัญชานั้นได้ผลดีในการลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งชนิดต่างๆ ที่มีอาการหลังจากได้รับเคมีบำบัด ในขณะที่มีงานวิจัยทบทวนอย่างเป็นระบบเพียง 1 ชิ้นที่ทำให้กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง แล้วพบว่ากัญชาไม่ได้ช่วยลดคลื่นไส้อาเจียนเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม

สำหรับการลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งชนิดต่างๆ หลังได้รับเคมีบำบัดนั้น ผลของกัญชาดูน่าสนใจทีเดียว แต่จากข้อมูลยังพบว่ามีการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่มีความหลากหลายมาก และการติดตามผลการลดอาการคลื่นไส้อาเจียนนั้นมีความแตกต่างกันหลายแนวทาง โดยส่วนใหญ่เป็นการประเมินการรับรู้อาการของผู้ป่วยด้วยตนเอง และมักประเมินระยะสั้น เช่น ในระยะเวลา 1 วัน ซึ่งหากจะนำข้อบ่งชี้สรรพคุณนี้ไปผลักดันต่อเพื่อหวังให้เป็นเวชภัณฑ์เพื่อจำหน่ายในอนาคตและให้แข่งขันกับยาตะวันตกที่อยู่ในตลาดได้ ก็จำเป็นต้องวางแผนศึกษาวิจัย ติดตามประเมินผลเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญในการดูแลรักษาให้ครบถ้วน

ว่าด้วยเรื่องแก้ “เกร็ง”

มีงานวิจัยแบบทบทบวนอย่างเป็นระบบอยู่ 3 ชิ้น ที่วิเคราะห์ผลเปรียบเทียบตัวต่อตัวระหว่างยาหลอกกับสารออกฤทธิ์จากกัญชา พบว่า 2 ใน 3 ชิ้นนั้น สรุปว่ากัญชาช่วยลดเกร็งได้มากกว่ายาหลอก 0.31 ถึง 0.76 คะแนน (จากคะแนนเกร็งเต็ม 10) โดยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แถมมีการวิเคราะห์เพิ่มเติมให้เห็นชัดมากขึ้นได้ว่า หากเทียบกันแล้วกลุ่มที่ได้กัญชานั้น มีอยู่ร้อยละ 35 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด และกลุ่มที่ได้ยาหลอก จะมีอยู่ร้อยละ 25 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่สามารถลดคะแนนเกร็งลงได้อย่างน้อยร้อยละ 30 แม้จะต่างกันทางสถิติ แต่ในทางปฏิบัติจริง หากนำมากัญชามาใช้แก้เกร็ง ก็จะต้องใช้ราว 10 คน จึงจะเห็นผลลดการเกร็งเพิ่มได้ 1 รายเมื่อเทียบกับยาหลอก ทั้งนี้งานวิจัยส่วนใหญ่ทำในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรค Multiple sclerosis โดยมีงานวิจัยชิ้นเดียวที่ทำในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราควรรู้เพิ่มเติม ก่อนจะเชียร์หรือไม่เชียร์นโยบายกัญชาโดยไม่ดูตาม้าตาเรือคือ เคยมีงานวิจัยคาดประมาณว่าโรค Multiple sclerosis นี้แม้จะพบได้ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่เชื้อชาตินั้นมีผล โดยสหราชอาณาจักรคาดว่ามีราว 164 คนต่อประชากร 100,000 คน ส่วนแถบเอเชียแปซิฟิกนั้น เจอเพียง 0 ถึง 20 ต่อประชากร 100,000 คน ต่างกันถึงอย่างน้อย 8 เท่า ซึ่งข้อมูลนี้คงจะพอประกอบให้เห็นเรื่องขนาดของปัญหา ควบคู่ไปกับขนาดของผลหรือสรรพคุณที่กล่าวไว้ตอนต้น สำหรับรัฐที่จะต้องพิจารณาเรื่องการลงทุนทรัพยากรของประเทศว่าคุ้มค่าหรือไม่เพียงใด

ว่าด้วยเรื่องการทำให้เกิด “ผลข้างเคียง/อาการไม่พึงประสงค์”

หากสังเกตดูในข่าวที่เผยแพร่กันทุกวี่วัน มีน้อยนักที่จะเอ่ยถึงเรื่องนี้ แต่ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง อยากจะตีแผ่ให้เห็นว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร อย่างรอบด้าน ไม่ใช้อารมณ์ดราม่าหรือภาษาปลุกเร้าแบบที่เห็นกันบ่อยขึ้นเรื่อยๆ

มีงานวิจัยทบทวนอย่างเป็นระบบถึง 12 ชิ้นที่รายงานเรื่องนี้อย่างละเอียด โดยสรุปแล้วพบว่า จากการสังเกตการนำกัญชาไปใช้ทางการแพทย์จะเกิดผลข้างเคียง/อาการไม่พึงประสงค์ค่อนข้างบ่อย ทั้งนี้ผลข้างเคียงนั้นมีตั้งแต่รุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงมาก ยกตัวอย่างเช่น การทำให้เกิดความผิดปกติของการรับรู้ความรู้สึกต่างๆ ในรูปแบบที่เว่อร์เกินจริง อาการง่วง อาการอยากยา ความผิดปกติของสายตา อาการสับสน ปัญหาด้านความจำ อาการซึมเศร้า ความดันโลหิตต่ำ หรือแม้แต่อาการผิดปกติทางจิต เป็นต้น

ทั้งนี้จากรายงานวิชาการที่มีอยู่ พบว่า หลายอาการอาจพบได้บ่อย เช่น ทุกๆ 2 ถึง 4 คนที่ใช้กัญชา จะเจออาการดังกล่าว 1 คน เป็นต้น แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวนไม่น้อยชี้ให้เห็นว่า รายงานสถิติที่มีนั้นน่าจะเป็นสถิติที่ต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะกลุ่มผู้ป่วยในรายวิจัยต่างๆ นั้นมักเป็นผู้ที่ใช้กัญชามานาน ทำให้มีความทนต่ออาการต่างๆ ได้มาก หรือเคยชินไปแล้วจึงไม่รายงาน ในขณะที่บางอาการอาจทำให้คนที่มีอาการนั้นเพลิดเพลินกับความรู้สึกที่รับรู้หลังการเสพ ทำให้ไม่รายงาน เป็นต้น

นอกจากนั้น มีงานวิจัยและรายงานวิชาการจากต่างประเทศออกมาในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับผลกระทบต่อสังคมที่เกิดขึ้นจากการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ และการเปิดเสรีให้ใช้กัญชาทั่วไป เช่น สถิติอุบัติเหตุจราจรที่เพิ่มขึ้น อัตราการเสพกัญชาในเด็กและเยาวชนที่สูงขึ้น ตลอดจนอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้นและเชื่อมโยงกับการลัดเลาะนำกัญชาไปใช้นอกเหนือจากที่อนุญาตในวงการแพทย์ ทั้งนี้เริ่มเห็นมากขึ้นในบางประเทศ ที่มีการอนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ว่า มีการหลอกว่ามีอาการตามข้อบ่งชี้ เช่น อาการเจ็บปวด เพื่อให้ได้กัญชานำไปเสพ ทั้งที่มิได้มีอาการจริง

ปัจฉิมบท...สำหรับผู้กำหนดนโยบายในประเทศไทย

ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น หวังอยากให้ท่านเกี่ยวข้องได้อ่าน ใคร่ครวญ และพิจารณาให้จงหนัก ก่อนตัดสินใจสร้างนโยบาย กฎหมาย หรือระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกัญชาในประเทศเรา

ดูให้ดีว่า คนในสังคมเรานั้นมีระเบียบวินัย และความตรงไปตรงมามากน้อยเพียงใด ที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อตัวเรา และลูกหลานในอนาคต

สารออกฤทธิ์ในกัญชานั้น ค่อนข้างชัดเจนว่าแก้เรื่องคลื่นไส้อาเจียนในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งหลังรับเคมีบำบัดได้ แต่มีอีกหลายประเด็นที่จำเป็นต้องพิจารณาว่า จะเข็นไปสู่การวิจัย และวางแผนการผลิตเชิงพาณิชย์ เพื่อหวังลดค่าใช้จ่ายและหาเงินเข้าประเทศได้จริงหรือ คุ้มเพียงใด โดยควรพิจารณาศักยภาพและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศตามความเป็นจริง หลีกเลี่ยงการสร้างภาพฝันที่แกล้งหลับตามองบางเรื่องจนอาจทำให้ฝันดังกล่าวเป็นไปไม่ได้จริง โดยเฉลี่ยแล้วยาหรือวัคซีนแต่ละตัว กว่าจะคิด และผ่านขั้นตอนการวิจัยตามมาตรฐานสากล จนคลอดออกมาจดทะเบียนเพื่อจำหน่ายจ่ายแจกแก่สาธารณะนั้น สากลโลกเค้าลงทุนราวตัวละ 800-1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และใช้เวลาราว 12-15 ปี ยังไม่นับว่า ยาหรือวัคซีนตัวนั้นมีสรรพคุณแข่งกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตลาดอยู่แล้วได้มากน้อยเพียงใด และสามารถผลักดันเข้าสู่มาตรฐานการดูแลรักษาที่เค้าเชื่อถือในระดับสากลสำหรับโรคหรืออาการนั้นๆ ได้หรือไม่ นี่คือสิ่งที่ต้องทราบ และนำเข้าสู่การพิจารณาสำหรับการทำนโยบายสาธารณะของประเทศ

สรรพคุณอื่นๆ นั้น สำหรับความเห็นผมแล้ว ผมไม่คล้อยตาม และไม่คิดว่าสมควรแก่การนำไปผลักดันระดับนโยบายสาธารณะ

บทเรียนในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ทั่วโลกมีให้เราเรียนรู้ ตั้งแต่ประชาสัมพันธ์ให้มีการใช้มอร์ฟีน หรือสารใกล้เคียงสำหรับคนที่มีอาการปวดเรื้อรังในอเมริกา จนส่งผลกระทบต่อสังคมวงกว้าง และมีปัญหามาถึงปัจจุบัน เรื่องกัญชาก็เช่นกันที่หลายประเทศที่ได้ทำกระบวนการเรียกร้องก่อนหน้าเรามานาน แบบที่เรากำลังทำอยู่ในปัจจุบัน แต่เขากำลังประสบปัญหา เพราะเพิ่งเริ่มมีรายงานต่างๆ มาให้เห็นหลังผลักดันไปแล้ว

สำคัญที่สุดคือ การเตรียมรับมือกับผลกระทบต่างๆ ที่กล่าวมา เช่น การลักลอบผลิต ลักลอบใช้ การอ้างเรื่องอาการเจ็บป่วย เช่น เรื่องอาการปวดที่ตรวจประเมินได้ลำบากว่าจริงหรือไม่ ตลอดจนการใช้ทั้งโดยมีข้อบ่งชี้และไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และส่งผลต่อเรื่องวงกว้าง อาทิ อุบัติเหตุจราจร หรือการนำไปใช้เพื่อก่ออาชญากรรมและประทุษร้ายทางเพศ เป็นต้น

ห่วงใยลูกหลานจริง ต้องระวังให้ดี ตราบใดที่ยังไม่แน่ใจในระบบรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชน ก็โปรดอย่าเสี่ยงครับ มิฉะนั้นที่เราหลงทำไป ก็จะแสดงถึงความไม่รู้เท่าทัน เสียเงินทองทรัพยากร และจะเจอปัญหาประชาชนบาดเจ็บล้มตายจากผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ได้ครับ

ผู้เขียน : ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ้างอิง

1.Allan GM et al. Systematic review of systematic reviews for medical cannabinoids. Canadian Family Physician. February 2018;64:e78-e94.

2.Cheong WL et al. Multiple sclerosis in Asia Pacific region: A systematic review of a neglected neurological disease. Front Neurol. 2018;9:432.


https://www.hfocus.org/content/2018/10/16462

***************************************

 
 

นพ.ธีระ วรธนารัตน์ : บทเรียนสังคมไทยจากเรื่องกัญชา

หลายเดือนก่อน ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองท่านหนึ่งได้เมสเสจคุยกับผม ถามว่าผมประเมินสถานการณ์เรื่องกัญชาในสังคมไทยอย่างไร

ผมบอกกับท่านตรงๆ ว่า ผมไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวเพื่อปลดล็อคกัญชาในเมืองไทยในช่วงที่ผ่านมาหลายปีนี้

เหตุผลหลักของผมคือ ผมไม่เชื่อว่ารัฐ และกลไกต่างๆ ในสังคมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ จะสามารถที่จะดูแลปกป้องประชาชนจากผลร้ายที่จะเกิดขึ้นจากการปลดล็อคกัญชาได้

สิทธิและเสรีภาพของประชาชนในฐานะพลเมืองของประเทศนั้นย่อมต้องมีทุกคน โดยเป็นบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐที่จะต้องดูแลให้เกิดความเป็นธรรม และคนทุกคนในสังคมต้องอยู่ได้โดยมีความสงบสุข ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

หากเกิดปัญหาหรือสิ่งคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศทั้งโดยตรงโดยอ้อม หรือส่งผลต่อสวัสดิภาพความปลอดภัย รัฐก็จำเป็นต้องตัดสินใจควบคุม ป้องกัน และแก้ไข โดยยืนพื้นฐานบนหลักการดังกล่าว

จริงๆ ผมตอบผู้ใหญ่ท่านนั้นไปเพียงประโยคแรก และต่อด้วยความเห็นส่วนตัวของผมว่า ณ จุดนี้ สังคมไทยคงยากที่จะต้านทานกระแสการเคลื่อนไหวเพื่อปลดล็อคกัญชาแล้ว เพราะได้ประกาศเป็นกฎหมายเพื่ออนุญาตให้ใช้ทางการแพทย์ โดยแท้จริงแล้วเป็นการปลดล็อคโดยที่หารู้ไม่ว่าจะเกิดผลกระทบทางลบตามมาอย่างมากมายและยากที่จะจัดการ เช่น การเข้าใจผิดของประชาชนและนำไปใช้ต่างๆ นานาโดยยากที่จะควบคุม จนเกิดผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัว และกระบวนการดูแลรักษาทางการแพทย์มาตรฐานที่มีอยู่

ยังไม่นับเรื่องการค้าขายกัญชาและผลิตภัณฑ์อย่างผิดกฎหมายที่คาดว่าจะมีมากมาย รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพและสังคมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุจราจร ปัญหาจิตเวช อาชญากรรม และการนำไปสู่การเสพติดอื่นๆ ควบคู่กันไป และที่แน่ๆ คือจะมีการเคลื่อนไหวไปสู่เรียกร้องให้เกิดกัญชาเสรีตามมา

ที่กล่าวมาข้างต้นมิได้เอ่ยขึ้นอย่างเลื่อนลอย หากแต่เป็นสิ่งที่ถูกระบุเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน ทั้งจากงานวิจัยติดตามผลจากการประกาศนโยบายปลดล็อคกัญชาของประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นแคนาดา สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป ฯลฯ รวมถึงรายงานขององค์กรต่างประเทศที่ดูแลทั้งด้านวิชาการและนโยบาย อย่าง International Narcotics Control Board (INCB) ซึ่งเป็นกลไกทำงานของสหประชาชาติเรื่องยาเสพติดด้วย

ผมบอกท่านไปว่า "ตอนนี้คงไม่สามารถทำอะไรได้แล้ว นอกจากหาทางช่วยกันเตือนประชาชนในสังคมไทยให้เตรียมรับมือกับปัญหาสังคมที่จะเกิดขึ้นจากนโยบายกัญชา"

"ครอบครัวเป็นหน่วยเล็กที่สุดในสังคม ที่จะต้องเลี้ยงดูลูกหลานของตนเองให้ดี ดูแลใกล้ชิด สอนให้รู้เท่าทันภัยคุกคามที่มีในสังคม รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ"...ผมบอกท่านไปประมาณนี้ และจบการสนทนากันในวันนั้น

นั่นเป็นการสนทนาประมาณต้นๆ ปีที่ผ่านมา

ผ่านมาครึ่งปีหลังจากประกาศปลดล็อคกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย เราเห็นอะไรกันบ้าง?

1. ปรากฏการณ์ "ความเชื่อและงมงายว่ากัญชารักษาได้ทุกโรค" จากอิสระเสรีเหนืออื่นใด ในการป่าวประกาศ ประชาสัมพันธ์ ความ "รู้" แบบลวงๆ โดยที่กลไกอำนวยความยุติธรรมของรัฐไม่สามารถทำอะไรได้ หรืออาจไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี

2. ปรากฏการณ์ "การเติบโตของธุรกิจซื้อขายกัญชาและผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างผิดกฎหมายผ่านสื่อออนไลน์" ทั้งในไลน์กรุ๊ป เฟซบุ๊ค และอื่นๆ ราคาค่างวดขวดนึงหลายร้อยไปจนถึงพันบาท คิดค่าใช้จ่ายที่คนเต็มใจควักเงินจากกระเป๋า คาดว่าเยอะกว่าค่าใช้จ่ายรายหัวด้านสุขภาพของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และระบบประกันสังคมเสียด้วยซ้ำ

3. ปรากฏการณ์ "การสร้างระบบการตลาดด้านกัญชา" ทั้งการประยุกต์ใช้แนวคิด Multi-level marketing และระบบขายตรงผ่านตัวแทนในหลากหลายลักษณะ โดยอาศัยการต่อยอดจากการเล่นกับความกลัวโรคร้ายต่างๆ ของคน ควบคู่กับการเล่นกับกิเลสด้านรายได้จากการเป็นตัวแทนขาย ทำให้สมประโยชน์ทั้งคนผลิต คนขาย ตัวแทน และคนซื้อ อย่างครบวงจร

4. ปรากฏการณ์ "ดีครับนาย ได้ครับผม เหมาะสมครับท่าน" นโยบายถูกดันจากเบื้องบน ขาดเหลืออะไร กลไกมดงานในระบบรัฐก็สนองได้หมด ขาดความเชี่ยวชาญด้านกัญชา แต่สามารถเนรมิตให้เกิดขึ้นได้ผ่านการอบรมระยะสั้นตีตราให้พร้อมอย่างไม่น่าเชื่อ

5. ปรากฏการณ์ "โยนบาปให้เหยื่อ" เห็นได้จากจำนวนเหยื่อ ในรูปแบบของผู้ป่วย และผู้ที่ไม่ป่วยแต่หลงเชื่องมงาย ตัดสินใจหาผลิตภัณฑ์มาใช้เอง หรือมีตัวแทนมาเสนอให้ลอง หรืออื่นๆ ใช้แล้วเกิดปัญหาตามมาตามพาดหัวข่าว เช่น ใช้กัญชาแล้วน็อคต้องหามส่ง รพ.ด้วยอาการต่างๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สุดท้ายก็โดนโยนบาปจากกลุ่มคลั่งกัญชาว่า ใช้ไม่เป็นเลยเกิดปัญหา แต่ไม่เคยยอมรับผิดว่า ที่มันเกิดปัญหาเช่นนี้ เพราะอะไรกันแน่ เพราะการสื่อสารสาธารณะที่ไม่เหมาะสม? เพราะการเร่งผลักดันโดยที่ไม่คิดหน้าคิดหลังและไม่เตรียมกลไกที่จำเป็นให้พร้อม รวมถึงไม่เตรียมคนในสังคมให้พร้อมก่อนจะผลักดัน?

6. ปรากฏการณ์ "คนทำงานในระบบสุขภาพน้ำตาตก" หลายคนน้ำตาตกเพราะคิดไม่ถึงเลยว่า เฮ้ย...มาตรฐานการแพทย์และการวิจัยที่เราร่ำเรียนตลอดมานั้นมีขั้นตอนต่างๆ มากมายกว่าจะเข็นยาแต่ละตัวออกมาใช้ในระบบการแพทย์ได้ แต่ละตัวใช้เวลาเฉลี่ย 12-15 ปี ลงทุนมากกว่า 800 ล้านเหรียญ มีทั้งขั้นตอนในหลอดทดลองก่อนจะไปถึงสัตว์ทดลอง และค่อยเข้ามาสู่ระยะการทดลองวิจัยในคน ซึ่งมีอีก 4 ระยะ ที่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรเยอะมากมาย ก็เพื่อให้แน่ใจใน 2 เรื่องหลักคือ สิ่งที่คิดว่าจะเป็นยานั้นจะต้องมีสรรพคุณรักษาโรคนั้นๆ ได้จริง และสิ่งที่คิดว่าจะเป็นยานั้นต้องมีความปลอดภัยจริง

แต่ปรากฏว่า ที่ผ่านมากัญชากลับถูกนำมาตีรวนให้สับสน และหาทางลัดเลาะให้นำมาใช้ทันทีในระบบการดูแลรักษาโดยกล่าวอ้างข้อมูลวิจัยที่จับแพะมาชนแกะ

งานวิจัยทั้งหลายของสากลที่ทำกันนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นการวิจัยทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ที่ต้องทำการสกัดสารเคมีจากวัตถุดิบให้ได้ สามารถวัดปริมาณได้ ทำให้คงตัวได้ ทำให้บริสุทธิ์ไม่มีสิ่งเจือปน และค่อยนำมาทดสอบในสัตว์และในคนตามที่กล่าวมา จนทราบได้แน่ชัดว่าปริมาณแค่ไหนปลอดภัย ให้ทางการกินการฉีดการหยดจะให้อย่างไร และจะมีสรรพคุณรักษาโรคใดได้จริงบ้าง และเมื่อเทียบกับยามาตรฐานต่างๆ ที่มีอยู่นั้น มันดีกว่า เท่ากัน หรือด้อยกว่า

ในขณะที่การวิจัยการแพทย์แบบพื้นบ้านหรือการแพทย์ทางเลือกนั้น จะใช้ระบบการศึกษาวิจัยที่เป็นคนละแบบกัน และมีความยากลำบากพอสมควรในการพิสูจน์ทั้งเรื่องความปลอดภัยและสรรพคุณ เนื่องจากหากศึกษาพืช สมุนไพร หรือตำรับยาต่างๆ ว่าจะรักษาโรคได้หรือไม่นั้น พืช สมุนไพร หรือตำรับยาต่างๆ นั้นมักประกอบด้วยสารมากมายหลายอย่าง บางครั้งก็ยากมากที่จะกำหนดปริมาณตายตัว กำนึงของพืชชนิดเดียวกัน ใบนึงของพืชชนิดเดียวกัน ก็มีปริมาณสารต่างๆ แตกต่างกันไปด้วย เราจึงเห็นได้ว่าจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การแพทย์พื้นบ้านหรือการแพทย์ทางเลือกนั้นมักจะมีงานวิจัยที่สามารถพิสูจน์สรรพคุณและความปลอดภัยได้ค่อนข้างจำกัด และยากที่จะฟันธงถึงความเป็นเหตุและผลได้อย่างแม่นยำ

ช่วงที่ผ่านมา กระแสกัญชาในเมืองไทยนั้นจึงสร้างความสับสนให้กับคนในสังคม และส่งผลให้เกิดปัญหาดังกล่าวตามมา

บุคลากรทางการแพทย์จึงได้แต่น้ำตาตกที่เห็นการสื่อสารสาธารณะที่มุ่งแต่ผลักดัน แต่ไม่สนใจว่าคนรับนั้นจะเข้าใจอย่างไร

ทั้งๆ ที่การสื่อสารที่ดีนั้น ควรเป็นดังคำที่เราเคยได้ยินว่า "Words that work: It's not what you say, it's what people hear"

นอกจากนี้อีกเหตุผลหลักที่บุคลากรทางการแพทย์ในระบบสุขภาพน้ำตาตกคือ ความสงสารต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากข่าวสารกัญชาเหล่านั้น นอกจากเสียตังค์โดยไม่จำเป็น ตกเป็นเหยื่อเหล่าเสือหิวแล้ว ยังต้องเจ็บป่วยไม่สบายจากผลข้างเคียงต่างๆ จากกัญชา และการเสียโอกาสจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการรักษาทางการแพทย์ จนทำให้โรคกำเริบหรือเป็นรุนแรงยิ่งขึ้น

จำนวนเหยื่อมีมากขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลต่อเนื่องไปถึงภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่ประเทศจะต้องจ่ายไปจากปรากฏการณ์นี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เอาล่ะ...แล้วจะทำอย่างไรดี?

สารภาพตรงๆ ว่า ผมเริ่มเห็นทางตันครับ เท่าที่คิดได้คงมีเพียง...

1.รัฐต้องยึดหลักการดูแลประชาชนในสังคม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยมั่นคงของประเทศ สวัสดิภาพและคุณภาพชีวิต ไม่ตัดสินใจโดยอิงแต่ตัวเลขเศรษฐกิจที่อาจถูกปั่นให้เกิดกิเลสแบบได้ไม่คุ้มเสีย

2.นายกรัฐมนตรีโปรดพิจารณาคัดเลือกเสนาบดีที่จะมาคุมกระทรวงต่างๆ ให้ดี อย่าให้ใช้เป็นสะพานในการดำเนินการที่ส่งผลเสียต่อประเทศโดยรวม

3.นายกรัฐมนตรีโปรดทบทวนโครงสร้างหน่วยงาน และคณะกรรมการต่างๆ ทั้งด้านการปฏิรูปประเทศ ด้านสาธารณสุข ด้านพาณิชย์ และอื่นๆ โดยตรวจสอบเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และพฤติกรรมที่ผ่านมาว่าสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอคติในการดำเนินงานหรือปฏิบัติหน้าที่หรือไม่

4.หน่วยงานด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะ อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค โปรดยึดมั่นในหลักเกณฑ์มาตรฐาน อย่าหวั่นไหวกับการปั่นสังคมใช้กฎหมู่มาเหนือกฎหมาย

5.ราชวิทยาลัยแพทย์สาขาต่างๆ สมาคมวิชาชีพแพทย์และบุคลากรสาขาสุขภาพต่างๆ ตลอดจนโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของประเทศควรพิจารณาประกาศจุดยืนทางวิชาชีพของท่าน ในการนำกัญชาหรือผลิตภัณฑ์จากกัญชามาใช้ดูแลรักษา โดยขอให้ยึดมั่นหลักฐานทางวิชาการที่หนักแน่น จนกว่าจะพิสูจน์เรื่องความปลอดภัยและสรรพคุณได้ตามมาตรฐานสากล ย่างก้าวนี้สำคัญยิ่งที่จะช่วยเป็นประทีปส่องทางให้ประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์มีหลักยึด

6.โรงพยาบาลต่างๆ โปรดพิจารณาออกประกาศนโยบายของโรงพยาบาล (Hospital policy) ในการใช้กัญชาหรือผลิตภัณฑ์จากกัญชาในการดูแลรักษา โดยยึดมั่นในหลักวิชาการ เพื่อช่วยปกป้องทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ของท่าน และช่วยป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้น ทั้งจากระบบประกันสุขภาพ และปัญหาทางกฎหมาย

7.เรื่องนี้ยากสุดสำหรับทั้งสังคมไทยและสังคมโลก คือ รัฐควรพัฒนากลไกตรวจ ติดตาม กำกับ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่เป็นเท็จ ทั้งนี้ยังไม่มี best practice ใดๆ ที่จะมาต้านทานกระแส Fake information อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำครับ

ด้วยรักต่อทุกคน

ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

https://www.hfocus.org/content/2019/06/17257

****************************************

สังคมไทย...ทางไปของกัญชา

ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ จากคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี และราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวในงานแถลงข่าว ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง “สังคมไทย : ทางไปของกัญชา” ว่าในปี 2560 ตลาดกัญชากรุงวอชิงตันมีเม็ดเงินสะพัดกว่า 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่รัฐโคโลราโด สะพัดกว่า 1,508 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตามแม้กัญชาจะสร้างรายได้แต่ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่ต้องนึกถึง ทั้งความปลอดภัยบนท้องถนน ความปลอดภัยของผู้ไม่เสพ และการตรวจคัดกรองคนทำงาน

จากข้อมูลของรัฐโคโลราโดหลังการประกาศใช้กัญชาทางการแพทย์และเสรีกัญชา พบว่าผู้ที่เสพติดกัญชาเพิ่มขึ้น ผู้ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ที่ตรวจพบสารกลุ่มแคนนาบินอยด์มากขึ้น ผู้ที่ทำร้ายตนเองที่ตรวจพบสารกลุ่มแคนนาบินอยด์มากขึ้น และพบว่ามีอัตราการนอนโรงพยาบาลจากภาวะที่เกี่ยวข้องกับกัญชามากขึ้น ในรัฐอื่นๆ ในสหรัฐอเมริการที่อนุญาตใช้แคนนาบินอยด์ทางการแพทย์ บางรัฐมีการจำกัดปริมาณ THC ให้ต่ำและ CBD ให้สูง ขณะที่รัฐที่เปิดเสรีกัญชามีการควบคุมระดับ THC ในผลิตภัณฑ์และมีการติดตามและจำกัดปริมาณการซื้อผลิตภัณฑ์ต่อคน

ผศ.นพ.สหภูมิ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลายคนได้ยินว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) เสนอสหประชาชาติ (UN) เรื่องกัญชามีประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ความจริงต้องมาดูรายละเอียดแยกเป็นข้อๆ คือให้กัญชาเป็นยาเสพติดกลุ่มที่ 1 (ระดับเดียวกับมอร์ฟีน), ให้สาร THC เป็นยาเสพติดกลุ่มที่ 1 (ระดับเดียวกับมอร์ฟีน), หากผลิตภัณฑ์ CBD ที่แทบไม่เหลือ THC (<0.2%) ให้พ้นการควบคุมแบบยาเสพติด และสำหรับผลิตภัณฑ์หรือสารสกัดแบบอื่นๆ ที่มีสารอื่นนอกเหนือจาก CBD แต่ไม่มี THC (<0.2%) ควรให้เป็นสารเสพติดกลุ่มที่ 3 ดังนั้นผลิตภัณฑ์จะถูกควบคุมระดับใดต้องดูตามสารที่อยู่ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ หากเป็นสกัดกัญชาแล้วได้ THC ก็ยังเป็นยาเสพติด

สำหรับ Tetrahydrocannabinol (THC) หากใช้ในขนาดที่เหมาะสมจะมีผลในการลดปวด ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการคลื่นไส้ แต่หากได้รับในขนาดสูงจะทำให้มีอาการเมาเคลิ้ม ใจสั่น หน้ามืด เห็นภาพหลอน รบกวนการรับรู้การตัดสินใจและความจำ นอกจากนี้การใช้สาร THC ขนาดสูงสม่ำเสมอทำให้เกิดภาวะดื้อต่อสาร (tolerance) นำมาสู่การติดยาได้

ด้าน Cannabidiol (CBD) เป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอาการเมาเคลิ้มและอาการทางจิตของ THC มีการศึกษาใช้สาร CBD เพื่อควบคุมอาการชักและอาการปวด สาร CBD ยังไม่พบว่าทำให้เกิดการดื้อหรือติด ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกได้จัดสาร THC เป็นสารเสพติดประเภทที่ 1 คือ มีโอกาสเสพติดได้ มีโอกาสนำไปใช้ในทางที่ผิด แต่มีประโยชน์ทางการแพทย์ ขณะที่จัดให้สาร CBD ไม่เป็นสารเสพติด สำหรับพืชกัญชายังนับว่าเป็นสารเสพติดประเภทที่ 1

ทั้งนี้การใช้ทางการแพทย์ที่มีหลักฐานสนับสนุนพอสมควร คือ สามารถลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้รับยาเคมีบำบัด ลดอาการปวดในผู้ที่ปวดเรื้อรัง รักษาอาการเกร็งในโรคเอ็มเอส และโรคลมชัก ขณะที่การใช้ที่ปัจจุบันที่มีหลักฐานว่าไม่ได้ผลในการรักษาโรค ได้แก่ ภาวะสมองเสื่อม และต้อหิน ซึ่งสมาคมจักษุแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาไม่แนะนำให้ใช้แคนนาบินอยด์ เนื่องจากการจะลดความดันตา 3–5 มม.ปรอท จะต้องบริโภค THC ปริมาณสูงถึง 18–20 มก./ครั้ง ซ้ำทุก 3-4 ชั่วโมง ขณะที่สาร CBD มีฤทธิ์เพิ่มความดันตา และสารละลายไขมันทำให้ตาระคายเคืองและเปลือกตาไหม้ได้

จากการศึกษาผลของกัญชาที่เกี่ยวข้องในมนุษย์ พบผลข้างเคียงทำให้เกิดโรคทางจิตเพิ่มขึ้น 3.9 เท่า การลงมือฆ่าตัวตาย 2.5 เท่า การติดกัญชาในวัยเรียน 17% เกิดปัญหาการเรียนรู้ สมาธิ และความจำ สมองฝ่อ เนื่องจากเนื้อสมองเล็กลงเมื่อใช้กัญชาในเวลานาน เส้นเลือดในสมองตีบ ถุงลมโป่งพอง หัวใจเต้นผิดจังหวะ สัมพันธ์กับมะเร็งอัณฑะ และเพิ่มความเสี่ยงหัวใจขาดเลือดทั้งฉับพลันและเรื้อรัง

ทั้งนี้ในกลุ่มที่ใช้ปริมาณมากทำให้เกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนรุนแรงจนเกิดภาวะแทรกซ้อน หลอดอาหารฉีกขาด ไตวาย ขาดน้ำรุนแรง เกลือแร่ผิดปกติรุนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเสียชีวิตได้

ผศ.นพ.สหภูมิ กล่าวเพิ่มเติมว่า การผลิตเป็นยาจึงต่างจากการผลิตเพื่อเสพ ต้องมีมาตรฐานทุกลอตเท่ากัน ต้องมีการตรวจตัวยาและวัตถุดิบไม่ให้มีเจือปน ทั้งสารปราบศัตรูพืช สารละลายอื่นๆ โลหะหนัก เชื้อโรค รา แบคทีเรีย และพิษที่สร้างจากเชื้อโรค รวมถึงวัตถุเจอปน เช่น ผม ขน เล็บ แมลง อุจจาระ และปฏิกูลอื่นๆ

ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีการใช้กัญชาทางการแพทย์ก็ยังมีข้อบ่งชี้ 5 ข้อ โดยจะใช้ได้เมื่อการรักษาไม่ได้ผลเท่านั้น ได้แก่ 1.การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต 2.อาการคลื่นไส้อาเจียน จากการรับยาเคมีบำบัด 3.อาการปวดเรื้อรัง 4. โรคเอ็มเอส และ 5.โรคลมชัก ขณะที่ทั่วโลกบอกว่า “แคนนาบินอยด์เป็นยาแก้ปวด แก้คลื่นไส้ รักษาลมชัก ไม่ใช่ยารักษามะเร็ง”

สำหรับในประเทศไทยข้อบ่งชี้ตามกรมการแพทย์ในการใช้กัญชารักษาโรค มีทั้งหมด 4 ข้อ คือ จะใช้ได้เมื่อการรักษาไม่ได้ผลเท่านั้น ไม่ใช่ยาเริ่มต้น ได้แก่ 1.อาการคลื่นไส้อาเจียนจากการรับยาเคมีบำบัด 2.อาการปวดประสาท 3.กล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคเอ็มเอส และ 4.โรคลมชักดื้อยา ในส่วนของโรคที่ข้อมูลสนับสนุนจำกัดต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ โดยมีเป้าหมายคือบรรเทาอาการเท่านั้น ได้แก่ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง มะเร็งระยะสุดท้าย พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ โรควิตกกังวล และโรคปลอกประสาทอักเสบ

นอกจากนี้กรมการแพทย์ยังระบุข้อห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ THC ในกลุ่มที่มีประวัติแพ้สาร โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคปอด หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เคยเป็นโรคจิตมาก่อน หรือมีอาการทางโรคอารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล รวมถึงหญิงมีครรภ์ ให้นมบุตร สตรีผู้ไม่ได้คุมกำเนิด หรือวางแผนจะมีบุตร ดังนั้น สารแคนนาบินอยด์มีทั้งประโยชน์และโทษ ควรเลือกศึกษาสารและขนาดให้ถูกต้อง และควรแยกคำว่า “การใช้ยาแคนนาบินอยด์ทางการแพทย์ จากการเสพกัญชา” ผศ.นพ.สหภูมิ กล่าวทิ้งท้าย

เครดิตข้อมูลสรุปจาก..คมชัดลึก

************************************************



ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย แถลงจุดยืน"การใช้กัญชาทางการแพทย์" ชี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้

เมื่อวันที่ 14 พ.ย. ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ จุดยืนของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยเรื่อง "การใช้กัญชาทางการแพทย์ มีเนื้อหาดังนี้

อาศัยอำนาจตามความในหมวด 3 ข้อ 8 (7) แห่งข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยราชวิทยาลัยจิตแพทย์ แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2538 และมติคณะผู้บริหารราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย มีความคิดเห็นและข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ ดังนี้

1. คุณสมบัติของกัญชา

กัญชา (marijuana) มีฤทธิ์เสพติด เป็นพืชที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า cannabis ซึ่ง cannabis มีหลายสายพันธุ์ ไม่ใช่เฉพาะแต่เพียงกัญชาเท่านั้น เช่น กัญชง ซึ่งเป็นพืชที่มีการน าล าต้นมาใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ปริมาณของสาร cannabinoids ที่มีอยู่ในพืชเหล่านี้มีระดับที่แตกต่างกันตามสายพันธุ์และการเพาะปลูก สาร cannabinoids ที่มีอยู่ในกัญชามีอยู่หลายชนิด เช่น delta9-tetrahydrocannabinol (delta9-THC) และcannabidiol (CBD) เป็นต้น บางชนิดสามารถสกัดเฉพาะสารออกมาได้ หรือสังเคราะห์เองได้โดยไม่ต้องสกัดจากพืช โดยกัญชาในรูปแบบต่างๆ สามารถน ามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในบางสาขาได้

กัญชาที่มีผู้นำมาใช้เพื่อความรื่นเริงจนบางครั้งเกิดการเสพติดนั้น มักเป็นชนิดที่มีปริมาณของสารdelta9-THC ที่สูง โดยผู้เสพดังกล่าวอาจนำส่วนต่างๆของกัญชามาทำให้แห้งเพื่อสูบ หรืออาจใช้ในรูปแบบน้ำมันซึ่งจะมีปริมาณ delta9-THC สูงกว่าปกติ โดยพบมากในต่างประเทศ

จากการศึกษาพบว่าการใช้กัญชาจะมีฤทธิ์รบกวนการทำงานของสมอง และเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้ เช่น หลงผิด หูแว่ว ประสาทหลอน อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า วิตกกังวล เป็นต้น โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ตั้งแต่วัยเด็กและวัยรุ่น ปัจจุบันยังไม่มีวิธีบอกว่าใครจะมีความเสี่ยงดังกล่าวบ้าง

2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับกัญชาต่อผลทางจิตเวช

กัญชามีฤทธิ์ทำให้เสพติดได้ ซึ่งเกิดจากฤทธิ์ของสาร delta9-THC กัญชาไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตามยังไม่มีที่ใช้ทางการรักษาโรคทางจิตเวช การใช้กัญชามีฤทธิ์รบกวนการทำงานของสมอง และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้

3. คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้กัญชา

3.1 บุคคลควรใช้กัญชาหรือสารสกัดตามข้อบ่งชี้ที่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานรองรับเท่านั้น

3.2 การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลของกัญชาทั้งประโยชน์และโทษ ควรระบุให้ชัดเจนว่าเป็นผลของการใช้กัญชาหรือสารสกัด เช่น delta9-THC หรือ เป็นผลจากสารสังเคราะห์

3.3 บุคคลทั่วไปที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ไม่ควรใช้กัญชา โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนและผู้ที่มีโรคทางจิตเวช

************************************************

 

มติราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ไม่สมควรนำกัญชาและสารสกัดจากกัญชาใดๆ มารักษาโรคในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น เผยตรงกับข้อสรุปของสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา ชี้กัญชามีส่วนประกอบที่ส่งผลเสียต่อระบบประสาทที่กำลังเจริญเติบโตในเด็กและวัยรุ่นหากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน และมีฤทธิ์เสพติด

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศฉบับที่ 134/2562 แถลงการณ์จุดยืนของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องการใช้กัญชาทางการแพทย์ ซึ่งลงนามโดย ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า

อาศัยอำนาจตามความในหมวด 3 ข้อ 8(7) แห่งข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2538 และมติคณะกรรมการบริหารราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย มีความคิดเห็นและข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ในเด็กและวัยรุ่น ดังนี้

1.คุณสมบัติของกัญชา

กัญชา (Marijuana) มีฤทธิ์เสพติด เป็นพืชที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis มีหลายสายพันธุ์ ไม่ใช่มีเฉพาะเพียงกัญชาเท่านั้น เช่น กัญชง ซึ่งเป็นพืชที่มีการนำลำต้นมาใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ ปริมาณของสาร Cannabinoids ที่มีอยู่ในพืชเหล่านี้ มีระดับที่แตกต่างกันตามสายพันธุ์และการเพาะปลูก สาร Cannabinoids ที่อยู่ในกัญชามีอยู่หลายชนิ เช่น delta9-tetrahydrocannabinol (delta9-THC) และ cannabidiol (CBD) เป็นต้น บางชนิดสามารถสกัดเฉพาะสารออกมาได้ หรือสังเคราะห์เองได้โดยไม่ต้องสกัดจาพืช โดยกัญชาในรูปแบบต่างๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในบางสาขาได้ กัญชาที่มีผู้นำมาใช้เพื่อความรื่นเริงบางครั้งเกิดการเสพติดนั้น มักเป็นชนิดที่มีปริมาณของสาร delta9-THC ที่สูง โดยผู้เสพดังกล่าวอาจนำส่วนต่างๆ ของกัญชามาทำให้แห้งเพื่อสูบ หรืออาจใช้ในรูปแบบน้ำมันสกัดซึ่งมีปริมาณ delta9-THC สูงกว่าปกติ

2.ความคิดเห็นและคำแนะนำเกี่ยวกับกัญชาในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น

กัญชามีส่วนประกอบที่ส่งผลเสียต่อระบบประสาทที่กำลังเจริญเติบโตในเด็กและวัยรุ่น หากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานและมีฤทธิ์เสพติดจากผลของสาร delta9-THC

ดังนั้น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยจึงมีมติว่า ไม่สมควรนำกัญชาและสารสกัดจากกัญชาใดๆ มารักษาโรคในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น ซึ่งตรงกับข้อสรุปของ American Academy of Pediatrics (สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา) ที่ตีพิมพ์ในเดือนมีนาคม ค.ศ.2015

Sun, 2019-06-30 09:20 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2019/06/17314

************************************************



Worapong Tearneukit

3 กรกฎาคม เวลา 17:22 น.
https://www.facebook.com/worapong072/posts/10158191476198357

วันนี้ได้มีโอกาสฟังบรรยายเรื่อง #กัญชา จากศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิริชัย ชยสิริโสภณ...

ท่านเป็นอดีต Neurologist ที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา และได้ไปเป็น Researcher อยู่ที่อเมริกากว่า 30 ปี มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำกว่า 100 ชิ้น

ปัจจุบันท่านเป็น Director ของ Comprehensive Epilepsy Program, Kaiser Permanente School of Medicine
และท่านมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากการใชักัญชามาหลายปีในรัฐแคลิฟอร์เนีย

สรุปเบื้องต้นได้ว่า

1. จากการศึกษาที่มีในปัจจุบัน กัญชา ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคสารพัดโรคตามที่กล่าวอ้าง เป็นเพียงการรักษาอาการให้ดีขึ้นในระยะหนึ่งเท่านั้น

2. กัญชา กับ #มะเร็ง มีแต่เพียงการทดลองในเซลล์มะเร็งที่อยุ่ในจานทดลอง กับในหนูเท่านั้นที่ได้ผล ส่วนในคนยังไม่มีการศึกษาใดๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า กัญชารักษามะเร็งได้ และถ้าเอาขนาดของกัญชาที่ใช้ทดลองในหนูมาปรับตามน้ำหนักให้เป็นขนาดในคน จะทำให้คนเจอพิษข้างเคียงของกัญชาจนเสียชีวิตไปซะก่อน

3. ในอเมริกามีเพียง 10 รัฐที่กัญชาถูกกฏหมาย และส่วนใหญ่เป็นรัฐริมทะเลที่มีคนเชื้อสายอื่นเป็นจำนวนมาก และผ่านกฏหมายเพราะการเปิด Public vote แต่ในรัฐที่มีคนอเมริกาแท้ๆอยู่เป็นส่วนใหญ่ มีองค์กรแพทย์ ที่เข้มแข็ง ต่อต้านการทำกัญชาให้ถูกกฏหมาย เพราะผลเสียมากกว่าผลดีอย่างมากๆ

4. มีการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำ STROKE พบว่าการใช้กัญชาต่อเนื่องนานๆ เพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองอย่างชัดเจน ทำให้เป็นอัมพาตได้

5.การใช้กัญชา ทำให้เนื้อสมองฝ่อ โดยเฉพาะในเด็ก และวัยรุ่น IQ ต่ำลง เฉื่อยชา

โดยสรุป ผลเสียมากกว่าผลดี



************************************************





การใช้กัญชาทางการแพทย์ มีประโยชน์หลายประการต่อผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ ตามข้อบ่งชี้ แต่เนื่องจากกัญชาในทางการแพทย์นั้น ถือเป็นยา จึงต้องใช้ให้มีขนาดที่ถูกต้อง และมีการระมัดระวัง มิให้เกินขนาดจนเกิดพิษได้ เช่นเดียวกับยาอื่น โดยมีคำแนะนำของ ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ดังเอกสาร 20 สิงหาคม 2562 ขอให้คุณหมอโปรดศึกษาครับ

https://bit.ly/2L5DUK6

เครดิต FB@แพทยสภา
https://www.facebook.com/thaimedcouncil/posts/2332583467006545


************************************************





FB@Palliative Medicine ยากนิดเดียว

Admin รู้สึกว่า ชาว palliative อาจจะหนักใจเมื่อต้องมาทำ “clinic กัญชา”

เอาเป็นว่า ผมในฐานะคนทำงาน palliative ขอ ประกาศตัวว่า cons มากกว่า pros นะครับ เพียงแต่ก็ไม่ได้หลับหูหลับตาค้าน แค่ประโยชน์ไม่ชัดโทษเยอะ ก็ควร “ระวัง” มากกว่า “กระโจน” ไปใช้

ควรจะพิจารณาตัวเราว่าเป็น “หมอ” หรือ “นักวิจัย” ส่วนตัวนะ....admin page นี้ทุกคนเป็น “clinician “ ครับ กัญชายังอยู่ในวิจัย ยายังไม่ได้ขึ้นทะเบียนบัญชียา

ผมไม่ค่อยห่วงแพทย์ครับ แต่ห่วงประชาชน

การใช้กัญชา มีข้อควรระวัง (THC) และข้อห้ามนะจ๊ะ คนไข้ทุกคน กัญชามีสารสำคัญ 2 ตัว คือ THC ซึ่งเป็นตัวที่มีผลขอางเคียงมากมาย และ CBD ที่มีประโยชน์ (บ้าง) และยังมีสารอื่นอีกเป็น สิบ (เติม S) +สาร terpine

ประโยชน์ไม่ชัด โทษจากสาร THC เป็นส่วนใหญ่ จะใช้แต่ละที คิดดีๆ อย่างมีวิจารณญาณ

1. หากอายุ <25 ปี มีผลต่อต่อพัฒนาการสมอง ในส่วน prefrontal cortex ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้เรื่องเหตุผล
2. หากมีประวัติจิตเวชในครอบครัว อาจกระตุ้นให้เกิดอาการทางจิต และ กลายเป็นจิตเวชถาวร (จิตเภท/อารมณ์สองขั้ว)
3. ท่านที่มีโรคหัวใจ กัญชากระตุ้นอัตราการเต้นหัวใจ เป็น 2 เท่าในเวลา 1 ชั่วโมง ท่านอาจหัวใจวายได้ และหัวใจเต้นผิดจังหวะ
4. มีงานวิจัยในต่างประเทศ ว่า เพิ่มอุบัติเหตุทางท้องถนน อย่างชัดเจน ในผู้ใช้
5. ในกรณีที่ใช้ต่อเนื่อง นานจะเกิดความเสี่ยงโรคปวดหัว (ปวดรุนแรงมาเป็นพักๆ) และ อัมพฤกษ์/อัมพาต จากเส้นเลือดสมองหดตัว
6. เกิดอาการ คลื่นไส้อาเจียน รุนแรง/ยาวนาน เนื่องจาก กัญชา กระตุ้น TRPV1 ต่อเนื่องจนเกิดการลดจำนวนของตัวรับสัญญาณตัวนี้ ( receptor down regulation) อาเจียนรุนแรงจนเสียแร่ธาตุในเลือด อาจเสียชีวิตได้ กว่าจะกลับมาปกติ ก็เป็นสัปดาห์
7. กัญชาจะตีกับยาตัวอื่นได้บ่อย เนื่องจากการไปยับยั้ง เอนไซม์ ไซโตโครม P450 (3A4) จะทำให้ระดับของยาที่ใช้เอนไซม์นี้กำจัดยา เพิ่มระดับขึ้น โดยเฉพาะ ยา warfarin จะมีผลข้างเคียงจากยาหลักที่ท่านกินอยู่ได้ (ตามในรูป)

หลักฐานทางการแพทย์ พบว่า จำกัดการใช้ในกรณีที่ยาหลักๆ ไม่ได้ผลแล้ว
1. อาการชักในเด็ก บางชนิดที่ดื้อยาทุกตัว (ที่มีในโลก) (CBD)
2. อาเจียนรุนแรงจากเคมีบำบัดในมะเร็ง (THC) ซึ่งผ่านกลไก เดียวกับ ondansetron และตัว setron ที่ใหม่กว่า (5-HT3 receptor antagonists ) แปลว่ามียาดีกว่าอยู่แล้ว
3. อาการปวดเส้นประสาท และเกร็งในโรค multiple sclerosis (ปลอกประสาทแข็ง) ระยะสุดท้าย (ระยะแรกใช้ยาอื่นก่อน)
4. อาการปวดในมะเร็งระยะสุดท้าย โดยกระตุ้น ผ่านกลไก presynaptic receptor CB1 ลดการหลั่ง glutamates ซึ่ง “ morphine “ ก็กระตุ้นผ่าน mu receptor ได้ผลเดียวกัน แต่แรงกว่า และ ไม่ค่อยตีกับยาอื่นด้วย

ส่วนข้อบ่งชี้อื่น อยู่ในระดับงานวิจัยในหลอดทดลอง/ทดลองในมนุษย์

อยากรู้ละเอียดเชิญอ่าน เอกสาร กรมการแพทย์
www.dms.moph.go.th/dms2559/download/Final_Guidance.pdf?fbclid=IwAR2jK0Gp3XSKZJk0boq2g1fCfMiczSGo7nRYUPN1tyi1JnbOqgnxV8n0EZU

Cr. รูป อ สายพิณ หัตถีรัตน์

#healer_no1

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1396804663804105&id=637484473069465&__tn__=H-R






กรมการแพทย์  :  รอบรู้เรื่องกัญชาทางการแพทย์ คลิก www.medcannabis.go.th

************************************************

อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว
2 พฤศจิกายน 2563

กัญชาเพื่อการรักษาทางการแพทย์ สิ่งที่ประชาชนน่ารู้ : จากการบรรยายของ อ.สหภูมิ ศรีสุมะ, อ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์, อ.เมธา อภิวัฒนากุล เมื่อครั้งที่แล้วได้สรุปเรื่องนี้จากการบรรยายของ อ.สหภูมิ เมื่อเวลาผ่านไป ยาได้รับการพัฒนาและประกาศใช้แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

1. ข้อเท็จจริงที่ต้องรู้คือ กัญชาที่นำมาใช้ทางการแพทย์จะเป็นสารจากกัญชาสกัดเท่านั้น ไม่ใช่ใบหรือต้นกัญชาปลูก แล้วนำมาใช้ตรง ๆ เพราะจากการคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อการค้าในปัจจุบัน สายพันธุ์กัญชาจึงมีสาร THC สูงกว่าในอดีต เพราะการใช้กัญชาเพื่อสันทนาการมีมากกว่าทางการแพทย์

2. ข้อบ่งใช้ทั่วโลกสำหรับสารสกัดจากกัญชา นั่นคือต้องมีสัดส่วนและสารเคมีของ THC และ CBD ในสัดส่วนเฉพาะเท่านั้น

ข้อบ่งชี้นั่นคือ การรักษาลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาปรกติ การรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด การรักษาอาการปวดจากโรคมะเร็ง การรักษาอาการกล้ามเนื้อเกร็งในโรคระบบประสาทบางชนิด

**ข้อสำคัญคือ การสกัดกัญชาจะช่วยรักษาอาการเท่านั้น และไม่สามารถใช้เป็นยาหลักในการรักษาได้**

3. ในประเทศไทยมีการรับรองสารสกัดกัญชามาใช้เพียงในรูปน้ำมันกัญชา ที่มีสัดส่วน THC/CBD ที่คงที่หรือ THC เดี่ยวและ CBD เดี่ยว ในกี่ข้อบ่งชี้และไม่กี่คลินิกกัญชาและผู้สั่งใช้ ที่จะต้องได้รับการรับรองจากกรมการแพทย์ การสกัดเองหรือใช้ในรูปแบบอื่น ยังไม่ได้รับการรับรองให้ใช้โดยทั่วไปครับ

4. ขนาดของสารสกัดกัญชาที่ใช้ทุกประเภท จะใช้ในหน่วยเป็น หยด เท่านั้นนะครับ หยดจากหลอดหยดที่ให้มากับตัวยาเท่านั้นด้วย และจะต้องรอเวลาในการออกฤทธิ์และปรับยาพอสมควร เพราะกัญชาในรูปสารละลายน้ำมันและบริหารทางการกิน จะออกฤทธิ์ช้า หากใช้ซ้ำก่อนกำหนดเวลา สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ยาเกินขนาด และนี่คือสาเหตุของพิษจากยาที่พบมากสุด

5. ผลของกัญชาจากการรักษาไม่ว่าจากโรคใด ประสิทธิภาพไม่ได้สูงไปกว่าการรักษามาตรฐานมากนัก ส่งผลข้างเคียงจะพบน้อยหากใช้ในขนาดรักษา แต่จะพบมากหากใช้เกิน

ประเด็นสำคัญคือ ผู้ป่วยไม่บอก หรือคิดว่าสิ่งที่เกิดนี้ไม่ได้เกิดจากกัญชา ทำให้คุณหมอก็ไม่ทราบ เพราะอาการพิษจากกัญชาไม่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น ใจสั่น พฤติกรรมเปลี่ยน ซึม จำเป็นต้องอาศัยประวัติการใช้สารสกัดกัญชาที่ชัดเจน

6. ข้อห้ามสำคัญคือ แพ้ยา มีประวัติโรคทางจิตเวช หญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ดังนั้นหญิงในวัยเจริญพันธุ์ก็ไม่ควรใช้เช่นกัน ผู้ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ควรใช้ และแน่นอนว่านอกจากสารสกัดกัญชาทางการแพทย์แล้ว กัญชาที่ใช้เพื่อสันทนาการก็จะเกิดอันตรายที่รุนแรงได้เช่นกัน

7. ในโรคลมชัก นั้น จะใช้เมื่อไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน และใช้เพื่อควบคุมอาการเท่านั้น ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงสภาพโรคเดิมได้ ข้อบ่งใช้ที่ชัดเจนมีในโรคลมชักที่พบน้อย คือ Dravet syndrome และ Lennox-Gestaut syndrome และมีการใช้เพื่อรักษาอาการกล้ามเนื้อเกร็งและอาการปวดเส้นประสาทในโรค multiple sclerosis (ข้อมูลจากการศึกษาเป็นโรคในช่วงลุกลาม แต่โรคที่พบส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เป็น ๆ หาย ๆ)

8. สำหรับเรื่องลดการปวดจากมะเร็งและอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด ข้อมูลของสารสกัดกัญชา ไม่ได้มีประสิทธิภาพสูงมากนัก จึงมีคำแนะนำให้ใช้เป็นเพียงยาเสริมการรักษามาตรฐานเท่านั้น เพราะเมื่อเกิดผลข้างเคียงจะแยกยากมากว่าเกิดจากยาหรือเกิดจากโรค

สรุปว่า ใช้ทางการแพทย์ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวด และไม่แนะนำให้ใช้นอกเหนือข้อบ่งชี้นะครับ โดยเฉพาะการนำน้ำมันสกัดไปใช้รูปแบบอื่น เคยมีปัญหาปอดอักเสบเฉียบพลันรุนแรงจากการใส่สารสกัดกัญชาในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ามาแล้วนะครับ

https://www.facebook.com/medicine4layman/posts/2728951274087555

************************************************

กัญชายาครอบจักรวาล ไม่จริง ? กัญชาเพื่อความเพลิดเพลิน อันตรายรึเปล่า ? และ บทเรียนจากอเมริกา
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-03-2019&group=28&gblog=15
 
กัญชาทางการแพทย์ ... ข้อมูลวิชาการ    ( คัดลอกมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2019&group=28&gblog=17


การใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ (คำแนะนำสำหรับแพทย์) 10 ต.ค.2562
https://www.facebook.com/pg/thaimedcouncil/photos/?tab=album&album_id=2367600230171535

.................................................







 
 
มาแล้ว !!! หัวข้อที่พลาดไม่ได้จาก MIMS Doctor Magazine เล่มใหม่ล่าสุด
เรื่อง การจัดการภาวะพิษเฉียบพลันจากกัญชาในภาวะฉุกเฉิน “อ่านง่าย เข้าใจ พร้อมใช้งาน” ในรูปแบบ flowchart จาก อ.นพ.ฤทธิรักษ์ โอทอง คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

https://www.facebook.com/MIMSDoctorThailand/posts/pfbid033MkA83PY3rpDkvNJZDaeNkVENatE8TwW9MJRroSjMyQUCNXWbbjPU5byz9CEEFBtl



Create Date : 21 เมษายน 2562
Last Update : 29 มีนาคม 2566 21:01:32 น.
Counter : 13244 Pageviews.

12 comments
  
กัญชา เรื่องเด่นประเด็นร้อน .. ถูกต้อง แต่ อาจไม่ถูกใจ
แต่ บ้านเรา จะเอาแค่ ถูกใจ ด้านเดียว มันก็คงไม่เหมาะ
ค่อยคิด ค่อยอ่าน ค่อยศึกษากันไป น่าจะดีกว่า ^_^

กัญชาทางการแพทย์ (ฉบับ Evidence-based) คัดลอกจาก SISO Magazine
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2019&group=28&gblog=17

กัญชายาครอบจักรวาล ไม่จริง ? กัญชาเพื่อความเพลิดเพลิน อันตรายรึเปล่า ? และ บทเรียนจากอเมริกา
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-03-2019&group=28&gblog=15

โดย: หมอหมู วันที่: 21 เมษายน 2562 เวลา:23:36:53 น.
  
บทความคัดลอกมาจาก facebook เพจ อายุรศาสตร์ง่ายนิดเดียว

https://www.facebook.com/medicine4layman/photos/a.1454742078175154/2243790059270348

เล่าให้ฟังนะครับ สรุปมาที่ประชาชนอย่างเราท่านน่าจะได้มีความเข้าใจที่ดี ผมยังไม่ได้ไปค้นเพิ่มเติมนะครับ เรียกว่าสรุปและเล่าสด คิดว่าการบรรยายนี้มีค่ามากในเรื่องของกัญชา โดย รศ.พญ.สุดา วรรณประสาท, ผศ.นพ.วรพันธ์ เกรียงสุนทร, ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ

1. สำหรับทางการแพทย์แล้ว กัญชาเป็นที่มาของสารออกฤทธิ์ที่สำคัญสองชนิดเรียกว่า THC (tetrahydrocanabivarin) และ CBD (canabidiol)

การใช้ทางการแพทย์จะสกัดเอาสารทั้งสองมาทำเป็นยาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ได้นำมาใช้แบบตรง ๆ ในการเผาใบกัญชาหรือนำใบกัญชามาผสมในอาหาร

ซึ่งการจะสกัดมาใช้ทางการแพทย์ได้ต้องมีการควบคุมคุณภาพ มีสัดส่วนของสารสกัดที่ชัดเจน มีการรับรองการผลิต ดังนั้นการใช้กัญชาทางการแพทย์ต้องนำไปผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมอีกหลายขั้นตอนครับ

2. สารที่ออกฤทธิ์จากกัญชามีสมบัติพิเศษคือ มันละลายในไขมันได้ดี แทรกซึมไปในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ดีและรูปแบบที่เราเห็นกันคือ น้ำมันกัญชา นั่นเอง อีกประการคือจะต้องอาศัยความร้อนจึงจะปล่อยสารออกฤทธิ์ออกมาได้ เราจึงเห็นการเผาการสูบในกัญชาอยู่บ่อย ๆ

3. การใช้ THC และ CBD โดยวิธีสูบจะออกฤทธิ์เร็วมากพอ ๆ กับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ สำหรับการหยดใส่ใต้ลิ้น (แบบที่เคยเห็นกันนั่นแหละ) จะออกฤทธิ์ช้าลงมา แต่วิธีที่ช้าที่สุดคือการกิน เพราะการดูดซึมน้อยและช้า แต่รูปแบบการกินจะเกิดพิษมากสุด เพราะผู้ใช้ไม่รอจนกระทั่งยาออกฤทธิ์ 1-3 ชั่วโมง พอยายังไม่ทันไม่ออกฤทธิ์ก็คิดว่าไม่ได้ผลจึงกินซ้ำ ๆ สุดท้ายจะเกินขนาดและเป็นพิษได้

4. THC จะมีฤทธิ์เมาและทำให้เคลิ้ม คนที่เสพกัญชามักจะชอบผลอันนี้ ในขณะเดียวกันก็จะมีอาการทางจิตประสาทและหลอนได้ ฤทธิ์ลดปวดสูง สามารถแก้อาเจียนได้ดี

แต่ CBD จะมีฤทธิ์ต้านเมาหลอน มีผลทำให้สงบมากกว่าอาการจิตประสาท ลดปวดได้แต่ไม่ดีเท่า THC

ในทางการแพทย์เราต้องการ CBD มากกว่า THC หรือใช้ CBD ผสม THC จะได้ไม่ต้องใช้ THC ในขนาดสูงมากตนเกิดผลเสีย

5. กัญชาที่นิยมมากขึ้นในการใช้เพื่อความบันเทิงจึงจะเป็นพันธุ์ที่สามารถสกัดแล้วให้ THC สูง ส่วนทางการแพทย์จะขอสายพันธุ์ที่ CBD สูง มันสวนทางกัน

ในอดีตต้นกัญชาไม่ได้มีการปรับปรุงและดูแลให้มี THC สูงแบบทุกวันนี้ กัญชาสมัยก่อนจะมีสัดส่วน THC/CBD ต่ำกว่านี้ จึงสามารถใช้เป็นยาได้ดี แต่กัญชาปัจจุบันสายพันธุ์เปลี่ยนไปจากอดีตแล้ว จึงใช้กัญชาแบบเดิมในการรักษาโรคแบบในอดีตไม่ได้

6. สาร THC และ CBD ที่มีสัดส่วนเหมาะสมคงที่ ทั้งจากการสกัดแบบพิเศษหรือจากการสังเคราะห์ มีที่ใช้และได้รับการรับรองในหลายประเทศคือ โรคลมชักบางชนิด, โรคปลอกประสาทอักเสบ multiple sclerosis, อาการปวดเรื้อรังแบบปวดจากเส้นประสาท และลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการใช้ยาเคมีบำบัดรักษามะเร็ง

ข้อรับรองต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้มาจากหลักฐานที่ดีเลิศ และต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกมากมาย และยังไม่มีข้อตกลงขนาดยาในการรักษาแต่ละโรคที่ชัดเจน

7. ส่วนการรักษามะเร็ง การรักษาอัลไซเมอร์ การรักษาพาร์กินสัน ยังคงต้องศึกษาต่อไปอีกมาก ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากสัตว์ทดลองและหลอดทดลอง ที่ยังสรุปประโยชน์และโทษที่ชัดเจนในคนได้ยาก หรือแม้แต่การศึกษาที่เป็นหลักฐานสนับสนุนข้อบ่งชี้ก็ไม่ได้เป็นการศึกษาที่ได้ผลดี ยังจำเป็นต้องศึกษาอีกมาก

ในหลาย ๆ ประเทศจะมีการอนุญาตให้มีการปลูกเพื่อนำไปวิจัยทางการแพทย์หรือใช้ทางการแพทย์ ไม่ได้อิสระเสรีเต็มที่นัก

8. อันตรายจากสารสกัดกัญชาที่ต้องระวังเพราะการกำหนดขนาดรักษายังไม่ชัดเจนนัก โอกาสจะได้ผิดวิธีหรือขนาดสูงเกินไปจะมีมาก

หากได้รับพิษในขนาดสูงจะมีอาการสับสนกระวนกระวาย มีอาการทางจิตประสาท มือสั่นปากแห้งได้ มีผลมากต่อการพัฒนาการสมองเด็ก อันตรายต่อทารกในครรภ์

ในประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจากที่อนุมัติให้ใช้ในทางการรักษายังพบการเกิดพิษเพิ่มขึ้นมากมาย และในหลายรัฐที่อนุมัติเสพเพื่อความบันเทิงก็ยิ่งพบอันตรายจากพิษเฉียบพลันมากขึ้น รวมทั้งอุบัติเหตุท้องถนนก็เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

9. อันตรายในระยะยาวที่แน่นอนคือ เสพติด โรคจิตประสาท และเพิ่มอัตราการฆ่าตัวตาย

อันตรายที่พบน้อยแต่รุนแรงเรียกว่า canabinoid hyperemesis syndrome เป็นอาการอาเจียนต่อเนื่องรุนแรง ไม่ตอบสนองต่อยาต้านอาการอาเจียน พบในผู้ที่ใช้กัญชามานาน ๆ ข้อแปลกของอาการนี้คือ เวลาอาบน้ำร้อนอาการอาเจียนจะลดลง (เป็นผลของการขยายหลอดเลือดของกัญชา)

10. แต่เนื่องจากโอกาสพัฒนาของสารสกัดกัญชาในการพัฒยายาหลายชนิด จึงมีการปลดล็อกระดับสารเสพติดของ CBD และปรับระดับสารเสพติดของ THC จากระดับ 4 เป็นระดับ 1 (ปรับเกรดมาเท่ากับการใช้อนุพันธุ์ของฝิ่นมาเป็นยา) ตามเกณฑ์ของ WHO ไม่ได้หมายถึงปลดล็อกเพราะปลอดภัยแล้ว เสรีได้

หลาย ๆ สมาคมการแพทย์ยังไม่สนับสนุนเสรี 100% แต่สนับสนุนให้ปลูกได้แต่ต้องควบคุมเคร่งครัดและใช้ในทางการแพทย์เท่านั้น (medical purpose) ไม่ให้ใช้กัญชาและสารสกัดกัญชาเพื่อความบันเทิง (recreation purpose)

11. จะต้องสร้างปัจจัยแวดล้อม มารองรับและสนับสนุนมาพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารที่ดี ความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้ การควบคุมและกำหนดคุณภาพผลิตภัณฑ์ การดูแลเมื่อเกิดพิษหรือการใช้แบบไม่ได้ตั้งใจโดยเฉพาะในเด็ก การออกกฎหมายควบคุมที่ดี นโยบายและการติดตามผลที่รัดกุม

อาจารย์ผู้บรรยายแนะนำ อันนี้เยอะและละเอียด ผมจะทยอยอ่านแล้วมาเล่าให้ฟัง

//www.nationalacademies.org/hmd/Reports/2017/health-effects-of-cannabis-and-cannabinoids.aspx?fbclid=IwAR1VI2SyeGdilbaBTs_icZBpEESsd-aYrLDIPx0aFeOksNOO8mBDROfFfVk

บทความจาก facebook เพจ อายุรศาสตร์ง่ายนิดเดียว

https://www.facebook.com/medicine4layman/photos/a.1454742078175154/2243790059270348

โดย: หมอหมู วันที่: 27 เมษายน 2562 เวลา:15:52:03 น.
  
สร้างครู ก. 150 คนแรก รองรับการใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
.
🌿🌿กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จัดอบรมการใช้ประโยชน์จากกัญชาในตำรายาไทยครั้งแรกของประเทศ เพื่อกระจายไปอบรมให้ครอบคลุมทั่วประเทศ 27 พฤษภาคมนี้
.
🔹🔹นายแพทย์สรรพงศ์ ฤทธิรักษา รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวถึงการจัดอบรมวิทยากรครู ก. หลักสูตรการใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทยให้สามารถนำกัญชาและกระท่อม มาใช้เสพเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัย โดยอนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย สามารถยื่นขออนุญาตมีส่วนร่วมกับหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและจัดการเรียน การสอนเกี่ยวกับทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์ ได้นั้นเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายและปลอดภัยต่อผู้ป่วย
.
🔔🔔ในส่วนของกรมการแพทย์แผนไทยฯ จึงจัดอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นวิทยากรครู ก. จำนวน 150 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากเขตสุขภาพทั้ง 13 เขตทั่วประเทศ และจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่ออบรมเสร็จทั้ง 150 คนนี้ จะกลับไปทำหน้าที่วิทยากรอบรมความรู้การใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทยแก่ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ และหมอพื้นบ้านในพื้นที่ตนเอง ซึ่งจะมีการจัดอบรมพร้อมกัน 13 จังหวัด ทุกภาคทั่วประเทศในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ ซึ่งเป็นการจัดอบรมที่ได้รับการรับรองหลักสูตรจากกรมการแพทย์แผนไทยฯ และสภาการแพทย์แผนไทยแล้ว ดังนั้นผู้ที่เข้ารับการอบรมที่เขตสุขภาพเป็นเจ้าภาพจัดจะได้รับใบรับรองการผ่านอบรมที่สามารถนำไปยื่นขึ้นทะเบียนผู้ไข้กับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ได้ทันที
.
💥💥ขณะนี้มีสมาคม ชมรมต่าง ๆ เตรียมจัดอบรมในหลักสูตรเช่นเดียวกัน โดยมีการเรียกเก็บค่าลงทะเบียนด้วยนั้น กรมการแพทย์แผนไทยฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และใบประกาศจากการอบรมของสมาคม ชมรมต่าง ๆ ทางกรมการแพทย์แผนไทยฯ ไม่ให้การรับรอง จึงไม่สามารถนำไปขึ้นทะเบียนกับ อย.ได้

https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/photos/a.749886768370179/3205741472784684/?type=3&theater

โดย: หมอหมู วันที่: 29 เมษายน 2562 เวลา:15:40:17 น.
  
เอกกมล ลอยลม
11 พค. 62

#กัญชาล้นตลาดอเมริกา สัญญาณเตือนคนไทยหวังรวย

ในยุคกัญชาฟีเวอร์ คนไทยกลุ่มหนึ่งฝันหวานจะปลูกกัญชาส่งนอก โกยเงินมากกว่าข้าว แต่ตอนนี้ ตลาดที่วาดหวังกำลังมีปัญหากัญชาล้น ราคาตกวูบ

ในแคนาดาที่ทั้งประเทศ 10 มณฑล ขณะนี้กำลังปวดหัวกับปัญหากัญชาล้นตลาด ขณะที่สหรัฐอเมริกาที่เปิดให้กัญชาถูกกฎหมาย 33 รัฐล่าสุด ขณะนี้ปัญหากัญชาล้นตลาดกำลังขยายตัวเช่นกัน

จากรัฐโอเรกองที่ผลิตเกินความต้องการตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ขยายไปโคโลราโดและแคลิฟอร์เนียแล้ว บรรดาเกษตรกรที่ได้รับใบอนุญาตปลูกกัญชา พากันเรียกร้องให้รัฐบาลประจำรัฐของพวกเขา ยุติการออกใบอนุญาตปลูกกัญชารายใหม่ และงดต่อใบอนุญาตสำหรับผู้ปลูกรายเก่าที่ขาดคุณสมบัติ

กัญชาเป็นอุตสาหกรรมมูลค่ามหาศาลที่มีอัตราเติบโตเร็วรุดที่สุดในสหรัฐขณะนี้ บริษัทผลิตกัญชาครบวงจรกลายเป็นบริษัทมหาชน เป็นหุ้นตัวหนัก ( weighted stock) เฉพาะ 13 รายใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นหลักของวอลสทรีต 3 มาร์เก็ตแคปรวมกว่า 16.9 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 524,000 ล้านบาท)

คนไทยใจกัญชาได้ยินข่าวนี้แล้ว ย่อมจะหูผึ่งเอาไปฝันหวาน ว่าถ้าคนไทยปลูกกัญชาได้เสรี จะสามารถส่งออกไปขายตลาดเหล่านี้ โกยเงินเข้าประเทศมากกว่าสินค้าส่งออกทุกประเภทรวมกัน

นักการเมืองบางคนก็สร้างฝันต่อยอดให้อีกว่า จะสนับสนุนการปลูกจนกัญชาแทนที่ข้าวในฐานะสินค้าเกษตรส่งออกอันดับ 1 ของไทยซึ่งเป็นผู้ครองตลาดข้าวโลกอยู่ในขณะนี้

แต่ความเป็นจริงที่ยังมองข้ามกันอยู่ก็คือ ตลาดที่ไทยฝันว่าจะส่งกัญชาไปขายนั้น ไม่ใช่จะไปกันได้ง่ายๆ

ลาว ที่เรามักจะอ้างอิงเสมอว่าปลูกกัญชาเสรีทำเงินกันเป็นกอบเป็นกำจากการส่งออกนััน แท้จริงแล้ว คือ ตลาดประเทศไทย บช.ปส.จับได้แทบจะเดือนเว้นเดือน ครั้งละ เป็นตันๆ

ส่วนที่อ้างว่าส่งไปอมริกานั้น ตอนนี้ถูกตีกลับแล้ว ด้วยเหตุผลว่า กัญชาลาวปนเปื้อนสารเคมีอันตรา ย โดยเฉพาะยาฆ่าหญ้า รวมทั้งมีสารโลหะหนัก

ทั้งนี้เพราะกัญชาพันธุ์พื้นเมืองในย่านนี้ ไม่ว่าจะพันธุ์หางกระรอกของไทย หรือของลาว เวียดนาม เมียนมาร์ ล้วนเป็นพืชที่ดูดซึมโลหะหนักจากดินได้เก่ง โดยเฉพาะสารตะกั่ว

แต่ที่ส่งออกไปญี่ปุ่นได้นั้น เป็นพันธุ์ที่นักลงทุนญี่ปุ่นนำมาให้เกษตรกรลาวปลูกและตวบคุมการปลูก เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีตามต้องการ คือไม่มีสารปนเปื้อน ดอกให้น้ำมันกัญชาที่มีสารสำคัญที่ใช้ทางการแพทย์ได้สูง คือสาร CBD กับ THC

เช่นเดียวกันกับสหรัฐและแคนาดา ที่ใช้กัญชาพันธุ์ผสมใหม่ (hybrid) ที่ให้สารสกัดที่ต้องการได้สูง ( high yielding )

กัญชาพันธุ์ผสมใหม่แม้จะปลูกได้ในประเทศเขตอบอุ่น แต่ก็ต้องปลูกในสภาพแวดล้อมที่ปกปิด มิให้เชื้อราเข้าไปสิงสู่ได้

เพราะแม้จะให้สารสำคัญสูง ทว่าก็อ่อนแอ เพราะเกิดจากการผสมพันธุ์ใหม่ ย่อมจะไม่แข็งแรง ทนโรค ทนรา ทนสภาพแวดล้อมเลวร้ายได้เท่าพันธุ์พื้นเมือง

สายพันธุ์ (strains) ที่ให้สารสกัด CBD กับ THC สูงสุด 5 สายพันธุ์ได้แก่

1..สายพันธุ์ ACDC (The Marijuana Strain That Leaves You Feeling Thunderstruck)

สายพันธุ์นี้เป็นการผสม 50-50 ระหว่างสายพันธุ์ที่ให้ CBD สูงถึง 20% และสายพันธุ์ที่ให้ THC สูง 6% เหมาะแก่การใช้ทางการแพทย์และสันทนาการ ต้นทุนผลิตสารสกัดต่ำ เนื่องจากยีลดิ้งสารสำคัญสูง

2 .พันธุ์ Charlotte’s Web (The World’s Most Famous Marijuana Strain)

สายพันธุ์นี้ ให้ CBD 20% แต่ให้ THC ซึ่งทำให้เมา (แบบกัญชาๆ) น้อยมาก เหมาะสำหรับทำยารักษาโรคเกี่ยวกับสมอง เช่นลมบ้าหมู (ลมชัก) พาร์กินสัน อัลไซเมร์ส สมองเสื่อม มะเร็ง ฯลฯและใช้ผสมในอาหาร ขนมหวาน เครื่องดื่ม ผู้ที่แพ้สารเมาเบื่อสามารถบริโภคได้

3 – Ringo’s Gift (The Marijuana Strain That Has Nothing to do With Ringo Starr!)

สายพันธุ์นี้ ตั้งตามชื่อริงโก้ สตาร์ดาราเพลงป๊อปยอดฮิตยุค '80 ให้ CBD 20% เช่นกัน แต่ THC สูงขึ้น คือ 1% ใช้เสพแบบสูบแล้วครื้นเครง เพราะมี THC สูง เหมาะแก่การใช้เป็น recreational marijuana กัญชาสันทนาการ

4 – Harle-Tsu (The Painkilling Marijuana Strain)

พันธุ์นี้เน้นแก้อาการปวด (painkiller) ให้ CBD ถึง 22% THC 1% แม้จะมีปริมาณสาร THC สูง แต่รสชาติกลับนิ่มนวล หอมละมุน เหมาะแก่การใช้ทั้งด้านการแพทย์และด้านสันทนาการ แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวังสำหรับการใช้ทางการแพทย์ เพราะ CBD เข้มข้น ต้องกำหนด dose ให้พอเหมาะ

5 – Harlequin (The Unique Hybrid Marijuana Strain)

พันธุ์์นี้เป็นการผสมกันระหว่างพันธุ์ที่ให้ CBD กับ THC ในสัดส่วน 5-2 ทำให้ให้ CBD 10% และ THC 4% เหมาะสำหรับการใช้เพื่อความบันเทิงเริงรมย์ ครื้นเครงกระฉับกระเฉง

พันธุ์กัญชาเหล่านี้ หากนำมาปลูกบ้านเรา อย่างที่สายการแพทย์แผนปัจจุบันกำลังทำกันอยู่ จะต้องลงทุนสูง ท้งด้านโรงเรือน ด้านอุณหภูมิ ด้านแสง ด้านดิน ด้านปุ๋ยฯลฯ

ส่วนกัญชาพื้นเมืองของเรา ใช้สูบ ใช้เข้าตำรับยา 16 ขนานตามที่ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ประกาศไปแล้วจะเหมาะกว่า

และหากใช้ทำน้ำมันกัญชารักษามะเร็งได้ ก็ต้องศึกษากันด้านผลภายหลังการรักษาที่มีระยะเวลาความปลอดภัย ( duration of toxicity studies)ถึง 5 ปีกันต่อไป

เพราะมนุษย์แต่ละคนมีธาตุเจ้าเรือนต่างกัน มีกรุ๊ปเลือดต่างกัน ยาตัวเดียวกัน ตำรับเดียวกัน รักษาคนหนึ่งหาย แต่คนอื่นๆอาจจะไม่หาย ตามที่ปรมาจารย์แพทย์ท่านว่า ลางเนื้อ ชอบลางยา นั้นแล

#แสงไทย เค้าภูไทย

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1301294986689184&set=a.161602017325159&type=3&theater

โดย: หมอหมู วันที่: 12 พฤษภาคม 2562 เวลา:13:40:23 น.
  
เปิดข้อบังคับวิทยาลัยแพทย์BritishColumbia กับความเสี่ยงของแพทย์ใช้กัญชารักษาโรค-คนไข้

วันพฤหัสบดี ที่ 15 พฤศจิกายน 2561 เวลา 07:30 น.

"...การใช้กัญชาเพื่อการรักษา ผู้ที่เป็นแพทย์จะต้องคำนึงถึงจำนวนส่วนผสมที่จะใช้ในกัญชาเป็นสำคัญ และจะต้องคำนึงว่าที่มาและการผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวกัญชาที่จะใช้นั้นเป็นอย่างไร แพทย์ผู้ทำการรักษาจะต้องคำนึงว่าไม่ควรที่จะสั่งจ่ายกัญชาให้กับคนไข้ โดยที่ไม่รู้ในด้านปัจจัยความเสี่ยง ประโยชน์ และภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมา หากต้องใช้กัญชาเพื่อการรักษา เพราะมีความเสี่ยงว่าแพทย์เองก็อาจจะตกเป็นจำเลยหรือถูกครหาได้ ถ้าหากพบว่าการสั่งจ่ายกัญชาเพื่อใช้ในการรักษาคนไข้ ส่งผลกระทบในแง่ลบตามมาในอนาคต..."

Cannabis6

กำลังอยู่ในความสนใจของสาธารณชน! สำหรับข่าวการใช้กัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ในประเทศไทย

เมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2561 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบในหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่...) พ.ศ. โดยให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ตราเป็น พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ในรายละเอียดในส่วนของยาเสพติดประเภทที่ 5 (กัญชา กระท่อม) อันเนื่องมาจากบทบัญญัติบางประการที่ไม่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะกัญชานั้นปรากฏผลวิจัยว่าสารสกัดจากกัญชามีประโยชน์ทางการแพทย์ หลายประเทศทั่วโลกได้มีการผ่อนปรนโดยการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย อนุญาตให้ประชาชนใช้พืช กระท่อมและกัญชาทางการแพทย์หรือเพื่อการนันทนาการได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่สําหรับประเทศไทย ปัจจุบันพืชกระท่อมและกัญชายังคงเป็นสิ่งเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มีการกําหนดโทษทั้งผู้เสพและผู้ครอบครอง ทั้งที่ในสภาพความเป็นจริงพบว่ามีผู้ป่วยบางส่วนลักลอบใช้กัญชาเพื่อรักษาโรค มานานหลายปีแล้ว ทั้งผลิตใช้เองและมีผู้ผลิตในเชิงพาณิชย์ เป็นผลให้มีราคาแพงและอาจไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการแพทย์และตํารับยา สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ. 2522 เพื่อเปิดโอกาสให้สามารถนํากัญชาและพืชกระท่อมไปทําการศึกษาวิจัย เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสามารถนําไปใช้ในการรักษาภายใต้การดูแลและควบคุม ของแพทย์ได้ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ (อ่านประกอบ : ครม.ปลดล็อค กัญชาเพื่อการแพทย์แล้ว คาด กม.ใหม่มีผลบังคับใช้ไม่เกินสิ้นปี)

ทั้งนี้ เพื่อให้สาธารณชนคนไทย มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์มากขึ้น

สำนักข่าวอิศรา //www.isranews.org สืบค้นข้อมูลการใช้ยาเสพติดประเภทที่ 5 เพื่อประโยชน์การแพทย์ในต่างประเทศ พบว่า ในเว็บไซต์วิทยาลัยการแพทย์และการศัลยกรรม บริติช โคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ซึ่งอยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย ที่ได้ออกหลักการและคู่มือว่าด้วยการใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรค เพื่อบังคับใช้กับบุคลากรทางการแพทย์ในสังกัดของวิทยาลัย ทบทวนหลักการเดิมไปล่าสุดเมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา

ระบุสาระสำคัญของหลักการว่าด้วยการใช้กัญชาที่สำคัญไว้หลายประการดังต่อไปนี้

การใช้กัญชาเพื่อการรักษา ผู้ที่เป็นแพทย์จะต้องคำนึงถึงจำนวนส่วนผสมที่จะใช้ในกัญชาเป็นสำคัญ และจะต้องคำนึงว่าที่มาและการผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวกัญชาที่จะใช้นั้นเป็นอย่างไร แพทย์ผู้ทำการรักษาจะต้องคำนึงว่าไม่ควรที่จะสั่งจ่ายกัญชาให้กับคนไข้ โดยที่ไม่รู้ในด้านปัจจัยความเสี่ยง ประโยชน์ และภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมา หากต้องใช้กัญชาเพื่อการรักษา เพราะมีความเสี่ยงว่าแพทย์เองก็อาจจะตกเป็นจำเลยหรือถูกครหาได้ ถ้าหากพบว่าการสั่งจ่ายกัญชาเพื่อใช้ในการรักษาคนไข้ ส่งผลกระทบในแง่ลบตามมาในอนาคต

โดยการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์นั้น ไม่เหมาะกับคนไข้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

1.อายุต่ำกว่า 25 ปี

2.มีประวัติไม่ว่าจะเป็นทั้งส่วนตัวหรือมีเครือญาติว่าป่วยเป็นโรคทางจิต

3.มีประวัติว่าเคยมีอาการผิดปกติจากการใช้กัญชา

4.มีอาการผิดปกติจากการใช้สารกัญชา

5.มีประวัติว่ามีโรคความผิดปกติที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และโรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดส่วนปลาย โรคหลอดเลือดสมอง และโรคภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

6. ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ วางแผนจะตั้งครรภ์ หรืออยู่ในระหว่างภาวะให้นมบุตร

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นปัจจัยการห้ามใช้หรือการใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรค ก็จะต้องคำนึงถึงภาวะทางการรักษา ณ เวลานั้นเป็นสำคัญ ตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาที่อาจจะมีข้อยกเว้นได้ตามแต่กรณี

ทั้งนี้ในประเทศแคนาดา บุคคลที่ได้รับอนุญาตทางการแพทย์ให้เข้าถึงกัญชาเพื่อการรักษาโรค ด้วยใบอนุญาตที่ออกโดยแพทย์ จะสามารถเข้าถึงกัญชาได้จากการลงทะเบียนกับผู้ผลิตกัญชาที่ได้รับใบอนุญาตจากทางภาครัฐ,หรือไปลงทะเบียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขของแคนาดา เพื่อที่จะปลูกกัญชาในจำนวนที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการรักษาอาการป่วยของตัวเอง, หรืออาจจะมอบหมายให้บุคลลอื่นปลูกกัญชาให้เพื่อรักษาอาการของตัวเอง

โดยเอกสารทางการแพทย์เพื่อจะอนุญาตให้ผู้ป่วยเข้าถึงกัญชาเพื่อการรักษาได้นั้นจะประกอบไปด้วย

1.ข้อมูลของแพทย์ผู้ให้การรักษา ได้แก่ ชื่อและนามสกุล ที่อยู่ที่ทำงาน (คลินิกหรือโรงพยาบาล) เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลติดต่ออื่นๆ

2.ชื่อ นามสกุลคนไข้ และวันเดือนปีเกิด

3.สถานที่ที่คนไข้ได้ทำการรักษากับแพทย์

4.จำนวนประมาณกัญชาแห้งที่คนไข้ควรจะได้รับเพื่อจะใช้ในการรักษา เป็นจำนวนกี่กรัมต่อวัน โดยแพทย์จะเป็นผู้ที่กำหนดจำนวนกัญชาดังกล่าว

5.ช่วงเวลาที่จะใช้กัญชาเพื่อการรักษา โดยจะต้องไม่เกิน 1 ปี

ทั้งนี้ ทางวิทยาลัยขอแสดงจุดยืนว่าการใช้การออกเอกสารเพื่อให้คนไข้เข้าถึงกัญชานั้น ตัวเอกสารถือว่ามีความสำคัญเทียบเท่ากับใบสั่งยา โดยแพทย์จะต้องไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มกับทั้งตัวคนไข้และตัวผู้ผลิตกัญชาเพื่อจะให้แพทย์ออกเอกสารเข้าถึงกัญชาดังกล่าว ยกเว้นแต่ว่าจะเป็นกรณีการประเมินตัวคนไข้ทั้งในด้านภาวะสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยงในการออกใบสั่งกัญชาให้กับตัวคนไข้เอง ตามหลักการแพทย์ว่าด้วยการใช้กัญชา

ทั้งนี้ ถ้าหากแพทย์มีความเห็นว่าจะต้องใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรค ปัจจัยขั้นพื้นฐานที่แพทย์ควรจะกระทำมีดังต่อไปนี้

1.ออกเอกสารที่ครอบคลุมในด้านการประเมินเงื่อนไขการใช้กัญชาที่เหมาสม รวมไปถึงประวัติทางการแพทย์ของตัวคนไข้ตามสมควร

2.ออกเอกสารรายงานผลการรักษาว่ามีการใช้การรักษาโรคด้วยวิธีมาตรฐานแล้วยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร จนเป็นเหตุทำให้มีการสั่งกัญชาเพื่อการรักษาโรคต่อไป

3.ต้องมีการประเมินคนไข้ถึงการเสพติดกัญชาหรือการเสพติดกัญชา โดยต้องมีการทำประวัติอย่างเคร่งครัด

4.ต้องมีการบันทึกว่าแพทย์ได้ย้ำเตือนให้คนไข้ได้ทราบแล้วถึงความเสี่ยงในการใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรค

5.จะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลของคนไข้ผ่าน Pharmanet (ระบบฐานข้อมูลการรักษาโรคของแคนนาดา) อย่างเคร่งครัดก่อนจะมีการอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรค

6.ต้องมีการคัดลอกข้อมูลการอนุญาตการใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรคอย่างเคร่งครัด

7.จะต้องมีกระบวนการเพื่อเก็บข้อมูลการใช้กัญชาของคนไข้อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันกรณีที่คนไข้นำกัญชาไปใช้ในทางที่ไม่ชอบนอกเหนือจากทางการแพทย์

8.ห้ามไม่ให้แพทย์ขายหรือจ่ายกัญชาให้กับคนไข้ด้วยตัวเอง

9.ห้ามไม่ให้ออกใบอนุญาตในการเข้าถึงกัญชาโดย

1.แพทย์ที่ไม่ได้มีประวัติว่าได้รักษาคนไข้ที่จะได้รับใบอนุญาตมาอย่างยาวนาน

หรือ 2. แพทย์ที่ไม่ได้ปรึกษากับแพทย์หรือพยาบาลคนอื่นๆที่รักษาคนไข้คนนั้นมาอย่างยาวนานจนกระทั่งมีความเห็นสอดคล้องกันว่าควรจะออกใบอนุญาตในการเข้าถึงกัญชาเพื่อใช้ในการรักษาโรค

ทั้งนี้ แพทย์ที่ออกใบอนุญาตในการใช้กัญชาให้กับคนไข้จะต้องเป็นผู้ที่คอยกำกับดูแลอาการของคนไข้อย่างใกล้ชิดถ้าหากมีผลกระทบในแง่ลบต่างๆที่ขึ้นกับคนไข้อย่างใกล้ชิด โดยแพทย์จะต้องมีความเข้าใจในผลกระทบแง่ทางด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นกับคนไข้นั้นมีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการใช้กับการใช้กัญชาและภาวะสุขภาพของคนไข้อย่างไรบ้าง และหลังจากที่พ้นกรอบเวลา 1 ปี ที่กำหนดให้ใช้กัญชาเพื่อการ

รักษาโรคไปแล้ว แพทย์ผู้รักษาจะต้องประเมินผลกระทบการรักษาโดยใช้กัญชาที่มีต่อคนไข้ทุกๆ 3-6 เดือน (ที่มาบทความ:https://www.cpsbc.ca/files/pdf/PSG-Cannabis-for-Medical-Purposes.pdf)

คำถามที่น่าสนใจ ในขณะที่คนในสังคมไทย กำลังตื่นตัวตื่นเต้นกับข่าว ครม.ปลดล็อค กัญชาเพื่อใช้ประโยชน์การแพทย์ดังกล่าว

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ตระหนักรู้ถึงเรื่องหลักการ กฎเกณฑ์ การใช้กัญชาเพื่อใช้ประโยชน์การแพทย์ที่ถูกต้อง และเร่งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเรื่องนี้ให้คนในสังคมไทยรับรู้รับทราบมากน้อยเพียงใด?

ทั้งที่เป็นเรื่องใหญ่และมีความสุ่มเสี่ยงอย่างมากแบบนี้

https://www.isranews.org/isranews-scoop/71151-cannabis.html
โดย: หมอหมู วันที่: 17 พฤษภาคม 2562 เวลา:14:03:35 น.
  
Poon Pengnoraphat
30 เมษายน เวลา 16:33 น. ·

ต้องยอมรับว่ากระแสข่าวกัญชาในทางการแพทย์มาแรงมาก
ถ้าไม่ติดตาม ไม่ศึกษาหาความรู้ก็คงจะคุยกับเขา (ผู้ป่วย) ไม่รู้เรื่อง

คิดว่ามีหลายคนที่มีความคิดเหมือนกันคืออยากจะรู้จักกัญชาในทางการแพทย์ให้มากขึ้น

มีโอกาสมาฟังประชุมที่กรมการแพทย์จัดขึ้น

สรุปความง่ายๆได้ 5 ข้อ

1. กัญชาในทางการแพทย์
..ไม่แนะนำให้ใช้เป็นยาขนานแรก..
ให้ไปรักษาแผนปัจจุบันก่อน หากรักษาแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น จึงพิจารณาใช้กัญชาเป็นยาทางเลือกควบคู่ไปกับการรักษาหลัก

2. ภาวะที่ได้ประโยชน์จากกัญชามีเพียง 4 ภาวะคือ
- ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด
- โรคลมชักที่รักษายากและดื้อต่อการรักษา (intractable epilepsy)
- ภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง(spasticity)ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)
- ภาวะปวดประสาท (neuropathic pain)

** ขอย้ำอีกรอบว่า 4 ภาวะข้างต้นต้องผ่านการรักษาหลัก (first line therapy) มาแล้วแต่ไม่ได้ผล**
พูดง่ายๆว่าลองดูก็ได้ ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว

3.ข้อมูลในทางมะเร็งวิทยา
**ไม่มีหลักฐานและข้อมูลเพียงพอที่จะสนับสนุนถึงประสิทธิผลของสารสกัดกัญชาในการรักษามะเร็ง**

4.ข้อมูลในการรักษาอาการปวดจากมะเร็ง ประสิทธิภาพของกัญชาด้อยกว่ามอร์ฟีน
มอร์ฟีนยังยืนหนึ่งตลอดกาล 👍

5.ประเด็นที่สำคัญที่สุด!!!
ยาที่ผ่านการรับรองแล้วยังไม่มีให้ใช้
องค์การเภสัชกรรมยังผลิตไม่สำเร็จ
ยาใต้ดินไม่ทราบส่วนผสมที่แน่นอน อาจจะก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ อันตรายที่ว่าได้แก่โรคหัวใจ อาการทางจิตประสาท

สรุปของสรุปอีกทีนึงนะ

ไปรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันมาก่อนเถอะ…หมดที่พึ่งแล้วค่อยมาคิดถึงกัญชา

https://www.facebook.com/pooncment/posts/10213876719458313?__tn__=H-R
โดย: หมอหมู วันที่: 22 พฤษภาคม 2562 เวลา:1:52:16 น.
  

เสนอ ราชวิทยาลัย-สภาวิชาชีพ แสดงจุดยืนกัญชาการแพทย์ หลังผู้ป่วยแห่ใช้สารพัดโรค กระทบการรักษา
Sat, 2019-05-25 09:15 -- hfocus

เสนอ “ราชวิทยาลัย สภาวิชาชีพ และสมาคมทางการแพทย์” ออกแถลงการณ์สร้างความเข้าใจต่อสังคม หลังกระแสผู้ป่วยแห่ใช้กัญชารักษาสารพัดโรค บางรายหยุดรักษาตามมาตรฐานจนส่งผลกระทบ พร้อมสื่อถึงนายกรัฐมนตรี รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวน วางมาตรการ จัดกระบวนวิจัยและพัฒนากัญชาตามมาตรฐานสากล ก่อนสถานการณ์ขยายบานปลาย

จากสถานการณ์หลังการประกาศปลดล็อคกัญชาที่เกิดขึ้น ได้ปรากฏกระแสความวุ่นวายของการแจ้งครอบครองกัญชาและมีการใช้กัญชารักษาโรคจากการรับข้อมูลที่ไม่ชัดเจนจนเกิดผลข้างเคียงนั้น

ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์

ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ไม่แต่เฉพาะผลข้างเคียงที่เกิดกับผู้ป่วยเท่านั้น แต่บุคลากรทางการแพทย์เองก็ได้รับผลกระทบจากการที่ผู้ป่วยนำกัญชามาใช้รักษาเช่นกัน ด้วยความเข้าใจผิดที่คิดว่ากัญชามีสรรพคุณสามารถใช้รักษาสารพัดโรคจนส่งผลต่อการรักษาตามมาตรฐานและขณะนี้เปรียบเหมือนกับไฟลามทุ่งที่อาจยากเกินควบคุม เฉกเช่นที่มีรายงานจาก International Narcotics Control Board (INCB) ซึ่งเป็นกลไกภายใต้สหประชาชาติ ซึ่งเผยแพร่ตั้งแต่ 5 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา และได้ชี้ให้เห็นว่าประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาและแคนาดาก็อยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมการใช้กัญชาในรูปแบบต่างๆ ไม่ได้ จนเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของประชาชน ทั้งจากการนำไปใช้เกินขอบเขตที่ควรใช้ ผลข้างเคียง และจากเรื่องอื่นที่เป็นผลกระทบจากการใช้กัญชา เช่น อุบัติเหตุจราจร อาชญากรรม การค้าขายสารเสพติด รวมถึงปัญหาทางจิตเวชต่างๆ

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีแนวทางดำเนินการเพื่อให้สังคมเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงได้เสนอให้ราชวิทยาลัยต่างๆ และสภาวิชาชีพ รวมถึงสมาคมทางการแพทย์ ออกแถลงการณ์เพื่อแสดงจุดยืนวิชาชีพในเรื่องกัญชา ชี้แจงต่อสังคมให้ชัดเจนว่าการนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์นั้น โรคใดที่สามารถรักษาได้จริงและมีหลักฐานเชิงประจักษ์ แนะนำให้ใช้รักษาโรคได้

ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้มีบางราชวิทยาลัยได้เคลื่อนไหวออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนแล้ว อาทิ ราชวิทยาลัยจิตแพทย์ที่ได้ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนเรื่องนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา และล่าสุดได้มีแถลงการณ์โดยราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แล้ว ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วปัจจุบันกัญชาได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถใช้ในการรักษาได้เพียงไม่กี่โรค ทั้งยังไม่ใช่ทางเลือกแรกในการรักษา ประกอบกับการทดลองผลทางคลินิกยังเป็นการเทียบเคียงผลกัญชากับยาหลอกเท่านั้น ยังไม่มีการเปรียบเทียบกับยารักษาตามมาตรฐานจึงไม่สามารถยืนยันได้ว่ากัญชาสามารถใช้รักษาได้ดีกว่าการรักษาตามมาตรฐานหรือไม่ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ยังไม่มีการพูดถึงแม้กระทั่งคนที่ออกมาสนับสนุนการนำกัญชามาใช้รักษาโรคก็ตาม มักนำเสนอข้อมูลด้านเดียวหรือไม่ครบถ้วน ทำให้เกิดการใช้กัญชาอย่างไม่เหมาะสมตามมาได้

“วันนี้ถึงเวลาที่ราชวิทยาลัย สภาวิชาชีพและสมาคมวิชาชีพทางการแพทย์ หรือแม้แต่แพทยสภา ต้องออกมาช่วยกันเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับคนในสังคมว่า การนำกัญชามาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ นั้น มีการใช้กันจริงหรือไม่ ปรากฎหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันแค่ไหน มั่นใจได้แค่ไหน และหากนำมาใช้รักษาได้จะเป็นการใช้ลักษณะใด ใช้กับคนไข้ใดได้บ้าง เพราะข้อมูลเกี่ยวกับกัญชามีมากมาย ทั้งยังสับสน ประกอบกันคนอ่านที่ไม่มีความรู้ด้านสุขภาพเพียงพอก็หลงเชื่อได้ ซึ่งขณะนี้มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดและซื้อหาผลิตภัณฑ์กัญชามาใช้จนเกิดผลกระทบทางสุขภาพ ทั้งผู้ป่วยบางรายยังหยุดการรักษาตามมาตรฐาน นับเป็นสถานการณ์ที่น่ากังวล และมีแนวโน้มที่จะขยายเพิ่มขึ้น”

ผศ.นพ.ธีระ กล่าวต่อว่า แถลงการณ์แสดงจุดยืนขององค์กรวิชาชีพทางการแพทย์มีความสำคัญมาก นอกจากสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสังคม และมีความน่าเชื่อถือในฐานะเสาหลักทางวิชาการของประเทศและของแต่ละวิชาชีพแล้ว ยังสื่อไปถึงนายกรัฐมนตรี กระตุ้นเตือนรัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทบทวน ไตร่ตรอง และจัดกระบวนการพัฒนาและวิจัยสารสกัดจากกัญชาให้อยู่ในระบบมาตรฐานสากล และหาแนวทางลดผลกระทบจากความเข้าใจผิด ข้อมูลเท็จและอื่นๆ ในสังคมอย่างเป็นระบบ เพื่อทำให้นโยบายปลดล๊อคกัญชาเพื่อการแพทย์เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

https://www.hfocus.org/content/2019/05/17204
โดย: หมอหมู วันที่: 25 พฤษภาคม 2562 เวลา:14:06:10 น.
  
นพ.บัณฑิต ศรไพศาล : รัฐบาลเรือเหล็กกับนโยบายกัญชา ระวังจะเป็น “สนิมนโยบาย”
Fri, 2019-07-12 12:05 -- hfocus

ขณะนี้ว่าที่รัฐบาลที่มีชื่อว่า “รัฐบาลเรือเหล็ก” กำลังจัดทำนโยบายรัฐบาลโดยการรวบรวมนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาลต่างๆ ท่านรองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม กล่าวไว้ทำนองว่า รัฐบาลเรือเหล็ก ขนสินค้าได้มากกว่าเดิม แต่ต้องระวัง “สนิมเนื้อใน” ซึ่งจะทำให้เรือพังได้

หากเราเรียนรู้จากอดีต การพังทลายของรัฐบาลหลายรัฐบาล เกิดจาก “สิ่งไม่ดี ไม่ยึดคุณธรรม ช่อโกง คอรัปชั่น ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและประชาชนส่วนใหญ่” ค่อยๆผุดโผล่เกิดขึ้นเป็นที่รับรู้ของสังคมวงกว้าง ดังนั้นหากรัฐบาลคำนึงถึงแต่ประโยชน์ระยะสั้นไม่คำนึงถึงผลกระทบระยะยาว หรือคำนึงถึงแต่ผลได้ทางเศรษฐกิจระยะสั้น ไม่คำนึงถึงผลเสียทางสังคมระยะยาว จะถือได้ว่าเป็นการใช้เหล็กสร้างเรือที่ดูแข็งแรงภายนอกในระยะแรก แต่แท้จริงแล้วซ่อนสนิมไว้ข้างในที่รอวันจะขยายตัวขึ้นจนทำให้เรือรั่วและร่มได้ในที่สุด

ขณะนี้ภาพพจน์ของรัฐบาลได้รับผลกระทบจาก “สนิมบุคคล” อย่างมาก จากการต่อรองตำแหน่งอย่างเอิกเกริกของบุคคลต่างๆ ทั้งการต่อรองระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล และ การต่อรองภายในพรรคหลักของรัฐบาลเอง สนิมถัดไปที่รอถล่มรัฐบาล คือ “สนิมนโยบาย” ต่างๆของพรรคร่วมรัฐบาล หากรัฐบาลรวบรวมนโยบายที่ดี คือ ดีทั้งระยะสั้นและไม่ก่อผลเสียระยะยาว ก็จะทำให้รัฐบาลสามารถสร้างผลงานได้อย่างรวดเร็วในระยะสั้นและไม่เสียภาพพจน์ในระยะยาว แต่หากรัฐบาลบรรจุนโยบายที่เกิดผลเสียในระยะยาวอย่างแน่นอนไว้ในนโยบายรัฐบาล ก็จะส่งผลเชิงลบต่อภาพพจน์ของรัฐบาลในทันทีและจะทำให้เรือเหล็กรั่วและล่มได้ในอนาคตต่อไป ข้อมูลต่อไปนี้จะช่วยให้รัฐบาลและสังคมพิจารณาว่านโยบายกัญชาจะเป็น “เหล็กเคลือบกันสนิม” หรือ “สนิมนโยบาย” สำหรับรัฐบาลเหล็กลำใหม่นี้

นโยบายกัญชามีหลายรายละเอียด ได้แก่ หนึ่งนโยบายกัญชาทางการแพทย์ (Marijuana for medical purpose) สองนโยบายกัญชาเพื่อความบันเทิง(Marijuana for non-medical purpose หรือ Recreational marijuana) และ สามนโยบายกัญชาเพื่อเศรษฐกิจ (Marijuana for economic)

หนึ่ง ขณะนี้ นโยบายกัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทยมีสถานะถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ตามพระราชบัญญัติยาเพสติดให้โทษ พ.ศ. 2562 (ฉบับที่ 7) ตามที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา รัฐบาลจะได้ประโยชน์จากนโยบายนี้หากกำหนดให้มีนโยบายที่ให้หน่วยงานราชการจัดให้มีบริการกัญชาทางการแพทย์ให้ทั่วถึงแก่ผู้ป่วยบางโรคหรือบางอาการที่ได้รับการพิสูจน์ทางหลักวิชาการแล้วว่าจะได้ประโยชน์จากสารสกัดจากกัญชา ซึ่งขณะนี้มีเพียงบางโรคบางอาการเท่านั้นที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว

(หมายเหตุ- การที่มีการกล่าวอ้างว่ากัญชาได้ประโยชน์ในการรักษาโรคได้อย่างกว้างขวางนั้น ส่วนใหญ่มักเป็นการยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเพียงบางรายเท่านั้น โดยไม่ได้นำผู้ป่วยที่ใช้กัญชาแล้วไม่ได้ผลมากล่าวถึง อีกทั้งไม่ได้กล่าวถึงผลทางจิตวิทยาที่ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นเพราะมีความหวังที่จะรอดตายจากโรคมะเร็ง ซึ่งความรู้สึกมีความหวังนี้เกิดขึ้นได้จากการรับประทานสมุนไพรหรือยาอะไรก็ตามที่ผู้ป่วยเชื่อว่าจะช่วยได้(ที่ศัพท์ทางวิชาการเรียกว่า Placebo effect) อีกทั้งการใช้กัญชาแล้วทำให้นอนหลับได้และทานอาหารได้ก็เป็นฤทธิ์เสพติดของกัญชาตามปกติ ซึ่งไม่ได้เป็นฤทธิ์รักษาโรคให้หายขาดแต่ประการใด ที่สำคัญที่มักไม่ถูกกล่าวถึง คือ มีงานวิจัยจำนวนมากในระดับสากล พบว่า การใช้กัญชาก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบหลายประการ ได้แก่ การเสพติด การเกิดอุบัติเหตุจากการเมากัญชาแล้วขับขี่ยานพาหนะ และ การทำลายสมองของเยาวชนโดยตรงซึ่งอยู่ในช่วงกำลังขยายเส้นประสาทสมอง ตลอดจนการทำให้เกิดอาการวิกลจริตได้)

ที่สำคัญ รัฐบาลจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบระยะยาว โดยรัฐบาลจะต้องจัดให้มีระบบควบคุมที่เข้มแข็งเพียงพอไม่ปล่อยให้มีการรั่วไหลของกัญชาทางการแพทย์ไปสู่มือของผู้ที่ไม่ใช่ผู้ป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชน และควบคุมกัญชาทางการแพทย์และกัญชาทั่วไปในตลาดมืดให้ได้ เพื่อป้องกันการนำไปสู่การใช้เพื่อความบันเทิงจนเกิดการเสพติดหรือผลกระทบต่อผู้อื่น เช่น การเกิดอุบัติเหตุจากการเมากัญชาแล้วขับรถ เป็นต้น มีการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ทำการเปรียบเทียบระหว่างรัฐที่มีนโยบายกัญชาทางการแพทย์แต่มีรายละเอียดการควบคุมที่แตกต่างกัน ซึ่งพบว่า รัฐที่มีการปล่อยระบบควบคุมให้หละหลวมกว่าจะทำให้เกิดการใช้กัญชาในกลุ่มเยาวชนมากกว่า ตลอดจนการใช้กัญชาเกินขนาดจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่มากกว่า การควบคุมที่หละหลวมเหล่านี้ ได้แก่ การให้มีการจำหน่ายได้ในร้านขายยา การให้ผู้ป่วยปลูกเองได้ เป็นต้น หากรัฐบาลวางระบบบริการได้ดีและควบคุมการรั่วไหลได้อย่างเข้มเข็งเพียงพอ รัฐบาลก็จะได้ประโยชน์สูงสุดจากการกำหนดนโยบายกัญชาทางการแพทย์เป็นนโยบายรัฐบาล

สอง นโยบายกัญชาเพื่อความบันเทิงไม่มีประโยชน์ใดๆแก่สังคมโดยรวม จะมีประโยชน์ก็แต่สำหรับธุรกิจกัญชาที่รอจ้องรับประทาน (เขมือบ) ผลประโยชน์ก้อนนี้โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมในระยะยาว ข้อมูลทางการตลาดระบุว่าธุรกิจกัญชาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ในอนาคต คาดประมาณว่าภายในสิบปี ตลาดโลกของกัญชาถูกกฎหมายจะขยายตัวไปถึง 57พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2027 อีกทั้งสื่อแคนาดาระบุว่าธุรกิจบุหรี่มืออาชีพยักษ์ใหญ่ระดับโลก Marlboro ใช้เงิน 2.4 พันล้านเหรียญแคนาดาซื้อบริษัทกัญชาในประเทศแคนดาเมื่อปลายปี 2561 ที่ผ่านมา การที่ประเทศแคนาดาและรัฐบางรัฐในสหรัฐอเมริกากำหนดนโยบายให้เสพกัญชาเพื่อความบันเทิงได้ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีผู้สูบกัญชาอยู่แล้วในสัดส่วนที่มาก คือ ร้อยละ 12 ในประเทศแคนาดา และ ร้อยละ 8 – 12 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศไทยมีผู้สูบกัญชาเพียงร้อยละ 0.2 จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะกำหนดให้มีนโยบายกัญชาเพื่อความบันเทิง

ส่วน สาม นโยบายกัญชาเพื่อเศรษฐกิจตามที่เป็นข่าวรับรู้ทั่วไปนั้น คือ การจะอนุญาตให้ทุกครัวเรือนปลูกกัญชาได้บ้านละ 6 ต้น จะสร้างรายได้จากการสกัดกัญชาถึงปีละ 420,000 บาทต่อครัวเรือน รัฐบาลจะต้องพิจารณาอย่างรอบครอบว่านโยบายนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์จริงดังนั้นหรือไม่ และจะเกิดผลกระทบด้านลบอะไรที่ไม่คาดคิดตามมาบ้าง เหตุผลที่รัฐบาลควรใช้ประกอบการพิจารณาประเด็นนี้ คือ

หนึ่ง จากหลักการตลาดที่ราคาจะขึ้นกับความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน เมื่อมีอุปทานมาก คือ มีคนปลูกกัญชาทั่วประเทศพร้อมกัน ราคาของกัญชาก็จะตกลงอย่างแน่นอน

สอง นโยบายนี้จะขัดกับนโยบายควบคุมยาเสพติดระดับโลกซึ่งยังกำหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติดในเวทีการควบคุมยาเสพติดระดับโลก

สาม การอนุญาตให้ประชาชนปลูกได้บ้านละหกต้น จะมีวิธีการควบคุมอย่างไรไม่ให้ปลูกเกินจำนวนนี้ ประเทศไทยมีปัญหาการบังคับใช้กฎหมายมาตลอด เช่น การไม่สวมหมวกกันน็อคขณะขับขี่จักรยานยนต์ การที่เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปีสามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้เกือบ 100% ทั้งที่ผิดกฎหมาย การจำหน่ายสุราโดยไม่ติดแสตมป์ไม่เสียภาษีควบคู่ไปกับการจำหน่ายแบบติดแสตมป์เสียภาษีของสุรากลั่นชุมชน เป็นต้น

สี่ จะควบคุมไม่ให้มีการจำหน่ายกัญชาสู่ตลาดมืดได้อย่างไร เพราะการขายตลาดมืดจะสะดวกและได้เงินสดรวดเร็วกว่า

และ ห้า จะควบคุมไม่ให้ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนเสพติดกัญชาได้อย่างไร เนื่องจากมีกัญชาอยู่ในทุกบ้านและไม่มีค่าใช้จ่ายในการหามาใช้ บุหรี่และสุราซึ่งไม่ได้มีอยู่ในบ้านและมีกฎหมายควบคุมไม่ให้เยาวชนซื้อได้ ก็ยังมีเยาวชนเสพติดจำนวนมาก แม้แต่ยาแก้ปวด ยาแก้ไอ เยาวชนยังนำมาใช้เป็นยาเสพติดได้เลยอย่าว่าแต่กัญชา ที่สำคัญคืองานวิจัยในระดับสากลพบว่ากัญชาเป็นประตูสู่การใช้สารเสพติดร้ายแรงอื่น เพียงแค่สถานการณ์ปัจจุบันนี้ ก็มีข่าวอันน่าสลดจากการเสพติดกัญชาให้เห็นทางหน้าหนังสือพิมพ์เป็นระยะอยู่แล้ว เช่น “สลด!พ่อบังคับลูกวัย 13 ให้คนข่มขืนแลกกัญชา” “พ่อทาสกัญชา ประสาทหลอน ฆ่าในไส้ 1 ขวบ” “หลอน!!ลูกพี้กัญชาจนผวาเกรงคนมาฆ่า แทงพ่อแม่เจ็บ” หากในอนาคตประชาชนและเด็กและเยาวชนเข้าถึงกัญชากันทุกครัวเรือน สังคมไทยจะหายนะขนาดไหน

เช่นเดียวกับนโยบายปลูกพืชผลเกษตรเชิงเดี่ยวอื่นๆในประเทศไทย ที่ราคาผลิตตกต่ำเมื่ออุปทานผลผลิตออกพร้อมกัน (เช่น การปลูกยางพาราทั่วประเทศ เป็นต้น) แต่คนขายปุ๋ยหรือต้นกล้าได้กำไรมหาศาลไปก่อนแล้ว นโยบายกัญชาเพื่อเศรษฐกิจนี้ ประชาชนจะมีรายได้เท่าไหร่ยังไม่แน่นอน ผลกระทบต่อสุขภาพและสังคมยังไม่อาจประมาณได้ แต่คาดว่าจะมีธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากนโยบายนี้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน หากรัฐบาลกำหนดให้มีนโยบายนี้ในนโยบายของรัฐบาล เชื่อได้ว่าจะเป็นหนึ่งใน “สนิมนโยบาย” ที่รอวันทำให้เรือเหล็กลำใหม่นี้จมลงอย่างแน่นอนในอนาคต

ผู้เขียน ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล นักวิชาการจากแคนนาดา, Dalla Lana School of Public Health, University of Toronto, Canada

https://www.hfocus.org/content/2019/07/17362


โดย: หมอหมู วันที่: 12 กรกฎาคม 2562 เวลา:15:33:45 น.
  

ล่าสุดเรื่อง "กัญชา" ในวารสารการแพทย์ระดับโลก "ปลดล็อกกัญชาส่งผลต่อระบบสาธารณสุขอย่างไร"
Tue, 2019-11-05 11:06 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2019/11/17996


ไม่มีแพทย์แผนปัจจุบันคนใดที่ไม่รู้จัก The Lancet

วารสารการแพทย์นี้จัดเป็นระดับท็อปด้านการแพทย์แข่งขันคู่ไปกับอีกฉบับคือ New England Journal of Medicine

เนื้อหาสาระที่เผยแพร่มาสู่วงการแพทย์ทั่วโลกมักจะได้รับการยอมรับนับถือ เพราะต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์ ตรวจสอบอย่างเข้มข้นก่อนได้รับการตีพิมพ์

ถ้าจะมีคนมาเถียงโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ บรรพบุรุษเทือกเถาเหล่ากอ ยศถาบรรดาศักดิ์ หรืออำนาจการเมืองหนุนหลัง ก็คงต้องเปิดประตูคุยกันดังๆ ว่า "จะคุยกันแบบแพทย์แผนปัจจุบันไหม?"

ถ้าจะคุย ก็ใช้มาตรฐานทางคลินิกมาคุย ไม่เอาแต่หลอดทดลอง สัตว์ทดลอง หรืองานวิจัยแบบประสบการณ์ส่วนตัว เคสบางเคสมาโฆษณาชวนเชื่อแบบผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เคลมแบบว่าสกัดจากองุ่นเอย ส้มเอย ทับทิมเอย มะละกอ ฟักแฟงแตงโมไชโยโห่ฮิ่ว แล้วรักษามะเร็ง ไม่แก่ไม่ตาย กินแล้วไม่หิว กล่องละหลายพัน ขายดิบขายดี โฆษณาเกินจริงเย้ยกฎหมาย

ไม่งั้นก็ไปคุยกันแบบแพทย์แผนอื่นๆ เพราะมาตรฐานวิชาชีพที่แตกต่างกัน อย่าเอามาปนกันมั่วซั่วจนปั่นป่วนระบบสุขภาพของประเทศ

23 ตุลาคม 2019 นี้เอง The Lancet ตีพิมพ์เนื้อหาเรื่องกระแสปลดล็อกกัญชาว่าส่งผลต่อระบบสาธารณสุขอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะปลดล็อคทางการแพทย์ หรือจะเป็นเสรีกัญชาอย่างที่เราเห็นความคลุ้มคลั่งในหลายต่อหลายพื้นที่ในโลก

ใจความสำคัญเป็นอย่างไร?

สรุปให้ฟังได้ดังนี้...

ขณะนี้กัญชาเป็นยาเสพติดที่ใช้มากที่สุดทั่วโลก

ประเทศแคนาดา และ 10 มลรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ปลดล็อคให้มีการผลิตและขายกัญชา ทั้งในทางการแพทย์ และเสรีกัญชา

...แต่...ในประเทศแคนาดาและมลรัฐต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ดอกกัญชา น้ำมันกัญชา และสารสกัดจากกัญชาแบบเข้มข้นนั้นถูกนำมาใช้เพื่อรักษาโรคต่างๆ หลายต่อหลายโรค โดย"ไม่มี"ข้อมูลวิชาการทางการแพทย์ที่พิสูจน์ความปลอดภัยและสรรพคุณที่เชื่อถือได้

...การควบคุมการใช้กัญชาอ่ะ ทำได้ป่าว?...

เค้าพบว่า ระบบการควบคุมการใช้กัญชาทางการแพทย์ในหลายมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดานั้น"อ่อนแอ" และไม่สามารถควบคุมการใช้ได้จริง ทำให้ผสมปนเปไปหมดระหว่างใช้ทางการแพทย์และใช้เสรี

...หึหึ ประเทศข้าจะปราศจากปัญหาตลาดมืด และเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง คนร่ำรวยจากค้าขายกัญชา สังคมดี๊ดี จริงไหม?...

การปลดล็อคกฎหมายให้ผลิตกัญชาในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นอาจจะเป็นไปเพื่อหวังที่จะลดการค้าขายในตลาดมืด และหวังจะให้รัฐบาลได้ควบคุมและเก็บภาษีได้ แต่สุดท้ายแล้ว สถานการณ์จริงกลับพบว่าความแรงของกัญชาในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ไปถึงประชาชนนั้นไม่สามารถควบคุมดูแลได้เลย นอกจากนี้ราคาค่างวดของกัญชาก็ตกฮวบฮาบภายในไม่กี่ปีหลังประกาศใช้กฎหมาย

สถิติชี้ชัดว่า ประกาศปลดล็อคกฎหมายไปแล้ว เกิดการบูมของธุรกิจกัญชา และทำให้ประชาชนวัยผู้ใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้กัญชามากขึ้นมาก

ผลที่หลายคนคาดหวังว่า เอากัญชาเข้ามาในสังคมแล้วจะลดปัญหาเหล้า บุหรี่ และยาเสพติดประเภทฝิ่นนั้น ยังไม่เห็นผลกระเตื้องอย่างที่คาดหวังไว้

เค้าทบทวนงานวิจัยต่างๆ และสรุปมาเหมือนกับที่เคยสื่อสารกันไปแล้วว่า สารสกัดจากกัญชานั้นมีที่ใช้ทางการแพทย์ในไม่กี่โรค และไม่ใช่ทางเลือกแรกในการรักษา การวิจัยต่างๆ ที่มีการพิสูจน์นั้นส่วนใหญ่คุณภาพยังไม่ดีนัก และหลายต่อหลายข้อบ่งชี้ก็ไม่ได้เทียบกับยามาตรฐาน

ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ การตบท้ายอย่างแสบๆ คันๆ แต่เจ็บปวดนักคือ

...กว่าเราจะตอบคำถามมากมายเกี่ยวกับกัญชาที่ยังค้างท่ออยู่นั้นได้อย่างมั่นใจ ป่านนั้นการปลดล็อคกัญชาก็คงทำให้สังคมโลกมีสิ่งเสพติดชนิดที่ 4 ขึ้นมาอย่างถูกกฎหมายแล้ว...นั่นคือ คาเฟอีน เหล้า บุหรี่ และกัญชา...

นั่นแปลความได้ว่า สังคมไทยและสังคมโลกคงต้องเตรียมรับมือผลกระทบจากกัญชาในฐานะสิ่งเสพติดในสังคมอย่างเป็นทางการในไม่ช้านี้

หากไม่มีปาฏิหาริย์มาช่วยทำให้ตาสว่างได้

ประโยชน์นั้นยังมีจำกัด และต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ตามขั้นตอนมาตรฐาน เพื่อให้แน่ใจเรื่องความปลอดภัยและสรรพคุณ

ส่วนโทษนั้นมีชัดเจน มากมายหลายหลาก แต่ไม่เคยได้รับการสื่อสารให้รู้เท่าทัน

การปั่นความโลภหวังรวยจากการปลูกขายนั้น ข้อมูลชี้ชัดแล้วว่า รายย่อยคงยากนักที่จะลืมตาอ้าปากอย่างที่บางคนบางกลุ่มโฆษณา รวยกระจุกจนกระจายคงจะเป็นสถานการณ์ที่พอคาดการณ์ได้ เงินกำลังจะหมุนไปเข้ากระเป๋าใครจากการปั่นกระแส ตรงนั้นคงรอความจริงพิสูจน์ให้เห็น

ตัวอย่างของกระแสความเชื่องมงายจากการปั่นข่าวสรรพคุณเว่อร์วังของกัญชานั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาหนักตามมาสู่ระบบสุขภาพในระยะยาว รวมถึงสถานะงบประมาณด้านการดูแลสุขภาพของประเทศ ทั้งจากการใช้ในทางที่ผิดทั้งโดยตั้งใจ เต็มใจ และไม่ตั้งใจ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

และดีไม่ดี โปรดระวังว่า นี่จะเป็นตัวอย่างที่แท้จริงของเรื่อง Moral hazard ในระบบสุขภาพ รวมถึงระบบหลักประกันสุขภาพทุกกองทุน อย่างที่คาดไม่ถึง และยากที่จะตามหาคนมารับผิดชอบ (วันหลังจะมาเล่าเรื่อง Moral hazard ให้ฟัง แต่ใครอยากรู้ให้ลองค้นหาอ่านกันดูไปก่อนละกัน)

ถามว่าเราตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้แล้วจะทำอย่างไร?

ส่วนตัวแล้วผมคงบอกเพียงว่า คน กลุ่มคน และ/หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ควรยอมรับความจริง กลับตัวกลับใจ สื่อสารสิ่งที่เป็นมาตรฐานที่พิสูจน์ตามขั้นตอนทางการแพทย์ และเตรียมองคาพายพทุกภาคส่วนให้วางแผนรับมือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกระแสกัญชาในสังคมโลกและสังคมไทย

ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท อย่าเล่นกับกิเลส อย่าเล่นกับความกลัว

เพราะสิ่งที่ทำกันอยู่นั้น เปรียบเหมือนมีดสองคม ที่เรายังไม่มีปลอกไว้สวมเลย

ลดละเลิกโปรปากานด้าเปิดคลินิกกัญชาเป็นดอกเห็ดโดยเหมาเข่งรวมวิชาชีพหลากหลายมามะรุมมะตุ้มใช้ยาเสพติดรักษาโรค โดยรู้ทั้งรู้ว่ามันไม่ใช่มาตรฐาน และความรู้นั้นยังไม่นิ่งไม่ชัด โทษนั้นชัดเจนและมากกว่าคุณประโยชน์

หากคิดจะเข็นต่อ ก็จงท่องคาถาไว้ในใจว่า "ข้ากำลังทำบุญหรือทำบาป?" และ "Beneficence, Non-maleficence, Justice, and Respect for person...เราทำตามหลักจริยธรรมทางการแพทย์ครบทุกข้อไหมน๊า?"

เลิกโพนทะนาเรียกน้ำตาเรียกคะแนนสงสาร และปรักปรำคนอื่นว่าไม่เห็นใจคนป่วยรุนแรงหรือคนยากจน เพราะหลักฐานวิชาการแพทย์นั้นชี้ชัดว่านี่ไม่ใช่หนทางที่ถูกต้องเหมาะสม ยามาตรฐานที่ดีมีอยู่มากมาย และราคาถูกลงเรื่อยๆ ใช้ตามมาตรฐานวิชาชีพ ย่อมมีราคาค่างวดที่ไม่เกินเลย อยากจะผลักดันยาเสพติดมาเป็นยา ก็ต้องพิสูจน์ความปลอดภัย ขนาดยา วิธีใช้ สรรพคุณ ตามมาตรฐานสากล จะได้แน่ใจว่าใช้เป็นยาได้จริง ไม่ได้ทำให้เกิดความเชื่องมงาย ใช้ผิดๆ ใช้มั่วๆ อย่างที่เราเห็นเคสมากมายต้องหามส่งโรงพยาบาลในช่วงที่ผ่านมา

ส่วน "ใคร" ที่ได้ประโยชน์จากการใช้ข่าวลวง หรือทำธุรกิจอาหารเสริมที่โฆษณาเกินจริงหรือผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมายอยู่ ไม่ว่าจะวงในวงนอก ก็โปรดระลึกไว้ว่าบาปกรรมนั้นมีจริง จะตามทันไม่ทันก็จะรู้กันด้วยตัวเอง จะช้าหรือเร็วก็เท่านั้น บรรพบุรุษ ลาภยศสรรเสริญ รางวัล หรืออะไรก็แล้วแต่ก็ช่วยลบล้างบาปไม่ได้ ดังนั้นการ"หยุด" และ"ยุติบทบาททั้งหมด" ณ ตอนนี้ ก็น่าจะดีกว่า ก่อนจะสายเกินไป ยุติอย่างเงียบๆ ตอนนี้ดีกว่าทางเลือกอื่นยามที่วิกฤติ

ในขณะที่สิ่งที่อยากฝากประชาชนคือ ขอให้มีสติ เวลาเจ็บป่วยที่รุนแรง โปรดปรึกษาหารือกับแพทย์ที่ดูแลตัวท่าน หากสงสัยหรืออยากได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัว จะใช้หรือไม่ใช้ยาใด สมุนไพรใด หรือยาผีบอกใด ก็ปรึกษาได้ ไม่ต้องกลัวว่าหมอจะดุ แต่กลับจะทำให้คุณหมอเข้าใจและช่วยให้คำแนะนำได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญสำหรับทุกคนคือ โปรดดูแลลูกหลานและคนในครอบครัวให้ดี สอนให้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงในสังคม

ด้วยรักต่อทุกคนครับ

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ้างอิง

Hall W et al. Public health implications of legalising the production and sale of cannabis for medicinal and recreational use . Lancet 2019; 394: 1580–90.
โดย: หมอหมู วันที่: 5 พฤศจิกายน 2562 เวลา:21:18:52 น.
  
อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว
2 พฤศจิกายน 2563

กัญชาเพื่อการรักษาทางการแพทย์ สิ่งที่ประชาชนน่ารู้ : จากการบรรยายของ อ.สหภูมิ ศรีสุมะ, อ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์, อ.เมธา อภิวัฒนากุล เมื่อครั้งที่แล้วได้สรุปเรื่องนี้จากการบรรยายของ อ.สหภูมิ เมื่อเวลาผ่านไป ยาได้รับการพัฒนาและประกาศใช้แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

1. ข้อเท็จจริงที่ต้องรู้คือ กัญชาที่นำมาใช้ทางการแพทย์จะเป็นสารจากกัญชาสกัดเท่านั้น ไม่ใช่ใบหรือต้นกัญชาปลูก แล้วนำมาใช้ตรง ๆ เพราะจากการคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อการค้าในปัจจุบัน สายพันธุ์กัญชาจึงมีสาร THC สูงกว่าในอดีต เพราะการใช้กัญชาเพื่อสันทนาการมีมากกว่าทางการแพทย์

2. ข้อบ่งใช้ทั่วโลกสำหรับสารสกัดจากกัญชา นั่นคือต้องมีสัดส่วนและสารเคมีของ THC และ CBD ในสัดส่วนเฉพาะเท่านั้น

ข้อบ่งชี้นั่นคือ การรักษาลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาปรกติ การรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด การรักษาอาการปวดจากโรคมะเร็ง การรักษาอาการกล้ามเนื้อเกร็งในโรคระบบประสาทบางชนิด

**ข้อสำคัญคือ การสกัดกัญชาจะช่วยรักษาอาการเท่านั้น และไม่สามารถใช้เป็นยาหลักในการรักษาได้**

3. ในประเทศไทยมีการรับรองสารสกัดกัญชามาใช้เพียงในรูปน้ำมันกัญชา ที่มีสัดส่วน THC/CBD ที่คงที่หรือ THC เดี่ยวและ CBD เดี่ยว ในกี่ข้อบ่งชี้และไม่กี่คลินิกกัญชาและผู้สั่งใช้ ที่จะต้องได้รับการรับรองจากกรมการแพทย์ การสกัดเองหรือใช้ในรูปแบบอื่น ยังไม่ได้รับการรับรองให้ใช้โดยทั่วไปครับ

4. ขนาดของสารสกัดกัญชาที่ใช้ทุกประเภท จะใช้ในหน่วยเป็น หยด เท่านั้นนะครับ หยดจากหลอดหยดที่ให้มากับตัวยาเท่านั้นด้วย และจะต้องรอเวลาในการออกฤทธิ์และปรับยาพอสมควร เพราะกัญชาในรูปสารละลายน้ำมันและบริหารทางการกิน จะออกฤทธิ์ช้า หากใช้ซ้ำก่อนกำหนดเวลา สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ยาเกินขนาด และนี่คือสาเหตุของพิษจากยาที่พบมากสุด

5. ผลของกัญชาจากการรักษาไม่ว่าจากโรคใด ประสิทธิภาพไม่ได้สูงไปกว่าการรักษามาตรฐานมากนัก ส่งผลข้างเคียงจะพบน้อยหากใช้ในขนาดรักษา แต่จะพบมากหากใช้เกิน

ประเด็นสำคัญคือ ผู้ป่วยไม่บอก หรือคิดว่าสิ่งที่เกิดนี้ไม่ได้เกิดจากกัญชา ทำให้คุณหมอก็ไม่ทราบ เพราะอาการพิษจากกัญชาไม่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น ใจสั่น พฤติกรรมเปลี่ยน ซึม จำเป็นต้องอาศัยประวัติการใช้สารสกัดกัญชาที่ชัดเจน

6. ข้อห้ามสำคัญคือ แพ้ยา มีประวัติโรคทางจิตเวช หญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ดังนั้นหญิงในวัยเจริญพันธุ์ก็ไม่ควรใช้เช่นกัน ผู้ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ควรใช้ และแน่นอนว่านอกจากสารสกัดกัญชาทางการแพทย์แล้ว กัญชาที่ใช้เพื่อสันทนาการก็จะเกิดอันตรายที่รุนแรงได้เช่นกัน

7. ในโรคลมชัก นั้น จะใช้เมื่อไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน และใช้เพื่อควบคุมอาการเท่านั้น ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงสภาพโรคเดิมได้ ข้อบ่งใช้ที่ชัดเจนมีในโรคลมชักที่พบน้อย คือ Dravet syndrome และ Lennox-Gestaut syndrome และมีการใช้เพื่อรักษาอาการกล้ามเนื้อเกร็งและอาการปวดเส้นประสาทในโรค multiple sclerosis (ข้อมูลจากการศึกษาเป็นโรคในช่วงลุกลาม แต่โรคที่พบส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เป็น ๆ หาย ๆ)

8. สำหรับเรื่องลดการปวดจากมะเร็งและอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด ข้อมูลของสารสกัดกัญชา ไม่ได้มีประสิทธิภาพสูงมากนัก จึงมีคำแนะนำให้ใช้เป็นเพียงยาเสริมการรักษามาตรฐานเท่านั้น เพราะเมื่อเกิดผลข้างเคียงจะแยกยากมากว่าเกิดจากยาหรือเกิดจากโรค

สรุปว่า ใช้ทางการแพทย์ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวด และไม่แนะนำให้ใช้นอกเหนือข้อบ่งชี้นะครับ โดยเฉพาะการนำน้ำมันสกัดไปใช้รูปแบบอื่น เคยมีปัญหาปอดอักเสบเฉียบพลันรุนแรงจากการใส่สารสกัดกัญชาในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ามาแล้วนะครับ

https://www.facebook.com/medicine4layman/posts/2728951274087555



โดย: หมอหมู วันที่: 3 พฤศจิกายน 2563 เวลา:16:05:37 น.
  
Smith Fa Srisont
1 ตุลาคม เวลา 20:43 น. ·

อยากมาสรุปประเด็นเกี่ยวกับกัญชา ที่เจอเรื่อยๆ ในโซเซียลนะครับ จริงๆ มีหลายประเด็น แต่ขอสรุปเป็นสองประเด็นก่อนครับ ใครอยากเอาไปถก ก็สามารถนำไปตอบคนอื่นได้เลยครับ
ทั้งนี้หากใครเห็นด้วยกับเรื่องการหยุดสภาวะสุญญากาศของการควบคุมการใช้กัญชา สามารถลงชื่อได้ที่ //Change.org/delaycannabislaw ซึ่งตอนนี้มีประมาณ 18000 คนแล้ว หากเป็นแพทย์ก็สามารถลงชื่อเพิ่มได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScO1afLrj61Zbp13ScWbhPHQ0E-_flLaH55nRszjfsQjOgNQQ/viewform?fbclid=IwAR1CHw7Ew5oC1bdvnfd6uyszRamlqBnGY1iDP3243d9MGhG7HU7iV7tdbKg
ซึ่งตอนนี้มีประมาณ 1700 คนแล้วครับ ในอนาคตรายชื่อทั้งหมดนี้จะถูกทำการรวบรวมเพื่อไปยื่นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อยากให้ทุกคนมาช่วยกันลงชื่อครับ มีประโยชน์แน่นอนครับ

1. ตอนนี้กัญชามีกฎหมายควบคุมพอแล้ว ถึงแม้ไม่ต้องมี พ.ร.บ.กัญชา กัญชง?
ไม่จริงเลยครับ ตอนนี้ประเทศไทยมีกัญชาเสรีที่สุดในโลกแน่นอนครับ กฎหมายที่อ้างว่าใช้ควบคุมได้ ไม่สามารถคุมได้จริง ได้แก่
-การให้กัญชาเป็นสมุนไพรควบคุม (กฎหมายตัวนี้ เป็นสิ่งที่มักอ้างว่าไม่ให้ขายกัญชาให้เด็ก) จริงๆ กฎหมายนี้คือคุมแบบทุกอย่างได้เลยคือห้ามขาย และห้ามปลูกเพื่อขายจนกว่ามีใบอนุญาตในการขาย และปลูกเพื่อขาย แต่สุดท้ายทาง ส.ธ. ดึงกลับหนังสือที่ขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจับผู้กระทำความผิด ดังนั้นเท่ากับว่า มีบทลงโทษ แต่ไม่ให้จับ มันก็ไม่มีประโยชน์อะไรครับ เห็นได้จากกรณีเด็กซื้อกัญชามาสูบกันที่เห็นจากข่าวหลายสำนัก ก็ยังไม่เห็นการลงโทษคนขายชัดเจน
-การให้ควันกัญชาเป็นเหตุรำคาญ เพื่อลงโทษคนที่สูบกัญชาในที่สาธารณะ ก็ใช้ลงโทษได้ยาก เพราะขั้นตอนการลงโทษคือ ถ้าเจอคนสูบในที่สาธารณะ จับเลยไม่ได้ ต้องมีหนังสือเตือนคนสูบก่อน ถ้าคนสูบไม่ทำตามถึงจับได้ จึงใช้จริงไม่ได้แน่นอนครับ
-การที่อาหารผสมกัญชาก็ดูข่าวนี้ได้เลยครับ “กรมอนามัย ยอมรับยังไม่มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค กรณีใส่กัญชาในอาหาร https://www.tcc.or.th/cannabis-anamai/“

2. กัญชามีแต่ประโยชน์ ไม่มีผลเสีย?
ประเด็นประโยชน์ทางการแพทย์แผนปัจจุบันและแผนไทยคงมีคนพูดบ้างแล้ว ขอบอกเฉพาะผลเสียครับ
งานวิจัยหนึ่งที่ทำในรัฐโคโลราโดของอเมริกาที่เป็นรัฐแรกๆในโลกที่ให้กัญชาเสรี https://centennial.ccu.edu/policy-briefs/marijuana-costs/ มีข้อสรุปว่า “ทุกๆ หนึ่งดอลลาร์ที่ได้จากภาษีกัญชา รัฐกลับต้องสูญเสีย 4.5 ดอลลาร์จากผลกระทบของกัญชาเสรี” ทั้งนี้ของไทยอาจมีผลกระทบที่หนักกว่าด้วยซ้ำ เพราะเรายังไม่มีระบบภาษีชัดเจนในการขายกัญชา และในขณะวิจัยโคโลราโดมีกฎหมายควบคุมการใช้กัญชามากกว่าของไทยในปัจจุบัน
หรือเอาตามบทความล่าสุดของเดือนนี้ ที่ลงใน Lancet ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์ระดับโลกตาม link นี้ https://www.thelancet.com/journals/lanpub/article/PIIS2468-2667(22)00205-5/fulltext?dgcid=raven_jbs_etoc_email&fbclid=IwAR0DDNz3TBjs-XA_HaLEVH10ujGdAwcZ9FI7OkP58XuPooaghxK26XmczS0 ที่สรุปได้ว่า การใช้กัญชาในหลากหลายรูปแบบสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่ไม่ได้ใช้กัญชาได้ โดยรวมถึงคนในครอบครัว เด็ก และเพื่อนของผู้ใช้กัญชา หรืออาจกล่าวสั้นๆ ได้ว่า กัญชาไม่ได้มีโทษแค่ผู้ใช้กัญชา แต่มีโทษไปถึงผู้ที่ไม่ได้ใช้กัญชาในหลายๆ รูปแบบด้วย

สุดท้ายอยากสรุปสิ่งที่ต้องการให้ชัดเจน คือ การกลับไปให้กัญชาเป็นยาเสพติดไว้ก่อนนั้น เป็นการทำเพื่อควบคุมกัญชาให้ดีก่อน ระหว่างรอกฎหมาย พ.ร.บ. ที่เหมาะสมมาควบคุม ปัจจุบันไม่มีประเทศใดในโลกที่ปลดล็อคกัญชาเสรีแบบไม่มีการควบคุมก่อน แล้วรอออกกฎหมายมาควบคุม เราจึงต้องปิดสุญญากาศในการควบคุมกัญชาที่เกิดขึ้นในตอนนี้โดยเร็ว

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0hLK382rQHzdoPY7wvuw3xJq3QsVR3DXxdUA2DhD9tHvKjB48biF4gMbwF16kGjosl&id=100001957212970
โดย: หมอหมู วันที่: 13 ตุลาคม 2565 เวลา:13:59:44 น.
  
Smith Fa Srisont
1 ตุลาคม เวลา 20:43 น. ·

อยากมาสรุปประเด็นเกี่ยวกับกัญชา ที่เจอเรื่อยๆ ในโซเซียลนะครับ จริงๆ มีหลายประเด็น แต่ขอสรุปเป็นสองประเด็นก่อนครับ ใครอยากเอาไปถก ก็สามารถนำไปตอบคนอื่นได้เลยครับ

ทั้งนี้หากใครเห็นด้วยกับเรื่องการหยุดสภาวะสุญญากาศของการควบคุมการใช้กัญชา สามารถลงชื่อได้ที่ //Change.org/delaycannabislaw ซึ่งตอนนี้มีประมาณ 18000 คนแล้ว หากเป็นแพทย์ก็สามารถลงชื่อเพิ่มได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScO1afLrj61Zbp13ScWbhPHQ0E-_flLaH55nRszjfsQjOgNQQ/viewform?fbclid=IwAR1CHw7Ew5oC1bdvnfd6uyszRamlqBnGY1iDP3243d9MGhG7HU7iV7tdbKg
ซึ่งตอนนี้มีประมาณ 1700 คนแล้วครับ ในอนาคตรายชื่อทั้งหมดนี้จะถูกทำการรวบรวมเพื่อไปยื่นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อยากให้ทุกคนมาช่วยกันลงชื่อครับ มีประโยชน์แน่นอนครับ

1. ตอนนี้กัญชามีกฎหมายควบคุมพอแล้ว ถึงแม้ไม่ต้องมี พ.ร.บ.กัญชา กัญชง?
ไม่จริงเลยครับ ตอนนี้ประเทศไทยมีกัญชาเสรีที่สุดในโลกแน่นอนครับ กฎหมายที่อ้างว่าใช้ควบคุมได้ ไม่สามารถคุมได้จริง ได้แก่
-การให้กัญชาเป็นสมุนไพรควบคุม (กฎหมายตัวนี้ เป็นสิ่งที่มักอ้างว่าไม่ให้ขายกัญชาให้เด็ก) จริงๆ กฎหมายนี้คือคุมแบบทุกอย่างได้เลยคือห้ามขาย และห้ามปลูกเพื่อขายจนกว่ามีใบอนุญาตในการขาย และปลูกเพื่อขาย แต่สุดท้ายทาง ส.ธ. ดึงกลับหนังสือที่ขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจับผู้กระทำความผิด ดังนั้นเท่ากับว่า มีบทลงโทษ แต่ไม่ให้จับ มันก็ไม่มีประโยชน์อะไรครับ เห็นได้จากกรณีเด็กซื้อกัญชามาสูบกันที่เห็นจากข่าวหลายสำนัก ก็ยังไม่เห็นการลงโทษคนขายชัดเจน

-การให้ควันกัญชาเป็นเหตุรำคาญ เพื่อลงโทษคนที่สูบกัญชาในที่สาธารณะ ก็ใช้ลงโทษได้ยาก เพราะขั้นตอนการลงโทษคือ ถ้าเจอคนสูบในที่สาธารณะ จับเลยไม่ได้ ต้องมีหนังสือเตือนคนสูบก่อน ถ้าคนสูบไม่ทำตามถึงจับได้ จึงใช้จริงไม่ได้แน่นอนครับ

-การที่อาหารผสมกัญชาก็ดูข่าวนี้ได้เลยครับ “กรมอนามัย ยอมรับยังไม่มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค กรณีใส่กัญชาในอาหาร https://www.tcc.or.th/cannabis-anamai/“

2. กัญชามีแต่ประโยชน์ ไม่มีผลเสีย?
ประเด็นประโยชน์ทางการแพทย์แผนปัจจุบันและแผนไทยคงมีคนพูดบ้างแล้ว ขอบอกเฉพาะผลเสียครับ

งานวิจัยหนึ่งที่ทำในรัฐโคโลราโดของอเมริกาที่เป็นรัฐแรกๆในโลกที่ให้กัญชาเสรี https://centennial.ccu.edu/policy-briefs/marijuana-costs/ มีข้อสรุปว่า “ทุกๆ หนึ่งดอลลาร์ที่ได้จากภาษีกัญชา รัฐกลับต้องสูญเสีย 4.5 ดอลลาร์จากผลกระทบของกัญชาเสรี” ทั้งนี้ของไทยอาจมีผลกระทบที่หนักกว่าด้วยซ้ำ เพราะเรายังไม่มีระบบภาษีชัดเจนในการขายกัญชา และในขณะวิจัยโคโลราโดมีกฎหมายควบคุมการใช้กัญชามากกว่าของไทยในปัจจุบัน

หรือเอาตามบทความล่าสุดของเดือนนี้ ที่ลงใน Lancet ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์ระดับโลกตาม link นี้ https://www.thelancet.com/journals/lanpub/article/PIIS2468-2667(22)00205-5/fulltext?dgcid=raven_jbs_etoc_email&fbclid=IwAR0DDNz3TBjs-XA_HaLEVH10ujGdAwcZ9FI7OkP58XuPooaghxK26XmczS0 ที่สรุปได้ว่า การใช้กัญชาในหลากหลายรูปแบบสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่ไม่ได้ใช้กัญชาได้ โดยรวมถึงคนในครอบครัว เด็ก และเพื่อนของผู้ใช้กัญชา หรืออาจกล่าวสั้นๆ ได้ว่า กัญชาไม่ได้มีโทษแค่ผู้ใช้กัญชา แต่มีโทษไปถึงผู้ที่ไม่ได้ใช้กัญชาในหลายๆ รูปแบบด้วย

สุดท้ายอยากสรุปสิ่งที่ต้องการให้ชัดเจน คือ การกลับไปให้กัญชาเป็นยาเสพติดไว้ก่อนนั้น เป็นการทำเพื่อควบคุมกัญชาให้ดีก่อน ระหว่างรอกฎหมาย พ.ร.บ. ที่เหมาะสมมาควบคุม ปัจจุบันไม่มีประเทศใดในโลกที่ปลดล็อคกัญชาเสรีแบบไม่มีการควบคุมก่อน แล้วรอออกกฎหมายมาควบคุม เราจึงต้องปิดสุญญากาศในการควบคุมกัญชาที่เกิดขึ้นในตอนนี้โดยเร็ว

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0hLK382rQHzdoPY7wvuw3xJq3QsVR3DXxdUA2DhD9tHvKjB48biF4gMbwF16kGjosl&id=100001957212970

โดย: หมอหมู วันที่: 13 ตุลาคม 2565 เวลา:14:06:36 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

บทความทั้งหมด